เรือหลวงนเรศวร

เรือฟริเกตของกองทัพเรือไทย
(เปลี่ยนทางจาก ร.ล. นเรศวร)

เรือหลวงนเรศวร (FFG-421) (อังกฤษ: HTMS Naresuan) เป็นเรือฟริเกตสังกัดกองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทย[2] ดัดแปลงมาจากเรือฟริเกตแบบ 053 ของจีน โดยความร่วมมือกันออกแบบระหว่างกองทัพเรือไทยกับจีน ต่อที่อู่ต่อเรือไชน่าสเตตท์ เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ปล่อยเรือลงน้ำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2536 และเข้าประจำการในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2537 เรือหลวงนเรศวร มีเรือในชั้นเดียวกันอีกหนึ่งลำคือ เรือหลวงตากสิน

เรือหลวงนเรศวร (FFG-421)
ประวัติ
ประเทศไทย
ชนิดเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร (เรือฟริเกตแบบ 053)
ชื่อเรือหลวง นเรศวร
ตั้งชื่อตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
อู่เรือบริษัทต่อเรือแห่งรัฐของจีน เซี่ยงไฮ้
ปล่อยเรือพ.ศ. 2534
เดินเรือแรก15 ธันวาคม พ.ศ. 2537
เข้าประจำการพ.ศ. 2538
ท่าจอดฐานทัพเรือสัตหีบ
รหัสระบุ
คำขวัญองอาจ กล้าหาญ สู้เพื่อชาติ
สถานะอยู่ในประจำการ
ลักษณะเฉพาะ
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 2,985 ตัน
ความยาว: 120.5 ม.
ความกว้าง: 13.7 ม.
กินน้ำลึก: 4.3 ม.
กินน้ำลึก: 3.8 ม.
ระบบพลังงาน: 1 × เจเนอรัลอีเลคทริค LM2500+ แก็สเทอร์ไบน์ และ 2 × เครื่องยนต์ดีเซล เอ็มทียู 20V1163 TB83
ระบบขับเคลื่อน: 2 × ใบจักรแบบปรับมุมได้
ความเร็ว: 32 นอต (59 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) สูงสุด
พิสัยเชื้อเพลิง: 4000 ไมล์ทะเล (7408 กิโลเมตร) ที่ 18 นอต
อัตราเต็มที่: 150
ระบบตรวจการและปฏิบัติการ:

1 x ระบบอำนวยการรบ แบบ Saab 9LV Mk.4
1 x เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ แบบ Saab Sea Giraffe AMD 3D
2x เรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง แบบ Saab CEROS 200 with CWI
1 x เรดาร์ค้นหาระยะไกล Thales LW08
1 x เรดาร์ควบคุมการยิง Thales STIR
1 x ระบบพิสูจน์ฝ่าย แบบ Selex SIT422 interogator และ Selex M425 transponder
1 x ระบบรวมการสื่อสาร แบบ Saab TactiCall ICS
1 x ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี แบบ Saab Link-E/G (TIDLS)
1 x ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี แบบ AviaSatcom Link-RTN
1 x ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธี แบบ Link-11 (TADIL-A)
1 x ระบบแสดงตนอัตโนมัติสำหรับเรือ (AIS)
1 x ระบบอุตุนิยมวิทยา
1 x ศูนย์เล็งกำหนดเป้าหมาย แบบ Saab Bridge Pointers TDS


1 x ระบบ radar ESM แบบ ITT ES-3601 (AN/SLQ-4) 1 xระบบ communication ESM 1 xระบบนำร่องด้วยแรงเฉื่อย แบบ Raytheon Anschutz MINS 2 (ring laser gyro)
ระบบวิทยุสื่อสาร
ระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) โซนาร์หัวเรือ Atlas Elektronic DSQS-24
สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง: 2x แท่นยิงเป้าลวง แบบ Terma DL-12T แท่นละ 12 ท่อยิง
4x แท่นยิงเป้าลวง แบบ Terma Mk.137 แท่นละ 6 ท่อยิง
ยุทโธปกรณ์: 1 x 5 นิ้ว/54 (127 มม.) 5"/62 Mark 45 Mod 4
2 x ปืนใหญ่กล MSI-DSL/ATK DS-30MR/Mk.44 ขนาด 30 มม. แท่นเดี่ยว
8 x ท่อยิง Mark 41 Vertical Launching System สำหรับ 32 x อาร์ไอเอ็ม-162 อีเอสเอสเอ็ม
8 x เอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน
2 x Mark 32 Surface Vessel Torpedo Tubes
อากาศยาน: 1 x เวสต์แลนด์ลิงซ์

การปรับปรุง แก้

ในปี ค.ศ. 2011 กองทัพเรือได้เลือกระบบ 9LV ของบริษัทซ๊าบ ประเทศสวีเดน ในการปรับปรุงระบบอำนวยการรบ ระบบตรวจการณ์ ระบบควบคุมการยิง และระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีของ เรือหลวงนเรศวร และ เรือหลวงตากสิน[3][4]

อ้างอิง แก้

  1. https://www.marinetraffic.com/en/ais/details/ships/shipid:1772107/mmsi:567015500/imo:0/vessel:RTN_SHIP_421
  2. เรือหลวงนเรศวร เก็บถาวร 2013-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กองเรือฟริเกตที่ 2 กองเรือยุทธการ สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2555
  3. การอัพเกรด เรือหลวงชั้นนเรศวร สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน พ.ศ. 2555
  4. "Saab receives order from Thailand regarding the upgrading of combat management system and fire control systems" ซ๊าบ สวีเดน, สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554