ลากูนาเดบัย (สเปน: Laguna de Bay, แปลว่า "ลากูนแห่งบัย"; ตากาล็อก: Lawa ng Bay; [baɪ]) หรือเรียกว่า ทะเลสาบลากูนา (อังกฤษ: Laguna Lake) เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมโทรมะนิลา ระหว่างจังหวัดลากูนาทางใต้และรีซัลทางเหนือ เป็นทะเลสาบน้ำจืด มีพื้นที่ผิว 911–949 ตารางกิโลเมตร (352–366 ตารางไมล์) โดยมีความลึกเฉลี่ยประมาณ 2.8 เมตร (9 ฟุต 2 นิ้ว) และมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณหนึ่งเมตร ทะเลสาบมีรูปร่างเหมือนตีนกา มีคาบสมุทรสองแห่งยื่นออกมาจากชายฝั่งทางเหนือ ระหว่างคาบสมุทรเหล่านี้ส่วนตรงกลางจะปกคลุมแอ่งภูเขาไฟลากูนาขนาดใหญ่ กลางทะเลสาบมีเกาะตาลิมขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ภายใต้เขตเทศบาลบินังโกนัน และคาร์โดโน

ลากูนาเดบัย
ทิวทัศน์ของทะเลสาบจากบัย
ลากูนาเดบัยตั้งอยู่ในเกาะลูซอน
ลากูนาเดบัย
ลากูนาเดบัย
สถานที่ตั้งในลูซอน
ที่ตั้ง
พิกัด14°23′00″N 121°15′00″E / 14.38333°N 121.25000°E / 14.38333; 121.25000
ชนิดทะเลสาบหลุมปล่องภูเขาไฟ (ทฤษฎี)/ ทะเลสาบธรณีแปรสัณฐาน
แหล่งน้ำไหลเข้าหลัก21 ลำน้ำสาขา
แหล่งน้ำไหลออกแม่น้ำปาซิก
ประเทศในลุ่มน้ำฟิลิปปินส์
ช่วงยาวที่สุด47.3 km (29.4 mi) (E-W)
ช่วงกว้างที่สุด40.5 km (25.2 mi) (N-S)
พื้นที่พื้นน้ำ911–949 km² (352–366 sq mi)
ความลึกโดยเฉลี่ย2.5 m (8 ft 2 in)
ความลึกสูงสุด20 m (66 ft)
ความยาวชายฝั่ง1285 km (177 mi)
ความสูงของพื้นที่น้อยกว่า 2 m (6 ft 7 in)
เกาะเกาะตาลิม
1 ความยาวแนวชายฝั่งไม่ได้ถูกวัดอย่างละเอียด

ทะเลสาบเป็นแหล่งปลาน้ำจืดหลักแหล่งหนึ่งในประเทศ น้ำของทะเลสาบไหลลงสู่อ่าวมะนิลาผ่านทางแม่น้ำปาซิก

รากศัพท์ แก้

 
ทะเลสาบลากูนาที่ถูกล้อมรอบโดยจังหวัดลากูนา จังหวัดรีซัล และเมโทรมะนิลาล; สีแดงเน้นที่ตั้งของเมืองบัย

ลากูนาเดบัย หมายถึง "ลากูนของ[เมือง]บัย" ซึ่งพูดถึงเมืองริมทะเลสาบบัย (ออกเสียง "Bä'ï") ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจังหวัดลากูนาในอดีต[1] การสะกดชื่อเมืองแบบอื่น ๆ ได้แก่ "Bae" หรือ "Ba-I" และในสมัยอาณานิคมตอนต้น "Bayi" หรือ "Vahi" ดังนั้นทะเลสาบบางครั้งจึงสะกดว่า "Laguna de Bae" หรือ "Laguna de Ba-i" ส่วนใหญ่โดยชาวบ้าน[1] ชื่อเมืองนี้เชื่อกันว่ามาจากคำภาษาตากาล็อกที่แปลว่า "นิคม" (ฺbahayan) และเกี่ยวข้องกับคำว่า "บ้าน" (bahay) "ชายฝั่ง" (baybayin) และ "เขตแดน" (baybay) และคำอื่น ๆ การนำภาษาอังกฤษมาใช้ในช่วงที่ชาวอเมริกันยึดครองฟิลิปปินส์ทำให้เกิดความสับสนเนื่องจากคำว่า "bay" (ออกเสียงเบย์) ที่แปลว่า "อ่าว" ในภาษาอังกฤษทำให้เกิดการออกเสียงผิด[1]

ภูมิศาสตร์ แก้

ลากูนาเดบัย เป็นแหล่งน้ำจืดตื้นขนาดใหญ่ใจกลางเกาะลูซอน มีพื้นที่รวมประมาณ 911 ตารางกิโลเมตร (352 ตารางไมล์) และแนวชายฝั่ง 220 กิโลเมตร (140 ไมล์)[2] ถือเป็นแหล่งน้ำบนบกที่ใหญ่เป็นอันดับสามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากโตนเลสาบในประเทศกัมพูชา และทะเลสาบโตบาในเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ลากูนาเดบัยล้อมรอบด้วยจังหวัดลากูนาทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก และทิศตะวันตกเฉียงใต้ จังหวัดรีซัลทางทิศเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ และเมโทรมะนิลาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลสาบมีความลึกเฉลี่ย 2.8 เมตร (9 ฟุต 2 นิ้ว) และน้ำส่วนเกินจะถูกระบายออกทางแม่น้ำปาซิก[3][4]

ทะเลสาบได้รับน้ำจากลุ่มน้ำขนาด 45,000 ตารางกิโลเมตร (17,000 ตารางไมล์) และแม่น้ำสาขาใหญ่ 21 แห่ง ในจำนวนนี้คือ แม่น้ำปักซันจันซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้กับทะเลสาบ 35%, แม่น้ำซานตาครูซซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้กับทะเลสาบ 15% และแม่น้ำอื่น ๆ[2] [5]

ส่วนตรงกลางของลากูนาเดบัยระหว่างภูเขาเซมบราโนและเกาะตาลิมคือแอ่งภูเขาไฟลากูนาที่เชื่อกันว่าเกิดจากการปะทุของภูเขาไฟครั้งใหญ่สองครั้ง เมื่อประมาณ 1 ล้านถึง 27,000–29,000 ปีก่อน ประวัติศาสตร์ภูเขาไฟสามารถเห็นได้จากการมีอยู่ของมาร์รอบพื้นที่[6][7]

การใช้ แก้

ทะเลสาบเป็นทรัพยากรอเนกประสงค์ เพื่อลดน้ำท่วมในกรุงมะนิลาตามแนวแม่น้ำปาซิก ในช่วงที่มีฝนตกหนัก กระแสน้ำสูงสุดของแม่น้ำมาริกินาจะถูกเปลี่ยนเส้นทางผ่านทางน้ำท่วมมังกาฮันไปยังลากูนาเดบัย ซึ่งทำหน้าที่เป็นอ่างเก็บน้ำชั่วคราว กรณีระดับน้ำในทะเลสาบสูงกว่าแม่น้ำมาริกินา กระแสน้ำจะกลับทิศ น้ำจากทั้งแม่น้ำมาริกินาและทะเลสาบจะไหลผ่านแม่น้ำปาซิกไปยังอ่าวมะนิลา[8]

ทะเลสาบถูกใช้เป็นช่องทางเดินเรือสำหรับเรือโดยสารตั้งแต่สมัยอาณานิคมของสเปน นอกจากนี้ยังใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับเขื่อนคาลิรายาในเมืองคาลายานในจังหวัดลากูนา การใช้งานอื่นๆ ได้แก่ การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ นันทนาการ การสนับสนุนอาหารสำหรับอุตสาหกรรมเป็ดที่กำลังเติบโต การชลประทาน และถังเก็บ "เสมือน" สำหรับน้ำทิ้งจากครัวเรือน การเกษตร และการทิ้งน้ำเสียอุตสาหกรรม[3] Because of its importance in the development of the Laguna de Bay Region, unlike other lakes in the country, its water quality and general condition are closely monitored.[9] เนื่องจากมีความสำคัญในการพัฒนาภูมิภาค ลากูนาเดบัยจึงมีการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำและสภาพทั่วไปอย่างใกล้ชิด แตกต่างจากทะเลสาบอื่น ๆ ในประเทศ แหล่งน้ำที่สำคัญนี้ได้รับผลกระทบอย่างมากจากแรงกดดันด้านการพัฒนา เช่น การเติบโตของประชากร การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว และการจัดสรรทรัพยากร[10]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Sheniak, David; Feleo, Anita (2002), "Rizal and Laguna: Lakeside Sister Provinces (Coastal Towns of Rizal and Metro Manila)", ใน Alejandro, Reynaldo Gamboa (บ.ก.), Laguna de Bay: The Living Lake, Unilever Philippines, ISBN 971-922-721-4
  2. 2.0 2.1 LLDA 1995, p. 4.
  3. 3.0 3.1 Gonzales, E. (1987). "A socio economics geography (1961–85) of the Laguna lake resources and its implications to aquatic resources management and development of the Philippine islands" Dissertation. Cambridge University, England, United Kingdom
  4. Guerrero, R. & Calpe, A. T. (1998). "Water resources management : A global priority". National Academy of Science and Technology, Manila, Philippines
  5. Nepomuceno, Dolora N. (2005-02-15). "The Laguna de Bay and Its Tributaries Water Quality Problems, Issues and Responses" (PDF). The Second General Meeting Of the Network of Asian River Basin Organizations. Indonesia: Network of Asian River Basin Organizations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 7, 2006. สืบค้นเมื่อ 18 February 2007.
  6. Santos-Borja, Adelina C. (2008). "Multi-Stakeholders’ Efforts for the Sustainable Management of Tadlac Lake, The Philippines" เก็บถาวร 2018-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Research Center for Sustainability and Environment, Shiga University.
  7. "Laguna Caldera". Global Volcanism Program. Smithsonian Institution. สืบค้นเมื่อ 2010-03-13.
  8. LLDA 1995, pp. 4–6.
  9. Department of Environment and Natural Resources, 1996
  10. Batu, M. (1996) Factors affecting productivity of selected inland bodies of water in the Philippines: The case of the Laguna Lake 1986 to 1996. Undergraduate thesis. San Beda College, Manila.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้