ชาตรี

(เปลี่ยนทางจาก วงชาตรี)

ชาตรี เป็นวงดนตรีเพลงโฟล์กที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2512 โดยนักศึกษาปี 2 แผนกวิชาการถ่ายภาพและภาพยนตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ (ปัจจุบัน คือ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ) 3 คน คือ นราธิป กาญจนวัฒน์ ประเทือง อุดมกิจนุภาพ และคฑาวุธ สท้านไตรภพ ทั้งสามคนเล่นกีตาร์โปร่ง ต่อมาได้ชักชวนอนุสรณ์ คำเกษม เพื่อนร่วมห้องอีกคนหนึ่งมาเล่นกลอง ชื่อ ชาตรี มาจากชื่อหนังสือพระเครื่อง ของประชุม กาญจนวัฒน์ (บิดาของนราธิป)

วงชาตรี
ที่เกิดไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงสตริงคอมโบ
ดนตรีโฟล์ก
ป็อป
ช่วงปีพ.ศ. 2512 - 2528
พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงเมโทร แผ่นเสียง
อีเอ็มไอ (ยูนิเวอร์แซลมิวสิกกรุป)
อีเอ็มซี โกลด์
โอเอฟ
สมาชิกนราธิป กาญจนวัฒน์ (แดง) กีตาร์/ร้องนำ
คทาวุธ สท้านไตรภพ (ป้อม) ร้องนำ/คีย์บอร์ด
ประเทือง อุดมกิจนุภาพ (เหมา) เบส/ร้อง
อนุสรณ์ คำเกษม (ปุ้ย) กลอง/ร้อง
ประยูร เมธีธรรมนาถ (ยุ่น) คีย์บอร์ด/ร้อง

ประวัติ

แก้

วงชาตรีเริ่มรวมวงและแสดงครั้งแรก ในงานเลี้ยงต้อนรับน้องใหม่ของแผนกช่างภาพ ต่อมาได้แสดงในหอประชุมใหญ่ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพ และเข้าแข่งขันการประกวดวงโฟล์คซอง ทางวงรวบรวมเงินกันซื้อกลองเก่ามาหนึ่งชุด ทุกวันทุกคนในวงต้องช่วยกันขนกลองจากบ้านของอนุสรณ์ ที่มีนบุรี ขึ้นรถเมล์ไปวิทยาลัยเพื่อฝึกซ้อมในช่วงเย็น

วงชาตรีเริ่มบันทึกเสียงครั้งแรกทางรายการวิทยุ "120 นาที มัลติเพล็กซ์" โดยการชักชวนของครูไพบูลย์ ศุภวารี หนึ่งในกรรมการตัดสินโฟล์คซอง ซึ่งเห็นความสามารถ และได้บันทึกแผ่นเสียงชุดแรก จากไปลอนดอน พ.ศ. 2518 ชุดที่สอง แฟนฉัน พ.ศ. 2519 และได้ทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ สวัสดีคุณครู กำกับโดยพันคำ นำแสดงโดยจารุณี สุขสวัสดิ์ สุเชาว์ พงษ์วิไล จากนั้นจึงทำผลงานชุดที่สาม หลงรัก ซึ่งนำเพลงลูกทุ่งของชาตรี ศรีชลมาขับร้องใหม่

พ.ศ. 2520 ผลงานชุดที่สี่ ฝนตกแดดออก ประกอบภาพยนตร์ ฝนตกแดดออก กำกับโดยชาลี อินทรวิจิตร นำแสดงโดยสรพงศ์ ชาตรี ลลนา สุลาวัลย์ และ เศรษฐา ศิระฉายา จากนั้นได้ทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง รักแล้วรอหน่อย ของพันคำ นำแสดงโดยสรพงศ์ และจารุณี

วงชาตรีเพิ่มตำแหน่งนักดนตรีคีย์บอร์ด โดยได้ประยูร เมธีธรรมนาถซึ่งทำระบบเสียงให้กับวงมาเล่นให้ พ.ศ. 2522 ทำเพลงประกอบละครเรื่อง นางสาวทองสร้อย ทางช่อง 9 และออกผลงานชุดใหม่ รัก 10 แบบ และ ชีวิตใหม่

ผลงานชุดชีวิตใหม่ เกิดขึ้นจากทางวงได้เข้าไปเยี่ยมชมสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก และได้แต่งเพลงชื่อ หลงผิด เนื้อหาเกี่ยวกับผู้ติดยาเสพติด รายได้มอบให้กับสำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก

พ.ศ. 2523 ออกผลงานชุด รักครั้งแรก และ สัญญาใจ เป็นที่ระลึกในโอกาสที่ ประเทือง สมาชิกวงแต่งงาน จากนั้นออกผลงานชุด ชะตารัก

พ.ศ. 2525 เปิดการแสดงสดครั้งใหญ่ที่โรงแรมดุสิตธานี และออกผลงานบันทึกการแสดงสด ชาตรีอินคอนเสิร์ต ตามด้วยชุด รักไม่เป็น ได้รับรางวัลตุ๊กตาทองมหาชน จากเพลงภาษาเงิน

พ.ศ. 2526 ผลงานชุดใหม่ รักที่เธอลืม มีเพลง วันรอคอย และ ใต้ร่มเย็น ประพันธ์โดยพลเอกหาญ ลีลานนท์ แม่ทัพภาคที่ 4 ในขณะนั้นเนื้อหาให้คนไทยมีความสามัคคีและรักชาติ อัลบั้มชุดนี้ได้รางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว จากยอดขายมากกว่าสองแสนตลับ

ผลงานชุดถัดมาชื่อ แอบรัก บันทึกเสียงที่ห้องบันทึกเสียงชาตรี ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติให้กับวง ตามด้วยชุด ทศวรรษ

ผลงานชุดที่ 15 ชุดสุดท้ายของวง วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ชื่อชุด อธิษฐานรัก และคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายของพวกเขาได้จัดขึ้นที่รายการโลกดนตรีเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2528

ผลงาน

แก้

นราธิป กาญจนวัฒน์

แก้
  • ตราไว้ในดวงใจ (2529)
  • เขาคือนราธิป (2530)
  • จากวันวานถึงนราธิปวันนี้ (สิงหาคม 2531)
  • ตราไว้ในดวงใจ (พฤษภาคม 2532)
  • รวมเพลงรัก นราธิป กาญจนวัฒน์ (2544)

อัลบั้มรวมเพลง

แก้
  • ชุดพิเศษ จาก ชาตรี (2525)
  • อมตะชาตรี นอนสต๊อป (2527)
  • รวมเพลงฮิตจากชาตรี (2528)
  • อนุสรณ์พลงฮิตจากชาตรี (2528)
  • ดนตรีฝึกขับร้อง (2529)
  • รวมฮิต ชาตรี ชุด 1 (2530)
  • รวมฮิต ชาตรี ชุด 2 (2530)
  • อมตะ ชาตรี (2531)
  • รักอีกครั้ง (มีนาคม 2534)
  • ดนตรีใหม่ (ธันวาคม 2534)
  • ชาตรี Remix (พฤษภาคม 2536)
  • Thai Classic Series (ธันวาคม 2540)
  • รวมเพลงวง ชาตรี (2546)
  • 33 ปี ชาตรี รักและคิดถึง 1-2 (พฤษภาคม 2549)
  • ชาตรี ที่คิดถึง ชุด 4 (ธันวาคม 2555)

เพลงพิเศษ

แก้
  • เมตตาธรรม (นราธิป), ชั่วชีวิตหนึ่ง (นราธิป ร่วมกับ แจ้ ดนุพล และ สุนทร สุจริตฉันท์) ในอัลบั้ม เมตตาธรรม (ตุลาคม 2528) - จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกองทุนเพื่อเด็กไทย


แสดงภาพยนตร์

แก้
  • ครูขา..หนูเหงา (2521) นราธิป รับบท สมภพ
  • สงครามเพลง (2526) รับบท ชาตรี

เพลงประกอบภาพยนตร์

แก้

อ้างอิง

แก้
  • คอลัมน์ คนกล่อมโลก, โดย ปี่-กลอง, ไทยโพสต์ แทบลอยด์ 17-23 ธันวาคม 2549

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้