ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2558–2559

เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2558 กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเริ่มต้นฤดูหนาวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558 เนื่องจากลมระดับล่างเปลี่ยนเป็นลมตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ และลมชั้นบนเปลี่ยนเป็นลมตะวันตก รวมถึงอุณหภูมิในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือมีอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ในเกณฑ์อากาศเย็นโดยทั่วไป[1]

ฤดูหนาวในประเทศไทย พ.ศ. 2558–2559
อุณหภูมิต่ำสุดวันที่ 25 มกราคม 2559 เวลา 07:00 น.
ฤดูหนาวทางอุตุนิยมวิทยา22 ตุลาคม – 2 มีนาคม

มีข่าวลือว่าจะมีหิมะตก แต่กรมอุตุนิยมวิทยาปฏิเสธข่าวนี้ วันที่ 25–27 มกราคม กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 6–14 °ซ ในภาคเหนือ ถือว่าหนาวที่สุดในรอบ 15 ปี อุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ที่ภูชี้ฟ้า วัดได้ -3 องศาเซลเซียส

วันที่ 4 มีนาคม 2559 กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศการเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย โดยระบุว่าเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2559 ประเทศไทยได้สิ้นสุดฤดูหนาวและเข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว เนื่องจากลมตะวันออกเฉียงใต้ได้พัดปกคลุมต่อเนื่อง และอุณหภูมิสูงสุดสูงขึ้น มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน จึงถือว่าเป็นการเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย[2]

การพยากรณ์ฤดูกาล แก้

วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศ การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ. 2558–2559 คาดหมายว่าปีนี้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยใกล้เคียงปีที่แล้ว โดยช่วงที่อากาศเย็นที่สุดจะอยู่ในช่วงครึ่งหลังของเดือนธันวาคม ถึงปลายเดือนมกราคม สำหรับบนยอดดอย ยอดภู รวมถึงเทือกเขาจะมีอากาศหนาว และมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้ ส่วนในภาคใต้ จะมีอากาศเย็นเป็นช่วง ๆ และในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคมจะมีฝนตก และมีฝนตกหนักมากเป็นบางพื้นที่ อาจมีสภาวะน้ำมากและน้ำท่วมได้ในบางพื้นที่[3]

ตารางการคาดหมายอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย
ภาค ธันวาคม 2558 มกราคม 2559 กุมภาพันธ์ 2559
ครึ่งแรก ครึ่งหลัง
ภาคเหนือ ตอนบน 15–17°ซ 15–17°ซ 17–19°ซ 19–21°ซ
ตอนล่าง 17–19°ซ 17-19°ซ 18–20°ซ 21–23°ซ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนบน 16-18°ซ 16–18°ซ 18–20°ซ 19-21°ซ
ตอนล่าง 18–20°ซ 18–20°ซ 20–22°ซ 21–23°ซ
ภาคกลาง 20–22°ซ 20–22°ซ 21–23°ซ 23–25°ซ
ภาคตะวันออก 21–23°ซ 21–23°ซ 21–23°ซ 23–25°ซ
ภาคใต้ ฝั่งตะวันออก 22–24°ซ 22–24°ซ 22–24°ซ
ฝั่งตะวันตก 23–25°ซ 22–24°ซ 23–25°ซ
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 22–24°ซ 22–24°ซ 23–25°ซ 25–27°ซ

เหตุการณ์ แก้

เดือนตุลาคม แก้

เดือนธันวาคม แก้

  • วันที่ 16 ธันวาคม กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ เรื่อง อากาศหนาวเย็นในประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงในอ่าวไทย ฉบับที่ 1 โดยระบุว่าบริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนได้ปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน โดยจะส่งผลให้ภาคอิสานมีอุณหภูมิลดลง 4–7 องศาเซลเซียส และในภาคอื่น ๆ จะลดลง 3–5 องศาเซลเซียส[4]

เดือนมกราคม แก้

  • วันที่ 17 มกราคม บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนจากประเทศจีนเข้าปกคลุมประเทศเวียดนาม และทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้นำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ทำให้เกิดฝนตก[5]
  • วันที่ 22 มกราคม เมื่อเวลา 17:00 น. กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนภัย เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 5 โดยระบุคาดว่าบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศแปรปรวน มีฝนฟ้าคะนองในระยะแรก และหลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 6–10 องศาเซลเซียสอย่างรวดเร็ว[6]

และในวันที่ 25–26 มกราคม จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดเข้ามาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวยังคงมีอากาศเย็นต่อเนื่อง[6] รวมถึงยังมีการออกมาชี้แจงข่าวที่มีการส่งต่อกันในเครือข่ายสังคม ว่าประเทศไทยมีโอกาสเกิดหิมะตกบริเวณบนดอยสูง โดยอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาปฏิเสธข่าวนี้[7]

  • วันที่ 23 มกราคม บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และจะเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบน ซึ่งจะทำให้อากาศแปรปรวน มีฝนฟ้าคะนองและลมแรง จากนั้นอากาศจะเย็นลง[8] ขณะที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ส่งหนังสือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด 37 จังหวัด ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลางตอนบน ให้เตรียมรับมืออันตรายจากอากาศแปรปรวน[9]
  • วันที่ 24 มกราคม บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ[10]โดยที่จังหวัดนครพนม สถานีตรวจวัดอุณหภูมิของสถานีอุตุนิยมวิทยานครพนม สามารถวัดอุณหภูมิต่ำสุดได้ 12–14 องศาเซลเซียส[11]
  • วันที่ 25 มกราคม บริเวณความกดอากาศสูงยังปกคลุมประเทศไทย ทำให้มีอากาศแปรปรวน มีฝนฟ้าคะนอง และมีลมแรงเกิดขึ้น[12] โดยที่ภูชี้ฟ้า จังหวัดเชียงราย วัดอุณหภูมิต่ำสุดในตอนเช้าได้ -3 องศาเซลเซียส ขณะที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ บริเวณจังหวัดปราจีนบุรี วัดอุณหภูมิต่ำสุดได้ 10 องศาเซลเซียส และที่จังหวัดสกลนคร วัดอุณหภูมิต่ำสุดได้ 8 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าหนาวที่สุดในรอบ 15 ปี[13]

ส่วนกรุงเทพมหานคร กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่าตรวจวัดอุณหภูมิที่สนามบินดอนเมืองได้ 15.3 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าอุณหภูมิลดต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียสครั้งแรกในรอบ 10 ปี[14]

  • วันที่ 26 มกราคม บริเวณความกดอากาศสูงเริ่มอ่อนกำลังลง ทำให้เกิดหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิสูงขึ้น ส่วนคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกได้เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จึงทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นต่อเนื่อง[15]
  • วันที่ 27 มกราคม กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเกี่ยวกับอากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับสุดท้าย โดยระบุว่าความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยได้อ่อนกำลังลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะยังคงมีอากาศหนาวเย็นต่อไปจนถึงวันที่ 29 มกราคม เนื่องจากกระแสลมฝ่ายตะวันตก[16]

เดือนกุมภาพันธ์ แก้

  • วันที่ 4 กุมภาพันธ์ กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศ อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับแรก โดยระบุว่าความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรง จะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในวันที่ 6–8 กุมภาพันธ์ โดยจะทำให้อุณหภูมิลดลง 3–6 องศาเซลเซียส ส่วนบริเวณภาคใต้จะมีฝนตก[17]
  • วันที่ 5 กุมภาพันธ์ เวลา 17:00 กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศฉบับที่ 4 โดยระบุว่า ความกดอากาศสูงได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว และคาดว่าจะเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบนในคืนวันเดียวกัน[18]
  • วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าความกดอากาศสูงจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ โดยจะมีอุณหภูมิลดลง 4–6 องศาเซลเซียส และมีลมแรง[19]
  • วันที่ 7 กุมภาพันธ์ กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเป็นฉบับที่ 13 โดยระบุว่า ความกดอากาศสูงยังปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทย[20]
  • วันที่ 8 กุมภาพันธ์ ความกดอากาศสูงที่ปกคลุมอยู่บริเวณประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง แต่อุณหภูมิยังสามารถลดลงได้อีก 2–4 องศาเซลเซียส[21] โดยที่ภูทับเบิก สามารถวัดอุณหภูมิได้ต่ำสุดประมาณ 3 องศาเซลเซียส[22]
  • วันที่ 9 กุมภาพันธ์ กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย เป็นฉบับสุดท้าย โดยระบุว่าความกดอากาศสูงได้อ่อนกำลังลง โดยจะทำให้บริเวณอื่น ๆ ยกเว้นภาคเหนือ มีอุณหภูมิสูงขึ้น และทำให้คลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลงด้วย[23]
  • วันที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ บริเวณจุดชมวิวกิ่วแม่ปาน สามารถวัดอุณหภูมิต่ำสุดได้ 0 องศาเซลเซียส ส่วนอุปกรณ์วัดอุณหภูมิดิจิทัลสามารถวัดได้ 4 องศาเซลเซียส และยังมีการพบเหมยขาบ บริเวณกิโลเมตรที่ 45 รวมทั้งหน้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ด้วย[24] ขณะที่ภูหินร่องกล้า สามารถวัดอุณหภูมิยอดหญ้าได้ -2 องศาเซลเซียส มีการพบน้ำค้างแข็งเกาะตามยอดหญ้าและหลังคาบ้าน อากาศที่หนาวเย็นยังส่งผลกระทบกับสัตว์เลี้ยงในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ[25]
  • วันที่ 24 กุมภาพันธ์ กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศ อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 1 โดยระบุว่าความกดอากาศสูงได้ปกคลุมอยู่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ และคาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน โดยกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า อุณหภูมิจะลดลง 6–8 องศาเซลเซียสในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 4–8 องศาเซลเซียสในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก โดยจะเกิดขึ้นหลังจากเกิดฝนฟ้าคะนองในระยะแรก และลมมรสุมมีกำลังแรงขึ้นทำให้คลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่าง มีคลื่นสูง 2–4 เมตร[26]
  • วันที่ 25 กุมภาพันธ์ ความกดอากาศสูงกำลังแรงปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน[27]
  • วันที่ 26 กุมภาพันธ์ กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศฉบับที่ 8 คาดการณ์ว่าความกดอากาศสูงจะปกคลุมเหนือประเทศไทยตอนบนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์[28]
  • วันที่ 27 กุมภาพันธ์ บริเวณความกดอากาศสูงยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน โดยกรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าอุณหภูมิจะลดลงอีก 2–4 องศาเซลเซียส[29]
  • วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ความกดอากาศสูงกำลังแรงยังปกคลุมอยู่บริเวณประเทศไทยและทะเลจีนใต้ และลมฝ่ายตะวันตกระดับบนพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบน ทำให้มีอากาศหนาวเย็นและมีลมแรง[30]
  • วันที่ 29 กุมภาพันธ์ ความกดอากาศสูงระลอกใหม่จะประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศจีนตอนใต้[31]

เดือนมีนาคม แก้

  • วันที่ 1 มีนาคม กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศฉบับสุดท้ายเกี่ยวกับอากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย โดยระบุว่า ความกดอากาศสูงระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศจีนตอนใต้ และคาดว่าจะลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจะปกคลุมถึงวันที่ 2 มีนาคม โดยกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าอุณหภูมิจะลดลง 2–4 องศาเซลเซียสในภาคเหนือ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางจะลดลง 1–3 องศาเซลเซียสในภากลาง[32]


อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "การเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ. 2558" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-01-22. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "การเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย พ.ศ.2559" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-04-17. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2559". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-22. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  4. "อากาศหนาวเย็นในประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงในอ่าวไทย ฉบับที่ 1". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-22. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  5. "อีสานล่าง/กลาง/ใต้มีฝน เหนืออากาศยังหนาวเย็น". tmd.go.th. เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 5" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-22. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  7. "เตรียมตัวหนาว! อุตุฯประกาศ ฉ.4 เตือนลดวูบ 6-10 องศาฯ ยันไม่มีหิมะตก". tmd.go.th. ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 8" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-23. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  9. "ปภ.เตือน 37 จังหวัดรับมือหนาวฉับพลัน..." tmd.go.th. เดลินิวส์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-24. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  10. "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 5" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-24. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  11. "ริมโขงหนาวสุดในรอบปี อุณหภูมิต่ำสุด12-14องศา". tmd.go.th. โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 16". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "หนาวทั่วไทย-ยอดดอยเชียงราย -3 องศา". now26.tv. นาว26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-25. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "กทม. หนาวแล้ว ทุบสถิติอุณหภูมิต่ำสุดในรอบสิบปี แตะ 15 องศา". kapook.com. กระปุกดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 22" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-01-26. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 25" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. "อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 1" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 4" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. "อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 8" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 13". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 17". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. "หนาวได้ใจ! ขาเที่ยวยิ้มถ้วนหน้า-อุณหภูมิ "ภูทับเบิก" ดิ่งเหลือ 3 องศาฯ". manager.co.th. MGR Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-09. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. "อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 19" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. "ดอยอินทนนท์ ยังหนาวจัด 0 องศา". thairath.co.th. ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  25. "อากาศหนาวเย็นต่อเนื่อง สัตว์-พืชได้รับผลกระทบ". krobkruakao.com. ครอบครัวข่าว. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-10. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  26. "อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 1" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  27. "อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 4". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. "อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 8". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. "อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 12". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. "อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 16". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  31. "อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 21". tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. "อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบนและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ฉบับที่ 22" (PDF). tmd.go.th. กรมอุตุนิยมวิทยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งอ้างอิงภายนอก แก้