ลินเดอร์โฮฟ

(เปลี่ยนทางจาก วังลินเดอร์ฮอฟ)

วังลินเดอร์โฮฟ (เยอรมัน: Schloss Linderhof) ตั้งอยู่ใกล้เมืองโอเบอร์อัมเมอร์เกาทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นบาวาเรีย เป็นวังที่เล็กที่สุดที่สร้างโดยพระเจ้าลูทวิชที่ 2 แห่งบาวาเรีย

พระราชวังลินเดอร์โฮฟ
Schloß Linderhof (เยอรมัน)
Linderhof Palace (อังกฤษ)
พระราชวังลินเดอร์โฮฟ
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทพระราชวัง
สถาปัตยกรรมโรโคโค
เมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของแคว้นบาวาเรีย
ประเทศประเทศเยอรมนี
พิกัด47°34′18″N 10°57′38″E / 47.57167°N 10.96056°E / 47.57167; 10.96056
เริ่มสร้างค.ศ. 1874 - 1886
ผู้สร้างพระเจ้าลูทวิชที่ 2 แห่งบาวาเรีย
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างสร้างเลียนแบบพระราชวังแวร์ซาย
เว็บไซต์
ปราสาทลินเดอร์โฮฟ

ที่มาของการก่อสร้าง แก้

ก่อนที่จะสร้างลินเดอร์โฮฟพระเจ้าลูทวิชทรงรู้จักบริเวณนั้นดีจากการเดินทางไปล่าสัตว์ในบริเวณเทือกเขาบาวาเรียแอลป์กับพระบิดาพระเจ้าแม็กซิมิลเลียนที่ 2 แห่งบาวาเรียเมื่อยังทรงพระเยาว์ เมื่อขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดาตั้งแต่ ค.ศ. 1869 ลูทวิชไดัรับ “ตำหนักเคอนิกเฮาเชน” (Königshäuschen) เมื่อเริ่มแรกก็ทรงขยายตำหนักเดิมแต่ต่อมาก็ทรงสั่งให้ย้ายตำหนักเคอนิกเฮาเชนไปตั้งในบริเวณอื่น และบนสิ่งก่อสร้างรูปตัว “U” ที่ยังเหลืออยู่ทรงเพิ่มห้องสามห้องและบันได ด้านหน้าตกแต่งที่เคยเป็นไม้ก็ทรงสั่งให้หุ้มด้วยหิน ตัวสิ่งก่อสร้างเป็นแบบโรโคโค ในช่วง ค.ศ. 1863 ถึง 1886 มีการใช้เงินไปกับการก่อสร้างลินเดอร์โฮฟรวม 8,460,937 มาร์ค[1]

ถึงแม้ว่าวังลินเดอร์โฮฟจะเป็นวังที่เล็กกว่าพระราชวังแวร์ซาย แต่ก็เห็นได้ชัดว่าเป็นวังที่สร้างเลียนแบบพระราชวังของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสผู้เป็นวีรบุรุษและแรงบันดาลใจของลูทวิช การก่อสร้างต่าง ๆ เช่นบันได ก็เป็นการสร้างย่อส่วนของบันไดทูต (Ambassador's staircase) ที่แวร์ซาย ซึ่งต่อมาไปสร้างเต็มสัดส่วนที่วังแฮเร็นเคียมเซ ภายในวังจะมีสัญลักษณ์พระอาทิตย์ที่เป็นสัญลักษณ์ของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 อยู่ทั่วไป ซึ่งเหมาะกับความคิดของลูทวิชที่ว่าอำนาจของพระเจ้าแผ่นดินเป็นอำนาจโดยตรงจากพระเจ้า แต่ตามความเป็นจริงแล้วความคิดเช่นนั้นเป็นความคิดที่ล้าสมัยไปแล้วในคริสต์ศตวรรษที่ 19

ห้องบรรทมเป็นห้องที่สำคัญที่สุดในระบอบกษัตริย์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงรับการถวายราชการหนแรกและหนสุดท้ายของวันหนึ่ง ๆ ภายในห้องบรรทม ห้องบรรทมที่ลินเดอร์โฮฟก็เป็นการเลียนแบบห้องบรรทมของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นห้องที่ใหญ่ที่สุดในวัง หันไปทางทิศเหนือซึ่งทรงกลับสัญลักษณ์ของแวร์ซายที่ทรงเห็นพระองค์ว่าเป็น “พระราชาแห่งราตรี” (Night-King)

ที่ตั้งของปราสาทอยู่ไม่ไกลจากวัดเอ็ททาลซึ่งทำให้เห็นอีกแง่หนึ่ง เพราะทรงเห็นลักษณะสถาปัตยกรรมของวัดว่าควรเป็นที่เก็บรักษาจอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Grail) ซึ่งเป็นการเชื่อมพระราชวังบาโรกกับพระราชวัง “ยุคกลาง” เช่น นอยชวานชไตน์เป็นความคิดที่เข้ารูปเข้ารอยกับโอเปร่าของริชาร์ด วากเนอร์ที่ลูทวิชโปรด

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Petzet, Michael (1963). König Ludwig II und die Kunst [King Ludwig II and the Arts]. Munich.

Further reading แก้

  • Krückmann, Peter O.: Linderhof. München/London/New York 2000.
  • Hojer, Gerhard. Schmid, Elmar D.: Linderhof Palace. Official guide. München 1999.
  • Rauch, Alexander: Linderhof. König Ludwig II. und seine Schlösser. Band III aus der Reihe "Gebaute Geschichte". München 1997. (German edition)
  • Schick, Afra: Furniture for the Dream King. Ludwig II and the Munich Court Cabinet-Maker Anton Pössenbacher. Stuttgart 2003. (German/English edition)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

47°34′18″N 10°57′38″E / 47.57167°N 10.96056°E / 47.57167; 10.96056

สมุดภาพ แก้