รายพระนามและชื่อประมุขแห่งรัฐลิทัวเนีย

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

รายพระนามและชื่อต่อไปนี้คือประมุขแห่งรัฐของประเทศลิทัวเนีย (อันประกอบไปด้วยแกรนด์ดยุก พระมหากษัตริย์ และประธานาธิบดี) รายการต่อไปนี้ยังรวมไปถึงช่วงเวลาที่ประเทศลิทัวเนียอยู่ภายใต้สภาวะอธิปไตยที่เหนือกว่า หรือตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐอธิปไตยอื่น (เช่น สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย)

ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐลิทัวเนีย
Lietuvos Respublikos Prezidentas
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
กิตานัส เนาเซดา

ตั้งแต่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2019
การเรียกขานฯพณฯ ประธานาธิปดี
จวนทำเนียบประธานาธิบดี
วิลนีอุส
ผู้แต่งตั้งเลือกตั้งโดยตรง
วาระ5 ปี
สามารถดำรงตำแหน่งได้สองวาระ
ผู้ประเดิมตำแหน่งอันตานัส สเมโตนา
4 เมษายน ค.ศ. 1919
สถาปนารัฐธรรมนูญลิทัวเนีย
เงินตอบแทน70,000 ยูโร[1] (รายปี,หลังหักภาษีแล้ว)
เว็บไซต์Lietuvos Respublikos Prezidentė

รัฐลิทัวเนียก่อตั้งขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ 1230 เมื่อครั้งถูกคุกคามโดยภาคีลิโวเนียนทางทิศเหนือ และจากอัศวินทิวทอนิกทางทิศตะวันตก ชนเผ่าบอลติกรวมกันเป็นปึกแผ่นภายใต้การนำของพระเจ้ามินกัวดาร์ พระมหากษัตริย์ลิทัวเนียพระองค์แรกและพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์ อาณาจักรของพระองค์กลายมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อแกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย หลังจากแกรนด์ดยุกโยไกลา ได้ขึ้นครองราชบัลลังก์โปแลนด์ ใน ค.ศ. 1386 ทั้งสองรัฐก็มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมากขึ้น และนับตั้งแต่ ค.ศ. 1440 ทั้งสองก็มีพระประมุขร่วมกัน ในปี ค.ศ. 1569 ข้อตกลงในสหภาพลูบลินได้รับการลงนาม และรัฐภาวะใหม่—เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย—ได้รับการก่อตั้งขึ้น เครือจักรภพถูกแบ่งใน ค.ศ. 1795 และลิทัวเนียกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซียจนถึงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1918 สภาแห่งลิทัวเนีย สามารถประกาศอิสรภาพได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1919 หลังจากการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สาธารณรัฐลิทัวเนียที่หนึ่งดำรงอยู่จนถึง ค.ศ. 1940 เมื่อลิทัวเนียถูกสหภาพโซเวียตเข้ายึดครอง ในช่วงสงครามโซเวียต-เยอรมัน ลิทัวเนียถูกเข้ายึดครองต่อโดยนาซีเยอรมนีอีกทอดหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1944 ขณะที่เยอรมนีกำลังจะพ่ายแพ้ สหภาพโซเวียตได้เข้ายึดครองลิทัวเนียอีกครั้ง และสถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย ในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1990 ลิทัวเนียเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตแห่งแรกที่ประกาศอิสรภาพจากรัฐบาลกลาง ปัจจุบันสาธารณรัฐลิทัวเนียปกครองในระบอบประชาธิบไตยและเป็นรัฐสมาชิกของทั้งสหภาพยุโรปและเนโท

แกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย (ค.ศ. 1236 – ค.ศ. 1569) แก้

ผู้ปกครองทุกพระองค์ดำรงพระราชอิสริยยศแกรนด์ดยุก (ลิทัวเนีย: didysis kunigaikštis; เบลารุส: vialiki kniaź; โปแลนด์: wielki książę) ยกเว้นพระเจ้ามินกัวดาร์ซึ่งได้รับการราชาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งลิทัวเนีย (ลิทัวเนีย: Lietuvos karalius) อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง

ราชวงศ์มินกัวดาร์ (ค.ศ. 1236 – ค.ศ. 1268) แก้

ช่วงรัชกาลด้านล่างเป็นการประมาณการเพราะขาดการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร

รัชกาล พระนาม พระฉายาลักษณ์ หมายเหตุ
ประมาณ ค.ศ. 1236–1263 มินกัวดาร์   แต่เดิมทรงดำรงพระราชอิสริยยศแกรนด์ดยุก ทรงดำรงพระราชอิสริยยศกษัตริย์แห่งลิทัวเนีย ตั้งแต่ ค.ศ. 1253 เป็นต้นไป การลอบปลงพระชนม์ของพระองค์โดยพระราชนัดดา (หลานลุง) ทรีนีโอตา เป็นจุดเริ่มต้นสงครามชิงอำนาจในหมู่ขุนนาง
ค.ศ. 1263–1265 ทรีนีโอตา  
ค.ศ. 1265–1268 วาวีลคาร์   พระราชโอรสในพระเจ้ามินกัวดาร์ ทรงเวนราชสมบัติให้แก่ซวาร์น พระเทวัน (พี่เขย)

ราชวงศ์โมโนมัสคส์วิชี (ค.ศ. 1268 – ค.ศ. 1269) แก้

รัชกาล พระนาม พระฉายาลักษณ์ หมายเหตุ
ค.ศ. 1268–1269 ซวาร์น

ราชวงศ์มินกัวดาร์ (ค.ศ. 1269 – ค.ศ. 1285) แก้

รัชกาล พระนาม พระฉายาลักษณ์ หมายเหตุ
ค.ศ. 1270–1282 ไทรเดนิส  
ค.ศ. 1282–1285 ตัวมันตาร์

ราชวงศ์กีดีมีนาส (ค.ศ. 1285 – ค.ศ. 1440) แก้

รัชสมัยของผู้ปกครองบางพระองค์ด้านล่างเป็นการสันนิฐาน

รัชกาล พระนาม พระฉายาลักษณ์ หมายเหตุ
ค.ศ. 1285–1291 บูตีเกอดิส ผู้ก่อตั้งราชวงศ์กีดีมีนาส
ค.ศ. 1291–1295 บูตวีดัส พระราชอนุชาในแกรนด์ดยุกบูตีเกอดิส พระราชบิดาของวีเตนิสและเกมีดีนาส
ค.ศ. 1295–1316 วีเตนิส   พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกบูตวีดัส
ค.ศ. 1316–1341 เกมีดีนาส   พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกบูตวีดัส หลังจากพระองค์สวรรคต อาณาจักรจึงถูกแบ่งให้แก่พระราชโอรสทั้งเจ็ด
ค.ศ. 1341–1345 จัวนูติส พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกเกมีดีนาส ทรงถูกปลดจากราชสมบัติโดยพระราชอนุชาอัลกีร์ดัส และเคร์ตูติส
ค.ศ. 1345–1377 อัลกีร์ดัส   พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกเกมีดีนาส ทรงเป็นผู้ครองร่วมกับเคร์ตูติส พระราชอนุชาซึ่งปกครองทางตะวันตก ส่วนพระองค์ปกครองทางตะวันออก
ค.ศ. 1377–1381 โยไกลา   พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกอัลกีร์ดัส ทรงได้รับการราชาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งโปแลนด์ ในปี ค.ศ. 1386 ทำให้เกิดรัฐร่วมประมุขระหว่างโปแลนด์กับลิทัวเนีย ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ยากีลลัน
ค.ศ. 1381–1382 เคร์ตูติส   พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกเกมีดีนาส ทรงเป็นผู้ครองร่วมกับอัลกีร์ดัส พระเชษฐา พระองค์ปกครองทางตะวันตก (โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ทราไค) ทรงชิงราชสมบัติจากแกรนด์ดยุกโยไกลาในปี ค.ศ. 1381 ก่อนที่จะถูกจับสำเร็จโทษในปีต่อมา
ค.ศ. 1382–1392 โยไกลา   ทรงเป็นกษัตริย์แห่งโปแลนด์ระหว่าง ค.ศ. 1386–1434 ทรงปกครองผ่านข้าหลวงซกีไกอีลา (ค.ศ. 1387–1392)
ค.ศ. 1392–1430 วีตัวนัส   พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกเคร์ตูติส ทรงเข้าร่วมการต่อต้านแกรนด์ดยุกโยไกลากับพระราชบิดา ก่อนที่จะแปรพักตร์และได้ขึ้นครองราชย์เป็นแกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนียใน ค.ศ. 1392 พระองค์ทรงได้รับการประกาศให้เป็นกษัตริย์ในปี ค.ศ. 1429 แต่มงกุฎที่จำเป็นต้องใช้ในพิธีราชาภิเษกถูกริบไปเสียก่อนระหว่างข้ามพรมแดนเยอรมนี–โปแลนด์โดยชาวโปแลนด์ สวรรคก่อนที่มงกุฎองค์ที่สองจะมาถึง
ค.ศ. 1430–1432 ซวีตรีกาอีลา   พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกอัลกีร์ดัส พระราชอนุชาของแกรนด์ดยุกโยไกลา ทรงถูกปลดจากราชสมบัติโดยกองกำลังของซีกิสมุนด์ พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกเคร์ตูติส
ค.ศ. 1432–1440 ซีกิสมุนด์ เคสตูตาอีตริส   พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกเคร์ตูติส พระราชอนุชาของแกรนด์ดยุกวีตัวนัส ทรงถูกปลงพระชนม์โดยผู้สนับสนุนซวีตรีกาอีลา

ราชวงศ์ยากีลลัน (ค.ศ. 1440 – ค.ศ. 1569) แก้

พระราชบัญญัติการเป็นรัฐร่วมประมุขกับโปแลนด์ได้รับการลงนามมาตั้งแต่ ค.ศ. 1385 อย่างไรก็ตาม รัฐทั้งสองเริ่มมีพระประมุขร่วมกันในรัชสมัยพระเจ้ากาชีมีแยชที่ 4 (แม้ว่าโปแลนด์และลิทัวเนียจะต่างเลือกพระประมุขคนละพระองค์ถึงสองครั้ง หลังจากการสวรรคตของพระประมุขร่วม แต่ฝ่ายลิทัวเนียก็ได้ขึ้นครองราชบัลลังก์โปแลนด์ในภายหลัง) พระราชอิสริยยศของพระประมุขและการนับเลขรัชกาลก็ยังแยกกันอยู่ ราชวงศ์ยากีลลันเองก็เป็นสาขาหนึ่งของราชวงศ์กีดีมีนาส

รัชกาล พระนาม พระฉายาลักษณ์ หมายเหตุ
ค.ศ. 1440–1492 พระเจ้ากาชีมีแยชที่ 4   พระราชโอรสในแกรนด์ดยุกโยไกลา ได้รับเลือกและราชาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1447 หลังจากการสวรรคตของพระเจ้าววาดือสวัฟที่ 3 พระเชษฐา
ค.ศ. 1492–1506 พระเจ้าอเล็กซานเดอร์   พระราชโอรสในพระเจ้ากาชีมีแยชที่ 4 ได้รับเลือกและราชาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1501 หลังจากการสวรรคตของพระเจ้ายันที่ 1 อัลเบิร์ต พระเชษฐา
ค.ศ. 1506–1548 พระเจ้าซิกมุนด์ที่ 1 ผู้อาวุโส   พระราชโอรสในพระเจ้ากาชีมีแยชที่ 4
ค.ศ. 1548–1569 พระเจ้าซิกมุนด์ที่ 2 เอากุสตุส   พระราชโอรสในพระเจ้าซึกมุนต์ที่ 1 ผู้ปกครอง โดยพฤตินัย ตั้งแต่ ค.ศ. 1529

เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย (ค.ศ. 1569 – ค.ศ. 1795) แก้

เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียได้รับการก่อตั้งขึ้นจากข้อตกลงในสหภาพลูบลิน ใน ค.ศ. 1569 กษัตริย์โปแลนด์ผู้ถูกเลือกจะต้องได้รับการเลือกจากชนชั้นสูงชาวลิทัวเนียเพื่อขึ้นเป็นแกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนียด้วยเช่นกัน พระประมุขร่วมพระองค์แรกของทั้งสองชาติคือพระเจ้าซิกมุนด์ที่ 2 เอากุสตุส หลังจากการแบ่งดินแดนในปี ค.ศ. 1772, 1793 และ 1795 เครือจักรภพก็สิ้นสภาพลงและลิทัวเนียก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิรัสเซียเป็นเวลา 123 ปี ในสมัยเครือจักรภพมักจะมีช่วงว่างระหว่างรัชกาลของพระประมุขแต่ละพระองค์ เนื่องจากการเลือกตั้งพระมหากษัตริย์ของเครือจักรภพจะไม่กระทำโดยทันที แกรนด์ดยุกพระองค์แรกที่ได้รับเลือกหลังจากการสิ้นสุดราชวงศ์ยากีลลัน และการหลบหนีกลับไปฝรั่งเศสของพระเจ้าอ็องรี คือ สเตฟาน บาโตรี ผู้ซึ่งพยายามหาผู้สนับสนุนในการเลือกตั้งโดยการสร้างมหาวิทยาลัยวิลนีอุส

พระราชอิสริยยศ: พระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์และแกรนด์ดยุกแห่งลิทัวเนีย

ลิทัวเนีย: Lenkijos karalius ir Lietuvos didysis kunigaikštis

เบลารุส: кароль Польшчы, вялікі князь літоўскі (karol Polščy, vialiki kniaź litoŭski)

โปแลนด์: Król Polski, wielki książę litewski

ละติน: Rex Poloniae et Magnus Dux Lituaniae

รัชกาล พระนาม พระฉายาลักษณ์ ราชวงศ์ หมายเหตุ
ค.ศ. 1569–1572 พระเจ้าซิกมุนด์ที่ 2 เอากุสตุส   ยากีลลัน พระราชโอรสในพระเจ้าซิกมุนด์ที่ 1
ค.ศ. 1573–1575 อ็องรี เดอ วาลัว   วาลัว พระองค์ทรงละทิ้งราชบัลลังก์เพื่อขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ฝรั่งเศส
ค.ศ. 1575-
1586/1596
สมเด็จพระราชินีนาถแอนนา

 

ยากีลลัน พระราชธิดาในพระเจ้าซึกมุนต์ที่ 1
ค.ศ. 1576–1586 สเตฟาน บาโตรี   บาโตรี ได้รับพระราชอิสริยยศจากสิทธิ์ของพระมเหสี
ค.ศ. 1588–1632 พระเจ้าซิกมุนด์ที่ 3 วาซา   วาซา การขึ้นครองราชย์ของพระองค์ทำให้เกิดรัฐร่วมประมุข ระหว่าง เครือจักรภพ และสวีเดน กษัตริย์แห่งสวีเดน ระหว่าง ค.ศ. 1592 ถึง 1599
ค.ศ. 1632–1648 พระเจ้าววาดือสวัฟที่ 4 วาซา  
ค.ศ. 1648–1668 พระเจ้ายันที่ 2 กาชีมีแยช วาซา   ทรงสละราชสมบัติและต่อมาทรงรับศีลบวช สมาชิกพระองค์สุดท้ายในราชวงศ์วาซาสายโปแลนด์–ลิทัวเนีย
ค.ศ. 1669–1673 พระเจ้ามีเคา   วิชญอวีแยตสกี
(ชนชั้นสูงชาวลิทัวเนีย)
ค.ศ. 1674–1696 พระเจ้ายันที่ 3 ซอบีแยสกี   ซอบีแยสกี
(ชนชั้นสูงชาวโปแลนด์)
ค.ศ. 1697–1706 พระเจ้าออกัสตัสที่ 2 ผู้แข็งแกร่ง   เว็ททีน ทรงเป็นผู้คัดเลือกแห่งซัคเซิน ในพระนามฟรีดริช เอากุสท์ที่ 1
ค.ศ. 1706–1709 พระเจ้าสตาญิสวัฟที่ 1   เลชชินสกี มหาสงครามเหนือ
ค.ศ. 1709–1733 พระเจ้าออกัสตัสที่ 2 ผู้แข็งแกร่ง   เว็ททีน ครองราชย์ครั้งที่ 2
ทรงเป็นผู้คัดเลือกแห่งซัคเซิน ในพระนามฟรีดริช เอากุสท์ที่ 1
ค.ศ. 1733–1736 พระเจ้าสตาญิสวัฟที่ 1   เลชชินสกี ครองราชย์ครั้งที่ 2
สงครามสืบราชบัลลังก์โปแลนด์
ค.ศ. 1733–1763 พระเจ้าออกัสตัสที่ 3   เว็ททีน
ค.ศ. 1764–1795 พระเจ้าสตาญิสวัฟที่ 2 เอากุสตุส   ปอญาตอฟสกี ในรัชสมัยของพระองค์ แกรนด์ดัชชีลิทัวเนียได้ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรโปแลนด์ ทรงสละราชสมบัติหลังจากการแบ่งโปแลนด์; เสด็จสวรรคตในขณะลี้ภัยที่รัสเซีย

ราชอาณาจักรลิทัวเนีย (ค.ศ. 1918) แก้

สภาลิทัวเนีย ประกาศอิสรภาพในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1918 และได้ทูลเชิญเจ้าชายวิลเฮล์ม คาร์ลแห่งอูลรัล เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งลิทัวเนีย ชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศคือราชอาณาจักรลิทัวเนีย ในวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1918 ดยุกวิลเฮล์มทรงยอมรับข้อเสนอและเลือกใช้พระนามทางการว่า พระเจ้ามินกัวดาร์ที่ 2 แต่ต่อมาในวันที่ 2 พฤศจิกายนสภาก็ลงมติให้การตัดสินใจดังกล่าวเป็นโมฆะ เนื่องจากจักรวรรรดิเยอรมันกำลังจะแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

รัชกาล พระนาม พระฉายาลักษณ์ ราชวงศ์ หมายเหตุ
11 กรกฎาคม – 2 พฤศจิกายน 1918 พระเจ้ามินกัวดาร์ที่ 2
(วิลเฮล์ม คาร์ล)
  อูลรัล เปลี่ยนระบอบเป็นสาธารณรัฐ

รัฐลิทัวเนีย (ค.ศ. 1918 – ค.ศ. 1920) แก้

รัฐลิทัวเนียปกครองโดยประธานสภาแห่งรัฐลิทัวเนีย (Presidium of the State Council of Lithuania) ซึ่งเป็นประมุขแห่งรัฐในทางพฤตินัย ตำแหน่งประธานสภาแห่งรัฐลิทัวเนียได้รับการเปลี่ยนผ่านไปยัง[โปรดขยายความ] ตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1919 ประธานสภาแห่งรัฐ อันตานัส สเมโตนา ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรกโดยสภาแห่งรัฐ

ลำดับที่ วาระ ชื่อ ภาพ หมายเหตุ
- 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 – 4 เมษายน ค.ศ. 1919 อันตานัส สเมโตนา   ประธานสภาลิทัวเนีย
1 4 เมษายน ค.ศ. 1919 – 19 มิถุนายน ค.ศ. 1920 ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีโดยสภาลิทัวเนีย

สาธารณรัฐลิทัวเนีย (ค.ศ. 1920– ค.ศ. 1940) แก้

ตำแหน่งประธานาธิบดี (ลิทัวเนีย: Prezidentas) ได้รับการจัดตั้งในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1919

ลำดับที่ วาระ ชื่อ ภาพ หมายเหตุ
2 19 มิถุนายน ค.ศ. 1920 – 7 มิถุนายน ค.ศ. 1926 อเล็กซานดรัส สตุลกินสกิส   รักษาการประธานาธิบดี (ในฐานะประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญลิทัวเนีย, Constituent Assembly of Lithuania) ได้รับเลือกอีกครั้งโดยสภาเซมุส ใน 21 ธันวาคม ค.ศ. 1922 และ มิถุนายน ค.ศ. 1923
3 7 มิถุนายน – 18 ธันวาคม ค.ศ. 1926 คาซีส กรินิอุส   ได้รับเลือกโดยรัฐสภา แต่ถูกขับออกจากตำแหน่งในการรัฐประหาร
18–19 ธันวาคม ค.ศ. 1926 โยนาส สเตาไกติส   ประธานาธิบดีโดยพฤตินัยเป็นระยะเวลาหนึ่งวัน ในฐานะประธานสภาเซมุส (ลาออกจากตำแหน่งหลังจากการรัฐประหาร)
19 ธันวาคม ค.ศ. 1926 อเล็กซานดรัส สตุลกินสกิส   ประธานาธิบดีโดยพฤตินัย ในฐานะประธานสภาเซมุส ดำรงตำแหน่งเป็นเวลาไม่กี่ชั่วโมง
19 ธันวาคม ค.ศ. 1926 – 15 มิถุนายน ค.ศ. 1940 อันตานัส สเมโตนา   ดำรงตำแหน่งสมัยที่ 2 ได้รับเลือกเป็นสมัยที่ 2 หลังจากการรัฐประหาร; หลังสหภาพโซเวียต รุกรานในปี ค.ศ. 1940 ได้หลบหนีไปยังเยอรมนีและสหรัฐตามลำดับ
15–17 มิถุนายน ค.ศ. 1940 อันตานัส เมอร์กิส   ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รักษาการประธานาธิบดี โดยพฤตินัย หลังจากการหลบหนีของสเมโตนา ไม่ได้รับการรับรองจากเจ้าหน้าที่การทูตลิทัวเนียเนื่องจากเข้ารับตำแหน่งโดยขัดรัฐธรรมนูญ เพราะสเมโตนาไม่ได้ลาออกจากตำแหน่งหรือเสียชีวิต
17 มิถุนายน – สิงหาคม ค.ศ. 1940 จุสตัส พาเลกกิส   ได้รับเลือกโดยขัดต่อหลักรัฐธรรมนูญจากเหล่าผู้นำของฝ่ายคอมมิวนิสต์ภายใต้การกดดันของสหภาพโซเวียต ไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติและเจ้าหน้าที่การทูตลิทัวเนีย[2]
4 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1949 – 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1954 โยนาส เซเมติส   ได้รับการประกาศเป็นประมุขแห่งรัฐย้อนหลังในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2009[3]
- 26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1954 – 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1957 อดอฟัส รามาเนากาส์   ได้รับการประกาศเป็นประมุขแห่งรัฐย้อนหลังในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2018[4]

สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนีย (ค.ศ. 1940–1941 และ ค.ศ. 1944–1990) แก้

สหภาพโซเวียตเข้ายึดครองลิทัวเนียและสถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนียในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1940 เมื่อนาซีเยอรมนีเข้าโจมตีสหภาพโซเวียต ลิทัวเนียจึงถูกเข้ายึดครองโดยเยอรมนี ก่อนหน้าที่นั้นลิทัวเนียถูกปกครองโดยรัฐบาลกบฎที่สนับสนุนฝ่ายเยอรมันของโยนาส เอบรามเซวิคุส (Juozas Ambrazevičius) ภายใต้การเข้ายึดครองโดยเยอรมนี ดินแดนบริเวณลิทัวเนียอยู่ภายใต้การปกครองของนายพลเปตราส คุบลิวนาส (Petras Kubiliūnas) เมื่อนาซีเยอรมนีถอนกำลังออกไป สหภาพโซเวียตจึงเข้ายึดครองลิทัวเนียและสถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลิทัวเนียอีกครั้งในปี ค.ศ. 1944.

ตำแหน่ง: เลขาธิการคณะกรรมการกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งลิทัวเนีย (ลิทัวเนีย: Lietuvos komunistų partijos Centro komiteto pirmasis sekretorius; รัสเซีย: Первый секретарь Центрального Комитета Коммунистической партии Литвы).

ลำดับ วาระ เลขาธิการพรรค หมายเหตุ
1 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1940 – 24 มิถุนายน ค.ศ. 1941
13 กรกฎาคม ค.ศ. 1944 – 22 มกราคม ค.ศ. 1974
อันตานัส สเนวคุส
2 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1974 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1987 เปตราส กรีเตวิคุส
3 1 ธันวาคม ค.ศ. 1987 – 19 ตุลาคม ค.ศ. 1988 ริเกาดาส บอนิโซวาส ซองกาเลีย เลขาธิการพรรคคนแรกที่ถูกถอดออกจากอำนาจ (สเนวคุสและกรีเตวิคุสดำรงตำแหน่งจวบจนเสียชีวิต)
4 19 ตุลาคม ค.ศ. 1988 – 11 มีนาคม ค.ศ. 1990 อัลกิร์ดัส มิโคลาส บราเซาส์กาส์ สูญเสียอำนาจจากการประกาศอิสรภาพ

คณะผู้บริหารแห่งสภาโซเวียตสูงสุด (Presidium of the Supreme Soviet) ทำหน้าที่คณะประมุขแห่งรัฐตั้งแต่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1940 ถึง 11 มีนาคม ค.ศ. 1990

ลำดับ วาระ ประธานคณะผู้บริหาร
แห่งสภาโซเวียตสูงสุด
หมายเหตุ
1 25 สิงหาคม ค.ศ. 1940 – 14 เมษายน ค.ศ. 1967 จุสตัส พาเลกกิส ลี้ภัยในโซเวียตรัสเซียระหว่าง ค.ศ. 1941–1944
2 14 เมษายน ค.ศ. 1967 – 24 ธันวาคม ค.ศ. 1975 มอยเตจัส ซูเมากาส
3 24 ธันวาคม ค.ศ. 1975 – 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985 อันตานัส บราเกาซาส
4 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1985 – 7 ธันวาคม ค.ศ. 1987 ริเกาดาส ซองกาเลีย
5 7 ธันวาคม ค.ศ. 1987 – 15 มกราคม ค.ศ. 1990 วิเทาตัว เอตราวคาส
6 15 มกราคม ค.ศ. 1990 – 11 มีนาคม ค.ศ. 1990 อัลกิร์ดัส บราเซาส์กาส์

สาธารณรัฐลิทัวเนีย (ค.ศ. 1990–ปัจจุบัน) แก้

ประธานสภาสูงสุด (Supreme Council) เป็นประมุขแห่งรัฐตั้งแต่การประกาศอิสรภาพในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1990 จนกระทั่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ. 1992 ตำแหน่งประธานาธิบดีและสภาเซมุสได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่ แต่นานาชาติไม่รับรองจนกระทั่งเดือนกันยายน ค.ศ. 1991 (หมายเหตุ: ประเทศไอซ์แลนด์เป็นประเทศแรกที่รับรองอิสรภาพของลิทัวเนียในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991)[5]

ตำแหน่งจาก ค.ศ. 1990 ถึง ค.ศ. 1992: ประธานสภาสูงสุด (รัฐสภา) (ลิทัวเนีย: Aukščiausiosios Tarybos pirmininkas) ตำแหน่งตั้งแต่ ค.ศ. 1992 เป็นต้นไป: ประธานาธิบดี (ลิทัวเนีย: Prezidentas)

ลำดับ ภาพ ชื่อ
(เกิด–เสียชีวิต)
รับเลือก เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ สังกัด/หมายเหตุ
1
 
วิเทาตัว แลนด์สเบอร์กิส
(เกิด ค.ศ. 1932)
11 มีนาคม ค.ศ. 1990 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992 ในฐานะประธานสภาสูงสุด
2
 
อัลกิร์ดัส บราเซาส์กาส์ (รักษาการ)
(ค.ศ. 1932–2010)
25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 ประธานาธิบดีหลังยุคโซเวียตคนแรก
อัลกิร์ดัส บราเซาส์กาส์
(ค.ศ. 1932–2010)
ค.ศ. 1993 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998
3
 
วัลดัส อะดัมคุส
(เกิด ค.ศ. 1926)
ค.ศ. 1997–98 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1998 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003
4
 
โรลันดัส พากซัส
(เกิด ค.ศ. 1956)
ค.ศ. 2002–03 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 6 เมษายน ค.ศ. 2004 อภิปรายไม่ไว้วางใจและถูกถอดถอนจากตำแหน่ง
 
อาร์ทูรัส เพาลาสกาส์ (รักษาการ)
(เกิด ค.ศ. 1953)
6 เมษายน ค.ศ. 2004 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2004 ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานาธิบดีในฐานะประธานสภาเซมุส จนถึงการเลือกตั้งครั้งถัดไป
(3)
 
วัลดัส อะดัมคุส
(เกิด ค.ศ. 1926)
ค.ศ. 2004 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2004 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2009
5
 
ดาเลีย กรีบาวสเคท
(เกิด ค.ศ. 1956)
ค.ศ. 2009
ค.ศ. 2014
12 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 ประธานาธิบดีหญิงคนแรกและได้รับเลือก 2 สมัย
6
 
กิตานัส เนาเซดา
(เกิด 1964)
ค.ศ. 2019 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 ปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

  1. https://m.delfi.lt/verslas/verslas/article.php?id=79837533
  2. "Lietuvos okupacija (1940 m. birželio 15 d.)". LRS.lt. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-22. สืบค้นเมื่อ 4 December 2017.
  3. "Jonas Žemaitis-Vytautas". istorineprezidentura.lt. สืบค้นเมื่อ 12 June 2019.
  4. "XIII-1651 Dėl Adolfo Ramanausko-Vanago pripažinimo Lietuvos valstybės vadovu" (ภาษาลิทัวเนีย). Lietuvos Respublikos Seimas. 20 November 2018. สืบค้นเมื่อ 1 December 2019.
  5. "Lithuania: "Thank you, Iceland!".

ดูเพิ่ม แก้