ลูกโซ่ความเย็น
ลูกโซ่ความเย็น (อังกฤษ: cold chain) หรือ โซ่เย็น เป็นห่วงโซ่อุปทานคือระบบการเคลื่อนย้ายสินค้าที่ต้องควบคุมอุณหภูมิติดต่อกันเป็นลูกโซ่ ลูกโซ่ความเย็นที่ไม่ขาดหมายถึงการมีลำดับการผลิต การเก็บ และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีการแช่เย็นโดยตลอดบวกกับการมีอุปกรณ์และโลจิสติกส์ที่เนื่องกันและจำเป็นเพื่อควบคุมสินค้าให้อยู่ในพิสัยอุณหภูมิที่ต้องการ[1] จุดประสงค์ก็เพื่อยืดและรักษาอายุคุณภาพของสินค้าต่าง ๆ เช่น ผักผลไม้สด[2] อาหารทะเล อาหารแช่แข็ง ฟิล์มถ่ายภาพ สารเคมี และเภสัชภัณฑ์[3] สินค้าในโซ่เย็นจะไม่เหมือนสินค้าทั่วไปเพราะเป็นของเสียได้ และถือเป็นสินค้าที่กำลังจัดส่งไปยังจุดบริโภคตลอดเวลาแม้เมื่อกำลังเก็บไว้อย่างชั่วคราวในห้องเย็น และดังนั้น จึงมักเรียกว่า "คาร์โก้" ตลอดทั้งวงจรโลจิสติกส์ การมีที่เก็บซึ่งเย็นพออาจจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อป้องกันอาหารเสียทั้งโดยคุณภาพและโดยปริมาณ[4]
ประวัติ
แก้ชาวแอฟริกัน-อเมริกัน เฟร็ดเดอริก โจนส์เป็นผู้ประดิษฐ์ตู้เย็นกลที่ช่วยรักษาความเย็นได้เป็นครั้งแรก และได้ก่อตั้งบริษัทเทอร์โมคิง (Thermo King) ร่วมกับนักลงทุนชาวอเมริกัน โจเซฟ นิวเมอโร ผู้ในปี 1938 ได้ขายธุรกิจเครื่องเสียงภาพยนตร์ให้แก่บริษัทอาร์ซีเอ แล้วก่อตั้งบริษัทที่ต่อมามีชื่อว่าเทอร์โมคิงกับโจนส์ โจนส์ได้ออกแบบตู้เย็น (แบบ air-cooling คือใช้อากาศทำให้เย็น) ที่สามารถบรรทุกบนรถแล้วใช้ขนส่งอาหารสดอันเสียได้[5] โดยได้สิทธิบัตรในปี 1940[6]
เทคโนโลยีเยี่ยงนี้ได้ใช้มาตลอดตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 โดยมักใช้รักษาสภาพเนื้อหรือเซลล์สัตว์ ความต้องการระบบเยี่ยงนี้ได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะนวัตกรรมทางการแพทย์ซึ่งมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นการรักษามะเร็ง โดยเฉพาะในเหตุการณ์ระบาดทั่วของโควิด-19 ซึ่งจำเป็นต้องฉีดวัคซีน จึงทำให้ระบบนี้สำคัญเป็นอย่างยิ่ง[7]
การใช้
แก้โซ่เย็นเป็นเรื่องสามัญในอุตสาหกรรมอาหารและยา แต่ก็ยังใช้ส่งสารเคมีด้วย แม้พิสัยอุณหภูมิสามัญสำหรับยาจะอยู่ระหว่าง 2-8 องศาสเซลเซียส แต่อุณหภูมิโดยเฉพาะ ๆ ที่จำเป็นและช่วงเวลาที่เก็บในอุณหภูมินั้นได้ ก็ยังขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์
ผักผลไม้
แก้คาร์โกผักผลไม้สดมีลักษณะพิเศษคือ นอกจากต้องรักษาอุณหภูมิแล้ว ยังต้องรักษาลักษณะทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ โดยเฉพาะ ๆ[2] รวมทั้งคุณภาพอากาศ (เช่น ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน ความชื้น เป็นต้น)
วัคซีน
แก้โซ่เย็นใช้เพื่อขนส่งวัคซีนไปยังสถานพยาบาลไกล ๆ ในภูมิอากาศร้อนที่อาจมีระบบการขนส่งที่ไม่ดี ระบบที่ติดขัดเนื่องจากสงครามอาจมีผลเสียหายดังที่พบในเหตุการณ์ระบาดของโรคฝีดาษในฟิลิปปินส์ช่วงสงครามระหว่างสเปนกับสหรัฐ (ค.ศ. 1898) เพราะวัคซีนที่แจกจำหน่ายไม่มีประสิทธิผลเนื่องจากควบคุมอุณหภูมิไม่ได้ในระหว่างการขนส่ง[8]
วัคซีนต้องมีโซ่เย็นในระดับต่าง ๆ รวมทั้งโซ่เย็นอุณหภูมิต่ำเป็นพิเศษ (ultralow, deep freeze) สำหรับวัคซีนที่ต้องแช่แข็งที่อุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส วัคซีนอีโบลาและวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์-ไบออนเทคต้องส่งแช่แข็งในระดับนี้ โดยเหมือนกับวัคซีนสัตว์บางชนิด เช่น ที่ให้แก่ไก่ ยังมีโซ่เย็นที่อุณหภูมิ -20 องศาสเซลเซียส วัคซีนโรคอีสุกอีใสและวัคซีนงูสวัดต้องแช่แข็งในระดับนี้ ยังมีโซ่เย็นในระดับ 2-8 องศาสเซลเซียส วัคซีนไข้หวัดใหญ่โดยมากต้องแช่เย็นในระดับนี้[9] ในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19 วัคซีนที่พัฒนาขึ้นต้องใช้ตู้แช่แข็งและการขนส่งที่เย็นถึง -70 องศาสเซลเซียส[10] ซึ่งเป็นปัญหาในการแจกจ่ายวัคซีนของไฟเซอร์ ประเมินว่ามีประเทศเพียง 25-30 ประเทศทั่วโลกที่มีโครงสร้างพื้นฐานจำเป็นในการขนส่งวัคซีนที่อุณหภูมิระดับนี้[9]
ความสมเหตุผล
แก้กระบวนการขนส่งแบบโซ่เย็นเป็นส่วนเพิ่มของมาตรฐานการผลิตแบบ GMP ซึ่งยาและผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพทั้งหมดควรต้องใช้ โดยองค์กรของรัฐต่าง ๆ จะเป็นผู้ควบคุม ดังนั้น ระบบเช่นนี้จึงต้องตรวจสอบความสมเหตุผลให้แน่ใจว่าไม่มีผลลบต่อความปลอดภัย ประสิทธิศักย์ หรือคุณภาพของยา มาตรฐานของ GMP กำหนดว่า กระบวนการทั้งหมดที่อาจมีผลต่อความปลอดภัย ประสิทธิศักย์ หรือคุณภาพของยาต้องมีหลักฐานยืนยันเป็นเอกสารว่า ได้ทำตามขั้นตอนและได้ผลลัพธ์ตามที่กำหนด[10][1] โซ่เย็นอาจบริหารด้วยระบบบริหารคุณภาพ (quality management system, QMS) โดยอุปกรณ์บันทึกข้อมูลอุณหภูมิ (temperature data logger) และแท็กอาร์เอฟไอดีสามารถใช้ช่วยตรวสอบประวัติอุณหภูมิของรถบรรทุกและคลังสินค้าเป็นต้น รวมทั้งประวัติอุณหภูมิของผลิตภัณฑ์ที่กำลังส่ง[11] โดยยังช่วยกำหนดอายุคุณภาพสินค้า (shelf life) ที่เหลือได้อีกด้วย[12]
ดูเพิ่ม
แก้เชิงอรรถและอ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "The Vaccine Cold Chain" (PDF). www.who.int. WHO. สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.
- ↑ 2.0 2.1 Kohli, Pawanexh. "Fruits and Vegetables Post-Harvest Care: The Basics". CrossTree techno-visors. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-03. สืบค้นเมื่อ 2021-05-18.
- ↑ Gyesley, S. W. (1991). "Total Systems Approach to Predict Shelf Life of Packaged Foods". ASTM STP 1113-EB.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ The State of Food and Agriculture 2019. Moving forward on food loss and waste reduction, In brief. Rome: FAO. 2019. p. 12.
- ↑ "Frederick McKinley Jones". Minnesota Science and Technology Hall of Fame. Minnesota High Tech Association / Science Museum of Minnesota. สืบค้นเมื่อ 2010-02-11.
- ↑ Smith, Jessie Carney (2012). Black Firsts: 4,000 Ground-Breaking and Pioneering Historical Events. Visible Ink Press. p. 613. ISBN 978-1-57859-424-5.
- ↑ Kelly, Kate (2020-12-15). "Critical to Vaccines, Cold Storage Is Wall Street's Shiny New Thing". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2020-12-20.
- ↑ "Office of Medical History". history.amedd.army.mil. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-16. สืบค้นเมื่อ 2018-04-24.
- ↑ 9.0 9.1 Fischetti, Mark (2020-11-19). "The COVID Cold Chain: How a Vaccine Will Get to You". www.scientificamerican.com. Scientific American. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-19. สืบค้นเมื่อ 2020-12-20.
- ↑ 10.0 10.1 Lowe, Derek (2020-08-31). "Cold Chain (And Colder Chain) Distribution". Science Translational Medicine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-27. สืบค้นเมื่อ 2020-09-05.
- ↑ Riva, Marco; Piergiovanni, Schiraldi, Luciano; Schiraldi, Alberto (January 2001). "Performances of time-temperature indicators in the study of temperature exposure of packaged fresh foods". Packaging Technology and Science. 14 (1): 1–39. doi:10.1002/pts.521.
- ↑ Meyers, T (June 2007). "RFID Shelf-life Monitoring Helps Resolve Disputes". RFID Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-30.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Protecting Perishable Foods During Transport by Truck เก็บถาวร 2014-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, USDA Handbook 669, 1995
- Brian Lassen, "Is livestock production prepared for an electrically paralysed world?" J. Sci. Food Agric. 2013;93(1):2-4, Explains the vulnerability of the cold chain from electricity dependence.
- Manual on the Management, Maintenance and Use of Blood Cold Chain Equipment, World Health Organization, 2005,
- Pawanexh Kohli, "Fruits and Vegetables Post-Harvest Care: The Basics", Explains why the cold chain is required for fruits and vegetables.
- Clive, D., Cold and Chilled Storage Technology, 1997,
- EN 12830:1999 Temperature recorders for the transport, storage and distribution of chilled, frozen and deep-frozen/quick-frozen food and ice cream
- Ray Cowland, Developing ISTA Cold Chain Environmental Standards, 2007.