ล้านนาไท 57 เมือง
ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่กล่าวถึง ล้านนาไท 57 เมือง ในฐานะหัวเมืองเหนือที่อยู่ใต้การปกครองของพระเจ้ากาวิละ[1] แต่ก็ไม่ได้ระบุว่ามีเมืองใดบ้าง ปัจจุบันมีหลักฐานที่พม่านำไปจากเชียงใหม่ในสมัยที่พม่าปกครอง (พ.ศ. 2101-2317) และได้แปลเป็นภาษาพม่า ต่อมาในปี ค.ศ. 2003 ทางมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อ Zinme Yazawin (ภาษาไทย:เชียงใหม่ราชวงศ์) หรือตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ฉบับภาษาพม่า ได้ระบุเมืองต่างๆ 57 หัวเมือง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มเมือง คือ กลุ่มเมืองขนาดใหญ่ มี 6 เมือง กลุ่มเมืองขนาดกลางมี 7 เมือง และกลุ่มเมืองขนาดเล็กมี 44 เมือง [2]
ภายหลังการกอบกู้เอกราชของล้านนาโดยการนำของพระเจ้ากาวิละ ได้ทรงสู้ขับไล่ข้าศึกพม่าให้พ้นแผ่นดินล้านนา ขยายขอบขัณฑสีมาอาณาจักรออกไปอย่างกว้างใหญ่ ได้กวาดต้อนผู้คนและสิ่งของจากหัวเมืองน้อยใหญ่ที่หนีภัยสงครามในช่วงที่พม่ายึดครอง และทรงสร้างบ้านแปงเมืองอาณาจักรล้านนาใหม่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามพระยากาวิละขึ้นเป็น พระบรมราชาธิบดี เป็นพระเจ้าประเทศราชปกครองเมืองเชียงใหม่และ 57 หัวเมืองล้านนา ถึงแม้ล้านนาในยุคนั้นจะแยกออกเป็น 5 นครประเทศราช อันประกอบด้วย นครเชียงใหม่ นครลำปาง นครลำพูน นครน่าน และนครแพร่ แต่ก็ถือว่านครเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางปกครองทั้ง 57 หัวเมือง
ยุคราชวงศ์มังราย
แก้57 เมืองขึ้นของนครเชียงใหม่ในสมัยราชวงศ์มังราย และสมัยนครเชียงใหม่อยู่ภายใต้การปกครองของหงสาวดี (รัชกาลพระเมกุฏิสุทธิวงศ์ รัชกาลพระนางวิสุทธิเทวีในพระเจ้าบุเรงนอง และรัชกาลพระเจ้านรธาเมงสอ พ.ศ. 2101 - พ.ศ. 2150 ) จากหลักฐานที่พม่านำไปจากเชียงใหม่ในสมัยที่พม่าปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2101-2317) และได้แปลเป็นภาษาพม่า ต่อมาในปี ค.ศ. 2003 ทางมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ ชื่อ Zinme Yazawin หรือตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ฉบับภาษาพม่า ได้แบ่งเมืองออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
- กลุ่มเมืองขนาดใหญ่ มี 6 เมือง ได้แก่
- เมืองฝาง
- เมืองแหงหลวง
- เมืองคอง
- เมืองเชียงราย
- เมืองสาด
- เมืองแกน
- อาณาจักรเวียงโกมคำนคร (ภายหลังจาก อาณาจักรเวียงโกมคำนคร เข้าร่วมกับล้านนาทางสายเมืองพะเยา)
- กลุ่มเมืองขนาดกลางมี 7 เมือง ได้แก่
- กลุ่มเมืองขนาดเล็ก มี 44 เมือง ได้แก่
- เมืองลอ
- เมืองปุ
- เมืองลำปาง
- เมืองแพร่
- เมืองภูคา
- เมืองระแหง
- เมืองเชียงดาว
- เมืองเชียงลา
- เมืองเชียงลัด
- เมืองลำพูน
- เมืองปาย
- เมืองพร้าว
- เมืองยอง
- เมืองฮิง
- เมืองเลน
- เมืองไฮ
- เมืองฮาย
- เมืองกก
- เมืองแซ่
- เมืองกาย
- เมืองข่า
- เมืองโก
- เมืองขอน
- เมืองจ้อด
- เมืองหลวย
- เมืองละโว้
- เมืองลอง
- เมืองโหล่ง
- เมืองงาว
- เมืองนิง
- เมืองปูต่อ
- เมืองรวง
- เมืองเชียงรุ้ง
- เมืองสิน
- เมืองเถิน
- เมืองตื่น
- เมืองเชียงตุง
- เมืองป่าแหงด
- เมืองท่าไร่
- เมืองสะมาด
- เมืองข่าหรัด หรือ เมืองกื้ด
- เมืองข่าไต
- เมืองกันปี
- เมืองป่าบง
ยุคประเทศราชของรัตนโกสินทร์
แก้ในยุคสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. 2345 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา พระยากาวิละ เจ้าเมืองเชียงใหม่ ขึ้นเป็น พระเจ้าเชียงใหม่กาวิละ พระเจ้านครเชียงใหม่ แล้วให้ปกครอง 57 หัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราช ภายหลังการโปรดเกล้าฯ จากราชสำนักสยาม พระเจ้ากาวิละได้โปรดให้จัดพิธีเถลิงถวัลยราชสมบัติเข้าขึ้นครองอาณาจักรล้านนาตามราชประเพณีในราชวงศ์มังราย ยุคราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนนครเชียงใหม่ไม่ได้เป็นศูนย์กลางอานาจทางการเมืองการปกครองของล้านนาอย่างแท้จริง อำนาจจะกระจายอยู่ที่เจ้าผู้ครองนครต่างๆ เพียงแต่เมืองนครเชียงใหม่มีสิทธิธรรมสูงเป็นที่ยอมรับจากทั้งสยาม และเจ้าผู้ครองนครที่เป็นพระญาติวงศ์ คือ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ , เจ้าผู้ครองนครลำปาง , เจ้าผู้ครองนครลำพูน หรือเจ้าผู้ครองนครที่ทรงนับถือกันเสมือนญาติมิตร คือ เจ้าผู้ครองนครน่าน , เจ้าผู้ครองนครแพร่ โดยในยุคนี้แบ่งหัวเมืองฝ่ายเหนือออกเป็น 4 ระดับ (พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2442) ดังนี้[3]
นครประเทศราช
แก้นครประเทศราชล้านนา ประกอบด้วย 5 นคร (หัวเมืองใหญ่) ที่เคยปกครองอาณาจักรหัวเมืองเหนือ ซึ่งต่อมาได้เข้ามาสวามิภักดิ์เป็นข้าขอบขัณฑสีมาเมืองประเทศราชของกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ได้แก่ นครแพร่ (พ.ศ. 2314), นครเชียงใหม่ (พ.ศ. 2317), นครลำปาง (พ.ศ. 2317), นครน่าน (พ.ศ. 2331) และนครลำพูน (พ.ศ. 2357) โดยถือ นครเชียงใหม่ เป็นเมืองหลวง ในส่วนอิสริยยศและฐานันดรศักดิ์ของเจ้าผู้ครองนครทั้ง 5 นคร ทางราชสำนักสยามได้ให้อิสริยยศและฐานันดรศักดิ์ของเจ้าผู้ครองนครเสมอกันทั้ง 5 นคร และได้ให้อิสระกับเจ้าผู้ครองนครทั้ง 5 นคร ในปกครองบ้านเมืองของตนทุกประการ แต่มีพันธะกับราชสำนักสยามเพียงแค่ต้องส่ง ต้นไม้เงินต้นไม้ทองและเครื่องราชบรรณาการ มาถวายทุก 3 ปี และจัดส่งกำลังช่วยเหลือในการสงคราม ดังนั้น “เจ้าผู้ครองนคร” จึงมีสถานะเป็น “พระเจ้าแผ่นดินน้อยๆ” โดยมีเจ้าเมืองเล็ก เจ้าเมืองน้อย จำนวนมากที่อยู่ภายใต้การปกครองและมีสถานะลดหลั่นกันลงไปเป็นลำดับชั้น ซึ่งเจ้าเมืองทั้งหลายต่างก็มีอิสระในการจัดการปกครองภายในเมืองของตนเอง และมีพันธะกับเจ้าผู้ครองนคร คือ ต้องส่งส่วยประจำปี เกณฑ์กำลังคนหรือสัตว์สิ่งของในยามสงคราม และต้องเข้าคารวะเจ้าผู้ครองนครที่หอคำ (วังหลวง) และเข้าพิธีถือน้ำสัจจะที่วัดหลวงประจำนคร
- นครประเทศราชล้านนา ประกอบด้วย 5 นคร ได้แก่
หัวเมืองขึ้นชั้นที่หนึ่ง
แก้หัวเมืองขึ้นชั้นที่หนึ่ง หมายถึง เมืองที่มีเจ้าเมืองเป็นเจ้านายบุตรหลานหรือพระญาติวงศ์ทางการเสกสมรสกับเจ้าผู้ครองนคร เช่น พระชามาดา (ราชบุตรเขย) และราชสำนักสยามรับรองแต่งตั้งให้ดำรงพระยศเป็น "พระยา เจ้าเมืองขึ้น" (ศักดินา 2,000 ไร่) หัวเมืองขึ้นชั้นที่หนึ่ง ประกอบด้วย 8 หัวเมือง ดังนี้
- หัวเมืองขึ้นกับนครน่าน ประกอบด้วย 1 เมือง ได้แก่
- หัวเมืองขึ้นกับนครลำปาง ประกอบด้วย 2 เมือง ได้แก่
- หัวเมืองขึ้นกับนครเชียงใหม่ ประกอบด้วย 5 เมือง ได้แก่
หัวเมืองขึ้นชั้นที่สอง
แก้หัวเมืองขึ้นชั้นที่สอง หมายถึง เมืองที่มีเจ้าเมืองเป็นเจ้านายบุตรหลาน พระประยูรญาติ ราชบุตรเขย หรือข้ารับใช้ใกล้ชิดของเจ้าผู้ครองนคร เป็นเครือญาติเจ้าฟ้าในรัฐฉานหรือเจ้านายไทลื้อของสิบสองพันนา เจ้าผู้ครองนครจะทรงประทานแต่งตั้งให้เจ้าเมืองดำรงตำแหน่งเป็น “พญา” หรือ “อาชญา” โดยที่ราชสำนักสยามรับรองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น “พระ” พ่อเมือง (ศักดินา 600 ไร่) ส่วนเมืองที่มีชาวไทใหญ่อาศัยอยู่จำนวนมาก อย่างกรณี เช่น เมืองแม่ฮ่องสอน เมืองขุนยวม เมืองปาย ชาวเมืองก็เรียกเจ้าเมืองว่า “เจ้าฟ้า”[4] หัวเมืองขึ้นชั้นที่สอง ประกอบด้วย 10 หัวเมือง ดังนี้
- หัวเมืองขึ้นกับนครแพร่ ประกอบด้วย 1 เมือง ได้แก่
- หัวเมืองขึ้นกับนครลำปาง ประกอบด้วย 1 เมือง ได้แก่
- หัวเมืองขึ้นกับนครเชียงใหม่ ประกอบด้วย 3 เมือง ได้แก่
- หัวเมืองขึ้นกับนครน่าน ประกอบด้วย 5 เมือง ได้แก่
|
หัวเมืองขึ้นชั้นที่สาม
แก้หัวเมืองขึ้นชั้นที่สาม หมายถึง หัวเมืองระดับต่ำสุดสยามไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง และเจ้าเมืองในหัวเมืองชั้นนี้ก็ไม่ได้เกี่ยวพันเป็นพระญาติวงศ์กับเจ้าผู้ครองนครถือว่าเป็น “ไพร่ผู้น้อย” ที่เจ้าผู้ครองนครจะทรงแต่งตั้งให้มีสมศักดิ์นามศักดิ์ครองเมืองเป็น “พ่อเมือง” แต่ภายในหัวเมืองขึ้นชั้นที่สามนี้ บางเมืองที่เป็นหัวเมืองขนาดใหญ่ หรือมีการสืบสกุลวงศ์ปกครองภายในบ้านเมืองตนเองมาหลายชั้นชั่วอายุคน ก็ถือว่าตนเป็น “เจ้าเมือง” และชาวเมืองก็ถือว่าเป็น เจ้า จึงนิยมเรียกเจ้าเมืองว่า เจ้าพญา หรือ พ่อเจ้า หัวเมืองขึ้นชั้นนี้มีเป็นร้อยหัวเมือง เดิมล้านนามี 57 หัวเมือง แต่ได้ขยายเพิ่มขึ้นอีกมาก
- หัวเมืองขึ้นกับนครเชียงใหม่ ประกอบด้วย 22 เมือง ได้แก่
|
|
- หัวเมืองขึ้นกับนครลำปาง ประกอบด้วย 16 เมือง ได้แก่
- หัวเมืองขึ้นกับนครลำพูน ประกอบด้วย 2 เมือง ได้แก่
- หัวเมืองขึ้นกับนครน่าน ประกอบด้วย 41 เมือง ได้แก่
อ้างอิง
แก้- เชิงออรรถ
- ↑ ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ 700 ปี, หน้า 134
- ↑ ศรีสักดิ์ วัลลิโภดม.ล้านนาประเทศ.กรุงเทพฯ : มติชน,2545
- ↑ ศักดิ์หัวเมืองในล้านนายุคราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน(ทิพจักราธิวงศ์) ช่วงเป็นประเทศราชของสยาม พ.ศ. ๒๓๑๗ - ๒๔๔๒
- ↑ ตำแหน่งเจ้าเมืองขึ้น "หัวเมืองขึ้นชั้นที่สอง" ของราชสำนักล้านนา เรียกว่า "พญา" หรือ "อาชญา" ชาวเมืองนิยมเรียกว่า "เจ้าพญา" หรือ "เจ้าหลวง" เช่นพญาขัณฑเสมาบดี -เจ้าเมืองป่าเป้า อาชญามหาวงศ์ -เจ้าเมืองเชียงคำ ส่วนเมืองที่มีชาวไทใหญ่เป็นจำนวนมาก จะเรียกว่า "เจ้าฟ้า" เช่น เมืองแม่ฮ่องสอน เมืองขุนยวม เมืองปาย เช่น พญาเทพบำรุงรัตนาเขตร (เจ้าฟ้าวงศ์)-เจ้าเมืองขุนยวม.-(น.อ.คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์)
- บรรณานุกรม
- ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่ : ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่, 2538. 496 หน้า. ISBN 974-8150-62-3