รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศญี่ปุ่น
บทความรายชื่อวิกิมีเดีย
องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศญี่ปุ่นทั้งสิ้น 26 แหล่ง[1] ประกอบด้วยมรดกโลกทางวัฒนธรรม 21 แหล่ง และมรดกโลกทางธรรมชาติ 5 แห่ง
ที่ตั้ง
แก้สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
แก้แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
แก้- *หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ ha (acre) |
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
พุทธสถานในพื้นที่โฮรีวจิ | จังหวัดนาระ ญี่ปุ่น 34°37′0″N 135°44′0″E / 34.61667°N 135.73333°E |
วัฒนธรรม: (i), (ii), (iv), (vi) |
15 (37); พื้นที่กันชน 571 (1,410) | 2536/1993 | มีพุทธสถานราว 48 แห่งบริเวณโฮรีวจิ หลายแห่งสร้างมาตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 ทำให้เป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ผลงานชิ้นเอกทางสถาปัตยกรรมไม้เหล่านี้มีความสำคัญไม่เพียงแต่แสดงถึงความเป็นมาของศิลปะการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมจีนของญี่ปุ่น แต่ยังเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ทางศาสนาพุทธอีกด้วย | [2] | |
ฮิเมจิโจ | จังหวัดเฮียวโงะ ญี่ปุ่น 34°50′0″N 134°42′0″E / 34.83333°N 134.70000°E |
วัฒนธรรม: (i), (iv) |
107 (260); พื้นที่กันชน 143 (350) | 2536/1993 | เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดที่แสดงถึงสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ประกอบด้วยอาคาร 83 แห่งที่มีการออกแบบอย่างซับซ้อน มีระบบป้องกันการบุกรุกขั้นสูงและอุปกรณ์ป้องกันที่ชาญฉลาดจากตอนต้นของยุคโชกุน เป็นผลงานชิ้นเอกในการก่อสร้างด้วยไม้ที่น่าสนใจทั้งในรูปลักษณ์ที่สง่างาม และความละเอียดอ่อนของความสัมพันธ์ระหว่างมวลอาคารกับชั้นหลังคาหลายชั้น | [3] | |
อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์เกียวโตโบราณ (นครเกียวโต, อูจิ และโอตสึ) | จังหวัดเกียวโตและชิงะ ญี่ปุ่น 34°58′50″N 135°46′10″E / 34.98056°N 135.76944°E |
วัฒนธรรม: (ii), (iv) |
1,056 (2,610); พื้นที่กันชน 3,579 (8,840) | 2537/1994 | สถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 794 ตามรูปแบบเมืองหลวงของจีนโบราณ เกียวโตเป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่นจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมญี่ปุ่นมานานกว่าพันปี แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาสถาปัตยกรรมไม้ของญี่ปุ่นโดยเฉพาะสถาปัตยกรรมทางศาสนาพุทธและชินโตจำนวน 17 แห่งและศิลปะของสวนญี่ปุ่นซึ่งมีอิทธิพลต่อภูมิทัศน์ในสวนทั่วโลก | [4] | |
หมู่บ้านประวัติศาสตร์แห่งชิรากาวาโงและโกกายามะ | จังหวัดกิฟุและโทยามะ ญี่ปุ่น 36°24′0″N 136°53′0″E / 36.40000°N 136.88333°E |
วัฒนธรรม: (iv), (v) |
68 (170); พื้นที่กันชน 58,873 (145,480) | 2538/1995 | หมู่บ้านสองแห่งในหุบเขาที่มีแม่น้ำโชกาวะไหลผ่านถูกสร้างตามสถาปัตยกรรมดั้งเดิมราวคริสต์ศตวรรษที่ 18-19 โดยประกอบด้วยไม้และทำหลังคามุงฟางให้สูงชันโดยไม่ใช้ตะปูในการก่อสร้าง เป็นการแสดงถึงภูมิปัญญาชาวบ้านที่ประกอบอาชีพเกษตรกรในการรับมือสภาพอากาศแปรปรวนในฤดูหนาว | [5] | |
อนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมะ (โดมปรมาณู) | จังหวัดฮิโรชิมะ ญี่ปุ่น 34°23′0″N 132°27′0″E / 34.38333°N 132.45000°E |
วัฒนธรรม: (vi) |
0.40 (0.99); พื้นที่กันชน 43 (110) | 2539/1996 | โดมปรมาณูเป็นโครงสร้างเพียงหนึ่งเดียวที่เหลืออยู่บริเวณที่เกิดระเบิดปรมาณูครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ไม่เพียงแต่เป็นสัญลักษณ์ที่แข็งแกร่งและทรงพลังของวัตถุที่ทำลายล้างมากที่สุดที่มนุษย์สร้างขึ้นในขณะนั้น ยังแสดงถึงความหวังในการสร้างสันติภาพของโลก และการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมดด้วย | [6] | |
ศาลเจ้าชินโตอิตสึกูชิมะ | จังหวัดฮิโรชิมะ ญี่ปุ่น 34°17′40″N 132°19′29″E / 34.29444°N 132.32472°E |
วัฒนธรรม: (i), (ii), (iv), (vi) |
431 (1,070); พื้นที่กันชน 2,634 (6,510) | 2539/1996 | ศาลเจ้าชินโตที่มีจุดเด่นเป็นเสาโทริอิซึ่งถูกลงตั้งอยู่กลางทะเลเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 12 เพื่อเป็นทางผ่านของเรือที่จะเข้าสักการะ ตัวศาลเจ้ามีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 ในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำเกาะอิตสึกูชิมะและเป็นที่พึ่งพาใจของเรือเดินทะเลที่ต้องผ่านเกาะแห่งนี้ในกระแสน้ำที่ผันขึ้นลงอยู่เสมอ | [7] | |
อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์นาระโบราณ | จังหวัดนาระ ญี่ปุ่น 34°40′32″N 135°50′22″E / 34.67556°N 135.83944°E |
วัฒนธรรม: (ii), (iii), (iv), (vi) |
617 (1,520); พื้นที่กันชน 2,502 (6,180) | 2541/1998 | นาระเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นในช่วงปี ค.ศ. 710-784 ในยุคสมัยนาระที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปะ ศาสนาและวัฒนธรรมอันเป็นรากฐานของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ประกอบด้วยวัดพุทธ 5 แห่ง ศาลเจ้าคาซูงะ วังหลวงและป่าโบราณที่แสดงถึงภาพอันมีชีวิตชีวาของชีวิตในอดีตเมืองหลวงของญี่ปุ่นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง | [8] | |
ศาลเจ้าและวัดแห่งนิกโก | จังหวัดโทจิงิ ญี่ปุ่น 36°44′51″N 139°36′38″E / 36.74750°N 139.61056°E |
วัฒนธรรม: (i), (iv), (vi) |
51 (130); พื้นที่กันชน 373 (920) | 2542/1999 | ศาลเจ้าและวัดแห่งนิกโกที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ก่อนยุคเอโดะจนสิ้นสุดรัชสมัย พร้อมกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติในบริเวณมีมานานนับศตวรรษ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่รู้จักกันเพราะผลงานชิ้นเอกด้านสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง สถานที่แห่งนี้มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประวัติศาสตร์ของรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ | [9] | |
แหล่งกูซูกุและทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของอาณาจักรรีวกีว | จังหวัดโอกินาวะ ญี่ปุ่น 26°12′31″N 127°40′58″E / 26.20861°N 127.68278°E |
วัฒนธรรม: (ii), (iii), (vi) |
55 (140); พื้นที่กันชน 560 (1,400) | 2543/2000 | อาณาจักรรีวกีวเคยเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-19 ครอบครองดินแดนหมู่เกาะรีวกีวในมหาสมุทรแปซิฟิก มีการค้นพบหลักฐานที่แสดงถึงความรุ่งเรืองเป็นป้อมปราการและปราสาทหินเรียกว่า “กูซูกุ“ กระจายไปทั่วเกาะโอกินาวะโดยที่บางแห่งถูกทำลายจากการถูกรุกราน รวมไปถึงสถาปัตยกรรมเฉพาะถิ่นของสุสานหลวงและสวนตำหนัก | [10] | |
แหล่งศักดิ์สิทธิ์และเส้นทางจาริกแสวงบุญในทิวเขาคิอิ | จังหวัดนาระ วากายามะ และมิเอะ ญี่ปุ่น 33°50′13″N 135°46′35″E / 33.83694°N 135.77639°E |
วัฒนธรรม: (ii), (iii), (vi), (vi) |
495 (1,220); พื้นที่กันชน 1,137 (2,810 | 2547/2004 | พื้นที่บริเวณคาบสมุทรคิอิเป็นที่ตั้งของศาสนสถานทั้งศาสนาพุทธและศาสนาชินโตจำนวนมาก จึงเกิดเป็นเส้นทางแสวงบุญของเหล่านักบวชมาช้านานกว่า 1,200 ปีที่พาดผ่านผืนป่าโบราณและยังเชื่อมต่อไปจนถึงเมืองหลวงในยุคสมัยนั้นอย่างเมืองนาระและเมืองเกียวโตที่นำพาจักรพรรดิและประชาชนได้เดินทางมาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่แห่งนี้ | [11] | |
เหมืองเงินอิวามิและภูมิทัศน์วัฒนธรรม | จังหวัดชิมาเนะ ญี่ปุ่น 35°6′46″N 132°26′6″E / 35.11278°N 132.43500°E |
วัฒนธรรม: (ii), (iii), (v) |
529 (1,310); พื้นที่กันชน 3,134 (7,740 | 2550/2007 | เหมืองเงินอิวามิเป็นเหมืองที่มีการขุดแร่เงินขนาดใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ.1526 ยาวนานมาจนถึงปี ค.ศ.1923 การเปิดเหมืองแห่งนี้ก่อให้เกิดกรรมวิธีการหลอมที่ได้อิทธิพลมาจากเกาหลี และยังเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมืองและหมู่บ้านที่ตั้งอยู่รอบเหมืองจากการตั้งผลิตภัณฑ์เป็นของตนเองขึ้นมา โดยเฉพาะเหล่าพ่อค้าที่ทำการส่งออกแร่เงินให้กับต่างชาติ ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบริเวณเหมือง | [12] | |
ฮิราอิซูมิ วัด สวน และแหล่งโบราณคดีต่างๆ ที่แสดงลักษณะของนิกายสุขาวดีในพระพุทธศาสนา | จังหวัดอิวาเตะ ญี่ปุ่น 34°37′0″N 135°44′0″E / 34.61667°N 135.73333°E |
วัฒนธรรม: (ii), (iv) |
176 (430); พื้นที่กันชน 6,008 (14,850) | 2554/2011 | ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11-12 ฮิราอิซูมิเป็นศูนย์กลางทางด้านการเมืองการปกครอง วัฒนธรรมและศาสนาพุทธนิกายมหายาน สุขาวดี และศาสนาชินโตซึ่งก่อตั้งโดยตระกูลฟูจิวาระเหนือ ศูนย์กลางแห่งนี้ถูกสร้างโดยอิงคติความเชื่อเรื่องจักรวาลสุขาวดีซึ่งสื่อถึงความสงบของจิตใจมนุษย์ ประกอบด้วยวัดพุทธที่มีการวางผังสวนที่อิงตามความเชื่อดั้งเดิมและความเชื่อของศาสนาชินโตจำนวน 5 แห่ง | [13] | |
ฟูจิซัง-สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งที่มาของความบันดาลใจทางศิลปะ | จังหวัดชิซูโอกะและยามานาชิ ญี่ปุ่น 35°21′39″N 138°43′39″E / 35.36083°N 138.72750°E |
วัฒนธรรม: (iii), (iv) |
20,702 (51,160); พื้นที่กันชน 49,628 (122,630) | 2556/2013 | ภูเขาฟูจิหรือฟูจิซังถูกปรากฎในงานวรรณกรรมและจิตรกรรมมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 หรือราวยุคสมัยเอโดะที่มีการสร้างเส้นทางที่เชื่อมต่อกับเมืองเกียวโต ทำให้ผู้คนที่สัญจรเส้นทางนี้ได้ชื่นชมความงามของฟูจิซังและนำไปสร้างสรรค์ในผลงานต่างๆ ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก รวมไปถึงเป็นที่ฝึกฝนฐานทัพซามูไรและหลักแนวคิดวิถีปฏิบัติระหว่างผู้คน ศาสนา และธรรมชาติเข้าด้วยกัน | [14] | |
โรงงานทอผ้าโทมิโอกะและสถานที่ที่เกี่ยวข้อง | จังหวัดกุมมะ ญี่ปุ่น |
วัฒนธรรม: (ii), (iv) |
7.2; พื้นทีก่นชน 414.6 | 2557/2014 | โรงงานทอผ้าโทมิโอกะถือเป็นหลักฐานในการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการทอผ้าไหมดิบในยุคสมัยเมจิช่วงทศวรรษ 1870 หลังการปฏิวัติเมจิที่มีการพัฒนาญี่ปุ่นให้ทันสมัย โดยโรงงานแห่งนี้มีเครื่องจักรที่ใช้ในการปั่นด้ายที่มีความซับซ้อนจากฝรั่งเศสเพื่อพัฒนาคุณภาพผ้าไหมดิบในการส่งออกขายต่างประเทศและกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นให้มีความทัดเทียมเทียบเท่ายุโรป | [15] | |
แหล่งมรดกจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในยุคเมจิ: การถลุงเหล็กและผลิตเหล็กกล้า การต่อเรือและการทำเหมืองถ่านหิน | ญี่ปุ่น |
วัฒนธรรม: (ii), (iii), (iv) |
306.66; พื้นที่กันชน 2,408.33 | 2558/2015 | การปฏิวัติเมจิในปี ค.ศ.1868 ทำให้ญี่ปุ่นได้พัฒนาระบบอุตสาหกรรมโดยมีการนำเข้าเทคโนโลยีจากตะวันตกเข้ามาใช้ ส่งผลทำให้สังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเน้นไปที่อุตสาหกรรมถ่านหิน การถลุงเหล็กและผลิตเหล็กกล้าเพื่อใช้ในการต่อเรือเดินสมุทร ซึ่งการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมญี่ปุ่นพบได้มากสุดบริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโดยเฉพาะบนเกาะคิวซู | [16] | |
งานสถาปัตยกรรมของเลอกอร์บูซีเย คุณูปการอันโดดเด่นต่อขบวนการสมัยใหม่ (ร่วมกับ เบลเยียม, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, สวิตเซอร์แลนด์, อาร์เจนตินา และ อินเดีย) |
กรุงโตเกียว ญี่ปุ่น |
วัฒนธรรม: (i) (ii) (vi) |
2559/2016 | สถานที่ที่ขึ้นทะเบียนได้แก่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะตะวันตกแห่งชาติ อันเป็นแหล่งสะสมผลงานศิลปะตะวันตกตั้งแต่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตัวอาคารออกแบบโดยเลอกอร์บูซีเย ซึ่งนำเสนอถึง “ความสำคัญและความงดงามของงานศิลป์“ อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับฝรั่งเศสหลังสงครามโลกครั้งที่สองอีกด้วย | [17] | ||
เกาะศักดิ์สิทธิ์โอกิโนชิมะและสถานที่ที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคมูนากาตะ |
จังหวัดฟูกูโอกะ ญี่ปุ่น |
วัฒนธรรม: (ii) (iii) |
98.93; พื้นที่กันชน 79,363.48 | 2560/2017 | โอกิโนชิมะตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งตะวันตกของเกาะคีวชูไป 60 กิโลเมตร เป็นตัวอย่างที่โดดเด่นที่แสดงถึงประเพณีการสักการะบูชาบนเกาะที่มีความสมบูรณ์และให้ข้อมูลประวัติการจัดพิธีการตามพิธีการที่เปลี่ยนไปในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4-9 และยังสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน บนเกาะมีการค้นพบวัตถุโบราณจำนวนมาก หลายชิ้นมีฝีมือประณีตและถูกนำมาจากต่างประเทศอันเป็นหลักฐานของการแลกเปลี่ยนระหว่างหมู่เกาะญี่ปุ่น คาบสมุทรเกาหลี และแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย | [18] | |
แหล่งคริสเตียนลับในภูมิภาคนางาซากิ |
จังหวัดนางาซากิ จังหวัดคูมาโมโตะ ญี่ปุ่น |
วัฒนธรรม: (iii) |
5,566.55; พื้นที่กันชน 12,252.52 | 2561/2018 | ในช่วงที่มีการปิดประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ.1603-1868 ชาวญี่ปุ่นที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในยุคสมัยนั้นถูกบังคับห้ามศรัทธาศาสนาคริสต์และถูกปราบปรามอย่างหนัก จนกระทั่งการเปิดประเทศและยกเลิกกฎในปี ค.ศ.1873 ทำให้ชุมชนคริสต์ในนางาซากิและคูมาโมโตะที่มีการฟื้นฟูได้สร้างโบสถ์คริสต์หลายแห่งเพื่อใช้ในการประกอบศาสนพิธีโดยยังมีการอิงความเชื่อที่ยังหลงเหลือในช่วงปิดประเทศ | [19] | |
กลุ่มโคฟุงโมซุ-ฟูรูอิจิ : เนินสุสานญี่ปุ่นโบราณ |
จังหวัดโอซะกะ ญี่ปุ่น |
วัฒนธรรม: (iii) (iv) |
166.66; พื้นที่กันชน 890 | 2562/2019 | โคฟุงเป็นหลุมฝังศพโบราณที่ทำเนินดินสูงเป็นรูปรูกุญแจและทำคูน้ำล้อมรอบตัวสุสาน ถูกสร้างขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3-6 อันเป็นยุคสมัยโคฟุงที่กำลังเรืองอำนาจในญี่ปุ่น มีการค้นพบสุสานรูปแบบนี้ทั่วญี่ปุ่นจำนวนกว่า 160,000 แห่งซึ่งส่วนมากเป็นสุสานของคนมีศักดินา ตัวอย่างที่ชัดเจนคือหมู่สุสานโมซุในเมืองซาไก ที่เชื่อกันว่าสุสานที่ใหญ่ที่สุดเป็นที่ฝังพระบรมศพของจักรพรรดินินโตกุ และยังมีสุสานพระบรมศพของจักรพรรดิริจูอีกด้วย | [20] | |
แหล่งยุคก่อนประวัติศาสตร์โจมงในภาคเหนือของญี่ปุ่น | จังหวัดฮอกไกโด อาโอโมริ อิวาเตะ อกาเตะ ญี่ปุ่น |
วัฒนธรรม: (iii) (v) |
2564/2021 | ยุคโจมงถือได้ว่าเป็นยุคสมัยเปลี่ยนผ่านวิถีชีวิตของผู้คนจากล่าสัตว์เป็นเกษตรกรรมเมื่อ 14,000-1,000 ปีก่อนคริสตกาล การขุดค้นแหล่งอันเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในยุคสมัยนั้นทางตอนเหนือของญี่ปุ่นพบว่ามีอายุเก่าแก่ราว 10,000-400 ปีก่อนคริสตกาล มีการค้นพบเครื่องมือหินและเครื่องปั้นดินเผาเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือรูปปั้นโดะงูที่สื่อถึงการนับถือเทพในยุคโจมง | [21] | ||
เหมืองทองเกาะซาโดะ | จังหวัดนีงาตะ ญี่ปุ่น |
วัฒนธรรม: (iv) |
2567/2024 | [22] |
แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
แก้- *หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ ha (acre) |
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ยากูชิมะ | จังหวัดคาโงชิมะ ญี่ปุ่น |
ธรรมชาติ: (vii), (ix) |
10,747 (26,560) | 2536/1993 | ยากูชิมะเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ที่ตั้งอยู่บนหมู่เกาะโอสุมิ มีความโดดเด่นในด้านธรรมชาติอันเก่าแก่อย่างป่าโบราณที่เป็นแหล่งยืนต้น "ซูงิ" (ต้นซีดาร์ญี่ปุ่น) และที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเฉพาะถิ่นอย่างลิงกังยากูชิมะและกวางยากูชิกะ รวมไปถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกหายากอีกด้วย|[23] | ||
ชิรากามิซันจิ | จังหวัดอาโอโมริและอากิตะ ญี่ปุ่น 40°28′12″N 140°7′48″E / 40.47000°N 140.13000°E |
ธรรมชาติ: (ix) |
16,939 (41,860) | 2536/1993 | เทือกเขาชิรากามิตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะฮนชู โดยยังคงสภาพสมบูรณ์ของป่าบีชตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ที่ล้อมรอบเนินเขาอันเป็นแหล่งพักพิงของเหล่าสัตว์ป่ามากมาย เช่น หมีควายญี่ปุ่น เลียงผา ลิงกัง และนกหลากหลายสายพันธุ์อีก 87 ชนิด | [24] | |
ชิเรโตโกะ | ฮกไกโด ญี่ปุ่น 43°56′58″N 144°57′57″E / 43.94944°N 144.96583°E |
ธรรมชาติ: (ix), (x) |
71,100 (176,000) | 2548/2005 | คำว่า “ชิเรโตโกะ“ ในภาษาไอนุมีความหมายว่า “จุดสุดขอบโลก“ ซึ่งตัวอุทยานตั้งอยู่ในคาบสมุทรชิเรโตโกะที่ปลายสุดทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะฮกไกโด เป็นแหล่งอุดมไปด้วยป่าผลัดใบอบอุ่นอันเป็นแหล่งพักพิงของสัตว์ป่ามากมาย เช่น นกอินทรีชเต็ลเลอร์ แมวน้ำลายจุด และหมีสีน้ำตาลดำซึ่งพบได้มากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น | [25] | |
หมู่เกาะโองาซาวาระ | จังหวัดโตเกียว ญี่ปุ่น 27°43′6″N 142°5′59″E / 27.71833°N 142.09972°E |
ธรรมชาติ: (ix) |
7,939 (19,620) | 2554/2011 | หรืออีกชื่อว่า “หมู่เกาะโบนิน“ เป็นหมู่เกาะเขตร้อนประกอบไปด้วยเกาะกว่า 30 เกาะที่เกิดขึ้นจากการระเบิดของภูเขาไฟใต้ทะเล หมู่เกาะแห่งนี้มีความพิเศษทางด้านระบบนิเวศที่แตกต่างไปจากที่อื่นในญี่ปุ่น โดยมีลักษณะเฉพาะตัวและความแตกต่างในด้านวิวัฒนาการ เป็นแหล่งพืชพรรณและสัตว์นานาชนิดที่มีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ในอนาคต | [26] | |
เกาะอามามิโอชิมะ เกาะโทกูโนชิมะ ส่วนเหนือของเกาะโอกินาวะ และเกาะอิริโอโมเตะ | จังหวัดคาโงชิมะ และโอกินาวะ ญี่ปุ่น |
ธรรมชาติ: (x) |
42,698; พื้นที่กันชน 24,467 | 2564/2021 | บริเวณแนวรอยต่อของจังหวัดคาโงชิมะและจังหวัดโอกินาวะเป็นที่ตั้งของกลุ่มเกาะที่ยังคงความสมบูรณ์ของธรรมชาติไว้อย่างดีอันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่ามากมาย บางสายพันธุ์พบได้ในเขตหมู่เกาะนี้เท่านั้น เช่น กระต่ายอามามิ แมวป่าอิริโอโมเตะ หนูป่าริวกิว เป็นต้น | [27] |
สถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
แก้ประเทศญี่ปุ่นมีสถานที่ที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาเป็นมรดกโลกในอนาคตทั้งสิ้น 4 แห่ง[1]
- ปี ค.ศ. ใน "วงเล็บ" หมายถึงปีที่สถานที่นั้น ๆ ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
- วัด ศาลเจ้า และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ของคามากูระโบราณ (1992)
- ปราสาทฮิโกเนะ (1992)
- อาซูกะ-ฟูจิวาระ: แห่งโบราณคดีของนครหลวงญี่ปุ่นโบราณและทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง (2007)
- ฮิราอิซูมิ (ส่วนต่อขยาย) (2012)
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "World Heritage Properties in Japan". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Buddhist Monuments in the Horyu-ji Area". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Himeji-jo". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Historic Monuments of Ancient Kyoto (Kyoto, Uji and Otsu Cities)". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Historic Villages of Shirakawa-go and Gokayama". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Hiroshima Peace Memorial (Genbaku Dome)". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Itsukushima Shinto Shrine". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Historic Monuments of Ancient Nara". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Shrines and Temples of Nikko". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Gusuku Sites and Related Properties of the Kingdom of Ryukyu". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Sacred Sites and Pilgrimage Routes in the Kii Mountain Range". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Iwami Ginzan Silver Mine and its Cultural Landscape". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Hiraizumi – Temples, Gardens and Archaeological Sites Representing the Buddhist Pure Land". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Fujisan, sacred place and source of artistic inspiration". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Tomioka Silk Mill and Related Sites". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Sites of Japan's Meiji Industrial Revolution: Iron and Steel, Shipbuilding and Coal Mining". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "The Architectural Work of Le Corbusier, an Outstanding Contribution to the Modern Movement". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2016.
- ↑ "Sacred Island of Okinoshima and Associated Sites in the Munakata Region". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2017.
- ↑ "Hidden Christian Sites in the Nagasaki Region". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2018.
- ↑ "Mozu-Furuichi Kofun Group: Mounded Tombs of Ancient Japan". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2019.
- ↑ "Jomon Prehistoric Sites in Northern Japan". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2021.
- ↑ "Sado Island Gold Mines". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2024.
- ↑ "Yakushima". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Shirakami-Sanchi". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Shiretoko". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Ogasawara Islands". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
- ↑ "Amami-Oshima Island, Tokunoshima Island, Northern part of Okinawa Island, and Iriomote Island". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2021.