ลัทธิกีดกันทางเพศ

เพศนิยม (อังกฤษ: sexism) หรือ การกีดกันทางเพศ หมายถึงการแบ่งแยกทางเพศและเลือกที่รักมักที่ชังต่อเพศใดเพศหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่จะมีผลกระทบต่อผู้หญิงและเด็กหญิง[1] และถูกเชื่อมโยงกับการเหมารวมและบทบาททางเพศ[2][3] และอาจรวมถึงความเชื่อที่ว่าเพศหนึ่งมีความเหนือกว่าอีกเพศ[4] การกีดกันทางเพศที่รุนแรงอาจส่งเสริมการคุกคามทางเพศ การข่มขืนและความรุนแรงทางเพศรูปแบบอื่น ๆ[5]

กราฟฟิตีการต่อสู้เพศนิยมในตูรินพฤศจิกายน 2016

แหล่งกำเนิดคำและคำจำกัดความ

แก้

“Sexism” เป็นคำที่เริ่มใช้กันราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20[6] คือคติความเชื่อหรือทัศนคติต่อเพศใดเพศหนึ่งว่ามีความด้อยกว่าอีกเพศหนึ่ง และอาจจะหมายถึงความเกลียดชัง หรือ ความเดียดฉันท์ที่มีต่อเพศใดเพศหนึ่งทั้งหมด นอกจากนั้นก็ยังหมายถึงการใช้สามัญทัศน์ของความเป็นชาย (masculinity) ต่อชาย หรือ ความเป็นหญิง (femininity) ต่อหญิง[7] ที่เรียกว่ามีคุณลักษณะที่มี “อัตวิสัยเชิงเพศนิยม” (chauvinism) -- “อัตวิสัยเชิงบุรุษนิยม” (Male chauvinism) หรือ “อัตวิสัยเชิงสตรีนิยม” (Female chauvinism)

Fred R. Shapiro เชื่อว่าคำว่า "sexism" ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1965 โดย Pauline M. Leet ในช่วงฟอรั่มนักเรียนและอาจารย์ "ที่ วิทยาลัย Franklin and Marshall[8][9]และครั้งแรกที่คำว่า "sexism" ปรากฏในการพิมพ์ อยู่ในสุนทรพจน์ของ Caroline Bird ในเรื่อง "On Being Born Female" ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ.1968 ใน Vital Speeches of the Day (หน้า 6)[10] ในสุนทรพจน์นี้  เธอกล่าวว่า "มีการยอมรับที่แพร่หลายว่า เราอยู่ในประเทศที่เป็นเพศนิยม เพศนิยมตัดสินผู้คนจากเพศของพวกเขาในประเด็นที่เพศไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพศนิยม (sexism) มีจุดมุ่งหมายที่สอดคล้องกับการเหยียดผิว (racism)"[11]

การกีดกันทางเพศ คือ การแบ่งแยก มีอคติหรือค่านิยมบนพื้นฐานของเพศ มักส่งผลกับผู้หญิงและเด็กหญิง[1] ได้รับการระบุว่าเป็น "ความเกลียดชังของผู้หญิง" และ "ความอยุติธรรมต่อผู้หญิง"[12]

ประวัติศาสตร์

แก้
 
หญิงสาวสองคนที่ถูกกว่าหาว่าเป็นแม่มด ในซาเรม รัฐแมสซาชูเซตส์

การล่าแม่มด

แก้

การกีดกันทางเพศอาจเป็นแรงผลักดันที่กระตุ้นการล่าแม่มดระหว่างศตวรรษที่ 15 และ 18[13] ในสมัยก่อน ยุโรปและในอาณานิคมยุโรปในทวีปอเมริกาเหนืออ้างว่า แม่มดเป็นภัยคุกคามต่อคริสตจักร ความเกลียดชังผู้หญิงในยุคนั้นมีบทบาทในการประหารผู้หญิงเหล่านี้[14][15]

การใช้เวทมนตร์คาถาผิดกฎหมายในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีโทษถึงตาย ในปี ค.ศ. 2011 มีผู้หญิงถูกตัดหัวในข้อหาใช้ "คาถาและเวทมนตร์"[16] การฆาตกรรมหญิงหลังจากถูกกล่าวหาว่าใช้มนตร์ดำยังคงเป็นที่พบเห็นได้ทั่วไปในบางประเทศ ตัวอย่างเช่นในประเทศแทนซาเนียหญิงสูงอายุประมาณ 500 คนถูกฆาตกรรมในแต่ละปีตามข้อกล่าวหาดังกล่าว[17] ผู้หญิงที่ถูกกล่าวหาว่าใช้มนตร์ดำและความรุนแรง มักเป็นกรณีที่มีการเลือกปฏิบัติหลายรูปแบบ เช่นการเลือกปฏิบัติโดยพิจารณาจากเพศ ที่มีการแบ่งแยกตามวรรณะอย่างในประเทศอินเดียและเนปาลที่มีการก่ออาชญากรรมดังกล่าวเป็นเรื่องที่พบเห็นได้บ่อย[18][19]

การซ่อนเร้นและกฎการแต่งงานอื่น ๆ

แก้

ข้อจำกัดสิทธิสตรีที่แต่งงานแล้วเป็นเรื่องธรรมดาในประเทศตะวันตกจนกระทั่งไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ตัวอย่างเช่น สตรีชาวฝรั่งเศสได้รับสิทธิในการทำงานโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากสามีในปี ในปี ค.ศ. 1965[20][21][22] และในเยอรมนีตะวันตกได้สิทธินี้ในปี ค.ศ. 1977[23][24] ในช่วงยุคฟรังโกของสเปนหญิงที่แต่งงานแล้วต้องได้รับความยินยอมจากสามี (เรียกว่า permiso marital) เพื่อการจ้างงาน การเป็นเจ้าของทรัพย์สิน และการเดินทางออกจากบ้าน กฎนี้ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. 1975[25] ในประเทศออสเตรเลียจนถึงปี ค.ศ. 1983 การทำหนังสือเดินทางของหญิงที่แต่งงานแล้วต้องได้รับอนุญาตจากสามีของเธอก่อน[26]

ผู้หญิงในส่วนต่าง ๆ ของโลกยังคงสูญเสียสิทธิตามกฎหมายหลักการแต่งงาน ตัวอย่างเช่น กฎการแต่งงานของเยเมนระบุว่าภรรยาต้องเชื่อฟังสามีและต้องไม่ออกจากบ้านโดยไม่ได้รับอนุญาต[27] ในอิรักกฎหมายอนุญาตให้สามี "ลงโทษ" ภรรยาของพวกเขาอย่างถูกกฎหมาย[28] ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกประมวลกฎหมายครอบครัวระบุว่าสามีเป็นหัวหน้าครัวเรือน ภรรยาเป็นต้องเชื่อฟังสามีของเธอ ภรรยาต้องอยู่กับสามีของเธอที่ใดก็ตามที่เขาเลือกที่จะมีชีวิตอยู่ และภรรยาจะต้องได้รับอนุญาตจากสามีของตนเพื่อนำคดีไปสู่ศาลหรือดำเนินการฟ้องร้องอื่น ๆ[29]

การล่วงละเมิดและการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในการแต่งงานมักมีรากฐานมาจากการจ่ายเงิน เช่น สินสอดทองหมั้น ราคาเจ้าสาว และสินสมรส[30] การทำธุรกรรมเหล่านี้มักใช้เพื่อควบคุมการบังคับข่มขู่ของภรรยาโดยสามีของเธอและทำให้เขามีอำนาจเหนือเธอ ตัวอย่างเช่นมาตรา 13 ของประมวลกฎหมายสถานะส่วนบุคคล (ตูนิเซีย) ระบุว่า "สามีจะไม่ผิดนัดในการชำระหนี้ให้แก่หญิงสาวที่บังคับให้แต่งงาน"[31][32]หมายความว่าถ้ามีการจ่ายเงินให้หญิงสาวแล้วการข่มขืนในการแต่งงานอาจทำได้ นักวิจารณ์ได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิสตรีในตูนิเซียและภาพลักษณ์ในฐานะประเทศที่ก้าวหน้าในภูมิภาค ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่าการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงยังคงมีอยู่มาก[33][34][35]

การลงคะแนนเสียงและการเมือง

แก้

เพศได้รับการใช้เป็นเครื่องมือในการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในด้านการเมือง การลงคะแนนเสียงของสตรีไม่เคยมีจนกระทั่งปี ค.ศ. 1893 เมื่อนิวซีแลนด์เป็นประเทศแรกที่ให้สิทธิสตรีในการออกเสียงลงคะแนน ประเทศซาอุดิอาระเบียเป็นประเทศล่าสุดนับถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 ที่ขยายสิทธิในการลงคะแนนให้ผู้หญิงใน ค.ศ. 2011[36] บางประเทศในแถบตะวันตกอนุญาตให้ผู้หญิงลงคะแนนเสียงได้เพียงไม่นาน ยกตัวอย่างเช่น สตรีชาวสวิสได้รับสิทธิ์ในการลงคะแนนเลือกตั้งรัฐบาลกลางในปี ค.ศ. 1971[37] สตรีชาวฝรั่งเศสได้รับสิทธิในการลงคะแนนเสียงในปี ค.ศ. 1944[38][39] ในกรีซผู้หญิงได้รับสิทธิออกเสียงในปี ค.ศ. 1952[40] ในลิกเตนสไตน์ผู้หญิงได้รับสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนในปี ค.ศ. 1984 ผ่านการลงประชามติในปี ค.ศ. 1984[41][42]

ทุกวันนี้ ในขณะที่ผู้หญิงเกือบทุกคนมีสิทธิลงคะแนนเสียง การมีส่วนร่วมของผู้หญิงในการเมืองยังต้องการการแก้ไข การศึกษาวิจัยต่างแสดงให้เห็นว่า ในระบอบประชาธิปไตยหลายแห่งรวมทั้งออสเตรเลีย แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ผู้หญิงยังถูกมองด้วยทัศนคติทั่วไปของสังคมในสื่อ[43] ปัญหาบางอย่าง (เช่น การศึกษา) มีแนวโน้มที่จะเชื่อมโยงกับผู้สมัครเพศหญิง ในขณะที่ประเด็นอื่น ๆ (เช่นภาษี) อาจเชื่อมโยงกับผู้สมัครชาย[44] นอกจากนี้ คุณสมบัติส่วนบุคคลของผู้สมัครหญิง เช่น การรูปร่างหน้าตา และบุคลิกภาพผู้สมัครเพศหญิงมักถูกพูดถึง รวมทั้งได้รับการวิจารณ์ว่า ชอบใช้อารมณ์ตัดสินและต้องพึ่งพาผู้อื่น[44] เพศนิยมทางการเมืองยังแสดงให้เห็นในความไม่สมดุลของอำนาจในการร่างกฎหมายระหว่างชายและหญิง[45]

การกีดกันทางเพศในอาชีพ

แก้

การกีดกันทางเพศในอาชีพหมายถึงการเลือกปฏิบัติด้วยคำพูดหรือการกระทำตามเพศของบุคคลนั้นในที่ทำงาน รูปแบบหนึ่งของการกีดกันทางเพศในอาชีพคือการเลือกปฏิบัติด้านค่าจ้าง ใน ค.ศ. 2008 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) พบว่าในขณะที่อัตราการจ้างงานของผู้หญิงมีการขยายตัวและการจ้างงานโดยระบุเพศและความเหลือมล้ำในค่าจ้างลดลงเกือบทุกที่ แต่โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงยังมีโอกาสน้อยกว่าที่จะถูกจ้างงานอยู่ 20% และได้รับค่าจ้างน้อยกว่าผู้ชายอยู่ 17%[46]  นอกจากนี้ยังพบว่า แม้ประเทศในกลุ่ม OECD เกือบทุกประเทศรวมทั้งสหรัฐ[47] ได้จัดตั้งกฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติ กฎหมายเหล่านี้ก็ยากที่จะบังคับใช้[48]

ความเหลือมล้ำในการจ้างงาน

แก้

งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า มารดาในสหรัฐมีโอกาสน้อยกว่าที่จะได้รับการว่าจ้างเมื่อเทียบกับเป็นบิดาที่มีคุณสมบัติเท่าเทียมกันและถ้าได้รับการว่าจ้างจะได้รับเงินเดือนต่ำกว่าผู้สมัครชายที่มีบุตร[49][50][51][52][53][54] การศึกษาโดยใช้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีคุณวุฒิระดับปานกลางพบว่า นักศึกษาชายมีแนวโน้มที่จะได้รับการว่าจ้างมากกว่า มีเงินเดือนที่ดีกว่า และยังได้รับคำปรึกษามากกว่า[55][56]

ความเหลือมล้ำในค่าจ้าง

แก้

การศึกษาทั่วโลกสรุปได้ว่าผู้หญิงโดยเฉลี่ยมีรายได้ต่ำกว่าผู้ชาย บางคนแย้งว่านี่เป็นผลมาจากการเลือกปฏิบัติทางเพศอย่างกว้างขวางในที่ทำงาน คนอื่น ๆ แย้งว่าช่องว่างค่าจ้างเป็นผลมาจากทางเลือกที่แตกต่างกันทั้งชายและหญิง เช่น ผู้หญิงให้คุณค่ามากกว่าผู้ชายในการมีบุตรและผู้ชายมักจะเลือกอาชีพได้เงินดี เช่น ธุรกิจ วิศวกรรม และเทคโนโลยี Eurostat พบว่ามีช่องว่างการจ่ายค่าจ้างโดยเฉลี่ย 27.5% ใน 27 รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปในปี ค.ศ. 2008[57] ในทำนองเดียวกันโออีซีดีพบว่าผู้หญิงที่เป็นพนักงานเต็มเวลาได้รับน้อยค่าจ้างน้อยกว่าผู้ชาย 27% ในประเทศโออีซีดี ในปี ค.ศ. 2009[58][59] ในสหรัฐอเมริกาอัตราส่วนรายได้ของผู้หญิงต่อชายอยู่ที่ 0.77 ในปี ค.ศ. 2009 หญิงที่เป็นพนักงานเต็มเวลาตลอดทั้งปี มีรายได้เพียง 77% ของคนงานชาย[60][61] เมื่อ Equal Pay Act ได้รับการอนุมัติในปี ค.ศ. 1963 แรงงานที่ทำงานเต็มเวลาหญิงได้รับค่าจ้างเท่ากับ 48.9% ของพนักงานชายเต็มเวลา[62]

การกีดกันคนข้ามเพศ

แก้

คนข้ามเพศต่างโดนกีดกันและถูกคุกคามในที่ทำงาน[63] ต่างจากการกีดกันทางเพศ การปฏิเสธการว่าจ้างหรือไล่พนักงานออกเพราะอัตลักษณ์ทางเพศไม่ผิดกฎหมายในหลายรัฐของสหรัฐ[64]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 มีความเห็นร่วมกันอย่างชัดเจนและกว้างในหมู่นักวิชาการในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ ซึ่งหมายถึงการเลือกปฏิบัติต่อสตรีและมีผลต่อผู้หญิงเป็นหลัก ดูตัวอย่างเช่น
    • "Sexism". New Oxford American Dictionary (3 ed.). Oxford University Press. 2010. ISBN 978-0-199-89153-5. Defines sexism as "prejudice, stereotyping, or discrimination, typically against women, on the basis of sex".
    • "Sexism". Encyclopædia Britannica, Online Academic Edition. 2015. Defines sexism as "prejudice or discrimination based on sex or gender, especially against women and girls". Notes that "sexism in a society is most commonly applied against women and girls. It functions to maintain patriarchy, or male domination, through ideological and material practices of individuals, collectives, and institutions that oppress women and girls on the basis of sex or gender."
    • Cudd, Ann E.; Jones, Leslie E. (2005). "Sexism". A Companion to Applied Ethics. London: Blackwell. Notes that "'Sexism' refers to a historically and globally pervasive form of oppression against women."
    • Masequesmay, Gina (2008). "Sexism". ใน O'Brien, Jodi (บ.ก.). Encyclopedia of Gender and Society. SAGE. Notes that "sexism usually refers to prejudice or discrimination based on sex or gender, especially against women and girls". Also states that "sexism is an ideology or practices that maintain patriarchy or male domination".
    • Hornsby, Jennifer (2005). "Sexism". ใน Honderich, Ted (บ.ก.). The Oxford Companion to Philosophy (2 ed.). Oxford. Defines sexism as "thought or practice which may permeate language and which assumes women's inferiority to men".
    • "Sexism". Collins Dictionary of Sociology. Harper Collins. 2006. Defines sexism as "any devaluation or denigration of women or men, but particularly women, which is embodied in institutions and social relationships."
    • "Sexism". Palgrave MacMillan Dictionary of Political Thought. Palgrave MacMillan. 2007. Notes that "either sex may be the object of sexist attitudes... however, it is commonly held that, in developed societies, women have been the usual victims".
    • "Sexism". The Greenwood Encyclopedia of Love, Courtship, and Sexuality through History, Volume 6: The Modern World. Greenwood. 2007. "Sexism is any act, attitude, or institutional configuration that systematically subordinates or devalues women. Built upon the belief that men and women are constitutionally different, sexism takes these differences as indications that men are inherently superior to women, which then is used to justify the nearly universal dominance of men in social and familial relationships, as well as politics, religion, language, law, and economics."
    • Foster, Carly Hayden (2011). "Sexism". ใน Kurlan, George Thomas (บ.ก.). The Encyclopedia of Political Science. CQ Press. ISBN 978-1-608-71243-4. Notes that "both men and women can experience sexism, but sexism against women is more pervasive".
    • Johnson, Allan G. (2000). "Sexism". The Blackwell Dictionary of Sociology. Blackwell. Suggests that "the key test of whether something is sexist... lies in its consequences: if it supports male privilege, then it is by definition sexist. I specify 'male privilege' because in every known society where gender inequality exists, males are privileged over females."
    • Lorber, Judith (2011). Gender Inequality: Feminist Theories and Politics. Oxford University Press. p. 5. Notes that "although we speak of gender inequality, it is usually women who are disadvantaged relative to similarly situated men".
    • Wortman, Camille B.; Loftus, Elizabeth S.; Weaver, Charles A (1999). Psychology. McGraw-Hill. "As throughout history, today women are the primary victims of sexism, prejudice directed at one sex, even in the United States."
  2. Matsumoto, 2001. P.197.
  3. Nakdimen KA The American Journal of Psychiatry [1984, 141(4):499-503]
  4. Doob, Christopher B. 2013. Social Inequality and Social Stratification in US Society. Upper Saddle River, NJ: Pearson Education, Inc.
  5. Forcible Rape Institutionalized Sexism in the Criminal Justice System| Gerald D. Robin Division of Criminal Justice, University of New Haven
  6. Shorter Oxford English Dictionary, 6th edition
  7. Brittan, Arthur (1984). Sexism, racism and oppression. Blackwell. p. 236. ISBN 978-0-85-520675-8.
  8. "Feminism Friday: The origins of the word "sexism"". Finallyfeminism101.wordpress.com. 19 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2013.
  9. Siegel, Daniel J. (16 กุมภาพันธ์ 2015). The Wise Legacy: How One Professor Transformed the Nation. CreateSpace. p. 54. ISBN 978-1-507-62559-0. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2015.
  10. "Feminism Friday: The origins of the word "sexism"". Finallyfeminism101.wordpress.com. 19 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2013.
  11. "Feminism Friday: The origins of the word "sexism"". Finallyfeminism101.wordpress.com. 19 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2013.
  12. "PM's sexism rant prompts Australian dictionary rewrite". CNN. 19 ตุลาคม 2012.
  13. Thurston 2001. p. 01.
  14. Barstow, Anne Llewellyn (1994) Witchcraze: A New History of the European Witch Hunts San Francisco: Pandora.
  15. Thurston 2001. pp. 42-45.
  16. "Saudi woman beheaded for 'witchcraft and sorcery' - CNN.com". CNN. 14 ธันวาคม 2011.
  17. The World Health Organization. World report on violence and health: Chapter 5 abuse of the elderly Retrieved 17 April 2015 from http://www.who.int/violence_injury_prevention/violence/global_campaign/en/chap5.pdf
  18. AFP, By Deepesh Shrestha, in Pyutar for. "Witch-hunts of low-caste women in Nepal".
  19. Iaccino, Ludovica (22 กรกฎาคม 2014). "Witch Hunting in India: Poor, Low Caste and Widows Main Targets".
  20. Allwood, Gill (1999). "Women in France" (PDF). Modern and Contemporary France. Routledge Taylor & Francis Group. 7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 มีนาคม 2016.
  21. "France's leading women show the way". Parisvoice.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กรกฎาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2013.
  22. "Lesson - The French Civil Code (Napoleonic Code) - Teaching Women's Rights From Past to Present". Womeninworldhistory.com. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2013.
  23. Benhold, K (2010) 20 years after fall of wall, women of former East Germany thrive. The New York Times. Retrieved 17 April 2015 from https://www.nytimes.com/2010/10/06/world/europe/06iht-letter.html?_r=1&pagewanted=all
  24. Trzcinski, E. & Holst, E. (2010) Gender differences in subjective well-being in and out of management positions. Deutsches Institut fur Wirtschaftsforschung. Retrieve 17 April 2015 from http://www.diw.de/documents/publikationen/73/diw_01.c.356386.de/dp998.pdf
  25. "Spain - Social Values And Attitudes". Countrystudies.us. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2013.
  26. "The History of Passports in Australia". 14 มิถุนายน 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 มิถุนายน 2006.
  27. Amnesty International (2009) Yemen's dark side: Discrimination and violence against women and girls. Retrieved 17 April 2015 from http://www2.ohchr.org/english/bodies/hrc/docs/ngos/Yemen%27s%20darkside-discrimination_Yemen_HRC101.pdf
  28. "The law states: "The punishment of a wife by her husband, the disciplining by parents and teachers of children under their authority [is permitted] within certain limits prescribed by law or by custom"" (PDF). Law.case.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2015.
  29. "THE WAR WITHIN THE WAR". Hrw.org. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2015.
  30. "HANDBOOK FOR LEGISLATION ON VIOLENCE AGAINST WOMEN: Supplement to the "Harmful Practices" against Women" (PDF). New York: UN Women. 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2018.
  31. Sfeir, George N. (Summer 1957). "The Tunisian Code of Personal Status (Majallat Al-Ahw Al Al-Shakhsiy Ah)". Middle East Journal. Middle East Institute. 11 (3): 309–318. JSTOR 4322925.
  32. "Article 13 reads in French: "Le mari ne peut, s'il n'a pas acquitté la dot, contraindre la femme à la consommation du mariage" http://www.jurisitetunisie.com/tunisie/codes/csp/Csp1015.htm
  33. "7 raisons pour les hommes et les femmes de remettre en cause le CSP... ou pas". Al Huffington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2015.
  34. "Nouveaux progrès, mais il ne faut pas pour autant pavoiser". Le Temps. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2015.
  35. FIDH. "Les violences sexuelles en Tunisie : après le déni, un début de (...)". FIDH - Worldwide Human Rights Movement. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2015.
  36. "Timeline of Women's Suffrage Granted, by Country". Infoplease. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2013.
  37. "The Long Way to Women's Right to Vote in Switzerland: a Chronology". History-switzerland.geschichte-schweiz.ch. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2011.
  38. Jean-Pierre Maury. "Ordonnance du 21 avril 1944 relative à l'organisation des pouvoirs publics en France après la Libération". Mjp.univ-perp.fr. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2011.
  39. Assemblée nationale. "La citoyenneté politique des femmes – La décision du Général de Gaulle" (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2007.
  40. Kerstin Teske: teske@fczb.de. "European Database: Women in Decision-making - Country Report Greece". db-decision.de.
  41. "BBC News - Timeline: Liechtenstein". สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2015.
  42. "Liechtenstein Women Win Right to Vote". The New York Times. 2 กรกฎาคม 1984.
  43. Kittilson, Miki Caul; Fridkin, Kim (2008). "Gender, Candidate Portrayals and Election Campaigns: A Comparative Perspective". Politics & Gender. 4 (3). doi:10.1017/S1743923X08000330. ISSN 1743-923X.
  44. 44.0 44.1 Kittilson, Miki Caul; Fridkin, Kim (2008). "Gender, Candidate Portrayals and Election Campaigns: A Comparative Perspective". Politics & Gender. 4 (3). doi:10.1017/S1743923X08000330. ISSN 1743-923X.
  45. Chen, Lanyan (2009). The Gendered Reality of Migrant Workers in Globalizing China. Ottawa: The University of Ottawa. pp. 186–207. ISBN 978-0-7766-0709-2.
  46. OECD. OECD Employment Outlook - 2008 Edition Summary in English. OECD, Paris, 2008, p. 3-4.
  47. The U.S. Equal Employment Opportunity Commission. "Facts About Compensation Discrimination". สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2008.
  48. OECD. OECD Employment Outlook - 2008 Edition Summary in English. OECD, Paris, 2008, p. 3-4.
  49. Folbre, Nancy. The Anti-Mommy Bias. New York Times, March 26, 2009.
  50. Goodman, Ellen. A third gender in the workplace. Boston Globe, May 11, 2007.
  51. Cahn, Naomi and June Carbone. Five myths about working mothers. The Washington Post, May 30, 2010.
  52. Young, Lauren. The Motherhood Penalty: Working Moms Face Pay Gap Vs. Childless Peers. Bloomsberg Businessweek, June 05, 2009.
  53. Correll, Shelley, Stephen Benard, In Paik (2007.) Getting a job: Is there a motherhood penalty? เก็บถาวร 3 พฤษภาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน American Journal of Sociology, Vol 112, No. 5, pp. 1297-1338, doi:10.1086/511799.
  54. News.cornell.edu. Mothers face disadvantages in getting hired. August 4, 2005.
  55. Wendy M. Williams (2015). "National hiring experiments reveal 2:1 faculty preference for women on STEM tenure track". Proceedings of the National Academy of Sciences. 112 (17): 5360–5365. Bibcode:2015PNAS..112.5360W. doi:10.1073/pnas.1418878112. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2015.
  56. Sarah Kaplan (14 เมษายน 2015). "Study finds, surprisingly, that women are favored for jobs in STEM". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2015.
  57. European Commission. The situation in the EU. Retrieved on August 19, 2011.
  58. OECD. OECD Employment Outlook - 2008 Edition Summary in English. OECD, Paris, 2008, p. 3-4.
  59. OECD. OECD Employment Outlook. Chapter 3: The Price of Prejudice: Labour Market Discrimination on the Grounds of Gender and Ethnicity. OECD, Paris, 2008.
  60. U.S. Census Bureau. Income, Poverty, and Health Insurance Coverage in the United States: 2009. Current Population Reports, P60-238, U.S. Government Printing Office, Washington, DC, 2010, pp. 7 and 50.
  61. Institute for Women's Policy Research. The Gender Wage Gap: 2009. Retrieved March 31, 2011.
  62. U.S. Census Bureau. Income, Poverty, and Health Insurance Coverage in the United States: 2009. Current Population Reports, P60-238, U.S. Government Printing Office, Washington, DC, 2010, pp. 7 and 50.
  63. Badgett, M.L., Lau, H., Sears, B., & Ho, D. (2007) Bias in the Workplace: Consistent Evidence of Sexual Orientation and Gender Identity Discrimination. Los Angeles: The Williams Institute. https://williamsinstitute.law.ucla.edu/research/workplace/bias-in-the-workplace-consistent-evidence-of-sexual-orientation-and-gender-identity-discrimination/ เก็บถาวร 22 ตุลาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  64. Steinmetz, Katy (12 มกราคม 2015). "Does Saks have the legal right to fire a transgender employee?". TIME magazine. Fortune. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
 
Wikiquote
วิกิคำคมภาษาอังกฤษ มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ: Sexism