ล้อม เพ็งแก้ว
ศาสตราภิชาน ล้อม เพ็งแก้ว ( 4 ธันวาคม พ.ศ. 2479–29 กรกฎาคม พ.ศ. 2567) เกิดที่อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง แต่มาใช้ชีวิตอยู่ที่ จังหวัดเพชรบุรี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร) รับราชการเป็นอาจารย์มาจนกระทั่งเกษียณ โดยที่สุดท้ายเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ล้อม เพ็งแก้ว | |
---|---|
เกิด | 4 ธันวาคม พ.ศ. 2479 อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง |
เสียชีวิต | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (87 ปี) |
ชื่ออื่น | ปราชญ์ชาวบ้าน, ปราชญ์เมืองเพชร |
อาชีพ | อาจารย์, นักเขียน, นักประวัติศาสตร์ |
รางวัล | รางวัลนราธิป พ.ศ. 2564 |
นอกจากนี้แล้วยังเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคามอีกด้วย[1]
อาจารย์ล้อม เป็นผู้เชี่ยวชาญทางภาษา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาไทยหลายแขนง จนได้รับการขนานนามว่า "ปราชญ์ชาวบ้าน" หรือ "ปราชญ์เมืองเพชร" มีผลงานที่เป็นที่ยอมรับและนับถือมากมาย จากงานเขียนที่สะท้อนความคิดตามนิตยสารต่าง ๆ เช่น มติชนสุดสัปดาห์, เมืองโบราณ, สารคดี เป็นต้น และมีผลงานเป็นหนังสือจำนวนมาก
ปัจจุบัน เป็นที่ปรึกษากลุ่มคนรักเมืองเพชร และเป็นนายกสมาคมสื่อมวลชน จังหวัดเพชรบุรี[2]
ชีวิตส่วนตัว มีบุตรสาวชื่อ นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว เป็นนักเขียนสารคดีดีเด่นแห่งปี พ.ศ. 2551 และผู้ดำเนินการองค์การพัฒนาเอกชน (NGO)[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย ประจำปีพุทธศักราช 2552". หอเกียรติยศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13 กรกฎาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2011.
- ↑ เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง; อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, บ.ก. (2004). รู้ทันภาษา รู้ทันการเมือง : ทักษิณสมัย. กรุงเทพฯ: ฃอคิดด้วยฅน, สนพ. p. 199–200. ISBN 9749238796.
- ↑ พรชัย จันทโสก, บ.ก. (9 กุมภาพันธ์ 2009). "นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว ... นักเขียนบทความดีเด่นปี 2551". กรุงเทพธุรกิจ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2012. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2011.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗๒, ๒๑ มกราคม ๒๕๓๐