รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศเวียดนาม

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศเวียดนามทั้งสิ้น 8 แหล่ง[1]

ที่ตั้ง แก้

สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก แก้

แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม แก้

*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(เฮกตาร์)
ปีขึ้นทะเบียน
(พ.ศ./ค.ศ.)
หมายเหตุ อ้างอิง
หมู่โบราณสถานเมืองเว้   จังหวัดเถื่อเทียนเว้
16°28′10.0″N 107°34′40.0″E / 16.469444°N 107.577778°E / 16.469444; 107.577778 (Complex of Hué Monuments)
วัฒนธรรม:
(iii), (iv)
315.47;
พื้นที่กันชน 71.93
2536/1993 เขตเมืองเก่าประกอบด้วยพระราชวังที่ประทับราชวงศ์ ศาลเจ้า สวน และบ้านพักเหล่าขุนนาง ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางการปกครองของราชวงศ์เหงียนในช่วงศตวรรษที่ 18 โดยมีการออกแบบผังอาคารและสถาปัตยกรรมอิงตามความเชื่อและอิทธิพลวัฒนธรรมจีน 678[2]
เมืองโบราณฮอยอัน   จังหวัดกว๋างนาม
15°52′37.7″N 108°19′43.1″E / 15.877139°N 108.328639°E / 15.877139; 108.328639 (Hoi An Ancient Town)
วัฒนธรรม:
(ii), (v)
30;
พื้นที่กันชน 280
2542/1999 อดีตเมืองท่าการค้าที่เคยรุ่งเรืองในช่วงศตวรรษที่ 16 ถึง 17 ตัวเมืองมีการผสมผสานศิลปะการออกแบบทั้งจีน ญี่ปุ่น ยุโรป รวมไปถึงศิลปะท้องถิ่น อีกทั้งยังรักษาวัฒนธรรมวิถีชีวิตอันเก่าแก่มาช้านาน 948[3]
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์หมีเซิน   จังหวัดกว๋างนาม
15°45′51.4″N 108°07′27.8″E / 15.764278°N 108.124389°E / 15.764278; 108.124389 (My Son Sanctuary)
วัฒนธรรม:
(ii), (iii)
142;
พื้นที่กันชน 920
2542/1999 กลุ่มศาสนสถานสถาปัตยกรรมจามที่บูชาพระศิวะตามความเชื่อของศาสนาฮินดู สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 4 และกลายมาเป็นกลุ่มศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์จนถึงศตวรรษที่ 15 จัดเป็นกลุ่มโบราณสถานในศาสนาฮินดูที่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดในอินโดจีน 949[4]
ส่วนกลางของป้อมปราการหลวงทังล็อง-ฮานอย เทศบาลนครฮานอย
21°02′06.9″N 105°50′24.9″E / 21.035250°N 105.840250°E / 21.035250; 105.840250 (Central Sector of the Imperial Citadel of Thang Long - Hanoi)
วัฒนธรรม:
(ii), (iii), (vi)
18.395;
พื้นที่กันชน 108
2553/2010 โบราณสถานที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 11 โดยราชวงศ์ลี้เพื่อแสดงอิสรภาพที่มีต่อชาวจีนของชาวดั่ยเหวียต เป็นศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองและการศาสนามากว่า 13 ศตวรรษต่อเนื่องโดยตลอด 1328[5]
ป้อมปราการของราชวงศ์โห่   จังหวัดทัญฮว้า
20°04′40.8″N 105°36′16.2″E / 20.078000°N 105.604500°E / 20.078000; 105.604500 (Citadel of the Ho Dynasty)
วัฒนธรรม:
(ii), (iv)
155.5;
พื้นที่กันชน 5,078.5
2554/2011 อดีตราชวังและป้อมปราการในสมัยราชวงศ์โห่ (ค.ศ. 1400-1407) โดยมีการออกแบบอ้างอิงความเชื่อลัทธิขงจื๊อ หลักฮวงจุ้ย และความเชื่อพระพุทธศาสนา 1358[6]

แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ แก้

*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(เฮกตาร์)
ปีขึ้นทะเบียน
(พ.ศ./ค.ศ.)
หมายเหตุ อ้างอิง
อ่าวหะล็อง - กลุ่มเกาะก๊าตบ่า   จังหวัดกว๋างนิญ
และเทศบาลนครไฮฟอง
20°52′56.2″N 107°07′50.0″E / 20.882278°N 107.130556°E / 20.882278; 107.130556 (Ha Long Bay)
ธรรมชาติ:
(vii), (viii)
65,650;
พื้นที่กันชน 34,140
2537/1994;
เพิ่มเติม 2543/2000
และ 2566/2023
แห่งภูมิทัศน์อ่าวสวยงามทางตอนเหนือของเวียดนาม ประกอบไปด้วยเกาะหินปูนกว่า 1,900 เกาะ บางเกาะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและพรรณพืชหลายชนิด 672[7]
อุทยานแห่งชาติฟ็องญา-แก๋บ่าง   จังหวัดกว๋างบิ่ญ
17°31′50.9″N 106°09′05.0″E / 17.530806°N 106.151389°E / 17.530806; 106.151389 (Phong Nha-Ke Bang National Park)
ธรรมชาติ:
(viii), (ix), (x)
123,326;
พื้นที่กันชน 220,055
2549/2003;
เพิ่มเติม 2558/2015
ขึ้นชื่อเรื่องความสวยงามของหินงอกหินย้อยภายในถ้ำกว่า 300 แห่ง รวมไปถึงเป็นแหล่งอนุรักษ์สัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ 951[8]

แหล่งมรดกโลกแบบผสม แก้

*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(เฮกตาร์)
ปีขึ้นทะเบียน
(พ.ศ./ค.ศ.)
หมายเหตุ อ้างอิง
แหล่งภูมิทัศน์จ่างอาน   จังหวัดนิญบิ่ญ
20°15′16.1″N 105°53′57.7″E / 20.254472°N 105.899361°E / 20.254472; 105.899361 (Trang An - Ninh Binh)
ผสม:
(v), (vii), (viii)
6,226;
พื้นที่กันชน 6,026
2557/2014;
2559/2016
ประกอบด้วยเมืองโบราณฮัวลู อดีตเมืองหลวงแห่งแรกของดั่ยเหวียตในช่วงศตวรรษที่ 10 และพื้นที่ธรรมชาติตามก๊ก-บิ๊กดง เขตภูเขาหินปูนที่มีแม่น้ำไหลผ่านจนเกิดเป็นภูมิทัศน์ที่สวยงาม 1438[9]

สถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น แก้

ปัจจุบัน ประเทศเวียดนามมีสถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคตทั้งสิ้น 7 แห่ง ดังนี้[1]

ปี พ.ศ./ค.ศ. ในวงเล็บ หมายถึงปีที่สถานที่นั้น ๆ ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
  • กลุ่มความงามทางธรรมชาติและโบราณสถานเฮืองเซิน (2534/1991)
  • พื้นที่หินสลักเก่าในซาปา (2540/1997)
  • อุทยานแห่งชาติก๊าตเตียน (2549/2006)
  • ถ้ำกอนมอง (2549/2006)
  • พื้นที่มรดกธรรมชาติบาเบ๋-นาฮาง (2560/2017)
  • กลุ่มโบราณสถานเอียนตื๋อและภูมิทัศน์ (2564/2021)
  • แหล่งโบราณคดีอ๊อกแอว – บาแท (2565/2022)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "World Heritage Properties in Vietnam". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2015.
  2. "Complex of Hué Monuments". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
  3. "Hoi An Ancient Town". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
  4. "My Son Sanctuary". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
  5. "Central Sector of the Imperial Citadel of Thang Long - Hanoi". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
  6. "Citadel of the Ho Dynasty". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
  7. "Ha Long Bay - Cat Ba Archipelago". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 16 September 2023.
  8. "Phong Nha-Ke Bang National Park". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
  9. "Trang An Landscape Complex". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 23 June 2014.