วรรณรัตน์ คชรักษ์

พลตำรวจโท วรรณรัตน์ คชรักษ์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในปี 2544 เป็นอดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล[1]

พลตำรวจโท วรรณรัตน์ คชรักษ์
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 30 กันยายน พ.ศ. 2543
ก่อนหน้าพลตำรวจโท ทวี ทิพย์รัตน์
ถัดไปพลตำรวจโท อนันต์ ภิรมย์แก้ว
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 5 มกราคม พ.ศ. 2548
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 ธันวาคม พ.ศ. 2482 (84 ปี)
อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
พรรคการเมืองพรรคประชาธิปัตย์

ประวัติ แก้

วรรณรัตน์ คชรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2482 ที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จบการศึกษาหลักสูตรนักเรียนนายร้อยตำรวจ (นรต.) รุ่นที่ 16 ปี 2506

วรรณรัตน์ เป็นลูกพี่ลูกน้อง กับ ชุมพร เทพพิทักษ์ อดีตนักแสดงชาวไทย

การทำงาน แก้

พล.ต.ท.วรรณรัตน์ เริ่มทำงานเมื่อปี 2506 ที่สถานีตำรวจนครบาลบุปผาราม จากนั้นถูกดึงตัวไปช่วยปราบโจรผู้ร้ายที่จังหวัดสุพรรณบุรี ในปี 2509 ต่อมาได้เข้าไปเป็นผู้บังคับหมวดในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ จนก้าวหน้าในหน้าที่ราชการเรื่อยมาจนได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และเกษียณอายุราชการในปี 2543

พล.ต.ท.วรรณรัตน์ มีผลงานที่โดดเด่นเป็นที่รู้จัก อาทิ การจับกุมตัวพลตำรวจโท ชลอ เกิดเทศ ในคดีฆ่าสองแม่ลูกตระกูลศรีธนะขัณฑ์ ที่มีชนวนมาจากคดีเพชรซาอุ[2] คดีฆ่ากรรมมารดา ส.ส.คมคาย พลบุตร และคดีฆาตกรรมนายแสงชัย สุนทรวัฒน์

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 พล.ต.ท.วรรณรัตน์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 15 และได้รับเลือกตั้ง[3]เป็น ส.ส.สมัยแรก และเป็นเพียงสมัยเดียวของชีวิตทางการเมืองของพลตำรวจโท วรรณรัตน์ คชรักษ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ปฏิรูปตำรวจจริงจัง ‘ต้องเข้าใจ’ เสียงย้ำเตือน พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรักษ์ ‘นักสืบสวนชั้นครูของวงการสีกากี’/รายงานพิเศษ
  2. ความจริง! จาก”วรรณรัตน์ คชรักษ์”อดีตมือปราบคดีเพชรซาอุฯ ต้องปฏิรูปอะไรตำรวจ?
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ เก็บถาวร 2022-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๕, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓๘๕, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙