วัจนภาษา หมายถึงการสื่อสารในระบบคำและประโยค โดยผ่านการฟัง พูด อ่าน เขียน โดยจะมีคำเป็นตัวสื่อความหมาย ซึ่งในประโยคใดๆ คำแต่ละคำจะเขียนและอ่านได้เพียงวิธีเดียวเท่านั้น กล่าวคือ ถึงแม้ว่าคำบางคำอาจมีตัวสะกดเหมือนกัน(คำพ้องรูป) หรือ คำบางคำอ่านอ่านออกเสียงเหมือนกัน(คำพ้องเสียง) แต่คำใดๆก็ตามเมื่ออยู่ในประโยคแล้ว ย่อมเขียนและอ่านได้เพียงรูปแบบเดียว เช่น ช่วงนี้ทำงานให้มันเพลาๆลงบ้าง คำว่าเพลาเป็นคำพ้องรูป อาจอ่านว่า เพลาซึ่งหมายถึง แกนหมุนของล้อหรือการทำงานไม่หักโหม หรืออ่านว่า เพ-ลา ซึ่งแปลว่า เวลา แต่ในประโยค ช่วงนี้ทำงานให้มันเพลาๆลงบ้าง คำว่า เพลาต้องอ่านว่า เพลา เท่านั้น

การสะกดคำเป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นในวัจนภาษา

ระบบพยางค์ แก้

พยางค์คือ การกำหนดการเปล่งเสียงออกมาครั้งหนึ่ง ๆ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้ ในระบบคำ หนึ่งพยางค์จะประกอบด้วยอย่างน้อยห้าส่วน

  • เสียงสระ หรือเสียงแท้ เกิดจากการบังคับรูปของหลอดลมและลิ้น
  • เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฐานเสียง
  • เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี เกิดจากการเปลี่ยนความถี่การสั่นของเส้นเสียง

และมีอีกสองส่วน จะมีหรือไม่มีก็ได้

  • เสียงสะกด เป็นเสียงพยัญชนะอีกรูปหนึ่งที่ตามหลังพยางค์ อาจไม่มีก็ได้
  • ตัวทัณตฆาต เป็นตัวที่ปรากฏในคำเวลาเขียน แต่ไม่ออกเสียง
พยางค์ เสียงสระ เสียงพยัญชนะ เสียงวรรณยุกต์ เสียงตัวสะกด ตัวการันต์
สังข์ (ภาษาไทย) อะ(/a/) ส,ซ (/s/) จัตวา ง(/ng/) ข์
knife (ภาษาอังกฤษ) /n/ /i/ ตรี /f/ k
您 (nín ภาษาจีน) /n/ /i:/ จัตวา(ตรงกับเสียงที่2ของพินอิน) /n/

ระบบคำ แก้

คำ คือการแทนความหมายของสิ่งต่างๆ โดยประกอบจากพยางค์ อันจะมีพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ คำอาจจะเกิดขึ้นมาโดดเลย เรียกว่า คำมูล หรือ คำโดด หรืออาจจะเกิดจากการประกอบของคำหลายๆคำ เรียกว่าคำรวม หรือ คำประสม

ระบบประโยค แก้

ประโยคเป็นการแทนความหมายของสภาพ โดยประกอบด้วยสองส่วนเป็นอย่างน้อย คือภาคประธานและภาคแสดง การประกอบจะประกอบคำซึ่งมีสองคำหลักทำหน้าที่เป็นคำนามในภาคประธาน และคำกริยาในภาคแสดง

ประโยค ภาคประธาน ภาคแสดง
ฝนตก ฝน ตก
She is swimming. She is swimming
您可以帮助维基媒体改变这个世界。 可以帮助维基媒体改变这个世界

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้