วงจรปาเปซ (อังกฤษ: Papez circuit) เป็นวิถีประสาทในสมองที่เจมส์ ปาเปซ (James Papez) นักประสาทกายวิภาคศาสตร์ชาวอเมริกัน อธิบายเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1937 ปาเปซเชื่อว่าวงจรนี้เกี่ยวข้องกับอารมณ์ นับแต่การค้นพบวงจรดังกล่าว มีการทดลองจำนวนมากเพื่อสำรวจระบบนี้และวิธีที่โครงสร้างของมันทำงานร่วมกัน ภายหลัง วงจรปาเปซถูกดัดแปลงโดย พอล ดี. แม็กลีน (Paul D. MacLean) นักประสาทวิทยาศาสตร์และแพทย์ชาวอเมริกัน ปัจจุบัน วงจรนี้เรียก วงจรลิมบิกกลาง (medial limbic circuit) ความเสียหายต่อบางส่วนของวงจรปาเปซให้ความรู้ไม่เพียงแต่หน้าที่ของมัน แต่ยังการวินิจฉัยความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความจำด้วย

กายวิภาคศาสตร์ แก้

วงจรปาเปซเกี่ยวข้องกับหลายโครงสร้างของสมอง เริ่มและสิ้นสุดด้วยฮิปโปแคมปัส (หรือฮิปโปแคมปอลฟอร์เมชัน) การตัดเส้นใยชี้ว่า วงจรนี้มีขนาดเฉลี่ย 350 มิลลิเมตร วงจรปาเปซผ่านวิถีประสาทดังนี้

ฮิปโปแคมปอลฟอร์เมชัน (ซูบิคูลัม) → ส่วนโค้งแมมิลารีบอดีลำเส้นใยแมมิโลทาลามิกนิวเคลียสทาลามัสหน้าซิงกูลัมเปลือกเอ็นโตไรนอล → ฮิปโปแคมปอลฟอร์เมชัน

ภาพถ่ายมุมกลางล่างของสมองเมื่อผ่าแสดงผังของวงจรปาเปซอย่างชัดเจน เนื่องจากที่ตั้งและโครงสร้างในวงจร รูปทรงที่ได้จึงเป็นลิมบัส (limbus) อันเป็นสิ่งที่ทำให้แม็กลีนเรียกวงจรนี้ว่าระบบลิมบิกเมื่อต่อมาเขาแก้ไขวงจรนี้

หลายการศึกษาชี้ว่า วงจรปาเปซได้รับอิทธิพลอย่างมากจากสมองน้อย และบางทีฮิปโปแคมปัสอาจมิใช่จุดเริ่มต้นของวงจร ในทางกายวิภาคศาสตร์ จะสมเหตุสมผลเพราะสมองน้อยเชื่อมต่อกับวงจรดังกล่าวด้วยเส้นใยละเอียดและมัดเส้นใยจำนวนมาก รอยโรคเคมีต่อสมองน้อยดูเหมือนมีผลยับยั้งต่อวงจร การศึกษาพฤติกรรมสัตว์แสดงว่า การกระตุ้นสมองน้อยหน้าด้วยไฟฟ้าสามารถให้เกิดการเร้า การโจมตีล่าเหยื่อและการสนองการกิน ซึ่งทั้งหมดเชื่อว่าเป็นการแสดงอารมณ์ โดยรวมแล้ว การศึกษาเหล่านี้ให้หลักฐานว่าสมองน้อยอาจรวมอยู่ในระบบอารมณ์ของสมองด้วย