วงดนตรีสุนทราภรณ์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
วงดนตรีสุนทราภรณ์ เป็นวงดนตรีเพลงไทยสากลแห่งแรกของไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2482 โดยมีศิลปินที่มีชื่อเสียง เช่น เอื้อ สุนทรสนาน, มัณฑนา โมรากุล, รุจี อุทัยกร, สุปาณี พุกสมบุญ, เลิศ ประสมทรัพย์, ชวลี ช่วงวิทย์, วินัย จุลละบุษปะ, สุภาพ รัศมิทัต, เพ็ญศรี พุ่มชูศรี, จันทนา โอบายวาทย์, จุรี โอศิริ, วรนุช อารีย์, ศรีสุดา รัชตะวรรณ, พูลศรี เจริญพงษ์, สมศักดิ์ เทพานนท์, รวงทอง ทองลั่นธม, หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์, อ้อย อัจฉรา, มาริษา อมาตยกุล, บุษยา รังสี, โสมอุษา, ช่อชบา ชลายลนาวิน, พันธ์พร วัฒนเรืองไร, ช่อฉัตร รัตนกมล, ธรรมรัตน์ นวมะรัตน์, สุวณีย์ เนื่องนิยม, ยรรยงค์ เสลานนท์, รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส, ศรวณี โพธิเทศ, นพดฬ ชาวไร่เงิน, จินตนา สุวรรณศิลป์, เยาวลักษณ์ โกมารกุล ณ นคร เป็นต้น
วงดนตรีสุนทราภรณ์ | |
---|---|
ตราสัญลักษณ์ประจำวงดนตรีสุนทราภรณ์ | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ที่เกิด | ประเทศไทย |
แนวเพลง | ลูกกรุง, แจ๊ส, คันทรี, มาร์ชชิ่ง ,บัลลาด ,โฟล์ค |
ช่วงปี | พ.ศ. 2482 – ปัจจุบัน |
ประวัติ
แก้ในช่วงต้นทศวรรษ 2470 วงดนตรีได้ก่อตั้งขึ้นภายใต้การนำของหลวงสุขุมนัยประดิษฐ (ประดิษฐ์ สุขุม) บุตรชายของ มหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) สมาชิกภายในวงประกอบด้วย เอื้อ สุนทรสนาน และเพื่อน ๆ ของเขา[1]
ต่อมาในปี 2479 วงดนตรีได้แสดงให้กับบริษัท ไทยฟิล์ม จำกัด ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล หรือ เสด็จพระองค์ชายใหญ่ เมื่อบริษัทปิดตัวลง วงดนตรีตกเป็นของพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมวงในขณะนั้น และพระเจนดุริยางค์เป็นข้าราชการกรมศิลปากร วิลาศ โอสถานนท์ สมาชิกคณะราษฎร อธิบดีกรมโฆษณาการ (ต่อมาเปลี่ยนเป็น กรมประชาสัมพันธ์) ในขณะนั้น ต้องการให้วงดนตรีมาแสดงในช่วงรายงานข่าวทางวิทยุ กรมโฆษณาการขอให้กรมศิลปากรโอนสมาชิกวงให้มารับราชการที่กรมโฆษณาการ เอื้อเป็นหัวหน้าวง ขณะที่เวส สุนทรจามร เพื่อนสนิทของเขาเป็นผู้ช่วยหัวหน้าวง[2]
วงดนตรีใช้ชื่อ "วงดนตรีกรมโฆษณาการ" ในเวลาราชการ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานอกราชการ วงดนตรีใช้ชื่อ "วงดนตรีสุนทราภรณ์" “สุนทราภรณ์” มาจากการผสมผสานระหว่างนามสกุลของเอื้อและชื่อคนรักคืออาภรณ์ (ต่อมาคือคู่ชีวิตของเขา)[3]
รายชื่อนักร้องสุนทราภรณ์
แก้ยุคแรก
แก้- ล้วน ควันธรรม
- มัณฑนา โมรากุล
- รุจี อุทัยกร
- เลิศ ประสมทรัพย์
- สุปาณี พุกสมบุญ
- สุภาพ รัศมิทัต
- ชวลี ช่วงวิทย์
- วินัย จุลละบุษปะ
- หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ (เข้ามาร้องแต่ไม่ได้บันทึกเสียงแล้วกลับไปเรียนต่อ)
- เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
- จันทนา โอบายวาทย์
- จุรี โอศิริ
ยุคกลาง
แก้- วรนุช อารีย์
- ศรีสุดา รัชตะวรรณ
- พูลศรี เจริญพงษ์
- สมศักดิ์ เทพานนท์
- พิทยา บุณยรัตพันธุ์
- รวงทอง ทองลั่นธม
- หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ (กลับมาร้องเพลงอีกครั้งหลังจากเรียนจบ)
ยุคดาวรุ่งพรุ่งนี้
แก้- มาริษา อมาตยกุล
- บุษยา รังสี
- อ้อย อัจฉรา
- ช่อชบา ชลายลนาวิน
- โสมอุษา (โสมอุษา สรัคคานนท์)
- ช่อฉัตร รัตนกมล
- สุคนธ์ พรพิรุณ (พรพิรุณ)
- นพดฬ ชาวไร่เงิน
- ยรรยงค์ เสลานนท์
- รุ่งกานต์ อิงคตานุวัฒน์
- พันธ์พร วัฒนเรืองไร
- ดำรง สุทธิพงษ์
- สุวณีย์ เนื่องนิยม
- อรณี กานต์โกศล
- เพ็ญจันทร์ รักประยูร
- ธรรมรัตน์ นวะมะรัตน์
- สมคิด เกษมศรี
- รัตน์สุดา วสุวัต
- พรเทพ สุขขะ
- จินตนา สุวรรณศิลป์
- เยาวลักษณ์ โกมารกุล
- ศรวณี โพธิเทศ
- รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส
- อรัญญา นามวงศ์ (ไม่มีผลงานบันทึกเสียง)
- จั่นทิพย์ สุฐินบุตร
- อาภา สวนขวัญ
- ขจี วุฒิโชติ
- พรรณี สกุลชาคร
- อภิชา พูนสวัสดิ์ (ไม่มีผลงานบันทึกเสียง)
- อโศก สุขศิริพรฤทธิ์
- อรพร บงกช
- วิรุณ สุขขะ
- ถวัลย์ พุกาธร
- ศันสนีย์ (วิชัย ศิลปวงศา)
- โกมล โลกะกะลิน
- จันทรา โลกะกะลิน
- ฉัตรแก้ว พรภัทร
- วัฒนา ศโรภาส
- ผจงพิศ พุฒพล
- ธิดารัตน์ วรินทราคม
- กวิน บันลือ
- พิมผกา วันดี
- โฉมฉาย อรุณฉาน
- ปราโมทย์ มนชน
- มานพ ภาณุมาศ
- ดาวใจ ไพจิตร
- รวมพร พลางกูร (ไม่มีผลงานบันทึกเสียง)
- สุรพล วรรณประเสริฐ
- กอบกุล บุญเอื้อ
- ศรีสวาท เจริญวงษ์
- ฉัตรเทพ เทพรักษา (สุวิช คุ้มปรีดี)
- วิศณุ มหามิตร
- ภูรี ภูมินารถ
- ศิรินันท์ ศุภมนตรี
- ทรงวุฒิ จรูญเรืองฤทธิ์
- ศยาม (จักรพงษ์ เจิมศิริ)
- บรรจงจิตต์ พัฒนาสันต์
- จิตราภรณ์ บุญญขันธ์
- เจือนศักดิ์ น้อยสุวรรณ
- รัชตพันธ์ พงศบุตร
- ทิพรักษ์ แสงเงิน
- พรศุลี วิชเวช (ศุลีพร วิชเวช)
- กิ่งรัก ชูความดี
- สุพรรณิกา ฉายาพรรณ
- สุวรรณทนา สุขุม
- ทิพามล เปรมมงคล
- กัญญาวรรณ พัฒนาสันต์
- ดาริกา หลิมรัตน์
- มยุรินทร์ สุขยิ่ง
ยุคร่วมสมัย
แก้- เจือนศักดิ์ น้อยสุวรรณ
- บรรจงจิตต์ พัฒนาสันต์
- รัชตพันธ์ พงศบุตร
- ทิพรักษ์ แสงเงิน
- พรศุลี วิชเวช
- ชำนิ พวงมณี
- สุพรรณิกา ฉายาพรรณ
- กัญญาวรรณ พัฒนาสันต์
- ทิพามล เปรมมงคล
- อรดี วิชเวช
- ศยาม (จักรพงษ์ เจิมศิริ)
- อโณทัย ศุภนิธยรักษ์
- มนู กังวาลพล
- รัตนพล จินตกานนท์
- วาณี พัฒนา
- กรองกาญจน์ ไชยรัชต์
- ชาญชัย อินทรสุนานนท์
- จิตนภา จิตอารี
นักร้องคลื่นลูกใหม่สุนทราภรณ์
แก้นักร้องคลื่นลูกใหม่ฝ่ายชาย (ปัจจุบัน)
- พรชัย เอกศิริพงษ์ (โน้ต) (2544-ปัจจุบัน)
- บัญชา รักษาจันทร์ (จิมมี่) (2544-ปัจจุบัน)
- พิเชษฐ์ จิรารัตนาศิริ (ต๊ะ) (2544-ปัจจุบัน)
- ชาตรี ชุ่มจิตร (ซัน) (2549-ปัจจุบัน)
- นฤพล ผิวอ่อน (แจ๊บ) (2549-ปัจจุบัน)
- ศราวิน วงษ์สุวรรณ (โอ๋) (2549-ปัจจุบัน)
- คุณานันท์ หลิมพานิช (กีตาร์)
- ณัฐภพ รัมกิตติคุณ (บุ๊ค)
- พชระ สุวรรณรัตน์ (ปาล์ม) (2556-ปัจจุบัน)
นักร้องคลื่นลูกใหม่ฝ่ายหญิง (ปัจจุบัน)
- ปิยวรรณ สงวนทรัพย์ (ยุ้ย) (2546-ปัจจุบัน)
- ณัฏฐ์นรี มะลิทอง (มีน) (2548-ปัจจุบัน)
- สุรีย์ เครือภู่ (เบนซ์) (2549-ปัจจุบัน)
- ชณัฐศิกาญ แจ่มแจ้ง (ขวัญ) (2552-ปัจจุบัน)
- นันทพร ค้าผล (แจน) (2554-ปัจจุบัน)
- มุขอันดา ใจยง (มุข) (2559-ปัจจุบัน)
- ณภกฤตชา อมรบุญชัย (มายเดียร์) (2560-ปัจจุบัน)
- ฐานภา ธูปแจ้ง (จิว) (2560-ปัจจุบัน)
นักร้องคลื่นลูกใหม่ที่เคยร่วมงานกับวงดนตรีสุนทราภรณ์
- เชี่ยวชาญ กิจสมบัติชัย (เอ็ม) (2544-2556)
- ณัฐวุฒิ เนตรเจริญ (ดุ๊ก) (2544-2555)
- วิรัช ศรีพงษ์ (วิ) (2544–2553/2556–2558)
- สุทธิพงศ์ อยู่สำราญ (ทิ)
- อรุณวตี ฉัตรเท (2544-2545)
- นิธิมา วิชเวช (ปาน) (2544-2556)
- สุบงกช ทองช่วง (นุ่น) (2544-2560)
- นลินรัตน์ กาญจนคเชนท์ (โบว์) (2544-2545)
- แพรวทิพย์ สุทธนนท์ (เพลง) (2544-2547)
- พรวลี เอกศิริพงษ์ (แนน) (2545-2551)
- วิสสุดา วัณโณ (น้ำหวาน, น้ำตาล)
- หนึ่งฤทัย สิงห์ทอง (หนึ่ง) (2550-2556)
- ศศิพิมพ์ อาทยะกุล (มะเหมี่ยว) (2549-2554)
- อัมพาพร ตั้งจิตวิทยาคุณ (พลอย) (2550-2555)
- สรวิชญ์ ครมวิชิต (หลุยส์) (2552-2557)
- เจนิเฟอร์ อัมพรพา (เมย์)
- เจนิสต้า อัมพรพา (มาย)
- ธัญญาพร จันทร์ดิษฐ์ ทวัฒน์อัษฎางค์ (เพลง) (2558-2559)
ทำนอง
แก้- เอื้อ สุนทรสนาน
- เวส สุนทรจามร
- สริ ยงยุทธ
- นารถ ถาวรบุตร
- หลวงสุขุมนัยประดิษฐ (ประดิษฐ์ สุขุม)
- สมพงษ์ ทิพยกะลิน
- "อ.ป.ส." (หม่อมหลวงขาบ กุญชร) (สมัยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์)
- ธนิต ผลประเสริฐ
คำร้อง
แก้- แก้ว อัจฉริยะกุล
- สุรัฐ พุกกะเวส
- เอิบ ประไพเพลงผสม
- ชอุ่ม ปัญจพรรค์
- "ธาตรี" (วิชัย โกกิลกนิษฐ์)
- ศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ
- อาจินต์ ปัญจพรรค์
- “วังสันต์” (สุรพล โทณะวณิก)
- เล็ก โตปาน
- "เพ็ชร" (นินารถ ช่ำชองยุทธ)
- “ทวีปวร” (ทวีป วรดิลก)
- สวัสดิ์ ธงศรีเจริญ
- เทอด วรรธนา
- ทรง สาลิตุล
ทั้งคำร้องและทำนอง
แก้- ล้วน ควันธรรม
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
- พจน์ จารุวณิช
- สมศักดิ์ เทพานนท์
- เลิศ ประสมทรัพย์
- "พรพิรุณ" (สุคนธ์ พรพิรุณ)
- ใหญ่ นภายน (สมาน นภายน)
- อโศก สุขสิริพรฤทธิ์
โดยทั้งนี้แล้ว มีผู้ประพันธ์คำร้องบางท่านที่ได้แต่งเพลงส่วนน้อยให้วงดนตรีสุนทราภรณ์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เช่น "ธม ธาตรี" (เชิด ทรงศรี) ในบทเพลง "เสียงกระซิบจากเกลียวคลื่น", ธรรมนูญ แสงรังษี ในบทเพลง "รำวงสาวบ้านแต้" จินต์ วัฒนปฤดา ในบทเพลง "กังหันต้องลม", และ ชูทิศ สิงหเสนีย์ ในบทเพลง "เดือนค้างฟ้า"
และนักร้องบางท่านได้ประพันธ์เพลงไว้เช่นกัน อาทิ รวงทอง ทองลั่นธม ในบทเพลง “แสนเสียดาย” , มัณฑนา โมรากุล ในบทเพลง “วาสนากระต่าย” “ใจหนอใจ” “รักมีกรรม” , “ชวลี ช่วงวิทย์ ร่วมประพันธ์กับ ชอุ่ม ปัญจพรรค์ ในบทเพลง “รำวงตอบรัก” และ ถวัลย์ พุกาธร ในบทเพลง “ลูกทุ่งลาติน”
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ศรีพิพัฒน์, อาภรณ์ (2512). สุนทราภรณ์ ระลึก ๓๐ ปีวงดนตรีสุนทราภรณ์ (ภาษาThai). 202 ซอยสุจริต 2 พระราม 5 พระนคร: อติพร สุนทรสนาน.
{{cite book}}
: CS1 maint: location (ลิงก์) CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ ประวัติวงดนตรีกรมโฆษณาการและวงสุนทราภรณ์ เพื่อการอนุรักษ์ (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2024-01-06 (In Thai)
- ↑ ประวัติวงดนตรีกรมโฆษณาการและวงสุนทราภรณ์ เพื่อการอนุรักษ์ (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2023-12-28 (In Thai)
- ↑ รวมเพลงอมตะ. จากนักร้องของวงดนตรี กรมโฆษณาการ ถึง กรมประชาสัมพันธ์ พร้อมประวัติ ข้อเขียน ภาพ เนื้อเพลง และ โน้ตเพลงกว่า 700 เพลง. ชาตรี ศิลปสนอง. 2532.