รุกขมรดก
รุกขมรดก เป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีคุณค่าหรือมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนใครซึ่งไม่สามารถถูกแทนที่ได้ เกณฑ์พื้นฐานสำหรับการกำหนดต้นไม้มรดกที่มีคุณค่าคือ อายุ ความหายาก และขนาด รวมถึงสุนทรียศาสตร์ พฤกษศาสตร์ นิเวศวิทยา และคุณค่าทางประวัติศาสตร์[1] ในบางประเทศมีการตรากฎหมายเพื่อคุ้มครองต้นไม้ที่เป็นมรดกของชาติ เช่น สิงคโปร์ [2] สหรัฐอเมริกา[3]

ในศาสนาพุทธมีแนวคิดในเรื่องการให้คุณค่ากับต้นไม้มรดกมาช้านาน เช่น ความเชื่อในเรื่องรุกขเจดีย์ หรือการดูแลพระศรีมหาโพธิ์ ในฐานะเจดีย์หรือสิ่งแทนพระศาสดาเพื่อการสักการะ[4]
สำหรับในประเทศไทยมีการกำหนดคุณค่าให้กับต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่และมีความสำคัญอย่างเป็นทางการโดยรัฐ ในปี พ.ศ. 2560 โดยกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการคัดเลือกต้นไม้ในประเทศไทยที่มีขนาดใหญ่ อายุประมาณหนึ่งร้อยปีขึ้นไป หรือต้นไม้ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพื่อประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นต้นไม้สำคัญของชาติในวาระสำคัญต่าง ๆ ของประเทศ[5]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ Coates, Peter A. (2006). American Perceptions of Immigrant And Invasive Species: Strangers on the Land. University of California Press. pp. 140–. ISBN 978-0-520-24930-1. สืบค้นเมื่อ 30 June 2012.
- ↑ Waterton, Emma; Watson, Steve (31 May 2010). Culture, Heritage and Representation: Perspectives on Visuality and the Past. Ashgate Publishing, Ltd. pp. 152–. ISBN 978-0-7546-7598-3. สืบค้นเมื่อ 30 June 2012.
- ↑ Barnes, Christine (30 May 2004). Only in Oregon: Natural and Manmade Landmarks and Oddities. Farcountry Press. pp. 10–. ISBN 978-1-56037-292-9. สืบค้นเมื่อ 30 June 2012.
- ↑ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา.ตำนานพุทธเจดีย์[ลิงก์เสีย]. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ไทยพิทยา. ๒๔๙๐
- ↑ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2560). ″รุกขมรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ISBN 978-616-543-450-7
ดูเพิ่มแก้ไข
บทความเกี่ยวกับวัฒนธรรมนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |