ร่างรุ้ง

(เปลี่ยนทางจาก ร่างสีรุ้ง)

ในธรรมเนียมซกเชน ร่างรุ้ง หรือ ชาลุส (ทิเบต: འཇའ་ལུས་, ไวลี: 'ja' lus, Jalü หรือ Jalus; rainbow body) เป็นระดับหนึ่งของการรู้ตัวหรือตรัสรู้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นพร้อมกับปรากฏการณ์ร่างรุ้งคือมีแสงสว่างและรุ้งเกิดขึ้นรอบร่างกาย[2] คติร่างรุ้งนี้มีความเชื่อสืบกันมาในทิเบตตั้งแต่ในศาสนาเพินท้องถิ่นก่อนศาสนาพุทธ[3] ในคำสอนวัชรยานบางสำนักกล่าวถึงปรากฏการณ์ร่างรุ้งว่าเกิดขึ้นขณะบุคคลกำลังเสียชีวิต

อายู คาโจ โยคินีผู้มีบันทึกว่าเสียชีวิตเกิดร่างรุ้งในปี 1953[1]

ปรากฏการณ์ร่างรุ้งเป็นปรากฏการณ์จากมุมมองบุคคลที่สามสังเกตเห็นบุคคลหนึ่งตรัสรู้รู้แจ้ง (ทิเบต: རིག་པ, ไวลี: ริกปา) ด้วยความรู้อันปราศจากภาพมายา ริกปาประกอบด้วยปัญญาสามประการ คือ kadag, lhun grub และ thugs rje[4]

ผู้ปฏิบัติซกเชนระดับสูงสามารถไปสู่ร่างรุ้งระดับที่สูงกว่าและไม่ทิ้งไว้แม้แต่ "ผมหรือเล็บ"[5] ซึ่งเรียกว่าเป็นสภาวะ jalu powa chemo ซึ่งจะประกอบด้วยการเห็นนิมิตสี่ประการก่อนตาย จากนั้นบุคคลนั้นจะเพ่งสมาธิไปที่แสงอันเกิดขึ้นรอบนิ้วมือ และร่างกายหยาบจะสลายกลายเป็นร่างแสงสว่างหรือ สัมโภคกาย[6]

มีบันทึกถึงบุคคลที่เกิดร่างรุ้งก่อนเสียชีวิต เช่นในงานเขียนของ ซัรจา จาซิส ยัลโชน เรื่อง Heart Drops of Dharmakaya ซึ่งเป็นคู่มือปฏิบัติสมาธิ กล่าวถึงหนึ่งในศิษย์คนสำคัญของผู้เขียนได้เกิดปรากฏการณ์ร่างรุ้งและตัวย่อหดลง[7] นอกจากนี้ยังมีบุคคลอื่น ๆ ที่เกิดร่างรุ้งและมีบันทึกไว้อีก เช่น ซัรจา จาซิส ยัลโชน (1935)[7], Sodnam Namgyal (1952)[8], อายู คาโจ (1953)[1], Togden Ugyen Tendzin (1962)[9] และ Khenpo A-chos (1998)[10]

อ้างอิง

แก้

บรรณานุกรม

แก้
  • Allione, Tsultrim (2000). Women of Wisdom. Ithaca, New York: Snow Lion Publications. ISBN 9781559391412.
  • Dalai Lama (2004). Dzogchen: Heart Essence of the Great Perfection. Snow Lion Publications. ISBN 978-1-55939-219-8.
  • Garry, Ron (2005). Wisdom Nectar: Dudjom Rinpoche's Heart Advice. Ithaca, New York: Snow Lion Publications. ISBN 9781559399517. The practice is that of Cutting through Solidity (khregs chod), which is related to primordial purity (ka dag); and Direct Vision of Reality (thod rgal), which is related to spontaneous presence (Ihun grub).
  • Guinness, Loel (2018). Rainbow Body. Serinda Publications. ISBN 978-1932476873.
  • Gyaltsen, Shardza Tasha (2002). Heart Drops Of Dharmakaya: Dzogchen Practice Of The Bon Tradition (2nf ed.). Snow Lion Publications. ISBN 978-1559391726.
  • Holland, Gail (March–May 2002). "Christian Buddhist Explorations: The Rainbow Body". Institute of Noetic Sciences Review. Institute of Noetic Sciences (59).
  • Karma Lingpa (2005). The Tibetan Book of the Dead. แปลโดย Dorje, Gyurnme; Coleman, Graham; Jinpa, Thupten. Introductory commentary by the 14th Dalai Lama (First American ed.). New York: Viking Press. ISBN 0-670-85886-2.
  • Kunsang, Erik Pema, tr. (2012). Perfect Clarity: A Tibetan Buddhist Anthology of Mahamudra and Dzogchen. Ranjung Yeshe Publications. ISBN 978-9627341697.
  • Norbu, Chögyal Namkhai (1999). The Crystal and The Way of Light: Sutra, Tantra and Dzogchen (New ed.). Ithaca, New York: Snow Lion Publications. ISBN 1-55939-135-9.
  • Norbu, Chögyal Namkhai (2002). Dream Yoga and the Practice of Natural Light (Rev. Exp. ed.). Snow Lion Publications. ISBN 978-1559391610.
  • Norbu, Chögyal Namkhai (2012). Rainbow Body: The Life and Realization of a Tibetan Yogin, Togden Ugyen Tendzin. North Atlantic Books. ISBN 978-1583944912.
  • Rabjam, Longchenpa (1996). Talbot, Harold (บ.ก.). The Practice of Dzogchen. แปลโดย Tulku Thondup (2nd ed.). Ithaca, New York: Snow Lion Publications. ISBN 1-55939-054-9.
  • Rangdrol, Shabkar Tsogdruk; Matthieu, Richard, tr. (2001). The Life of Shabkar: The Autobiography of a Tibetan Yogin. Ithaca, New York: Snow Lion Publications. ISBN 978-1559391542.
  • Ray, Reginald (2001). Secret of the Vajra World: The Tantric Buddhism of Tibet. Shambhala Publications. ISBN 9781570627729.