ริสเพอริโดน (อังกฤษ: Risperidone) หรือชื่อทางการค้าคือ ไรสเปอร์ดัล (Risperdal) เป็นยาระงับอาการทางจิต[1] ใช้โดยหลักเพื่อรักษาโรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว และความหงุดหงิดของคนไข้โรคออทิซึม เป็นยาที่ใช้รับประทานหรือฉีดในกล้ามเนื้อ[1] โดยแบบฉีดมีฤทธิ์ยาวนานประมาณ 2 อาทิตย์[2]

ริสเพอริโดน
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าRisperdal, อื่น ๆ
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa694015
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: B3
  • US: C (ยังไม่ชี้ขาด)
ช่องทางการรับยาทางปาก (เป็นเม็ดหรือน้ำ), ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
  • AU: S4 (ต้องใช้ใบสั่งยา)
  • UK: POM (Prescription only)
  • US: ℞-only
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล70% (ทางปาก)[1]
การเปลี่ยนแปลงยาตับ (CYP2D6 mediated to paliperidone)[1]
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ20 ชม. (ทางปาก), 3-6 วัน (IM)[1]
การขับออกปัสสาวะ (70%) อุจจาระ (14%)[1]
ตัวบ่งชี้
  • 3-[2-[4- (6-fluoro-1,2-benzoxazol-3-yl) piperidin-1-yl]ethyl]-2-methyl-6,7,8,9-tetrahydropyrido[1,2-a]pyrimidin-4-one
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.114.705
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC23H27FN4O2
มวลต่อโมล410.485 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • Cc1c (c(=O) n2c (n1)CCCC2)CCN3CCC(CC3) c4c5ccc (cc5on4)F
  • InChI=1S/C23H27FN4O2/c1-15-18(23(29)28-10-3-2-4-21(28)25-15)9-13-27-11-7-16(8-12-27)22-19-6-5-17(24)14-20(19)30-26-22/h5-6,14,16H,2-4,7-13H2,1H3 checkY
  • Key:RAPZEAPATHNIPO-UHFFFAOYSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

ผลข้างเคียงที่สามัญรวมทั้งปัญหาการเคลื่อนไหว (extrapyramidal symptoms) ความง่วง ปัญหาในการมองเห็น ท้องผูก และน้ำหนักเพิ่ม[1][3] ผลข้างเคียงหนักอาจรวมความพิการทางการเคลื่อนไหวแบบถาวรคืออาการยึกยือเหตุยา (tardive dyskinesia) กลุ่มอาการร้ายจากยารักษาโรคจิต (neuroleptic malignant syndrome) โอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงขึ้น และภาวะเลือดมีน้ำตาลมาก (hyperglycemia)[1][2] ในผู้สูงอายุที่มีอาการโรคจิต (psychosis) เนื่องจากภาวะสมองเสื่อม อาจจะเพิ่มโอกาสเสียชีวิต ยังไม่ชัดเจนว่ายาปลอดภัยที่จะใช้ระหว่างมีครรภ์หรือไม่

ริสเพอริโดนเป็นยากลุ่ม atypical antipsychotic กลไกการออกฤทธิ์ของมันยังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่าเกี่ยวกับความเป็นปฏิปักษ์ต่อระบบโดพามีน (dopamine antagonist)[1]

งานศึกษาเกี่ยวกับยาเริ่มขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 และได้รับอนุญาตให้ขายในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2536[1][4] เป็นยาในรายการยาจำเป็นขององค์การอนามัยโลก ซึ่งเป็นยาจำเป็นสำคัญที่สุดในระบบดูแลสุขภาพพื้นฐาน[5] ปัจจุบันมีขายเป็นยาสามัญ (generic)[2] โดยในประเทศกำลังพัฒนา ราคาขายส่งอยู่ที่ 0.01-0.60 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 35 สตางค์จนถึง 21 บาท) ต่อวันโดยปี 2557[6] ส่วนค่ายาทั่วไปปี 2558 ในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ระหว่าง 100-200 ดอลลาร์ (ประมาณ 3,500-7,000 บาท) ต่อเดือน[2]

การแพทย์ แก้

ริสเพอริโดนโดยหลักใช้รักษาโรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว และความหงุดหงิดของคนไข้โรคออทิซึม[7]

โรคจิตเภท แก้

ยามีประสิทธิผลในการรักษาการแย่ลงอย่างฉับพลันของโรคจิตเภท[8][9]

ประโยชน์ของยาเพื่อรักษาแบบดำรงสภาพ (maintenance) มีข้อสรุปที่ต่าง ๆ กัน งานปริทัศน์เป็นระบบปี 2555 สรุปว่า มีหลักฐานที่หนักแน่นว่าริสเพอริโดนมีประสิทธิผลกว่ายาระงับอาการทางจิตรุ่นแรก ทั้งหมดยกเว้น haloperidol แต่หลักฐานที่สนับสนุนว่าดีกว่ายาหลอกไม่ชัดเจน[10] ส่วนงานทบทวนวรรณกรรมปี 2554 สรุปว่า ยามีประสิทธิผลป้องกันการเกิดขึ้นอีกของโรคมากกว่ายารักษาโรคจิตรุ่นแรกและรุ่นสองทังหมดยกเว้น olanzapine และ clozapine[11] ส่วนงานทบทวนแบบคอเครนปี 2553 พบประโยชน์เล็กน้อยในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกในการรักษาโรคจิตเภท แต่งานก็อ้างปัญหาด้วยว่ามีความเอนเอียง (bias) ว่ายามีประโยชน์[12]

งานวิจัยพบว่า ยาฉีดรักษาโรคจิตที่มีฤทธิ์ยาวช่วยการได้ยาตามคำสั่งแพทย์และลดอัตราการเกิดโรคอีกเทียบกับยาทาน[13][14] ส่วนประสิทธิผลของยาฉีดริสเพอริโดนที่มีฤทธิ์ยาวดูหมือนจะคล้ายกับยารักษาโรคจิตรุ่นแรกแบบฉีดที่มีฤทธิ์ยาวอื่น ๆ[15]

โรคอารมณ์สองขั้ว แก้

สำหรับโรคอารมณ์สองขั้ว ยารักษาโรคจิต (antipsychotic) รุ่นสองต่าง ๆ รวมทั้งริสเพอริโดนมีประสิทธิผลในการรักษาอาการฟุ้งพล่าน (mania) ไม่ว่าจะเป็นแบบฉับพลัน (acute) หรือเป็นความแย่ลงแบบผสม (mixed exacerbation) ของโรค[16][17][18] ในเด็กและวัยรุ่น ริสเพอริโดนอาจมีประสิทธิผลดีกว่า lithium หรือ divalproex แต่มีผลข้างเคียงทางเมแทบอลิซึมมากกว่า[19] ส่วนสำหรับการรักษาแบบดำรงสภาพ (maintenance) ยามีประสิทธิผลในการป้องกันคราวฟุ้งพล่าน (manic episode) แต่ไม่มีสำหรับคราวซึมเศร้า[20] ยาแบบฉีดที่มีฤทธิ์ยาวอาจมีข้อได้เปรียบกว่ายารักษาโรคจิตรุ่นแรกที่มีฤทธิ์ยาวอื่น ๆ เพราะว่าคนไข้ทนยาได้ดีกว่า (เพราะมีผล extrapyramidal effects น้อยกว่า) และเพราะว่า ยารักษาโรคจิตรุ่นแรกแบบฉีดที่มีฤทธิ์ยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อความซึมเศร้า[21]

โรคออทิซึม แก้

เทียบกับยาหลอก ยาลดพฤติกรรมปัญหาบางอย่างในเด็กโรคออทิซึม รวมทั้งความก้าวร้าว การทำร้ายตัวเอง ความงอแง และอารมณ์ที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว และหลักฐานที่แสดงประสิทธิผลดูเหมือนจะมากกว่าการรักษาด้วยยาอื่น ๆ[22] น้ำหนักเพิ่มเป็นผลที่ไม่พึงประสงค์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง[23][24]

นักวิชาการบางท่านแนะนำให้จำกัดใช้ยานี้และยา aripiprazole ในบุคคลที่มีปัญหาพฤติกรรมมากที่สุดเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการของยาให้น้อยที่สุด[25] ส่วนหลักฐานประสิทธิภาพของยากับวัยรุ่นและผู้ใหญ่วัยต้นที่มีโรคออทิซิมชัดเจนน้อยกว่า[26]

โรคอื่น ๆ แก้

ในโรคซึมเศร้า ถ้ายาที่รักษาในเบื้องต้น (ซึ่งปกติเป็นยากลุ่ม SSRI) ไม่ช่วยบรรเทาอาการพอเพียง มีเทคนิคให้ยาเพิ่ม (adjuncts) คือ ใช้ยารักษาโรคจิต (antipsychotic) รวมกับยาแก้ซึมเศร้า โดยเฉพาะยารักษาโรคจิตแบบ atypical เช่น aripiprazole, quetiapine, olanzapine, และ ริสเปอริโดน[27]

ยาดูจะมีอนาคตในการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำที่ดื้อการรักษา เมื่อยา serotonin reuptake inhibitor ไม่พอเพียง[28]

ยาไม่มีหลักฐานว่ามีประโยชน์ต่อการรักษาความผิดปกติในการรับประทาน (eating disorder) และความผิดปกติทางบุคลิกภาพ[29]

แม้ว่ายารักษาโรคจิตเช่นริสเพอริโดน จะมีประโยชน์เล็กน้อยกับคนไข้ภาวะสมองเสื่อม (dementia) แต่ก็สัมพันธ์กับอัตราการตายและโรคหลอดเลือดสมองที่สูงขึ้น[29] เพราะความเสี่ยงตายที่สูงขึ้น การรักษาอาการโรคจิต (psychosis) ที่เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมจึงไม่ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ[30]

ผลที่ไม่พึงประสงค์ แก้

ปฏิสัมพันธ์กับสารอื่น ๆ แก้

  • คาร์บามาเซพีนและยาเสริมเอนไซม์ (enzyme inducer) อื่น ๆ อาจจะลดระดับริสเพอริโดนในน้ำเลือด[30] ดังนั้น ถ้ากำลังทานทั้งยาคาร์บามาเซพีนและริสเพอริโดน อาจจะต้องเพิ่มขนาดของริสเพอริโดน ซึ่งไม่ควรจะเกินกว่า 2 เท่าจากดั้งเดิม[31]
  • ส่วนยาที่ยับยั้งเอนไซม์ CYP2D6 เช่นยากลุ่ม SSRI อาจเพิ่มระดับริสเพอริโดนในน้ำเลือด[30]
  • เพราะริสเพอริโดนอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำ จึงควรสอดส่องระมัดระวังถ้าคนไข้กำลังทานยาลดความดันเพื่อป้องกันความดันต่ำเกิน[31]
  • มีรายงานว่าการใช้ริสเพอริโดนร่วมกับยากลุ่ม SSRI มีผลให้เกิดเซโรโทนินเป็นพิษ (serotonin syndrome)[32]

การหยุดยา แก้

หนังสือการจ่ายยาของสหราชอาณาจักร (British National Formulary) แนะนำให้ลดยารักษาโรคจิตอย่างช้า ๆ เพื่อเลี่ยงอาการขาดยาแบบฉับพลันหรือโรคกำเริบอย่างรวดเร็ว[33] นักวิชาการบางท่านอ้างว่า อาการอื่นทางกายและทางจิตเวชที่เกี่ยวกับความไวของระบบโดพามีนในระดับสูง รวมทั้ง อาการยึกยือเหตุยา (dyskinesia) และอาการโรคจิตฉับพลัน (acute psychosis) เป็นอาการขาดยาที่สามัญในบุคคลผู้รักษาด้วยยากลุ่ม neuroleptics[34][35][36][37] ซึ่งทำให้นักวิชาการบางท่านเสนอว่า กระบวนการขาดยาเองอาจจะเลียนอาการโรคจิตเภท เพราะว่าคนไข้ที่ก่อนหน้านี้ไม่มีโรคก็เกิดอาการโรคจิตเภทด้วย ซึ่งแสดงความเป็นไปได้ของโรคจิตเหตุยาในคนไข้ที่ปัจจุบันหรือที่อดีตรักษาด้วยยารักษาโรคจิตในระดับอัตราที่ยังไม่ปรากฏ ประเด็นนี้ยังไม่มีข้อยุติ และเป็นเรื่องสร้างความขัดแย้งในระดับสูงสำหรับวงการแพทย์และสุขภาพจิต และในสาธารณชน[38]

ภาวะสมองเสื่อม แก้

ผู้สูงอายุที่มีอาการโรคจิต (psychosis) ที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อม มีความเสี่ยงตายสูงกว่าถ้าได้ยาริสเพอริโดนเทียบกับคนที่ไม่ได้ การตายมักจะสัมพันธ์ปัญหาหรือการติดเชื้อทางหัวใจ[39]

เภสัชวิทยา แก้

เภสัชจลนศาสตร์ แก้

ริสเพอริโดนจะผ่านการสลายตัวในตับและการขับออกทางไต แนะนำให้ใช้ยาขนาดต่ำสำหรับคนไข้ที่มีโรคตับหรือไตหนัก[30] เมแทบอไลต์ออกฤทธิ์ของยา คือ paliperidone ก็ใช้เป็นยารักษาโรคจิตเหมือนกัน (antipsychotic)[40]

 
เภสัชพลศาสตร์ของริสเพอริโดนโดยไม่รวมการยับยั้งเอนไซม์ D-amino acid oxidase

เภสัชพลศาสตร์ แก้

ริสเพอริโดนจัดโดยสถิติว่าเป็นยา atypical antipsychotic ที่มีความชุกปัญหาการเคลื่อนไหว (Extrapyramidal symptoms) ต่ำเมื่อให้ในขนาดต่ำ โดยเป็นปฏิปักษ์ต่อระบบเซโรโทนิน (serotonin antagonism) มากกว่าระบบโดพามีน ยามีหมู่ทำหน้าที่ (functional group) คือ benzisoxazole และ piperidine เป็นส่วนโครงสร้างทางเคมี แม้ว่าจะไม่มีโครงสร้างของ butyrophenone แต่ยาก็พัฒนาขึ้นโดยใช้โครงสร้างของ benperidol และ ketanserin เป็นมูลฐาน และมีฤทธิ์ต่อตัวรับแบบ 5-HT (serotonin) ต่าง ๆ รวมทั้ง 5-HT2C ซึ่งสัมพันธ์กับการเพิ่มน้ำหนัก และ 5-HT2A ซึ่งสัมพันธ์กับฤทธิ์รักษาโรคจิตและบรรเทาผลข้างเคียงแบบ extrapyramidal ที่มักจะมีกับยาแบบ typical neuroleptic ต่าง ๆ[41]

พึ่งพบเมื่อปี 2553 ว่า ยามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ D-amino acid oxidase ซึ่งเร่งปฏิกิริยาการสลายตัวของ D-amino acids (เช่น สารสื่อประสาทแบบ D-alanine และ D-serine)[42]

ยาออกฤทธิ์ต่อตัวรับดังต่อไปนี้

  • ตัวรับโดพามีน - เป็นสารปฏิปักษ์ต่อตัวรับในตระกูล D1 (คือ D1 และ D5) บวกกับ D2 (คือ D2, D3 และ D4) ยามีฤทธิ์ยึดแบบแน่น ซึ่งหมายความว่ามีระยะครึ่งชีวิตนาน และเหมือนกับยารักษาโรคจิตอื่น ๆ ยายับยั้งวิถีประสาท mesolimbic pathway, prefrontal cortex limbic pathway, และ tuberoinfundibular pathway ในระบบประสาทกลาง ยาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงแบบ extrapyramidal คือ อาการนั่งไม่ติดที่และสั่น ที่สัมพันธ์กับการลดการทำงานของระบบโดพามีนใน striatum อาจมีผลข้างเคียงทางเพศ คือ น้ำนมไหลที่ไม่เกี่ยวกับการคลอด ความเป็นหมัน เต้านมชายโต และถ้าใช้เป็นระยะยาว ลดความหนาแน่นของกระดูกที่สัมพันธ์กับการปล่อยฮอร์โมนโพรแลกติน (ที่ทำให้นมไหล) ที่เพิ่มขึ้น[41]
  • ตัวรับเซโรโทนิน ฤทธิ์ของยาที่ตัวรับเหล่านี้อาจทำให้ยามีผลข้างเคียงแบบ extrapyramidal น้อยกว่า (ผ่าน 5-HT2A/2C receptors) เมื่อเทียบกับยา typical antipsychotics ยกตัวอย่างเช่น haloperidol ฤทธิ์เป็นปฏิปักษ์ต่อตัวรับ 5-HT2C อาจมีส่วนทำให้มีผลเป็นน้ำหนักเพิ่ม
  • ตัวรับ Alpha α1 adrenergic เป็นฤทธิ์ที่ทำให้ความดันต่ำเมื่อยืน และอาจมีผลเป็นส่วนระงับประสาท (sedating)[41]
  • ตัวรับ Alpha α2 adrenergic อาจเป็นเหตุให้มีผลข้างเคียงที่น้อยกว่าหรือมากกว่าทางอารมณ์และทางการรู้คิด[43]
  • ตัวรับฮิสตามีน H1 ฤทธิ์อาจจะอธิบายการระงับประสาทและการลดความระมัดระวัง ซึ่งอาจทำให้ง่วงและน้ำหนักเพิ่ม[41]

แม้ว่ายานี้จะมีผลเหมือนกับยารักษาโรคจิตทั้งแบบ typical และ atypical อื่น ๆ แต่มันก็ไม่มีสัมพรรคภาพ (affinity) กับตัวรับแบบ muscarinic acetylcholine ในหลาย ๆ ด้าน ยานี้อาจจะมีประโยชน์เป็น "acetylcholine release-promoter" คล้ายกับยากระเพาะลำไส้เช่น metoclopramide และ cisapride

ตัวรับ Binding Affinity
(Ki [nM])[44]
ฤทธิ์
5-HT1A 423 Antagonist
5-HT1B 14.9 Antagonist
5-HT1D 84.6 Antagonist
5-HT2A 0.17 Inverse agonist
5-HT2B 61.9 Inverse agonist
5-HT2C 12.0 Inverse agonist
5-HT5A 206 Antagonist
5-HT6 2,060 Antagonist
5-HT7 6.60 Irreversible (or pseudo-irreversible) antagonist[45]
D1 244 Antagonist
D2 3.57 Antagonist
D2S 4.73 Antagonist
D2L 4.16 Antagonist
D3 3.6 Inverse agonist
D4 4.66 Antagonist
D5 290 Antagonist
α1A 5.0 Antagonist
α1B 9.0 Antagonist
α2A 16.5 Antagonist
α2B 108 Antagonist
α2C 1.30 Antagonist
mAChRs >10,000 Negligible
H1 20.1 Inverse agonist
H2 120 Inverse agonist
 
Risperdal (ริสเพอริโดน) 4 มก. (สหราชอาณาจักร)

สังคมและวัฒนธรรม แก้

การควบคุมในสหรัฐอเมริกา แก้

องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) อนุมัติให้ใช้ยารักษาโรคจิตเภทในปี พ.ศ. 2536[46] ในปี 2550 เป็นยาเดียวที่อนุมัติให้รักษาโรคจิตเภทในเด็กอายุระหว่าง 13-17 ปี และอนุมัติให้ใช้รักษาโรคอารมณ์สองขั้วในเด็กอายุ 10-17 ปี เพิ่มจากยา lithium ที่ได้ใช้มาก่อน ในปี 2546 FDA อนุมัติให้ใช้รักษาระยะฟุ้งพล่าน (manic) หรือผสม (mixed) ที่สัมพันธ์กับโรคอารมณ์สองขั้วในระยะสั้น ในปี 2549 FDA อนุมัติให้ใช้บำบัดความหงุดหงิดในเด็กและวัยรุ่นที่มีโรคออทิซึม[47] โดยมีเหตุส่วนหนึ่งจากงานศึกษาในคนไข้โรคออทิซึมที่มีปัญหารุนแรงและคงยืนเกี่ยวกับความรุนแรง ความก้าวร้าว และการทำร้ายตัวเอง แต่ว่า ไม่แนะนำให้ใช้ยาในคนไข้ที่มีความก้าวร้าวขั้นเบาและพฤติกรรมที่ระเบิดขึ้นแต่ไม่คงยืน[48]

การวางตลาด แก้

สิทธิบัตรยาของบริษัท Janssen หมดอายุวันที่ 29 ธันวาคม 2546 ซึ่งเปิดโอกาสให้บริษัทอื่นวางขายยาสามัญ และสิทธิในการวางตลาดเพียงผู้เดียวทั้งหมดของบริษัทก็หมดลงในวันที่ 29 มิถุนายน 2547 (เพราะได้เวลาขยายเนื่องจากใช้เป็นยาเพื่อเด็ก) เป็นยาที่ขายโดยมีชื่อการค้าต่าง ๆ ทั่วโลก[49] มีเป็นยาเม็ด ยาน้ำ และเป็นแบบขวดที่ใช้สำหรับฉีด[49]

คดีในศาล แก้

วันที่ 11 เมษายน 2555 บริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และบริษัทย่อย Janssen Pharmaceutica ถูกศาลชั้นกลางของรัฐอาร์คันซอปรับ 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 37,059 ล้านบาท)[50] โดยคณะลูกขุนพบว่า บริษัทไม่ให้ความสำคัญกับความเสี่ยงหลายอย่างที่สัมพันธ์กับยา Risperdal แต่ต่อมาศาลสูงสุดของรัฐได้กลับคำพิพากษานั้น[51]

ตามหนังสือพิมพ์ เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล วันที่ 20 มิถุนายน 2555 "จอห์นสันและจอห์นสัน และกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ ใกล้ถึงข้อตกลงในเรื่องการสืบสวนการโปรโหมตยารักษาโรคจิต Risperdal ที่ได้ทำเป็นระยะเวลายาวนาน โดยเป็นค่าปรับที่สูงสุดเกี่ยวกับการวางตลาดยาเท่าที่เคยมี ทุกฝ่ายพยายามจะรวมคดีในศาลจำนวนหนึ่ง การสืบสวนระดับรัฐ และการตรวจสอบอื่น ๆ เกี่ยวกับข้อกล่าวหาการวางตลาดที่ผิดกฎหมาย และกำลังต่อรองการจ่ายเงินจำนวน 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือสูงกว่านั้น" ซึ่งในที่สุดบริษัทก็ถูกปรับ 2,200 ล้านเหรียญ (ประมาณ 69,366 ล้านบาท)[52]

ในเดือนสิงหาคม 2555 บริษัทตกลงจ่าย 181 ล้านเหรียญสหรัฐแก่มลรัฐ 36 รัฐเพื่อยุติการฟ้องคดีว่า บริษัทได้โปรโหมตยาเพื่อใช้ในการรักษานอกป้ายรวมทั้ง ภาวะสมองเสื่อม การจัดการความโกรธ และโรควิตกกังวล[53]

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "Risperidone". The American Society of Health-System Pharmacists. สืบค้นเมื่อ 2015-12-01.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Hamilton, Richart (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition. Jones & Bartlett Learning. pp. 434–435. ISBN 9781284057560.
  3. Hasnain M, Vieweg WV, Hollett B (July 2012). "Weight gain and glucose dysregulation with second-generation antipsychotics and antidepressants: a review for primary care physicians". Postgraduate Medicine. 124 (4): 154–67. doi:10.3810/pgm.2012.07.2577. PMID 22913904. S2CID 39697130.
  4. Schatzberg AF, Nemeroff CB (2009). The American Psychiatric Publishing textbook of psychopharmacology (4th ed.). Washington, D.C.: American Psychiatric Pub. p. 627. ISBN 9781585623099.
  5. World Health Organization (2019). World Health Organization model list of essential medicines: 21st list 2019. Geneva: World Health Organization. hdl:10665/325771. WHO/MVP/EMP/IAU/2019.06. License: CC BY-NC-SA 3.0 IGO.
  6. "Risperidone - Drug Usage Statistics". ClinCalc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2017. สืบค้นเมื่อ 16 October 2021.
  7. "Respiridone". The American Society of Health-System Pharmacists. สืบค้นเมื่อ 2011-04-03.
  8. Leucht S, Cipriani A, Spineli L, Mavridis D, Orey D, Richter F, และคณะ (September 2013). "Comparative efficacy and tolerability of 15 antipsychotic drugs in schizophrenia: a multiple-treatments meta-analysis". Lancet. 382 (9896): 951–62. doi:10.1016/S0140-6736(13)60733-3. PMID 23810019. S2CID 32085212.
  9. Osser DN, Roudsari MJ, Manschreck T (2013). "The psychopharmacology algorithm project at the Harvard South Shore Program: an update on schizophrenia". Harvard Review of Psychiatry. 21 (1): 18–40. doi:10.1097/HRP.0b013e31827fd915. PMID 23656760. S2CID 22523977.
  10. Barry, SJ; Gaughan, TM; Hunter, R (2012). "Schizophrenia". Clin Evid (Online). 2012. PMC 3385413. PMID 23870705.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  11. Glick ID, Correll CU, Altamura AC, Marder SR, Csernansky JG, Weiden PJ, และคณะ (December 2011). "Mid-term and long-term efficacy and effectiveness of antipsychotic medications for schizophrenia: a data-driven, personalized clinical approach". The Journal of Clinical Psychiatry. 72 (12): 1616–27. doi:10.4088/JCP.11r06927. PMID 22244023.
  12. Rattehalli RD, Zhao S, Li BG, Jayaram MB, Xia J, Sampson S (December 2016). "Risperidone versus placebo for schizophrenia" (PDF). The Cochrane Database of Systematic Reviews. 2016 (12): CD006918. doi:10.1002/14651858.CD006918.pub3. PMC 6463908. PMID 27977041. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2019. สืบค้นเมื่อ 27 November 2018.
  13. Leucht C, Heres S, Kane JM, Kissling W, Davis JM, Leucht S (April 2011). "Oral versus depot antipsychotic drugs for schizophrenia--a critical systematic review and meta-analysis of randomised long-term trials". Schizophrenia Research. 127 (13): 83–92. doi:10.1016/j.schres.2010.11.020. PMID 21257294. S2CID 2386150.
  14. Lafeuille MH, Dean J, Carter V, Duh MS, Fastenau J, Dirani R, Lefebvre P (August 2014). "Systematic review of long-acting injectables versus oral atypical antipsychotics on hospitalization in schizophrenia". Current Medical Research and Opinion. 30 (8): 1643–55. doi:10.1185/03007995.2014.915211. PMID 24730586. S2CID 24814527.
  15. Nielsen J, Jensen SO, Friis RB, Valentin JB, Correll CU (May 2015). "Comparative effectiveness of risperidone long-acting injectable vs first-generation antipsychotic long-acting injectables in schizophrenia: results from a nationwide, retrospective inception cohort study". Schizophrenia Bulletin. 41 (3): 627–36. doi:10.1093/schbul/sbu128. PMC 4393684. PMID 25180312.
  16. Muralidharan K, Ali M, Silveira LE, Bond DJ, Fountoulakis KN, Lam RW, Yatham LN (September 2013). "Efficacy of second generation antipsychotics in treating acute mixed episodes in bipolar disorder: a meta-analysis of placebo-controlled trials". Journal of Affective Disorders. 150 (2): 408–14. doi:10.1016/j.jad.2013.04.032. PMID 23735211.
  17. Nivoli AM, Murru A, Goikolea JM, Crespo JM, Montes JM, González-Pinto A, และคณะ (October 2012). "New treatment guidelines for acute bipolar mania: a critical review". Journal of Affective Disorders. 140 (2): 125–41. doi:10.1016/j.jad.2011.10.015. PMID 22100133.
  18. Yildiz A, Vieta E, Leucht S, Baldessarini RJ (January 2011). "Efficacy of antimanic treatments: meta-analysis of randomized, controlled trials". Neuropsychopharmacology. 36 (2): 375–89. doi:10.1038/npp.2010.192. PMC 3055677. PMID 20980991.
  19. Peruzzolo TL, Tramontina S, Rohde LA, Zeni CP (2013). "Pharmacotherapy of bipolar disorder in children and adolescents: an update". Revista Brasileira de Psiquiatria. 35 (4): 393–405. doi:10.1590/1516-4446-2012-0999. PMID 24402215.
  20. Gitlin M, Frye MA (May 2012). "Maintenance therapies in bipolar disorders". Bipolar Disorders. 14 Suppl 2: 51–65. doi:10.1111/j.1399-5618.2012.00992.x. PMID 22510036. S2CID 21101054.
  21. Gigante AD, Lafer B, Yatham LN (May 2012). "Long-acting injectable antipsychotics for the maintenance treatment of bipolar disorder". CNS Drugs. 26 (5): 403–20. doi:10.2165/11631310-000000000-00000. PMID 22494448. S2CID 2786921.
  22. Kirino E (2014). "Efficacy and tolerability of pharmacotherapy options for the treatment of irritability in autistic children". Clinical Medicine Insights. Pediatrics. 8: 17–30. doi:10.4137/CMPed.S8304. PMC 4051788. PMID 24932108.
  23. "Risperdal- risperidone tablet Risperdal M-Tab- risperidone tablet, orally disintegrating Risperdal- risperidone solution". DailyMed. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2017. สืบค้นเมื่อ 31 December 2019.
  24. Sharma A, Shaw SR (2012). "Efficacy of risperidone in managing maladaptive behaviors for children with autistic spectrum disorder: a meta-analysis". Journal of Pediatric Health Care. 26 (4): 291–9. doi:10.1016/j.pedhc.2011.02.008. PMID 22726714.
  25. McPheeters ML, Warren Z, Sathe N, Bruzek JL, Krishnaswami S, Jerome RN, Veenstra-Vanderweele J (May 2011). "A systematic review of medical treatments for children with autism spectrum disorders". Pediatrics. 127 (5): e1312–21. doi:10.1542/peds.2011-0427. PMID 21464191. S2CID 2903864.
  26. Dove D, Warren Z, McPheeters ML, Taylor JL, Sathe NA, Veenstra-VanderWeele J (October 2012). "Medications for adolescents and young adults with autism spectrum disorders: a systematic review". Pediatrics. 130 (4): 717–26. doi:10.1542/peds.2012-0683. PMC 4074627. PMID 23008452.
  27. Taylor, D; Carol, P; Shitij, K (2012). The Maudsley prescribing guidelines in psychiatry. West Sussex: Wiley-Blackwell. ISBN 978-0-470-97969-3.
  28. Dold M, Aigner M, Lanzenberger R, Kasper S (April 2013). "Antipsychotic augmentation of serotonin reuptake inhibitors in treatment-resistant obsessive-compulsive disorder: a meta-analysis of double-blind, randomized, placebo-controlled trials". The International Journal of Neuropsychopharmacology. 16 (3): 557–74. doi:10.1017/S1461145712000740. PMID 22932229.
  29. 29.0 29.1 Maher AR, Theodore G (June 2012). "Summary of the comparative effectiveness review on off-label use of atypical antipsychotics". Journal of Managed Care Pharmacy. 18 (5 Suppl B): S1–20. doi:10.18553/jmcp.2012.18.s5-b.1. PMID 22784311.
  30. 30.0 30.1 30.2 30.3 "Risperdal Prescribing Information Label" (PDF). Drugs@FDA: FDA Approved Drug Products. Jannsen Pharmaceuticals, Inc. สืบค้นเมื่อ 2014-04-17.
  31. 31.0 31.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ PI
  32. Karki, SD; Masood, GR (2003). "Combination risperidone and SSRI-induced serotonin syndrome". Ann Pharmacother. 37 (3): 388–91. doi:10.1345/aph.1C228. PMID 12639169.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  33. BMJ Group, บ.ก. (March 2009). "4.2.1". British National Formulary (57 ed.). United Kingdom: Royal Pharmaceutical Society of Great Britain. p. 192. ISSN 0260-535X. Withdrawal of antipsychotic drugs after long-term therapy should always be gradual and closely monitored to avoid the risk of acute withdrawal syndromes or rapid relapse.
  34. Chouinard G, Jones BD (January 1980). "Neuroleptic-induced supersensitivity psychosis: clinical and pharmacologic characteristics". The American Journal of Psychiatry. 137 (1): 16–21. doi:10.1176/ajp.137.1.16. PMID 6101522.
  35. Miller R, Chouinard G (November 1993). "Loss of striatal cholinergic neurons as a basis for tardive and L-dopa-induced dyskinesias, neuroleptic-induced supersensitivity psychosis and refractory schizophrenia". Biological Psychiatry. 34 (10): 713–38. doi:10.1016/0006-3223(93)90044-E. PMID 7904833. S2CID 2405709.
  36. Chouinard G, Jones BD, Annable L (November 1978). "Neuroleptic-induced supersensitivity psychosis". The American Journal of Psychiatry. 135 (11): 1409–10. doi:10.1176/ajp.135.11.1409. PMID 30291.
  37. Seeman P, Weinshenker D, Quirion R, Srivastava LK, Bhardwaj SK, Grandy DK, และคณะ (March 2005). "Dopamine supersensitivity correlates with D2High states, implying many paths to psychosis". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 102 (9): 3513–8. Bibcode:2005PNAS..102.3513S. doi:10.1073/pnas.0409766102. PMC 548961. PMID 15716360.
  38. Moncrieff J (July 2006). "Does antipsychotic withdrawal provoke psychosis? Review of the literature on rapid onset psychosis (supersensitivity psychosis) and withdrawal-related relapse". Acta Psychiatrica Scandinavica. 114 (1): 3–13. doi:10.1111/j.1600-0447.2006.00787.x. PMID 16774655. S2CID 6267180.
  39. "Risperdal [Package Insert]". Titusville, NJ: Janssen Pharmaceuticals. Apr 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-08. สืบค้นเมื่อ 2014-11-02.
  40. "The DrugBank database". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 November 2011.
  41. 41.0 41.1 41.2 41.3 Brunton, L; Chabner, B; Knollman, B (2010). Goodman and Gilman’s The Pharmacological Basis of Therapeutics (12th ed.). McGraw Hill Professional.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  42. Abou El-Magd RM, Park HK, Kawazoe T, Iwana S, Ono K, Chung SP, และคณะ (July 2010). "The effect of risperidone on D-amino acid oxidase activity as a hypothesis for a novel mechanism of action in the treatment of schizophrenia". Journal of Psychopharmacology. 24 (7): 1055–67. doi:10.1177/0269881109102644. PMID 19329549. S2CID 39050369.
  43. Hecht, EM; Landy, DC (2012). "Alpha-2 receptor antagonist add-on therapy in the treatment of schizophrenia; a meta-analysis". Schizophrenia Research. 134 (2–3): 202–6. doi:10.1016/j.schres.2011.11.030. PMID 22169246.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  44. National Institute ofMental Health. PDSD Ki Database (Internet) [cited 2013 Aug 10]. ChapelHill (NC) : University of North Carolina. 1998-2013. Available from: http://pdsp.med.unc.edu/pdsp.php เก็บถาวร 2013-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  45. Smith, C.; Rahman, T.; Toohey, N.; Mazurkiewicz, J.; Herrick-Davis, K.; Teitler, M. (2006). "Risperidone Irreversibly Binds to and Inactivates the h5-HT7 Serotonin Receptor". Molecular Pharmacology. 70 (4): 1264–1270. doi:10.1124/mol.106.024612. ISSN 0026-895X. PMID 16870886.[ลิงก์เสีย]
  46. "Electronic Orange Book". Food and Drug Administration. April 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2007. สืบค้นเมื่อ 24 May 2007.
  47. "FDA approves the first drug to treat irritability associated with autism, Risperdal" (Press release). FDA. 2006-10-06. สืบค้นเมื่อ 2009-08-14.
  48. Scahill, L (2008). "How do I decide whether or not to use medication for my child with autism? should I try behavior therapy first?". J Autism Dev Disord. 38 (6): 1197–8. doi:10.1007/s10803-008-0573-7. PMID 18463973.
  49. 49.0 49.1 Drugs.com International trade names for risperidone Page accessed March 15, 2016
  50. "Companies belittled risks of Risperdal, slapped with huge fine". Los Angeles Times. 2012-04-11.
  51. "Arkansas Court Reverses $1.2 Billion Judgment Against Johnson & Johnson". NY Times. 2014-03-21.
  52. "Johnson & Johnson to Pay More Than $2.2 Billion to Resolve Criminal and Civil Investigations | OPA | Department of Justice". Department of Justice. 2013-11-04.
  53. "NY AG: Janssen pays $181M over drug marketing". The Seattle Times. 2012-08-30.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้