ลำดับเวลารัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

ต่อไปนี้ คือลำดับเวลารัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

กฎอัยการศึก แก้

20 พฤษภาคม 2557 แก้

  • 08:25 น. - กอ.รส.ออกคำสั่งฉบับที่ 1 ให้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ทั้งหมด รับสัญญาณถ่ายทอดแถลงการณ์จากกองทัพบกทุกครั้งที่ได้รับการประสาน[1]
  • 09:48 น. - กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 3 ห้ามสื่อข่าวที่กระทบต่อการรักษาความสงบ[2]
  • 10:36 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 6 สั่งให้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระงับการออกอากาศจำนวน 10 ช่อง รวมถึงวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาต[3]
  • 11:06 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 5 แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา กอ.รส.
  • 12:40 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 4 เชิญบุคคลสำคัญร่วมประชุมแก้ปัญหาความไม่สงบ[4]
  • 14:00 น. กอ.รส. เริ่มประชุมตามคำสั่งฉบับที่ 4 ที่สโมสรทหารบก สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ปฏิเสธไม่เข้าร่วมประชุม[5]
  • 19:34 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 8 ขอความร่วมมือสื่อสังคมออนไลน์ ระงับส่งข้อความปลุกระดม สร้างความรุนแรง ไม่เคารพกฎหมาย ต่อสิทธิบุคคล[6]
  • 19:45 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 7 สั่งให้โทรทัศน์ดาวเทียมระงับการออกอากาศเพิ่มเติมอีก 4 ช่อง[7]
  • 20:09 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 9 สั่งห้ามสื่อทุกแขนง เชิญผู้ไม่มีตำแหน่งราชการ แสดงความเห็นก่อความขัดแย้ง พร้อมสั่งให้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรจังหวัด เข้าระงับการชุมนุมต่อต้าน การปฏิบัติงานของ กอ.รส.[8]
  • 20:49 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 10 สั่งห้ามข้าราชการ-เจ้าหน้าที่พลเรือน-ประชาชน พกพา-ใช้อาวุธสงครามและวัตถุระเบิด เว้นทหารตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยตามคำสั่ง[9]
  • 21:04 น. พันเอก วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก ในฐานะ โฆษก กอ.รส. ชี้แจงขั้นตอนการประกาศกฎอัยการศึกว่าเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ ผ่าน โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย[10] และ กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 12 ให้ตำรวจ, เจ้าหน้าที่พลเรือน, หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ[11][12]

21 พฤษภาคม 2557 แก้

วันที่ 21 พฤษภาคม 2557 กลุ่มผู้ชุมนุมทั้งสองยังชุมนุมต่อไป กอ.รส. ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตและสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายงานต่อ กอ.รส. เพื่อควบคุมเนื้อหาทางออนไลน์[13] ในช่วงบ่ายวันนั้น มีประกาศ กอ.รส. ฉบับที่ 6/2557 เพื่อเรียกตัวแทนจาก 7 ฝ่ายเข้าร่วมประชุมที่สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต[14] โดยห้ามมิให้มีผู้ติดตามเดินทางมาด้วย โดยรายนามผู้ที่ได้รับเชิญมีดังนี้

  1. ผู้แทนรัฐบาล ประกอบด้วย นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการนายกรัฐมนตรี และผู้ติดตาม 4 คน โดย นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล มอบหมายให้ ศ.พิเศษ ชัยเกษม นิติสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นหัวหน้าคณะแทน (ผู้ติดตามประกอบด้วย พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รศ.ดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม วราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
  2. ผู้แทนวุฒิสภา ประกอบด้วย สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 และผู้ติดตาม 4 คน (ผู้ติดตามอีก 1 คน คือ พีระศักดิ์ พอจิต ส.ว.อุตรดิตถ์)
  3. คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย ศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการการเลือกตั้ง 4 คน (คณะกรรมการการเลือกตั้ง 3 คน และ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง 1 คน ประกอบด้วย บุญส่ง น้อยโสภณ กรรมการการเลือกตั้ง ด้านสืบสวนสอบสวน สมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ประวิช รัตนเพียร กรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการการมีส่วนร่วม และ ภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง)
  4. ผู้แทน พรรคเพื่อไทย ประกอบด้วย จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรค และผู้ติดตาม 4 คน โดยจารุพงศ์มอบหมายให้ พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ รองหัวหน้าพรรค เป็นหัวหน้าคณะแทน (ผู้ติดตามประกอบด้วย ภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรค พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรค รศ. ชูศักดิ์ ศิรินิล คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย และ วันมูหะมัดนอร์ มะทา (กรรมการยุทธศาสตร์พรรค)
  5. ผู้แทน พรรคประชาธิปัตย์ ประกอบด้วย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค และผู้ติดตาม 4 คน (ผู้ติดตามประกอบด้วย จุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรค ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรค และ นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรค)
  6. ผู้แทน คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ประกอบด้วย สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ และผู้ติดตาม 4 คน (ผู้ติดตามประกอบด้วย สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ศ.ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ สมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำ กปปส. และ เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษก กปปส.)
  7. ผู้แทน แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ประกอบด้วย จตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน และผู้ติดตาม 4 คน (ผู้ติดตามประกอบด้วย ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผศ. ธิดา ถาวรเศรษฐ วีระกานต์ มุสิกพงศ์ และ ก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำ นปช.)

โดยการประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียดตั้งแต่เวลา 13.30 น. จน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจให้มาประชุมกันใหม่ในวันรุ่งขึ้น (22 พฤษภาคม 2557) เวลา 14.00 น.[15] เพื่อหาทางออกของประเทศร่วมกัน ภายหลังรัฐมนตรีรักษาการได้ออกมาเผยว่าท่าทีของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในที่ประชุมดูแปลกไป แต่ตนเชื่อว่า พล.อ.ประยุทธยังคงไม่คิดรัฐประหารแน่นอน[15] ในวันนี้ได้มีการแต่งตั้ง นุรักษ์ มาประณีต เป็น ประธานศาลรัฐธรรมนูญ

รัฐประหาร แก้

22 พฤษภาคม 2557 แก้

  • 14:00 น. - ประชุมร่วม 7 ฝ่าย เพื่อหาทางออกของประเทศครั้งที่ 2 ตามประกาศกอ.รส. ฉบับที่ 8/2557 โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานในที่ประชุม ระหว่างการประชุม พลเอก ประยุทธ์ เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายได้เสนอแนวทางที่เห็นว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดของประเทศ หลังจากเวลาผ่านไปสองชั่วโมงก็ไม่มีข้อยุติ ต่อมา สุเทพ เทือกสุบรรณ กับ จตุพร พรหมพันธุ์ แยกไปหารือเป็นการส่วนตัว ขณะเดียวกัน ประยุทธ์ก็ได้หารือกับผู้บัญชาการเหล่าทัพไปพร้อม ๆ กัน[16] เมื่อกลับมาหารือกันต่อ ประยุทธ์ได้สอบถาม ชัยเกษม นิติสิริ ในฐานะหัวหน้าตัวแทนฝ่ายรัฐบาล ว่ารัฐบาลยืนยันไม่ลาออก ทั้งรายบุคคลและทั้งคณะใช่หรือไม่ ซึ่ง ชัยเกษม นิติสิริ ระบุว่า นาทีนี้ไม่ลาออก และต้องการดำเนินการต่อจนกว่าจะครบวาระตามกฎหมาย ประยุทธ์จึงตอบกลับว่าจะยึดอำนาจการปกครอง[17] และสั่งจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรี ตลอดจนแกนนำ กปปส., นปช. และพรรคการเมืองที่เข้าร่วมเจรจา ทั้งหมดถูกนำไปกักขัง[18] ที่ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[19] ตำรวจ จับประชาชน จำนวน 37 ราย ที่ชุมนุม บริเวณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร[20]
  • 17:00 น. - เกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่ม นปช. กับเจ้าหน้าที่ทหารบริเวณ ถนนอุทยาน[22]
  • 17:30 น. - เจ้าหน้าที่ทหารเข้าคุมพื้นที่ ถนนอุทยาน สำเร็จ และสั่งให้กลุ่ม นปช. ยุติความเคลื่อนไหวจนกว่าจะมีคำสั่ง สื่อมวลชนและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำหน้าที่ของตน และให้อยู่ในอำนาจตามที่กำหนด[22]
  • 18:00 น. - คสช. ประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรอีกครั้ง[21]
  • 18:20 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 3 ห้ามประชาชนออกจากเคหสถาน ตั้งแต่เวลา 22.00 น. - 5.00 น. ทั่วราชอาณาจักร เว้นแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่[21] ผลแห่งประกาศนี้ทำให้สถานที่สำคัญหลายแห่งทั่วประเทศประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป รวมถึงระบบขนส่งมวลชนต่าง ๆ ก็ประกาศปิดทำการก่อนเวลาเช่นกัน กล่าวคือ รถไฟฟ้าบีทีเอส ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 21.00 น.[23] รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 21.00 น.[24] และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประกาศปิดทำการตั้งแต่เวลา 21.00 น.[25] สำหรับสายซิตี้ไลน์จะออกในเวลา 21.02 น. และสำหรับสายเอ็กซ์เพรสไลน์ จะออกจากสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเที่ยวสุดท้ายในเวลา 21.00 น.[26]
  • 18:30 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 4 บังคับให้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ และโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิลทุกสถานี งดรายการประจำสถานี และให้ใช้สัญญาณของ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ออกอากาศไปจนกว่าจะได้รับคำสั่งเปลี่ยนแปลง[21] ผลแห่งประกาศนี้ทำให้ ทรูวิชันส์[27] จีเอ็มเอ็มแซต[28] และซีทีเอช[29] ที่เป็นบริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก ต้องใช้สัญญาณของสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกออกอากาศไปบนช่องรายการทุกช่องโดยไม่ว่าจะเป็นช่องรายการในประเทศหรือนอกประเทศจนกว่าจะได้รับคำสั่งเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
  • 19:00 น. - คสช. ออกประกาศให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ชุมนุมกลับสู่ภูมิลำเนาตามเดิม โดยทางกองทัพบกได้จัดขบวนรถจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเพื่ออำนวยความสะดวก และได้ออกคำสั่งให้ทหารที่รับผิดชอบในพื้นที่ช่วยจัดการบริหารให้ประชาชนเดินทางกลับ[21]
  • 19:10 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 5 ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลงชั่วคราว ยกเว้นหมวด 2 พระมหากษัตริย์ และให้คณะรัฐมนตรีรักษาการสิ้นสุดลง ส่วนวุฒิสภา ศาล และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญยังปฏิบัติหน้าต่อไป[21]
  • 21:00 น. - คสช. ออกคำสั่งฉบับที่ 1 โดยให้อดีตรัฐมนตรี 18 คนเข้ารายงานตัว[30]

23 พฤษภาคม 2557 แก้

24 พฤษภาคม 2557 แก้

  • 09:35 น. - ผู้ให้บริการช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัล และโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิลระดับชาติ เข้าพบ คสช. โดยคาดว่าจะสามารถออกอากาศได้ในวันเดียวกัน[43]
  • 10:50 น. - คสช. ยกเว้นประกาศฉบับที่ 4/2557 แก่ช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้งหมดโดยอนุโลม จึงสามารถกลับมาออกอากาศตามปกติอีกครั้ง ยกเว้นวอยซ์ทีวี ช่อง 21 ที่ยังระงับการออกอากาศ[43] ซึ่งแต่เดิมรวมถึงโทรทัศน์ดาวเทียม 274 ช่องรายการ ที่มีเนื้อหาสาระซึ่งไม่ขัดต่อประกาศ คสช. ด้วย[44] โดยทุกช่องที่กลับมาออกอากาศจะแสดงภาพสัญลักษณ์ที่ คสช.กำหนดไว้บนหน้าจอ
  • 10:53 น. - เจ้าหน้าที่ทหารปิดการจราจรบน ถนนพหลโยธิน ทั้งขาเข้าและขาออก ใกล้กับสี่แยกรัชโยธิน หลังเริ่มมีกลุ่มผู้ชุมนุมมาประท้วงรัฐประหาร[45]
  • 11:58 น. - เจ้าหน้าที่ทหารเริ่มตรึงกำลังบริเวณด้านหน้าโรงภาพยนตร์ เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน เขตจตุจักร หลังมีผู้ชุมนุมเริ่มตั้งกลุ่มประท้วงการทำรัฐประหารอีกครั้งและมีทีท่าว่าเหตุการณ์จะบานปลาย[45]
  • 16:15 น. - เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจชุดควบคุมฝูงชนเริ่มตรึงพื้นที่บริเวณทางเข้าสถานีตำรวจนครบาล บางซื่อ หลังเจรจากับกลุ่มผู้ชุมนุมไม่สำเร็จ และต้องการเคลื่อนขบวนต่อ โดยผู้ชุมนุมเตรียมใช้รถไฟฟ้าบีทีเอสในการหลีกเลี่ยงการปะทะกับเจ้าหน้าที่ และเดินทางไปยังอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ[46][47]
  • 16:40 น. - กลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐประหาร เริ่มใช้พื้นที่บนสกายวอล์ครอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิปักหลักชุมนุม[46]
  • 16:57 น. - เจ้าหน้าที่ทหารเริ่มบุกเข้ามาในพื้นที่ชุมนุม แต่ฝั่งผู้ชุมนุมขัดขืนและวิ่งไล่เจ้าหน้าที่ให้ออกจากพื้นที่ชุมนุม[46]
  • 17:00 น. - ผู้ชุมนุมบางส่วนปักหลักชุมนุมที่บริเวณสี่แยกปทุมวันอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เจ้าหน้าที่ทหารได้ตรึงกำลังไว้ก่อน ภายหลังผู้ชุมนุมถอยร่นไปยังบริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ บางส่วนหนีเข้าเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ แต่ไม่นานเจ้าหน้าที่ของศูนย์การค้าจะออกมาปิดประตูทางเชื่อมสกายวอล์คทั้งหมด[46]
  • 18:00 น. - พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวได้ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ภายหลังจึงส่งไปรายงานตัวต่อ คสช. ก่อนจะถูกย้ายตัวไปยังค่ายทหาร เช่นเดียวกับผู้เข้ารายงานตัว คนอื่น ๆ[48]
  • 18:11 น. - ผู้ชุมนุมบริเวณสี่แยกปทุมวัน เริ่มทยอยกลับ[46]
  • 18:48 น. - คสช. ออกคำสั่งฉบับที่ 7, 8 เนื้อหาย้าย พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว ธาริต เพ็งดิษฐ์ ให้ พลตำรวจเอก ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติดำรงตำแหน่งรักษาการอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ควบ 2 ตำแหน่ง พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติดำรงตำแหน่งรักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ควบ 2 ตำแหน่ง และออกประกาศฉบับที่ 30 ให้วุฒิสภาสิ้นสุดลง[49]
  • 20:15 น. - คสช. ออกคำสั่งห้ามผู้ให้บริการโทรทัศน์ทุกช่อง มิให้เปิดรับข้อความตัวอักษร หรือการโทรศัพท์เข้าแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ภายในรายการ หากฝ่าฝืน คสช.จะลงโทษจากเบาไปหาหนักคือ ตักเตือน เรียกพบ และออกคำสั่งระงับสัญญาณช่องรายการในที่สุด[44]

25 พฤษภาคม 2557 แก้

  • 10:00 น. - กลุ่มต่อต้านรัฐประหารได้เดินทางมายังร้าน แมคโดนัลด์ สาขา ศูนย์การค้าอมรินทร์พลาซา ใกล้ แยกราชประสงค์ เพื่อทำกิจกรรมต่อต้านรัฐประหาร โดยทหารได้ตรึงกำลังโดยรอบ มีรายงานผู้ชุมนุมถูกควบคุมตัว 2 ราย ได้แก่ นาย ภิญโญภาพ บำรุงธรรม และ นาย เอนก อินทร์ประเสริฐ โดบควบคุมตัวไว้ที่กองปราบปราม [50]และได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล 1 ราย
  • 10:00 น. - ประวิทย์ โรจนพฤกษ์ เดินทางเข้าพบ คสช. ตามคำสั่ง โดยเข้ามาพร้อมกับ อานนท์ นำภา ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 3 คน[51] หลังจากนั้นไม่นาน ไพวงษ์ เตชะณรงค์ วิมลรัตน์ กุลดิลก และ พิชิต ชื่นบาน ก็เดินทางเข้าพบ คสช. ตามคำสั่งเช่นกัน[52]สมศักดิ์ ภักดีเดช บรรณาธิการเว็บไซต์ไทยอีนิวส์ ถูกจับกุมในวันดังกล่าว[53]
  • 10:10 น. - เจ้าหน้าที่จากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 3 คน เดินทางออกจากหอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ โดยไม่ได้มี อานนท์ นำภา และ ประวิทย์ โรจนพฤกษ์ ติดตามออกมาด้วย[51]
  • 11:00 น. - มีกลุ่มบุคคลแสดงสัญลักษณ์ต่อต้านรัฐประหารประมาณ 30 คน ที่หน้า สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ ในจำนวนนี้มีชาวไทยสัญชาติอเมริกันเข้าร่วมด้วย[54]
  • 11:30 น. - กลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณหน้า สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ออกเดินทางจากสถานทูตไปสมทบกับกลุ่มผู้ชุมนุมอีกกลุ่มที่บริเวณด้านหน้า ศูนย์การค้าอมรินทร์พลาซา ในเวลาไม่นานเจ้าหน้าที่ก็ได้เข้ามาตรึงกำลัง และปิดการจราจรบน ถนนวิทยุ ตั้งแต่ แยกสารสิน จนถึง แยกเพลินจิต เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้ชุมนุมมาชุมนุมด้านหน้าสถานทูตอีก[54]
  • 14:51 น. - คสช. ออกแถลงว่าให้ชาวนาเข้ามารับเงินค่าจำนำที่ค่ายทหาร และ กองทัพอากาศไทย ในช่วงบ่ายของวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยใช้งบสี่หมื่นล้านบาทที่เป็นเงินกู้สภาพคล่องของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในการจ่ายล็อตแรก ส่วนล็อตหลังจะเป็นเงินกู้จากสถาบันการเงินภายในประเทศทั้งหมดห้าหมื่นล้านบาท โดย คสช. คาดว่าจะใช้เวลา 1 เดือน ในการจ่ายเงินค่าจำนำให้ชาวนาครบทุกราย ส่วนระยะเวลาการชำระคืนคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 14-15 เดือน ถึงจะสามารถปลดหนี้ส่วนนี้ได้[55]
  • 16:23 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 37 ให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 107-118 และความผิดตามประกาศหรือคำสั่งของ คสช. โดยให้ยกเว้นคดีความผิดในพื้นที่ที่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (พ.ร.บ. มั่นคง) และ พ.ร.บ. บริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน[56] ภายหลังมีประกาศเพิ่มเติมว่าความผิดข้างต้น ห้ามจำเลยแต่งตั้งทนายมาสู้คดี และจำเลยไม่มีสิทธิ์นำคดีไปยื่นอุทธรณ์หรือฎีกา[ต้องการอ้างอิง]
  • 18:31 น. - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นเป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[57]
  • 19:58 น. - คสช. ทวิตอย่างเป็นทางการ ขอความร่วมมือให้ประชาชนหรือร้องขอให้บุคคลในครอบครัว ไม่ออกมาเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านการทำงานของ คสช. เพราะถึงทำไปก็ไม่มีประโยชน์ และเจ้าหน้าที่ก็มีสิทธิ์ดำเนินการตามคำสั่งภายใต้กฎอัยการศึกและประกาศหรือคำสั่งของ คสช. และถ้าประชาชนได้รับความเดือดร้อนหรือได้รับบาดเจ็บ จะไม่มีสิทธิ์เรียกร้อง[58]
  • 22:45 น. - ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับการปล่อยตัวจากค่ายทหาร[59]

26 พฤษภาคม 2557 แก้

  • 9:49 น. - เจ้าหน้าที่ทหารคุมตัว สุเทพ เทือกสุบรรณ พร้อมแกนนำ กปปส. ออกจากค่ายทหาร และพาเข้ารายงานตัวในคดีกบฏกับสำนักงานอัยการสูงสุด[60]
  • 10:49 น. - กองทัพบกจัดพิธีรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ [61][62]
  • 12:00 น. - ศาลอาญามีคำสั่งประทับรับฟ้องในคดีที่พนักงานอัยการยื่นฟ้อง สุเทพ เทือกสุบรรณ ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเล็งเห็นผล จากกรณีมีคำสั่งสลายการชุมนุมของ นปช. เมื่อ พ.ศ. 2553 ส่วนคดีกบฏ ของกรมสอบสวนคดีพิเศษยังไม่ได้มีการพิจารณา[63]
  • 14:00 น. - สุเทพ เทือกสุบรรณ ยื่นคำร้องและหลักทรัพย์เป็นบัญชีเงินฝากของธนาคารกสิกรไทยเพื่อขอประกันตัว ต่อมาศาลอนุมัติคำร้องให้ประกันตัวได้ โดยตีราคาการประกันตัวที่ 600,000 บาท และมีข้อแม้ว่าห้าม สุเทพ เทือกสุบรรณ เดินทางออกจากประเทศ ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากศาล อีกทั้งศาลนัดให้มาตรวจพยานหลักฐานอีกครั้งในวันที่ 28 กรกฎาคมนี้ ภายหลังเจ้าหน้าที่คุมตัวขึ้นรถและเดินทางกลับไปยังบ้านพักตามปกติ[63]
  • 15:28 น. - แกนนำ กปปส. 13 ราย ได้รับการประกันตัวชั่วคราว หลังวางเงินประกันตัวคนละ 100,000 บาท อัยการนัดสอบปากคำเพิ่มรายบุคคลภายหลัง[64]
  • 20:08 น. - ทรูวิชันส์ ออกแถลงกรณีการระงับการออกอากาศช่องข่าวสารต่างประเทศ 14 ช่อง เช่น ซีเอ็นเอ็น, บีบีซี เวิลด์นิวส์, ซีเอ็นบีซี ว่าช่องรายการดังกล่าวไม่สามารถควบคุมเนื้อหาบนจอโทรทัศน์ได้ อาจเข้าข่ายความผิดตามประกาศของ คสช. จึงจำเป็นต้องระงับการส่งสัญญาณชั่วคราว[65]

27 พฤษภาคม 2557 แก้

  • 15:40 น. - ทหารเข้าควบคุมตัว จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ อาคารมณียาเซ็นเตอร์ ถนนเพลินจิต[66][67]
  • 20:40 น. - คสช. ออกประกาศฉบับที่ 42 โดยปรับเวลาห้ามออกนอกจากเคหสถาน จากเดิมเป็น เวลา 00.01 - 4.00 น. และออกคำสั่งเฉพาะฉบับที่ 24

28 พฤษภาคม 2557 แก้

  • 16:45 น. - เจ้าหน้าที่ควบคุมตัว จาตุรนต์ ฉายแสง มายังกองบังคับการปราบปราม เพื่อเตรียมนำตัวไปขึ้นศาลทหาร นับเป็นพลเรือนคนแรกที่ถูกดำเนินคดีในศาลทหาร[68]
  • 18:30 น. - เกิดความวุ่นวายระหว่างการชุมนุมประท้วงรัฐประหารที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ทหารจับผู้ชุมนุมไป 2 คน ผู้ชุมนุมสลายตัวอีกประมาณ 10 นาทีต่อมา[69]

มิถุนายน 2557 แก้

  • 10 – เรืออากาศตรี ฉลาด วรฉัตร ฟ้อง คสช. ปลัดกระทรวง และเจ้ากรมพระธรรมนูญ รวม 28 คนต่อศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ฐานความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยและกบฏ จากการประกาศกฎอัยการศึกและยึดอำนาจการปกครองประเทศ[70] ต่อมา ศาลอาญาให้ยกฟ้อง เพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องในคดีนี้ ศาลพิจารณาว่า ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรถือเป็นความผิดต่อรัฐ รัฐเป็นผู้เสียหาย จึงมีพนักงานอัยการเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล
  • 13 – คสช. ออกประกาศฉบับที่ 64 ประกาศยกเลิกห้ามประชาชนออกจากเคหสถานทั่วราชอาณาจักร[70]ทหารจับ จิตรา คชเดช

กรกฎาคม 2557 แก้

สิงหาคม 2557 แก้

เมษายน 2558 แก้

สิงหาคม 2558 แก้

ตุลาคม 2559 แก้

มกราคม 2560 แก้

  • 15 - มีพระราชโองการโปรดเกล้ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2560[77]

เมษายน 2560 แก้

มกราคม 2561 แก้

  • 27 - มีการจัดชุมนุมใหญ่เนื่องจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผ่านความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เมื่อวันที่ 25 ม.ค. โดยให้เลื่อนการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ออกไปอีก 90 วันนับจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา[78]

มกราคม 2562 แก้

มีนาคม 2562 แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ลำดับเหตุการณ์ ประมวลสถานการณ์ นาทีต่อนาทีก่อนประกาศกฎอัยการศึก เก็บถาวร 2014-05-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 20 พ.ค. 2557
  2. "กอ-รส-ออกคำสั่งที่3ห้ามสื่อข่าวกระทบการรักษาความสงบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-13. สืบค้นเมื่อ 2014-07-26.
  3. อัปเดตคำสั่งกอ-รส-[ลิงก์เสีย]
  4. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 4
  5. ในฐานะองค์กรกำกับดูแลค
  6. กอ-รส-ขอโซเชียลมีเดียระงับส่งข้อความปลุกระดม[ลิงก์เสีย]
  7. กอ-รส-สั่ง4ทีวีดาวเทียมงดออกอากาศเพิ่มเติม[ลิงก์เสีย]
  8. กอ-รส-ห้ามสร้างความขัดแย้ง-ต่อต้านการปฏิบัติงาน[ลิงก์เสีย]
  9. กอ-รส-สั่งห้ามพกพาอาวุธสงคราม-ระเบิด[ลิงก์เสีย]
  10. "กอ-รส-แจงประกาศกฎอัยการศึกตามขั้นตอนทุกประการ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-21. สืบค้นเมื่อ 2014-07-26.
  11. "กอ-รส-สั่งตร-จนท-พลเรือนปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-22. สืบค้นเมื่อ 2014-07-26.
  12. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 12
  13. "กอ.รส. ตั้งคณะทำงานคุมสื่อออนไลน์". Manager. 2014-05-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-21. สืบค้นเมื่อ 2014-05-21.
  14. ประกาศ กอ.รส. ฉบับที่ 6 เชิญบุคคลสำคัญร่วมประชุม
  15. 15.0 15.1 'สุเทพ' แจง ประชุม 7 ฝ่ายไร้ข้อยุติ ชง 4 ข้อแก้วิกฤติชาติ
  16. (มีคลิปเสียง).html สนธิญาณ แฉลับเบื้องลึก...จากห้องประชุมชนวนเหตุ"ยึดอำนาจ" (มีคลิปเสียง)
  17. ""ประยุทธ์ " ถาม " ชัยเกษม " รบ.ยอมลาออกหรือไม่ ก่อนประกาศ ยึดอำนาจ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-26. สืบค้นเมื่อ 2021-08-28.
  18. "'ประยุทธ์-เหล่าทัพ'แถลง'ควบคุมอำนาจรัฐ'". Komchadluek. 2014-05-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-22. สืบค้นเมื่อ 2014-05-22.
  19. "ผบ.ทบ. แถลงยึดอำนาจ" [Army chief seizes power]. Post Today. 2014-05-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-16. สืบค้นเมื่อ 2014-05-22.
  20. ตร.ปล่อยตัวนักศึกษากว่า 30 คน ทำกิจกรรม 1 ปี รัฐประหารหน้าหอศิลป์ฯ แล้ว
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 21.6 รวมประกาศ-คำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  22. 22.0 22.1 "ทหารเข้าคุมพื้นที่ชุมนุมเสื้อแดง ถ.อักษะแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-26. สืบค้นเมื่อ 2021-10-15.
  23. ทวิตเตอร์ของรถไฟฟ้าบีทีเอส
  24. ทวิตเตอร์ของบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  25. ทวิตเตอร์ของบริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด
  26. ทวิตเตอร์ของบริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด
  27. ประกาศของทรูวิชันส์บนเฟซบุ๊ก
  28. ประกาศของจีเอ็มเอ็มแซตบนเฟซบุ๊ก
  29. ประกาศของซีทีเอชบนเฟซบุ๊ก
  30. คำสั่ง'คสช.'ให้อดีตครม.18คน, มารายงานตัวที่พล.ร1รอ.ทันที
  31. "ทหารปล่อยตัว "มาร์ค"พร้อมแกนนำ ปชป.แล้ว ส่วน นปช.ยังไม่รู้ชะตากรรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-28. สืบค้นเมื่อ 2021-10-15.
  32. ""ยรรยง" ประเดิมเข้ารายงานตัวเป็นคนแรก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-30. สืบค้นเมื่อ 2021-10-15.
  33. "สมชาย-จารุพงศ์-นิวัฒน์ธำรง"เข้ารายงานตัวแล้ว
  34. ""ยิ่งลักษณ์"เข้ารายงานตัวแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-03. สืบค้นเมื่อ 2021-10-15.
  35. "3 แกนนำเพื่อไทย " วิโรจน์-ชูศักดิ์- วันนอร์ " ถูกปล่อยตัวแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-10-15.
  36. คสช.ออกประกาศ5ช่องฟรีทีวีออกอากาศได้ปกติเย็นนี้[ลิงก์เสีย]
  37. 37.0 37.1 "กลุ่มประชาชนรวมตัวหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-26. สืบค้นเมื่อ 2014-07-26.
  38. ฟรีทีวีคืนจอแล้ว เฉพาะช่องอะนาล็อก ดิจิตอลรอไปก่อน
  39. 39.0 39.1 วุ่น! ทหารจับผู้ประท้วงหน้าหอศิลป์ ยังไม่ทราบชะตากรรม
  40. "ประชาชนรวมตัวหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ แยกย้ายกลับ - ทหารคุมตัว 5 ราย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-07-26.
  41. ""คสช."ปล่อยตัว "ยิ่งลักษณ์-สมชาย-เยาวภา" แล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-26. สืบค้นเมื่อ 2021-10-15.
  42. สะพัด! คุมตัว 'ยิ่งลักษณ์' กัก 'ค่ายอดิศร' 3 วัน
  43. 43.0 43.1 'คสช.' อนุญาตทีวีดิจิตอล รวม 'ไทยรัฐทีวี' ออกอากาศแล้ว!
  44. 44.0 44.1 "'คสช.' สั่งห้ามทีวีมี SMS - โฟนอิน แสดงความเห็น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-10. สืบค้นเมื่อ 2014-07-26.
  45. 45.0 45.1 ผู้ชุมนุมทำกิจกรรมหน้าเมเจอร์ รัชโยธิน - บก.จร.แนะเลี่ยงเส้นทาง[ลิงก์เสีย]
  46. 46.0 46.1 46.2 46.3 46.4 กลุ่มค้านรัฐประหารแสดงสัญลักษณ์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-ปทุมวัน
  47. ประมวลภาพมวลชน ค้านรัฐประหาร หน้า สน.บางซื่อ
  48. "รวบ ' ประชา พรหมนอก' คาสนามบินสุวรรณภูมิ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-28. สืบค้นเมื่อ 2021-10-15.
  49. 'ประยุทธ์'เด้งฟ้าผ่า'อดุลย์-ธาริต-นิพัทธ์'เข้ากรุ สั่งยุบ'วุฒิสภา'
  50. ม็อบต้านรัฐประหารสลาย นัดใหม่อนุสาวรีย์ชัย26พค.
  51. 51.0 51.1 ‘ประวิตร’ นักข่าวเนชั่นรายงานตัวทหาร ยังไม่ทราบความคืบหน้า
  52. "ไพวงษ์ เตชะณรงค์" เข้ารายงานตัวตามคำสั่ง คสช.แล้ว
  53. สมศักดิ์ ภักดีเดช ถูกจับกุม
  54. 54.0 54.1 กลุ่มต้านรัฐประหาร ชุมนุมประท้วงตรงข้ามสถานทูตสหรัฐฯ
  55. "คสช.กู้เงินธ.ก.ส.จ่ายหนี้ชาวนา9หมื่นล้าน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-30. สืบค้นเมื่อ 2014-07-26.
  56. คสช.ประกาศให้บางฐานความผิดกฎหมายอาญาขึ้นศาลทหาร
  57. เตรียมพิธีรับโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นหัวหน้า คสช.
  58. ""ยิ่งลักษณ์" ได้รับการปล่อยตัวจากค่ายทหารแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-01. สืบค้นเมื่อ 2021-10-15.
  59. ปล่อยตัว กำนันสุเทพ แกนนำ กปปส. แล้ว
  60. โปรดเกล้าฯ"ประยุทธ์"หัวหน้าคสช. รับพระบรมราชโองการที่กองทัพบก 26 พ.ค. แจงโรดแม็ปตั้งนายกฯ
  61. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
  62. 63.0 63.1 ศาลให้ประกัน “สุเทพ“ คดีสลายชุมนุม 53 สั่งห้ามออกประเทศ
  63. "ปล่อยตัว'สุเทพ'พร้อม13แกนนำข้อหากบฏ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-29. สืบค้นเมื่อ 2014-07-26.
  64. ทรูวิชั่นส์แจงระงับ 14 ช่องข่าวต่างประเทศ[ลิงก์เสีย]
  65. "ทหารบุกรวบ"จาตุรนต์" แล้ว - เผยเจ้าตัวไปปาฐกถาที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศฯ ตั้งใจยอมให้จับโดยดี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-07-26.
  66. "ด่วน!! ทหารบุกควบคุมตัว "จาตุรนต์" แล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-19. สืบค้นเมื่อ 2014-07-26.
  67. "คุมตัว "จาตุรนต์" ขึ้นศาลทหาร - เจ้าตัวยื้มแย้ม ฝากบอกประชาชนไม่ต้องเป็นห่วง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-07-26.
  68. ม็อบต้านรัฐประหารเข้าล้อม-ปล่อยลมรถทหาร[ลิงก์เสีย]. โพสต์ทูเดย์. 28 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2557.
  69. 70.0 70.1 คสช.ประกาศ ยกเลิก ‘เคอร์ฟิว’ ทั่วประเทศแล้ว
  70. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซต์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
  71. พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๗, ราชกิจจานุเบกษา, 1 สิงหาคม 2557
  72. "โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2021-08-28.
  73. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ใน ราชกิจจานุเบกษา
  74. พระราชโองการยกเลิกกฎอัยการศึก
  75. "เลิกกฎอัยการศึก ทูลแล้ว เดินหน้ามาตรา44 เผยอียูเป็นห่วง บิ๊กตู่สปีกอิงลิช ชี้แจงสื่อออสซี่". ข่าวสด. 2015-01-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-01. สืบค้นเมื่อ 2015-01-04.
  76. พระราชโองการโปรดเกล้ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
  77. จาก "รวมพลคนอยากเลือกตั้ง" ถึงนัดชุมนุมไล่รัฐบาล คสช. 10 ก.พ.

ดูเพิ่ม แก้