รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศมาเลเซีย
องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศมาเลเซียทั้งสิ้น 5 แหล่ง ประกอบด้วยแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แหล่ง และแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แหล่ง[1]
ที่ตั้ง
แก้สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก
แก้แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
แก้- *หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ (เฮกตาร์) |
ปีขึ้นทะเบียน (พ.ศ./ค.ศ.) |
คำบรรยาย | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
มะละกาและจอร์จทาวน์ นครประวัติศาสตร์ แห่งช่องแคบมะละกา |
รัฐมะละกาและรัฐปีนัง 2°11′48.5″N 102°14′47.2″E / 2.196806°N 102.246444°E |
วัฒนธรรม: (ii), (iii), (iv) |
154.68; พื้นที่กันชน 392.8 |
2551/2008; เพิ่มเติม 2554/2011 |
มะละกาและจอร์จทาวน์เป็นเมืองท่าการค้าที่สำคัญ เนื่องจากตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณช่องแคบมะละกา ทำให้มีการติดต่อค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง 18 ภายในตัวเมืองทั้งสองมีสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างยุโรปกับเอเชีย ทั้งรูปแบบโปรตุเกส ดัตช์ อังกฤษ มลายู และจีน | 1223[2] | |
มรดกโบราณคดี แห่งหุบเขาเล็งกง |
รัฐเประ 5°4′4.47″N 100°58′20.38″E / 5.0679083°N 100.9723278°E |
วัฒนธรรม: (iii), (iv) |
398.64; พื้นที่กันชน 1,786.77 |
2555/2012 | แหล่งค้นพบมนุษย์โบราณอายุราว 31,000 ปี รวมไปถึงหลักฐานการดำรงชีวิตของผู้คนตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์บริเวณทางตอนเหนือของมาเลเซีย | 1396[3] | |
มรดกโบราณคดีแห่งกลุ่มถ้ำของอุทยานแห่งชาติเนียะฮ์ | รัฐซาราวัก 3°48′50.0″N 113°46′53.0″E / 3.813889°N 113.781389°E |
วัฒนธรรม: (iii), (v) |
3,690 | 2567/2024 | 1014[4] |
แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
แก้- *หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ (เฮกตาร์) |
ปีขึ้นทะเบียน (พ.ศ./ค.ศ.) |
คำบรรยาย | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
อุทยานแห่งชาติกูนุงมูลู | รัฐซาราวัก 4°05′07.3″N 114°54′04.5″E / 4.085361°N 114.901250°E |
ธรรมชาติ: (vii), (viii), (ix), (x) |
52,864 | 2543/2000 | อุทยานแห่งชาติที่มีความสวยงามจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา โดยเฉพาะกลุ่มถ้ำและทุ่งหินปูน อีกทั้งยังโดดเด่นในการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์มากกว่า 20,000 ชนิด และพืชมากกว่า 3,500 ชนิด | 1013[5] | |
อุทยานกีนาบาลู | รัฐซาบะฮ์ 6°04′30.9″N 116°33′31.5″E / 6.075250°N 116.558750°E |
ธรรมชาติ: (ix), (x) |
75,370 | 2543/2000 | อุทยานแห่งชาติที่โดดเด่นในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบไปด้วยพืชและสัตว์มากกว่า 4,500 ชนิด โดยเฉพาะกล้วยไม้และพืชกินแมลงที่พบเห็นได้ยาก | 1012[6] |
สถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
แก้ประเทศมาเลเซียมีสถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคตทั้งสิ้น 5 แห่ง ดังนี้[7]
- ปี พ.ศ./ค.ศ. ในวงเล็บ หมายถึงปีที่สถานที่นั้น ๆ ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
- อุทยานแห่งชาติ (ตามันเนอการา) แห่งมาเลเซียตะวันตก (2557/2014)
- วนอุทยานฟริมเซอลาโงร์ (2560/2017)
- สันเขาควอตซ์กมบักเซอลาโงร์ (2560/2017)
- อุทยานแห่งรัฐโรยัลเบอลุม (2560/2017)
- สถาบันโรคเรื้อนซูไงบูโละฮ์ (2562/2019)
อ้างอิง
แก้- ↑ "World Heritage Properties in Malaysia". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 7 July 2019.
- ↑ "Melaka and George Town, Historic Cities of the Straits of Malacca". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
- ↑ "Archaeological Heritage of the Lenggong Valley". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 2 July 2012.
- ↑ "The Archaeological Heritage of Niah National Park's Caves Complex". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 27 July 2024.
- ↑ "Gunung Mulu National Park". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
- ↑ "Kinabalu Park". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 May 2010.
- ↑ "Tentative Lists: Malaysia". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 7 July 2019.