ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2563–2564

ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2563–2564 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน ภายในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ระหว่าง 90°ตะวันออก ถึง 160°ตะวันออก โดยฤดูกาลนี้ได้เริ่มนับอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 และไปสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2564 อย่างไรก็ตาม พายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวได้ตลอดเวลาตั้งแต่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564 และจะถูกนับรวมในฤดูกาลนี้ด้วย ในระหว่างฤดูกาล พายุหมุนเขตร้อนจะถูกติดตามอย่างเป็นทางการโดยสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย (BOM), สำนักอุตุนิยมวิทยา สภาพภูมิอากาศ และธรณีฟิสิกส์แห่งอินโดนีเซีย (BMKG) ในจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และศูนย์บริการสภาพอากาศแห่งชาติปาปัวนิวกินี ในพอร์ตมอร์สบี ส่วนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมของกองทัพเรือสหรัฐ (JTWC) ในรัฐฮาวาย สหรัฐ และศูนย์บริการทางอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติอื่น ๆ ประกอบด้วย เมทเซอร์วิซแห่งประเทศนิวซีแลนด์, เมเตโอ-ฟร็องส์แห่งประเทศฝรั่งเศสบนเกาะเรอูนียง และกรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี ก็ต่างเฝ้าติดตามส่วนของแอ่งในระหว่างฤดูกาลด้วยแบบไม่เป็นทางการ

ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย พ.ศ. 2563–2564
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
ระบบสุดท้ายสลายตัว24 เมษายน พ.ศ. 2564
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อนิรัน
 • ลมแรงสูงสุด205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด931 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
ความกดอากาศต่ำเขตร้อน26 ลูก
พายุไซโคลนเขตร้อน8 ลูก
พายุไซโคลนกำลังแรง3 ลูก
ผู้เสียชีวิตทั้งหมดทั้งหมด 229
ความเสียหายทั้งหมด680.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2021)
ฤดูพายุไซโคลนภูมิภาคออสเตรเลีย
2561–62, 2562–63, 2563–64, 2564–65, 2565–66

พายุ แก้

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 01U (บองโกโย) แก้

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 24 – 30 พฤศจิกายน (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1005 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.68 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 02U แก้

บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 6 – 12 ธันวาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
991 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.26 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน แก้

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 7 – 11 ธันวาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
997 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.44 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 03U แก้

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 18 – 23 ธันวาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
993 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.32 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 04U แก้

บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
   
ระยะเวลา 20 – 28 ธันวาคม
ความรุนแรง 35 กม./ชม. (25 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1003 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.62 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนอิโมเจน แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 1 – 6 มกราคม
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
989 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.21 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนจอชัว แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 13 – 17 มกราคม (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 08U แก้

บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 15 – 23 มกราคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนคิมมี แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 16 – 19 มกราคม
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
987 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.15 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 10U แก้

บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 19 – 27 มกราคม (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
995 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.38 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนลูคัส แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 25 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)

ความกดอากาศต่ำเขตร้อน 12U แก้

บริเวณความกดอากาศต่ำเขตร้อน (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 28 มกราคม – 5 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงแมเรียน แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 3 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 23 กุมภาพันธ์ – 6 มีนาคม
(ออกนอกแอ่งระหว่าง 1–2 มีนาคม)
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงนิรัน แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 5 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 5 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 27 กุมภาพันธ์ – 5 มีนาคม (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
931 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.49 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนโอเดตต์ แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
   
ระยะเวลา 2 – 10 เมษายน
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
988 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.18 นิ้วปรอท)

พายุไซโคลนกำลังแรงเซอโรจา แก้

พายุไซโคลนเขตร้อนกำลังแรงระดับ 3 (มาตราออสเตรเลีย)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
   
ระยะเวลา 3 – 12 เมษายน
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
971 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.67 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ แก้

สำนักอุตุนิยมวิทยา แก้

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551–52 มีรายชื่อพายุเพียงชุดเดียวที่สำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียประกาศใช้ โดยสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลียได้แบ่งศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในประเทศออสเตรเลียออกเป็นสามศูนย์ ได้แก่ ศูนย์เพิร์ท, ศูนย์ดาร์วิน และศูนย์บริสเบน[1] โดยมีหน้าที่ตรวจสอบพายุหมุนเขตร้อนทั้งหมดที่ก่อตัวในภูมิภาคออสเตรเลีย รวมถีงทำหน้าที่ออกคำแนะนำพิเศษให้ทั้งพื้นที่รับผิดชอบของ TCWC จาการ์ตาหรือ TCWC พอร์ตมอร์สบีด้วย โดยในฤดูกาลนี้ ชื่อพายุในรายการของออสเตรเลีย ถูกนำมาใช้ 7 ชื่อ

  • อิโมเจน
  • จอชัว
  • คิมมี
  • ลูคัส
  • แมเรียน
  • นิรัน
  • โอเดตต์

TCWC จาการ์ตา แก้

ศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนในจาการ์ตา ทำการติดตามพายุหมุนเขตร้อนในขอบเขตตั้งแต่เส้นศูนย์สูตรลงไปทางใต้ถึงเส้นขนานที่ 11 องศาใต้ และระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 90 องศาตะวันออกไปจนถึง 145 องศาตะวันออก เมื่อพายุดีเปรสชันเขตร้อนใดทวีกำลังเป็นพายุไซโคลนในขอบเขตรับผิดชอบของ JTWC จาการ์ตานี้ พายุลูกนั้นจะได้รับชื่อจากทางศูนย์ฯ[1] โดยในฤดูกาลนี้ ชื่อพายุในรายการของ TCWC จาการ์ตา ถูกนำมาใช้ 1 ชื่อ

  • เซอโรจา

TCWC พอร์ตมอร์สบี แก้

พายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวขึ้นในระหว่างขอบเขตตั้งแต่เส้นศูนย์สูตรลงไปทางใต้จนถึงเส้นขนานที่ 11 องศาใต้ และระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 151 องศาตะวันออกไปทางตะวันออกจนถึงเส้นเมริเดียนที่ 160 องศาตะวันออก จะได้รับชื่อจากศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อนในพอร์ตมอร์สบี ประเทศปาปัวนิวกินี บริเวณนี้บริเวณที่พบการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนได้ยาก และไม่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวและมีกำลังขึ้นจนได้รับชื่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 แล้ว[2] โดยในฤดูกาลนี้ ไม่มีชื่อพายุในรายการของ TCWC พอร์ตมอร์สบี ถูกนำมาใช้เลย

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Tropical Cyclone Operational plan for the South Pacific & Southeast Indian Ocean, 2014 Edition" (PDF). WMO. สืบค้นเมื่อ 2016-06-12.
  2. Gary Padgett (2008). "Monthly Global Tropical Cyclone Summary October". Australian Severe Weather. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-04. สืบค้นเมื่อ 2013-07-01.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้