วงเวียนศรีสุริโยทัย

ระวังสับสนกับ สระแก้ว สระน้ำโบราณภายในสวนสัตว์ลพบุรี

วงเวียนศรีสุริโยทัย[1] (ภาษาปากเรียก วงเวียนสระแก้ว) เป็นวงเวียนที่มีสิ่งก่อสร้างคล้ายเทียนตั้งอยู่บนพานขนาดใหญ่ เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความโดดเด่นทางด้านรูปแบบการก่อสร้างที่มีความสวยงาม ตั้งอยู่ถนนนารายณ์มหาราช อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

วงเวียน ศรีสุริโยทัย
แผนที่
ชื่ออักษรไทยศรีสุริโยทัย
ชื่ออักษรโรมันSi Suriyothai
ที่ตั้งถนนนารายณ์มหาราช อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
ทิศทางการจราจร
ถนนนเรศวร
» แยกสะพาน 6
ถนนนารายณ์มหาราช
» แยกสะพาน 7
ถนนนเรศวร
» แยกสะพาน 33
ถนนนารายณ์มหาราช
» วงเวียนศรีสุนทร
วงเวียนศรีสุริโยทัยยามค่ำคืน

ประวัติ แก้

วงเวียนศรีสุริโยทัย หรือวงเวียนสระแก้ว ตั้งอยู่บนถนนนารายณ์มหาราช ถูกก่อสร้างในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เริ่มจากการขุดสระในปี พ.ศ. 2481-2482 เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในย่านเมืองใหม่ลพบุรี[2] โดยก่อสร้างเป็นประติมากรรมคล้ายทหารปืนใหญ่ในท่าเตรียมพร้อมบนแท่นสูงกลางสระ[2]

ในเวลาต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของประติมากรรมเดิม ด้วยการสร้างประติมากรรมลักษณะคล้ายเทียนตั้งอยู่กลางพาน มีสะพานเชื่อมจากขอบสระทั้งสี่ทิศ ขอบพานมีตรากระทรวงต่าง ๆ ในขณะนั้น เช่น กระทรวงยุติธรรม, กระทรวงกลาโหม และกระทรวงการคลัง เป็นต้น[2] ในสระมีพญานาคให้น้ำสี่ตัว มีรูปปั้นคชสีห์หมอบซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของทหารอยู่เชิงสะพานทั้งสี่ทิศรวมแปดตัว รูปปั้นคชสีห์มีเจตนาปั้นให้มีกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดความรู้สึกแข็งแรงดุดัน ส่วนขอบสระสร้างเป็นที่นั่งพักผ่อนโดยรอบ[2]

มีบุคคลร่วมสมัยของการก่อสร้างวงเวียนสุริโยทัยเช่น กมล เกตุ อดีตหัวหน้าหน่วยศิลปากรลพบุรี ระบุว่าสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะคล้ายพาน และแท่งเทียนนั้นแท้จริงแล้ว ผู้สร้างต้องการสร้างเป็นฐานสำหรับเป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม แต่จอมพล ป. ไม่เห็นดีด้วย ประติมากรรมจึงมีลักษณะเป็นแท่งเทียนดังกล่าว[2]

เคยมีการประดิษฐ์รูปเปลวไฟวางบนแท่งเทียนซึ่งเทศบาลลพบุรีทำมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2539[2] แต่ภายหลังได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ด้านความไม่เหมาะสมและไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้สร้าง จึงได้มีการนำออกไป[3]

การใช้ประโยชน์ แก้

แม้เหตุผลในการสร้างสระแก้วคือเพื่อสร้างเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ[2] แต่ในปัจจุบันถือเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่ชาวลพบุรีเข้าไปใช้สอยน้อย เนื่องจากการเข้าไปยังวงเวียนยากลำบาก เพราะมีรถวิ่งวนรอบวงเวียนอยู่ตลอด[1]

อย่างไรก็ตามเทศบาลเมืองลพบุรีได้มีการจัดงานประเพณีลอยกระทงย้อนยุคจอมพล ป. พิบูลสงครามบริเวณรอบวงเวียนศรีสุริโยทัย ซึ่งจัดติดต่อกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จนถึงปัจจุบัน[4] โดยมีคำขวัญว่า "มาลานำไทย แต่งกายย้อนยุค ร่วมสนุกลอยกระทง"[5][6]

สถานที่ใกล้เคียง แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-09. สืบค้นเมื่อ 2013-01-21.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 "วงเวียนสระแก้ว". สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-01. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. วรวิทย์ วงษ์สุวรรณ. รอยอดีตเมืองลพบุรี. ลพบุรี:กรุงไทยการพิมพ์. 2554, หน้า 82
  4. "ข่าวประชาสัมพันธ์ เทศบาลเมืองลพบุรี จัดงานลอยกระทงย้อนยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม". สำนักงานเทศบาลเมืองลพบุรี. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. "ข่าวประชาสัมพันธ์ เทศบาลเมืองลพบุรี ขอเชิญชม การแสดงจินตนาการประกอบแสงเสียง ชุด "ย้อนยุคลพบุรี สายน้ำแห่งชีวี ฉลอง ๖๐ ปี พ่อหลวงไทย"". สำนักงานเทศบาลเมืองลพบุรี. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  6. "ข่าวประชาสัมพันธ์ เทศบาลเมืองลพบุรี จัดงานลอยกระทงย้อนยุค จอมพล ป." สำนักงานเทศบาลเมืองลพบุรี. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้