ลุยจี อาโลอีซีโอ กัลวานี[1] (อิตาลี: Luigi Aloisio Galvani, ละติน: Aloysius Galvani; 9 กันยายน ค.ศ. 17374 ธันวาคม ค.ศ. 1798) เป็นนักฟิสิกส์และแพทย์ชาวอิตาลี เป็นผู้บุกเบิกการศึกษาแม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพ

ลุยจี กัลวานี
เกิดลุยจี อาโลอีซีโอ กัลวานี
9 กันยายน ค.ศ. 1737(1737-09-09)
โบโลญญา รัฐสันตะปาปา
เสียชีวิต4 ธันวาคม ค.ศ. 1798(1798-12-04) (61 ปี)
โบโลญญา รัฐสันตะปาปา
สัญชาติอิตาลี
มีชื่อเสียงจากแม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพ
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาฟิสิกส์

ประวัติ

แก้

ลุยจิ กัลวานี เกิดเมื่อ ค.ศ. 1737 เป็นบุตรของโดเมนีโกและบาร์บารา ฟอสกี เมื่อเติบโตเป็นวัยรุ่น กัลวานีมีความตั้งใจจะเป็นนักบวช แต่ทางบ้านไม่ยินยอม จึงเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยโบโลญญาแทน โดยเลือกเรียนวิชาแพทย์ กัลวานีศึกษางานของฮิปพอคราทีส, กาเลน และแอวิเซนนา และนอกจากนี้เขายังเรียนวิชาศัลยศาสตร์อีกด้วย ในปี ค.ศ. 1762 เขาก็ได้รับตำแหน่งอาจารย์และแต่งงานกับบุตรสาวของศาสตราจารย์คนหนึ่งในมหาวิทยาลัย

ต่อมากัลวานีได้ย้ายจากการสอนศัลยศาสตร์มาเป็นกายวิภาคศาสตร์ และเริ่มสนใจในการศึกษากระแสไฟฟ้าในสิ่งมีชีวิต เขาทำการทดลองโดยแตะคีมไปที่ขากบที่วางอยู่บนจานโลหะ ผลที่ได้คือขากบนั้นกระตุก จากผลการทดลองนี้ กัลวานีจึงสรุปว่าในตัวกบมีกระแสไฟฟ้าอยู่ ทำให้เกิดปฏิกิริยาขึ้นเมื่อใช้คีมแตะ เพราะคีมทำจากเหล็กซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้า เขาเรียกการหดตัวของกล้ามเนื้อเมื่อถูกกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าว่า แกลวานิซึม (galvanism) และเรียกพลังงานที่ทำให้ขากบกระตุกว่า "ไฟฟ้าชีวภาพ" (animal electricity)

กัลวานียังคงศึกษาเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้าชีวภาพอย่างต่อเนื่อง จวบจนบั้นปลายชีวิตที่เขาต้องประสบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่ผันผวน กัลวานีถูกขับออกจากตำแหน่งอาจารย์และถูกระงับเงินช่วยเหลือ เขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1798 อย่างคนสิ้นเนื้อประดาตัว

สิ่งสืบเนื่อง

แก้

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้