วัดจันทารามวรวิหาร

วัดในกรุงเทพมหานคร

วัดจันทารามวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตธนบุรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางยี่เรือกลาง หรือวัดกลาง ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 พระยาสุรเสนา (ขุนเณร) ได้บูรณะขึ้นใหม่และได้รับพระราชทานนามเป็น วัดจันทาราม และต่อมาภายหลังได้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชนิดวรวิหาร[1]

วัดจันทารามวรวิหาร
แผนที่
ชื่อสามัญวัดบางยี่เรือกลาง, วัดกลางตลาดพลู
ที่ตั้งเลขที่ 276 ถนนเทอดไท แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 10600
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี
พระประธานพระทองเหลืองปางมารวิชัย
พระพุทธรูปสำคัญพระไม้สักครึ่งซีกปางห้ามสมุทร
เจ้าอาวาสพระธรรมสิทธินายก (เฉลิม พนฺธุรํสี ป.ธ.๕)
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

พระอุโบสถ เดิมเป็นโครงสร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน ต่อมาได้ทำการบูรณะในปี พ.ศ. 2517 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2520 โดยเปลี่ยนเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นศิลปกรรมแบบจีน ภายในประดิษฐานพระประธาน หล่อด้วยทองเหลืองปางมารวิชัย และยังมีพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรแบบครึ่งซีกทำด้วยไม้สัก

พระวิหาร ลักษณะศิลปะแบบจีน ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา โครงสร้างเดิมด้วยการก่ออิฐถือปูนแบบพระอุโบสถและได้รับการบูรณะแบบพระอุโบสถ

ประวัติ

แก้

วัดจันทารามวรวิหารเดิมมีชื่อว่า วัดบางยี่เรือกลางหรือวัดกลาง เพราะอยู่กลางระหว่างวัด 2 วัด คือวัดบางยี่เรือใน (วัดราชคฤห์ปัจจุบัน) กับวัดอินทาราม กล่าวคือ เมืองธนบุรีเดิมในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตั้งอยู่ที่วัดศาลา 4 หน้า (วัดคูหาสวรรค์ ปัจจุบัน) ในคลองบางกอกใหญ่ จากเมืองเก่ามาก็ถึงวัดราชคฤห์ก่อนจึงเรียกวัดราชคฤห์ว่า "วัดบางยี่เรือใน เหนือ" ส่วนวัดจันทารามอยู่กลางจึงเรียกว่า "วัดบางยี่เรือกลาง" ถัดมาก็ถึงวัดอินทาราม จึงเรียกว่า "วัดบางยี่เรือนอก (ใต้)"

ในสมัยโบราณนั้นไม่มีการตั้งชื่อวัดเป็นกิจจะลักษณะหรือเป็นทางการเหมือนอย่างในสมัยปัจจุบัน จะเรียกชื่อวัดจากที่ตั้ง ตำบล ที่ตั้งอยู่และถ้าตำบลนั้นมีหลายวัดด้วยกันและอยู่ใกล้กันเป็นลำดับซึ่งอาจกำหนดจากตัวเมืองได้ว่า "ใน" "กลาง" และ"นอก" ก็จะเรียกวัดที่อยู่ใกล้ว่า "วัดใน" วัดถัดไปก็เรียกว่า "วัดกลาง" และวัดสุดท้ายก็ เรียกว่า "วัดนอก" ตามแต่ที่จะเข้าใจกันตามยุคสมัยหรือเรียกตามสถานที่

วัดจันทาราม เป็นวัดโบราณมีอายุยาวนานกว่า 100 ปี ตามตำนานพระอารามหลวงโดยสังเขป พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 3 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ให้ข้อมูลที่ตรงกันคือ พระยาสุรเสนา (ขุนเณร) เป็นผู้สร้าง และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงปฏิสังขรณ์แล้วได้พระราชทานนามให้ใหม่ว่า "วัดจันทาราม" แต่วัดนี้จะสร้างเมื่อไรไม่มีหลักฐานที่จะให้ค้นคว้าอ้างอิงได้

ในพระอุโบสถวัดจันทารามวรวิหารมีพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรทรงเทริดซึ่งประทับอยู่ภายใน ซึ่งกรมศิลปากรขึ้นทะเบียนไว้ เมื่อทางกรมศิลปากรไม่ขัดข้องในการจุบูรณะซ่อมแซม ได้สั่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบสภาพของพระอุโบสถและได้แจ้งให้ทราบ ภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นศิลปะจีน เครื่องสูงของจีนเขียนด้วยมืออาสาอย่างประณีต จึงได้อนุรักษ์ไว้ทั้งสภาพจิตรกรรมฝาผนังและลายเพดาน แต่ทางวัดขออนุญาตเพิ่มเติมส่วนที่ชำรุดไปโดยจะไม่เขียนภาพทับของเก่า จะหาช่างจากกรมศิลปากรที่เชื่อถือและรับรองให้เขียนภาพได้ จึงได้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเพิ่มเติมดังที่ได้ปรากฏอยู่ขณะนี้

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้