ลมดาวฤกษ์ (อังกฤษ: Stellar wind) คือการไหลของแก๊สทั้งแบบธรรมดาและแบบมีประจุออกจากชั้นบรรยากาศรอบนอกของดาวฤกษ์ ซึ่งถูกขับออกมาโดยคุณลักษณะของขั้วแม่เหล็กที่ไหลออกจากดาวฤกษ์อายุน้อยซึ่งยังไม่ค่อยถูกชน อย่างไรก็ดี การไหลออกของลมดาวฤกษ์ไม่ได้เป็นไปในลักษณะสมมาตรของทรงกลม และดาวฤกษ์ต่างประเภทกันก็จะให้ลมดาวฤกษ์ออกมาที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน

ดาวฤกษ์ที่อยู่ในช่วงท้ายของแถบลำดับหลักซึ่งใกล้จะสิ้นอายุขัยมักปล่อยลมดาวฤกษ์ที่มีมวลมากแต่ค่อนข้างช้า ( มวลดวงอาทิตย์ต่อปี และ v = 10 กม./วินาที) ดาวเหล่านี้หมายรวมถึงดาวยักษ์แดง ดาวยักษ์มหึมา และดาวในกลุ่ม ดาวสาขาเชิงเส้นกำกับยักษ์ ลมดาวฤกษ์ที่เกิดขึ้นมีลักษณะเหมือนการขับเคลื่อนโดยแรงดันการแผ่รังสีที่กระทำต่อฝุ่นซึ่งมีอยู่หนาแน่นในชั้นบรรยากาศรอบนอกของดาว

ดาวฤกษ์ประเภท G เช่นดวงอาทิตย์ของโลกเรามีลมดาวฤกษ์ที่ขับเคลื่อนด้วยโคโรนาแม่เหล็กที่ร้อนมาก มีชื่อเรียกว่า ลมสุริยะ ลมนี้มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นอิเล็กตรอนและโปรตอนพลังงานสูง (ประมาณ 1 keV) ซึ่งมีความสามารถพอจะหนีพ้นจากแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ได้เพราะอุณหภูมิของโคโรนาที่สูงมาก

ดาวฤกษ์มวลมากในประเภท O และ B จะมีลมดาวฤกษ์ที่มีปริมาณมวลน้อยกว่า แต่มีความเร็วสูงกว่า ลมกลุ่มนี้ขับเคลื่อนด้วยแรงดันการแผ่รังสีที่เกิดจากแถบการดูดกลืนแบบกำธรของอนุภาคมวลหนัก เช่น คาร์บอน และไนโตรเจน[1] ลมดาวฤกษ์พลังงานสูงเหล่านี้จะพัดพาฟองลมดาวฤกษ์ (อังกฤษ: Stellar wind bubble) ไปด้วย

แม้ลมดาวฤกษ์จากดาวในแถบลำดับหลักจะไม่ได้ส่งผลต่อวิวัฒนาการของดวงดาว แต่ในช่วงท้ายเมื่อดาวฤกษ์อยู่ใกล้จะหลุดออกจากแถบลำดับหลัก ปริมาณมวลที่ดาวฤกษ์สูญเสียออกไปผ่านลมดาวฤกษ์จะมีส่วนในการตัดสินชะตาของดาวฤกษ์นั้น ดาวฤกษ์ที่มีมวลปานกลางจำนวนมากกลายไปเป็นดาวแคระขาวในท้ายที่สุดแทนที่จะระเบิดออกกลายเป็นซูเปอร์โนวา เพราะมันสูญเสียมวลออกมากเกินไปจากลมดาวฤกษ์ของมัน

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Castor, J. (1975). "Radiation-driven winds in Of stars". Astrophys. J. 195: 157–174. doi:10.1086/153315. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)