ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง

ลูปัส อีริทีมาโตซัส ทั่วร่าง หรือ เอสแอลอี (อังกฤษ: systemic lupus erythematosus, SLE, lupus) เป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ จึงเข้าโจมตีเนื้อเยื่อปกติของร่างกายทำให้เกิดอาการป่วย[1] ผู้ป่วยอาจมีอาการได้หลายแบบตั้งแต่เล็กน้อยแทบไม่มีอาการไปจนถึงรุนแรงอาจถึงแก่ชีวิต[1] อาการที่พบบ่อยได้แก่ ข้ออักเสบ มีไข้ เจ็บหน้าอก ผมร่วง แผลในปาก ต่อมน้ำเหลืองโต อ่อนเพลีย และมีผื่นแดง ซึ่งมักพบที่บริเวณใบหน้า[1] ผู้ป่วยมักมีระยะที่อาการเป็นมาก อาจเรียกว่าระยะกำเริบ และระยะที่อาการเป็นน้อย เรียกว่าระยะสงบ[1]

โรคลูปัส
ชื่ออื่นsystemic lupus erythematosus (SLE)
การออกเสียง
สาขาวิชาRheumatology
อาการPainful and swollen joints, fever, chest pain, hair loss, mouth ulcers, swollen lymph nodes, feeling tired, red rash[1]
การตั้งต้น15–45 years of age[1][2]
ระยะดำเนินโรคLong term[1]
สาเหตุUnclear[1]
วิธีวินิจฉัยBased on symptoms and blood tests[1]
ยาNSAIDs, corticosteroids, immunosuppressants, hydroxychloroquine, methotrexate[1]
พยากรณ์โรค15 year survival ~80%[3]
ความชุก2–7 per 10,000[2]

สาเหตุที่แท้จริงของเอสแอลอีนั้นยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน[1] ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นผลจากหลายปัจจัยทั้งจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม[4] ในแฝดไข่ใบเดียวกัน (แฝดเหมือน) จะพบว่าหากคนหนึ่งป่วยเอสแอลอี อีกคนหนึ่งจะมีโอกาสสูงถึง 24% ที่จะเป็นโรคด้วย[1] ปัจจัยเสี่ยงที่พบว่าเพิ่มโอกาสการเป็นโรคได้แก่ ฮอร์โมนเพศหญิง แสงแดด การสูบบุหรี่ ภาวะพร่องวิตามินดี และโรคติดเชื้อบางชนิด[4] กลไกหลักที่ทำให้เกิดอาการของโรคคือการเกิดแอนติบอดีต่อเนื้อเยื่อร่างกายตัวเอง เรียกว่า ออโตแอนดิบอดี[1] ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแอนติบอดีต่อนิวเคลียส ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบ[1] การวินิจฉัยบางครั้งอาจทำได้ยาก ต้องใช้ทั้งอาการและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการประกอบกัน[1] โรคอื่นๆ ในกลุ่มของโรคลูปัสมีอีกหลายโรค ซึ่งแต่ละโรคอาจมีอาการทั้งส่วนที่เหมือนและส่วนที่ต่างจากเอสแอลอี โรคเหล่านี้ เช่น ลูปัส อีริทีมาโตซัส ชนิดรูปคล้ายจาน, ลูปัส อีริทีมาโตซัส ที่ผิวหนังแบบกึ่งเฉียบพลัน และ ลูปัส อีริทีมาโตซัส ในทารกแรกเกิด เป็นต้น[1]

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาเอสแอลอีให้หายขาด[1] การรักษาจะเน้นไปที่การระงับอาการด้วยการลดการอักเสบ และลดกระบวนการภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยาที่ใช้ เช่น ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาสเตียรอยด์ ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ไฮดรอกซีคลอโรควิน และเมโทเทรกเซท[1] ส่วนการแพทย์ทางเลือกนั้นยังไม่พบว่ามีวิธีใดที่รักษาแล้วเห็นผล[1] ผู้ป่วยอาจมีอายุขัยสั้นกว่าคนปกติ[5] โดยโรคนี้จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุด[4] หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมผู้ป่วย 80% จะอยู่รอดได้นานกว่า 15 ปี[3] หากผู้ป่วยหญิงเกิดตั้งครรภ์จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นไปอีก แต่ส่วนใหญ่จะสามารถมีลูกได้[1]

ความชุกของเอสแอลอีมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ โดยอยู่ที่ 20-70 ต่อ 100,000 ประชากร[2] ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จะพบโรคนี้บ่อยที่สุดโดยพบถึง 9 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ชาย[4] ช่วงอายุที่พบได้บ่อยอยู่ที่ 15-45 ปี แต่ก็พบในช่วงอายุอื่นๆ ได้เช่นกัน[1][2] ชาวแอฟริกา แคริบเบียน และจีน มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนขาว[4][2] ส่วนความชุกของโรคในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนานั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด[6] เนื่องจากผู้ป่วยอาจเข้าไม่ถึงระบบบริการสุขภาพ ชื่อภาษาอังกฤษของโรคนี้คือ ลูปัส (Lupus) เป็นภาษาลาตินที่แปลว่า หมาป่า ชื่อนี้มีที่มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยเชื่อว่ามาจากการที่ผื่นที่พบในผู้ป่วยมีลักษณะเหมือนถูกหมาป่ากัด[7] คนไทยหลายคนรู้จักโรคนี้ในชื่อ "โรคพุ่มพวง" เนื่องจาก พุ่มพวง ดวงจันทร์ นักร้องลูกทุ่งชื่อดังได้เสียชีวิตจากโรคนี้[8]

สาเหตุ แก้

พันธุกรรม แก้

จากการศึกษาพบว่ามียีนบางตัวที่ก่อให้เกิดโรคนี้โดยตรง หรือมียีนบางลักษณะเมื่อเกิดปฏิกิริยากับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมบางอย่างจะก่อให้เกิดโรคนี้

ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม แก้

เช่นคนไข้โรคหัวใจบางรายที่กินยา Procainamide[ต้องการอ้างอิง] หรือคนไข้ความดันโลหิตสูงบางรายที่กินยา Hydralazine[ต้องการอ้างอิง] ก็มีอาการของโรคเอสแอลอี แต่เมื่อหยุดยาโรคก็หายไป นอกจากนี้ฮอร์โมนเพศหญิง[ต้องการอ้างอิง] ทำให้ผู้ป่วยบางรายมีอาการของโรคเอสแอลอีช่วงก่อนมีประจำเดือนหรือขณะตั้งครรภ์

เอนไซม์ แก้

นักวิทยาศาสตร์พบว่าเอนไซม์ Dnase-1 มีส่วนทำให้เกิดโรคเอสแอลอี[ต้องการอ้างอิง] เอนไซม์ตัวนี้ทำหน้าที่ทำลายสายป่าน DNA หลังจากการตายของเซลล์ จากการทดลองในหนูพบว่าหากการทำลายสายป่าน DNA ขัดข้องร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาต่อต้านระบบภูมิคุ้มกัน และขณะเดียวกันในการศึกษาผู้ป่วยโรคเอสแอลอี 10 ราย พบว่ามี 4 รายที่เอนไซม์ Dnase-1 ทำงานน้อยลง

กรรมพันธุ์ แก้

พบว่าผู้ป่วยโรคเอสแอลอี 10% มีพ่อแม่หรือญาติป่วยเป็นโรคนี้ด้วย และพบเพียง 5% ของเด็กที่เป็นโรคนี้มีแม่ป่วยเป็นโรคเอสแอลอี

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 1.20 "Handout on Health: Systemic Lupus Erythematosus". www.niams.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). February 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2016. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Danchenko, N.; Satia, J.A.; Anthony, M.S. (2006). "Epidemiology of systemic lupus erythematosus: a comparison of worldwide disease burden". Lupus. 15 (5): 308–318. doi:10.1191/0961203306lu2305xx. PMID 16761508.
  3. 3.0 3.1 The Cleveland Clinic Intensive Review of Internal Medicine (5 ed.). Lippincott Williams & Wilkins. 2012. p. 969. ISBN 9781451153309. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2016. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Lisnevskaia, L; Murphy, G; Isenberg, D (22 November 2014). "Systemic lupus erythematosus". Lancet. 384 (9957): 1878–88. doi:10.1016/s0140-6736(14)60128-8. PMID 24881804.
  5. Murphy, G; Isenberg, D (December 2013). "Effect of gender on clinical presentation in systemic lupus erythematosus". Rheumatology (Oxford, England). 52 (12): 2108–15. doi:10.1093/rheumatology/ket160. PMID 23641038.
  6. Tiffin, N; Adeyemo, A; Okpechi, I (7 January 2013). "A diverse array of genetic factors contribute to the pathogenesis of systemic lupus erythematosus". Orphanet journal of rare diseases. 8: 2. doi:10.1186/1750-1172-8-2. PMC 3551738. PMID 23289717.
  7. Chabner, Davi-Ellen (2013). The Language of Medicine (ภาษาอังกฤษ). Elsevier Health Sciences. p. 610. ISBN 1455728462.
  8. "โรคพุ่มพวง / โรคลูปัส (Lupus) / โรคเอสแอลอี (SLE)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-01. สืบค้นเมื่อ 2021-09-29.
  • นิยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 มิถุนายน 2551