ริค สแตนตัน

(เปลี่ยนทางจาก ริชาร์ด สแตนตัน)

ริชาร์ด วิลเลียม สแตนตัน, เอ็มบีอี, จีเอ็ม (อังกฤษ: Richard William Stanton; เกิด ค.ศ. 1961)[1] ยังเป็นที่รู้จักกันในนาม ริค สแตนตัน เป็นนักดำน้ำในถ้ำพลเรือนชาวอังกฤษผู้มีความเชี่ยวชาญในการช่วยเหลือผ่านองค์กรเคฟเรสคิวและสมาคมสำรวจถ้ำอังกฤษ เขาได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "หนึ่งในนักดำน้ำในถ้ำที่มีความชำนาญมากที่สุดในโลก", "โฉมหน้าการดำน้ำในถ้ำของอังกฤษ" และ "นักดำน้ำในถ้ำที่ดีที่สุดในยุโรป" สแตนตันอาศัยอยู่ในคอเวนทรีเป็นเวลาหลายปีและก่อนหน้านี้เป็นนักผจญเพลิงร่วมกับบริการดับเพลิงเวสต์มิดแลนส์เป็นเวลา 25 ปีก่อนที่เขาจะเกษียณ ครั้นใน ค.ศ. 2018 เขามีบทบาทนำในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวงและได้รับจอร์จเมดัลในรายชื่อความกล้าหาญภาคพลเรือน

ริค สแตนตัน

สแตนตันใน ค.ศ. 2008
เกิดริชาร์ด วิลเลียม สแตนตัน
ค.ศ. 1961 (อายุ 62–63 ปี)
เอพพิงฟอเรสต์ เอสเซกซ์ สหราชอาณาจักร
สัญชาติอังกฤษ
การศึกษามหาวิทยาลัยแอสตัน
อาชีพนักผจญเพลิง
มีชื่อเสียงจากการดำน้ำในถ้ำ, การกู้ภัยถ้ำ

ชีวิตช่วงต้น แก้

สแตนตันเกิดใน ค.ศ. 1961[2] และเติบโตในเขตเอพพิงฟอเรสต์ ที่เอสเซกซ์[3] เขาให้ความสนใจในการดำน้ำในถ้ำกับรายการโทรทัศน์ดิอันเดอร์กราวน์ไอเกอร์ที่เขาดูสมัยวัยรุ่น โดยกล่าวว่า "หลังจากดูรายการนี้แล้ว ผมจึงรู้ว่าการดำน้ำในถ้ำเป็นกิจกรรมสำหรับผม"[4] สแตนตันเรียนที่มหาวิทยาลัยแอสตัน ที่ซึ่งเขาได้เข้าร่วมทั้งสโมสรสำรวจถ้ำและสโมสรดำน้ำ[3] ทั้งนี้ เขาเริ่มเป็นนักดำน้ำที่เรียนรู้ด้วยตนเองที่แม่น้ำลูนในคัมเบรียและแลงคาเชอร์[4]

สแตนตันอาศัยอยู่ในคอเวนทรีเป็นเวลาหลายปี และเคยเป็นนักผจญเพลิงร่วมกับบริการดับเพลิงเวสต์มิดแลนส์มา 25 ปีก่อนที่เขาจะเกษียณ[5]

กิจกรรมสำรวจถ้ำและการช่วยชีวิต แก้

การช่วยชีวิต แก้

สแตนตันมักจะดำน้ำในถ้ำและดำเนินการช่วยเหลือร่วมกับจอห์น โวลันเธน ผู้เป็นคู่หู ใน ค.ศ. 2004 เขามีส่วนร่วมในการช่วยชีวิตนักสำรวจถ้ำชาวอังกฤษหกคนที่ติดอยู่ในถ้ำแอลปาแซตในประเทศเม็กซิโกเป็นเวลาแปดวัน[6] สแตนตันยังเป็นส่วนหนึ่งของทีมที่พยายามช่วยเหลือปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำของเอริก เอสตาบลี ในถ้ำดรากูนีเยร์กูด์ใกล้กับลาบาตีด์-เดอ-วีรัก ที่จังหวัดอาร์แด็ชของประเทศฝรั่งเศส ใน ค.ศ. 2010 ทว่าไม่ประสบความสำเร็จ[7][8]

ส่วนใน ค.ศ. 2011 สแตนตันได้ช่วยในการกู้ศพอาร์ตูร์ คอสลอฟสกี นักดำน้ำในถ้ำชาวโปแลนด์ จากถ้ำพอลโลโนรา ที่คิลทาร์ทัน ประเทศไอร์แลนด์[9]

ทางการนอร์เวย์ขอให้เขาช่วยกู้ศพนักดำน้ำชาวฟินแลนด์สองคนจากถ้ำยอร์ดบรูโกรตตาใน ค.ศ. 2014 แต่หลังจากดำดิ่งลงไป ณ สถานที่เกิดเหตุแล้ว เขาและเพื่อนร่วมงานของเขารู้สึกว่าการดำเนินการนั้นเสี่ยงเกินไป ซึ่งเขาเคยทำการกู้อื่นที่นั่นใน ค.ศ. 2006[10]

ใน ค.ศ. 2018 เขาได้ช่วยหาทีมฟุตบอลเยาวชนในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง[5][11][12] หลังจากค้นหาและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือทีมรวมถึงโค้ชที่หายไป สแตนตันกล่าวว่าเขาและนักดำน้ำในถ้ำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ใช่วีรบุรุษ โดยกล่าวว่า "เราแค่ใช้ชุดทักษะพิเศษที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งโดยปกติเราใช้เพื่อผลประโยชน์ของเราเอง และบางครั้งเราสามารถใช้สิ่งนั้นเพื่อตอบแทนบางสิ่งแก่ชุมชน"[13]

สถิติ แก้

ใน ค.ศ. 2004 สแตนตันและโวลันเธนสร้างสถิติโลกสำหรับการบรรลุความลึกในถ้ำบริติช จากการดำน้ำในถ้ำ 76 ม. (249 ฟุต) ที่ถ้ำวูคีย์โฮล ในซัมเมอร์เซต[14] ส่วนใน ค.ศ. 2010 สแตนตัน, โวลันเธน, เจสัน มัลลินสัน และเรอเน เฮาเบิน สร้างสถิติโลกสำหรับการดำน้ำในถ้ำที่ไกลที่สุด โดยการบรรลุ 8,800 ม. (28,900 ฟุต) ในกลุ่มถ้ำโปโซอาซุล ณ รูดรอนบัลเลย์ ที่ประเทศสเปน[15]

อุปกรณ์ แก้

สแตนตันเป็นนักดำน้ำด้านเทคนิค โดยพัฒนาอุปกรณ์ดำน้ำของตัวเองให้ได้ผลดี เขาพัฒนาเครื่องผสมอากาศหายใจอัตโนมัติสองหน่วย ซึ่งเทคโนโลยีใหม่นี้เป็น "เครื่องมือในการบรรลุสถิติการดำน้ำลึกในถ้ำของเขาทั่วโลก"[16] มีการดัดแปลงอย่างหนึ่งคือการให้เครื่องผสมอากาศหายใจสวมใส่ด้านข้างของร่างกายร่างกายมากกว่าที่หน้าอกหรือด้านหลัง นี่คือข้อได้เปรียบในการติดตั้งผ่านพื้นที่ขนาดเล็ก เขาสร้างสิ่งที่เป็นต้นแบบการออกแบบของเขาและทดสอบพวกมันในสระว่ายน้ำ ก่อนที่จะใช้พวกมันในถ้ำ[3]

นอกจากนี้ เขายังใช้สกูตเตอร์ใต้น้ำเพื่อดำน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น, เดินทางไกลยิ่งขึ้นในขณะที่ประหยัดพลังงานและอุปกรณ์ออกซิเจน[17]

หนังสือ แก้

  • อความนอต: อะไลฟ์บินีธเดอะเซอร์เฟซ - เดอะอินไซด์สตอรีออฟเดอะไทยเคฟเรสคิว (อังกฤษ: Aquanaut: A Life Beneath the Surface - The Inside Story of the Thai Cave Rescue.) ค.ศ. 2021. ไมเคิล โจเซฟ ISBN 978-0241421260[18][19]

รางวัลและเกียรติยศ แก้

สแตนตันได้รับการเรียกว่า "หนึ่งในนักดำน้ำที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก",[4] "โฉมหน้าการดำน้ำในถ้ำของอังกฤษ"[20] และ "นักดำน้ำในถ้ำที่ดีที่สุดในยุโรป"[20]

ใน ค.ศ. 2008 สแตนตันได้รับ "รางวัลนักดำน้ำแห่งการประชุม" ของยูโรเทคสำหรับ "การมีส่วนร่วมสำคัญในการดำน้ำขั้นสูงและเชิงเทคนิค"[21] ความพยายามในการช่วยเหลือนักดำน้ำของสแตนตันในถ้ำฝรั่งเศส และความช่วยเหลือในการระบุตำแหน่งของร่างของนักดำน้ำคนนั้น ทำให้เขาได้รับเหรียญทองแดงจากราชสมาคมส่งเสริมการมีมนุษยธรรมใน ค.ศ. 2012[22]

สแตนตันยังได้รับรางวัล 'วีรบุรุษแห่งปี' ที่งานแอสไปร์อะวอดส์ของหน่วยงานดับเพลิงเวสต์มิดแลนด์[23]

สแตนตันได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช (MBE) ในเกียรติยศเนื่องในวันปีใหม่ 2013 "สำหรับบริการแก่ราชการส่วนท้องถิ่น"[5][24]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018 สแตนตันและสมาชิกทีมกู้ภัยถ้ำชาวอังกฤษอีกห้าคนได้รับไพรด์ออฟบริเตนอะวอร์ดประจำ ค.ศ. 2018 สำหรับ "ความกล้าหาญที่โดดเด่น" สำหรับเหตุการณ์ถ้ำหลวง โดยเด็กที่ได้รับการช่วยเหลือได้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลที่ลอนดอน[25] เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 2018 มีการประกาศว่าสแตนตันและโวลันเธนจะได้รับพระราชทานจอร์จเมดัลในเกียรติยศเนื่องในวันปีใหม่ 2019 สำหรับบทบาทของพวกเขาที่ถ้ำหลวง[26][27] ส่วนสมาชิกอีกสามคนในทีมของพวกเขาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช และอีกสองคนได้รับพระราชทานเหรียญกล้าหาญของพระราชินี[27]

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021 นักสำรวจชื่อมาร์ก วูด ประธานชมรมนักสำรวจบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ได้มอบเหรียญสาขาของสมาคมแก่สแตนตันเพื่อเป็นเกียรติแก่บทบาทของเขาในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง ที่ประเทศไทยเมื่อ ค.ศ. 2018[28]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ชีวิตส่วนตัว แก้

สแตนตันอาศัยอยู่ในคอเวนทรี[30][31]

อ้างอิง แก้

  1. Nick Allen; Francesca Marshall; Victoria Ward (4 July 2018). "Thailand cave rescue: Meet the 'A-Team' of heroic volunteer British divers who led search". The Telegraph. Telegraph Media Group Limited. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-30. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
  2. "Stanton, Rick, MBE". Diving Almanac Book of Records. 5 February 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-17. สืบค้นเมื่อ 13 June 2019.
  3. 3.0 3.1 3.2 Hanwell, J.; Price, D.; Witcombe, R. (2010). Wookey Hole: 75 Years of Cave Diving & Exploration (PDF). Cave Diving Group. ISBN 0901031070.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Rick Stanton". Divernet. October 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-13. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Thailand cave rescue: The Brits who helped find the boys". BBC News. BBC. 3 July 2018. สืบค้นเมื่อ 3 July 2018.
  6. "Military cavers rescued by Royal Navy in 'gentle' trip that became PR disaster". The Telegraph. Telegraph Media Group Limited. สืบค้นเมื่อ 3 July 2018.
  7. "South and Mid Wales experts join Ardeche cave rescue". BBC News. BBC. 11 October 2010. สืบค้นเมื่อ 3 July 2018.
  8. "Cave explorer found dead after dramatic eight-day search". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2010-10-12. สืบค้นเมื่อ 2019-04-26.
  9. Siggins, Lorna (12 September 2011). "British rescue team recovers body of missing cave diver". The Irish Times. The Irish Times. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
  10. Kremer, William (9 May 2016). "The cave divers who went back for their friends". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 3 July 2018. World-renowned for his rescue and recovery work in caves, Stanton had a feeling he would be asked to travel to Plurdalen to retrieve the bodies - he had done a recovery there in 2006 - and had already started to find out what he could.
  11. "British divers Richard Stanton and John Volanthen at the heart of the Thai cave rescue". 4 July 2018. สืบค้นเมื่อ 22 July 2018 – โดยทาง www.thetimes.co.uk.
  12. "Meet the British 'A-team' divers at the center of Thailand cave rescue". Washington Post. 3 July 2018. สืบค้นเมื่อ 26 April 2019.
  13. "British divers insist they are not heroes after Thai cave rescue". The Irish Times. The Irish Times. 13 July 2018. สืบค้นเมื่อ 14 July 2018.
  14. "Thailand cave rescue: 'Best of the best' enlisted to find boys and coach". nzherald.co.nz. NZME. 3 July 2018. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
  15. "Records and Aquatic Superlatives". Diving Almanac. Diving Almanac & Book of Records. 3 July 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-11. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
  16. "TEKCAMP LUMINARIES". TEKCAMP. Vobster Diving Ltd. สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
  17. Rider, Helen (October 2006). "FRENCH LEAVE". Divernet. Genius CMS Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-05. สืบค้นเมื่อ 5 July 2018.
  18. Tham Luang cave rescue: the extraordinary story of how the boys were saved
  19. "THE ENTHRALLING INSIDE STORY OF THE THAI CAVE RESCUE NOW CHRONICLED IN NATIONAL GEOGRAPHIC HIT DOCUMENTARY THE RESCUE". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-11. สืบค้นเมื่อ 2021-12-11.
  20. 20.0 20.1 Roy, Eleanor Ainge (2 July 2018). "British divers at heart of Thai cave rescue among best in world". The Guardian. Guardian News and Media Limited. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
  21. Gallant, Jeffrey (20 November 2017). "Awards Hall of Fame". Diving Almanac. Diving Almanac & Book of Records. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-23. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
  22. Royal Humane Society (2012). Annual Report 2012 (PDF) (Report). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-04-26. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
  23. "Coventry fireman is made MBE in New Year Honours". Coventry Telegraph. 29 December 2012. สืบค้นเมื่อ 6 November 2018.
  24. "No. 60367". The London Gazette (1st supplement). 28 December 2012. p. 22.
  25. "Displaying items by tag: 2018 - Pride of Britain Awards" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). Pride of Britain. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-12. สืบค้นเมื่อ 6 November 2018.
  26. Rosemary E Lunn 7 Medals and a Cave Dive - New Year's Honour Awards for the Thai Rescuers X-Ray Magazine
  27. 27.0 27.1 "Honours for Thai cave rescue divers". BBC News. 28 December 2018.
  28. Rosemary E Lunn Rick Stanton presented with Explorers Club 'Chapter Coin' X-Ray Magazine
  29. ราชกิจจานุเบกษา (21 March 2019). "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2019-03-22. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  30. "Coventry diver Rick Stanton honoured over Thai cave rescue". BBC News. 4 September 2018.
  31. "Heroism of Thai cave rescuer Rick Stanton to be recognised". 3 August 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้