รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย
รายชื่อภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย เป็นรายได้ภาพยนตร์จากบอกซ์ออฟฟิสประเทศไทย เรียงตามรายได้แบบไม่คิดเงินเฟ้อ นับรายได้เฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น

เนื่องจากรูปแบบการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ในพื้นที่ต่างจังหวัด เป็นการขายขาดให้แก่ตัวแทนผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์แต่ละภูมิภาค หรือที่เรียกว่า สายหนัง ซึ่งทำหน้าที่นำภาพยนตร์จากผู้ผลิตไปจัดจำหน่ายต่อเองในพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบ แบ่งเป็นภูมิภาค ได้แก่ สายเหนือและแปดจังหวัดภาคกลาง (ไม่รวมจังหวัดเชียงใหม่), สายตะวันออกเฉียงเหนือ, สายตะวันออก และสายใต้ โดยใช้วิธีประมูลซื้อภาพยนตร์จากผู้ผลิต ซึ่งราคาจะขึ้นอยู่กับเนื้อหาของภาพยนตร์ และแนวโน้มการทำเงินในภูมิภาคนั้น ๆ เมื่อซื้อขายขาดแล้ว รายได้ของผู้ผลิตคือเงินที่ได้จากการซื้อขายขาดนั้น ขณะที่รายได้จากการขายตั๋วภาพยนตร์ จะตกเป็นของตัวแทนผู้จัดจำหน่ายไป โดยแบ่งกันตามสัดส่วนที่ตัวแทนผู้จัดจำหน่ายตกลงกับโรงภาพยนตร์ที่เอาไปขายให้ ข้อดีของการมีตัวแทนผู้จัดจำหน่ายแต่ละภูมิภาคคือ เป็นผู้แบกรับความเสี่ยงแทนผู้ผลิตที่ไม่มั่นใจว่าภาพยนตร์ของตนจะสามารถทำเงินได้หรือไม่ในพื้นที่ดังกล่าว
ทั้งนี้ ผู้ผลิตอาจทำหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายเองก็ได้ โดยตัดบทบาทของตัวแทนผู้จัดจำหน่ายออกไป ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ผลิตได้รายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่า เริ่มจากผู้ผลิตทำการติดต่อกับโรงภาพยนตร์ในพื้นที่เองโดยตรง และตกลงแบ่งรายได้กันในสัดส่วนที่แน่นอน (คำนวณจากตั๋วภาพยนตร์ที่ขายได้) แต่ปัญหาคือการติดต่อโรงภาพยนตร์ต่าง ๆ โดยตรง เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ผู้ผลิตเช่นกัน เพราะผู้ผลิตยังต้องคอยส่งผู้ควบคุม (checker) ไปตรวจสอบที่โรงภาพยนตร์ด้วยว่าสามารถขายตั๋วได้ตามจำนวนเงินที่แจ้งมาหรือไม่ ซึ่งผู้ผลิตภาพยนตร์ในประเทศไทยไม่ได้มีเงินทุนสูง ส่วนใหญ่จึงเลือกติดต่อเพื่อขอจัดจำหน่ายเองโดยตรง เฉพาะโรงภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ เท่านั้น รายได้ในพื้นที่ดังกล่าวจึงถือเป็นรายได้อย่างเป็นทางการที่เข้าสู่บริษัทผู้ผลิตโดยตรง และสามารถสะท้อนความสำเร็จของภาพยนตร์ได้อย่างแท้จริง[1][2] สำหรับข้อมูลรายได้ทั่วประเทศ รวมไปถึงข้อมูลการซื้อขายภาพยนตร์ระหว่างผู้ผลิตกับตัวแทนผู้จัดจำหน่าย เป็นไปตามที่แต่ละฝ่ายเปิดเผย และมักไม่ได้นำมาตีพิมพ์หรือเผยแพร่มากนัก
ในปัจจุบันพบว่ามีผู้ผลิตภาพยนตร์บางราย ติดต่อเพื่อขอจัดจำหน่ายภาพยนตร์เองโดยตรงกับโรงภาพยนตร์ในบางจังหวัดแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องผ่านตัวแทนผู้จัดจำหน่ายอีกต่อไป คล้ายกับรูปแบบที่ใช้กันในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ แต่ยังไม่เป็นที่เปิดเผย
ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย แก้
ในบรรดาภาพยนตร์ที่ทำเงินได้เกิน 200 ล้านบาท (เฉพาะกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่) จำนวน 32 เรื่อง ประกอบไปด้วย ภาพยนตร์ไทย แปดเรื่อง โดยเป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล มากถึงห้าเรื่อง มีภาพยนตร์ภาคเดียวเพียงสี่เรื่องที่ทำเงินสูงสุดติดอันดับเข้ามา ได้แก่ พี่มาก..พระโขนง, ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้, 2012 วันสิ้นโลก และ ไททานิค ที่เหลือทั้งหมดล้วนเป็นภาพยนตร์ภาคแรก ภาคต่อหรือภาคแยกของแฟรนไชส์
นับตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ภาพยนตร์แฟรนไชส์กลายเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินได้ดีที่สุด โดยเฉพาะภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโร มีภาพยนตร์สิบเรื่องจาก มาร์เวลสตูดิโอส์ ที่ติดอันดับภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูน อเวนเจอร์ส ทั้งหมดสี่เรื่องนั้นติดอันดับอยู่ในภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย 20 อันดับแรก ขณะที่ภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากหนังสือการ์ตูนของมาร์เวลคอมิกส์เรื่องอื่น ๆ เช่น สไปเดอร์-แมน ก็ประสบความสำเร็จเช่นกัน
ภาพยนตร์แฟรนไชส์ อวตาร ของผู้กำกับ เจมส์ คาเมรอน ที่ภาคแรกสามารถทำเงินทั่วโลกสูงสุดตลอดกาล ติดอันดับที่ 11 ภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย (สูงสุดเป็นอันดับสอง ณ ขณะนั้น เป็นรองเพียงภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท) ส่วนภาคสอง อวตาร: วิถีแห่งสายน้ำ ที่ออกฉายในอีก 13 ปีถัดมา ทำยอดรายได้สูงกว่าภาคแรก 70 ล้านบาท ขณะที่ภาพยนตร์ชุด ทรานส์ฟอร์เมอร์ส จากค่าย พาราเมาต์พิกเจอส์ และ เร็ว...แรงทะลุนรก จากค่าย ยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์ ทำเงินติดอันดับเข้ามาชุดละสามภาค นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์, จูราสสิค พาร์ค และ จักรวาลขยายดีซี บางเรื่องติดอันดับเข้ามาด้วย
ภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก จากค่าย มาร์เวลสตูดิโอส์ สร้างสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2562 หลังทำเงินในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 617.55 ล้านบาท แซงหน้าภาพยนตร์ พี่มาก..พระโขนง จากค่ายจีทีเอช ที่เคยทำเงินไว้สูงสุดที่ 568.55 ล้านบาท โดยใช้เวลาเพียง 16 วัน และทำรายได้รวมทั่วประเทศสูงถึง 1,086.1 ล้านบาท
ในตารางนี้ จะแสดงภาพยนตร์เรียงลำดับตามจำนวนเงินที่ทำได้ และอันดับสูงสุดที่เคยทำได้จากการฉายโรงภาพยนตร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ รายได้จากการนำภาพยนตร์กลับมาฉายใหม่ในภายหลัง (Re-Release) จะไม่ถูกนำมาคิดรวมกับรายได้เดิมที่เคยทำไว้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของราคาตั๋ว, ขนาดประชากร และแนวโน้มการซื้อตั๋วนั้นไม่ได้นำมาพิจารณา ส่วนข้อมูลรายได้ทั่วประเทศ (ดูข้อมูลได้ที่ "หมายเหตุ") เป็นเพียงตัวเลขประมาณการ และมีการเปิดเผยออกมาเพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้น ทั้งนี้ ข้อมูลรายได้ของภาพยนตร์บางเรื่องมีอ้างอิงจากหลายแหล่ง (บริษัทผู้ผลิต, นิตยสารภาพยนตร์ และชมรมวิจารณ์บันเทิง) ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันได้
- † พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2566)
BGปัจจุบัน รายได้ภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร, ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ ใช้อ้างอิงจากชมรมวิจารณ์บันเทิง[28]
NGปัจจุบัน รายได้ภาพยนตร์ทั่วประเทศ ใช้อ้างอิงจากไทยแลนด์บอกซ์ออฟฟิส โดยเป็นข้อมูลรายได้จากโรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ทุกสาขาทั่วประเทศ และรายได้ประมาณการจากโรงภาพยนตร์อื่น ๆ ทุกจังหวัดทั่วประเทศ[29]
แฟรนไชส์และภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย แก้
ตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนศตวรรษเป็นต้นมา จำนวนของภาพยนตร์ชุดก็เพิ่มมากขึ้น โดยมีมากกว่าห้าสิบภาพยนตร์ชุด[30] ส่วนหนึ่งมาจากอัตราเงินเฟ้อและการขยายของตลาดที่เปิดกว้างมากขึ้น แต่ยังรวมถึงการที่ฮอลลีวู้ดสร้างรูปแบบของภาพยนตร์ชุดใหม่ เช่น การสร้างภาพยนตร์ที่มาจากนวนิยายชื่อดังหรือการสร้างตัวละครให้เป็นที่จดจำ ซึ่งวิธีการนี้มีแนวคิดที่ว่า ภาพยนตร์ที่สร้างจากสิ่งผู้ชมมีความคุ้นเคยอยู่แล้ว ทำให้สามารถขายให้กับผู้ชมเหล่านั้นได้ เรียกว่าเป็นการ "pre-sold" ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์[31]
รูปแบบแฟรนไชส์ในปัจจุบันมีแนวคิดของการข้ามฝั่งหรือการครอสโอเวอร์ หมายถึง "เป็นการนำสิ่งต่างๆ ในเรื่องแต่ง เช่นตัวละคร สถานที่ หรือจักรวาลของเรื่องแต่งสองเรื่องเป็นอย่างน้อยที่แตกต่างกันมารวมอยู่ในบริบทของเรื่องแต่งเรี่องเดียว"[32] ผลที่ตามมาของการข้ามฝั่งคือทรัพย์สินทางปัญญาอาจถูกใช้โดยแฟรนไชส์มากกว่าหนึ่งแฟรนไชส์ ยกตัวอย่าง ภาพยนตร์เรื่อง แบทแมน ปะทะ ซูเปอร์แมน แสงอรุณแห่งยุติธรรม ไม่เพียงแค่อยู่ในแฟรนไชส์ แบทแมน และ ซูเปอร์แมน เท่านั้น แต่อยู่ใน จักรวาลขยายดีซี ด้วย ซึ่งเป็น "จักรวาลร่วม"[33]
มีภาพยนตร์เพียงเก้าชุดเท่านั้นที่สามารถทำเงินรวมในประเทศไทยเกิน 1,000 ล้านบาท โดย จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล ถือเป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินรวมสูงที่สุดในประเทศไทย มีภาพยนตร์ในแฟรนไชส์ทำเงินเกิน 100 ล้านบาท มากถึง 24 เรื่อง แต่ถ้าหากย้อนไป ภาพยนตร์ชุด โลกเวทมนตร์ เป็นแฟรนไชส์ชุดแรกที่สามารถทำเงินทะลุ 1,000 ล้านบาท หลังจากที่ภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ เข้าฉายไปได้เจ็ดภาค ขณะที่ภาพยนตร์ชุด อเวนเจอร์ส และ อวตาร เป็นเพียงสองแฟรนไชส์ต่างประเทศที่ภาพยนตร์ทุกเรื่องทำเงินมากกว่า 100 ล้านบาท มีภาพยนตร์ไทยชุดเดียวที่ติดอันดับเข้ามา นั่นคือ ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ไทย โดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล และยังไม่มีภาพยนตร์แอนิเมชันชุดใดสามารถทำเงินรวมกันในประเทศไทย ติด 20 อันดับแรกได้
- † ยังมีภาพยนตร์อย่างน้อยหนึ่งเรื่องในภาพยนตร์ชุดนั้นกำลังฉายอยู่ (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2566)
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
BWภาพยนตร์ แบล็ค วิโดว์ เข้าฉายเฉพาะในโรงภาพยนตร์ระบบไอแมกซ์ เพียง 6 วันก่อนออกฉายผ่านบริการสตรีมมิง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย
TSSภาพยนตร์ เดอะ ซุยไซด์ สควอด เข้าฉายอย่างจำกัดโรง เพียง 16 วันก่อนออกฉายผ่านบริการสตรีมมิง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย
JBไม่พบข้อมูลรายได้ในประเทศไทยของภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ฉบับที่นำแสดงโดยโรเจอร์ มัวร์, ฌอน คอนเนอรี, ทิโมธี ดาลตัน และจอร์จ ลาเซนบี
SWไม่พบข้อมูลรายได้ในประเทศไทยของภาพยนตร์ชุด สตาร์ วอร์ส ไตรภาคเดิม และ สตาร์ วอร์ส: สงครามโคลน
BMไม่พบข้อมูลรายได้ในประเทศไทยของภาพยนตร์ชุด แบทแมน ฉบับที่กำกับโดยทิม เบอร์ตัน และโจเอล ชูมาเกอร์
สถิติของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย แก้
ภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปี แก้
มีภาพยนตร์ไทยแปดเรื่องที่ได้รับการบันทึกว่าเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปี โดยเคยทำสถิติทำเงินสูงสุดสามปีติดต่อกัน (นางนาก พ.ศ. 2542, บางระจัน พ.ศ. 2543 และ สุริโยไท พ.ศ. 2544) หากนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา ภาพยนตร์ อีเรียมซิ่ง เป็นภาพยนตร์ทำเงินสูงสุดของปีเพียงเรื่องเดียวที่ทำรายได้ต่ำกว่า 100 ล้านบาท เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย
ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ เป็นค่ายผู้ผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดของปีในประเทศไทยมากถึงหกเรื่อง ครึ่งหนึ่งเป็นผลงานการกำกับของ เจมส์ คาเมรอน และเคยทำสถิติทำเงินสูงสุดสี่ปีติดต่อกัน (พ.ศ. 2537–2540) ต่อมาภาพยนตร์แนวแฟนตาซีชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ และ เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ได้รับความนิยม และทำเงินได้อย่างถล่มทลายในช่วงเปลี่ยนผ่านศตวรรษ ก่อนที่ภาพยนตร์จากค่ายมาร์เวลสตูดิโอส์ อย่างภาพยนตร์ชุด อเวนเจอร์ส จะเข้าฉาย และทำเงินสูงสุดของปีมากถึงสามภาค กลายเป็นค่ายผู้ผลิตภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จด้านรายได้อย่างมหาศาล นับจนถึงปัจจุบันมีภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดของปีในประเทศไทยมากถึงห้าเรื่อง
การฉายของภาพยนตร์นั้น โดยเฉพาะภาพยนตร์ที่ฉายช่วงปลายปี ภาพยนตร์หลายเรื่องนั้นสามารถทำเงินได้มากกว่าหนึ่งปี (ข้ามปี) ดังนั้นจำนวนเงินที่ภาพยนตร์ทำได้นั้นไม่ได้จำกัดแค่ปีที่ฉายเท่านั้น เพียงแต่ปีที่ระบุในตารางข้างล่างนี้ ยึดจากวันที่ภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ เริ่มเข้าฉายในประเทศไทย รายได้จึงถูกนับรวมตลอดโปรแกรมการฉายของภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ ในประเทศไทย แต่ไม่ได้นับรวมรายได้จากการนำกลับมาฉายใหม่
- † พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2566)
เส้นเวลาของภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุด แก้
มีภาพยนตร์เพียงแปดเรื่องเท่านั้นที่ได้รับการบันทึกว่าครองสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ ของผู้กำกับสตีเวน สปีลเบิร์ก เมื่อปี พ.ศ. 2536 ตามด้วยภาพยนตร์เรื่อง ฅนเหล็กพยัคฆ์ร้ายพระกาฬ และ ไอดี 4 สงครามวันดับโลก ซึ่งถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทำเงินทะลุ 100 ล้านบาท สุดท้ายภาพยนตร์สุดคลาสสิกอย่าง ไททานิค สามารถทำลายสถิติเพียงหกเดือนของ เดอะ ลอสต์ เวิลด์ จูราสสิค พาร์ค ได้สำเร็จ หลังทำเงินในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 213.65 ล้านบาท เมื่อช่วงต้นปี พ.ศ. 2541
ภายหลังมีภาพยนตร์ไทย ทั้งสองเรื่องอย่าง สุริโยไท และพี่มาก..พระโขนง ถือครองสถิตินี้รวมกันนานกว่า 18 ปี ก่อนที่ภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก จะทำรายได้แซงหน้าไปในที่สุด เมื่อปี พ.ศ. 2562 และถือครองสถิตินี้มายาวนานจนถึงปัจจุบัน (รวมสี่ปี)
ปี | ชื่อเรื่อง | บริษัทผู้ผลิต/จัดจำหน่าย | ทำเงิน (ล้านบาท) |
ครองสถิติ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
2536 | จูราสสิค พาร์ค กำเนิดใหม่ไดโนเสาร์ | ยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์ | 74.34 | 3 ปี | [34] |
2539 | ฅนเหล็กพยัคฆ์ร้ายพระกาฬ | วอร์เนอร์บราเธอร์สพิกเจอร์ส | 79.85 | 2 เดือน | [34] |
ไอดี 4 สงครามวันดับโลก | ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ | 123.43 | 10 เดือน | [34] | |
2540 | เดอะ ลอสต์ เวิลด์ จูราสสิค พาร์ค | ยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์ | 124.75 | 6 เดือน | [34] |
2541 | ไททานิค | ทเวนตีท์เซนจูรีฟอกซ์ | 213.65 | 3 ปี | [16][34] |
2544 | สุริโยไท | สหมงคลฟิล์ม–พร้อมมิตร โปรดักชั่น | 324.5 | 12 ปี | [12][13] |
2556 | พี่มาก..พระโขนง | จีทีเอช | 568.55 | 6 ปี | [5][6] |
2562 | อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก | มาร์เวลสตูดิโอส์ | 617.55 | 4 ปี | [3] |
ภาพยนตร์ที่ทำเงินเปิดตัววันแรกสูงสุด แก้
ภาพยนตร์จากมาร์เวลคอมิกส์ ทำเงินเปิดตัววันแรกในประเทศไทยติดสิบอันดับแรก มากถึงแปดเรื่อง มีเพียงภาพยนตร์ เร็ว..แรงทะลุนรก 7 และ เร็ว..แรงทะลุนรก 8 ที่ทำเงินติดอันดับเข้ามาได้ โดยภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก สร้างสถิติทำเงินเปิดตัววันแรกสูงสุดตลอดกาลในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ (75.32 ล้านบาท) ทั้งที่เข้าฉายวันแรกตรงกับวันธรรมดา และยังเป็นรายรับสูงสุดตลอดกาลในหนึ่งวันของภาพยนตร์ที่เข้าฉายในประเทศไทยอีกด้วย ในขณะที่ภาพยนตร์ ไอรอนแมน 3, ดิ อเวนเจอร์ส และ ไอ้แมงมุม 3 ล้วนเข้าฉายวันแรกตรงกับวันแรงงานแห่งชาติ (1 พฤษภาคม) ทั้งสิ้น
- † พื้นหลังสีเหลืองแสดงภาพยนตร์ที่เข้าฉายวันแรกตรงกับวันหยุดราชการ
อันดับ | สูงสุด | ปี | ชื่อเรื่อง | บริษัทผู้ผลิต/จัดจำหน่าย | ทำเงิน (ล้านบาท) |
อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 1 | 2562 | อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก | มาร์เวลสตูดิโอส์ | 75.32 | [40] |
2 | 1 | 2561 | อเวนเจอร์ส: มหาสงครามล้างจักรวาล | มาร์เวลสตูดิโอส์ | 54.88 | [41] |
3 | 1 | 2556 | ไอรอนแมน 3 † | มาร์เวลสตูดิโอส์ | 45.53 | [42] |
4 | 2 | 2558 | เร็ว..แรงทะลุนรก 7 | ยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์ | 41.6 | [43] |
5 | 5 | 2565 | จอมเวทย์มหากาฬ ในมัลติเวิร์สมหาภัย † | มาร์เวลสตูดิโอส์ | 41.28 | [44] |
6 | 3 | 2560 | เร็ว..แรงทะลุนรก 8 | ยูนิเวอร์แซลพิกเจอส์ | 39.36 | [45] |
7 | 1 | 2555 | ดิ อเวนเจอร์ส † | มาร์เวลสตูดิโอส์ | 39.13 | [46] |
8 | 4 | 2559 | กัปตันอเมริกา: ศึกฮีโร่ระห่ำโลก | มาร์เวลสตูดิโอส์ | 38.42 | [47] |
9 | 7 | 2562 | กัปตัน มาร์เวล | มาร์เวลสตูดิโอส์ | 37.17 | [48] |
10 | 1 | 2550 | ไอ้แมงมุม 3 † | โคลัมเบียพิคเจอร์ส–มาร์เวลเอนเตอร์เทนเมนต์ | 34.1 | [46] |
ภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย แก้
ในบรรดาภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินได้เกิน 100 ล้านบาท (เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่) จำนวน 35 เรื่อง ประกอบไปด้วยภาพยนตร์จากค่ายจีทีเอช มากที่สุด จำนวนสิบเรื่อง ซึ่งเป็นผลงานการกำกับของบรรจง ปิสัญธนะกูล มากถึงสี่เรื่อง (เป็นผลงานการกำกับร่วมสองเรื่อง ได้แก่ ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ และห้าแพร่ง) และหากนับ แฟนเดย์..แฟนกันแค่วันเดียว จากค่ายจีดีเอช ด้วย จะทำให้เขาเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ไทยทำเงินเกิน 100 ล้านบาท มากถึงห้าเรื่อง ค่ายสหมงคลฟิล์ม ติดอันดับจำนวนเก้าเรื่อง มาจากภาพยนตร์ชุดอิงประวัติศาสตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล มากถึงเจ็ดเรื่อง ถือเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ไทยที่ประสบความสำเร็จด้านรายได้มากที่สุดตลอดกาล
แนวโน้มการทำเงินสูงของภาพยนตร์ไทย ยังคงมาจากภาพยนตร์แนวตลก ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ และภาพยนตร์สยองขวัญเป็นส่วนใหญ่ สังเกตได้จากสัดส่วนของภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินได้เกิน 100 ล้านบาท เป็นภาพยนตร์แนวตลก และภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์เกินกว่าครึ่ง และเป็นภาพยนตร์สยองขวัญมากถึงเจ็ดเรื่อง อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์แนววิถีชีวิตตามภูมิภาค และภาพยนตร์ภาคต่อจากละครโทรทัศน์หรือซีรีส์ชื่อดัง เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในช่วงหลัง เช่น สัปเหร่อ, นาคี ๒, บุพเพสันนิวาส ๒ และ ตุ๊ดซี่ส์ แอนด์ เดอะเฟค ที่ล้วนทำเงินเกิน 100 ล้านบาททุกเรื่อง
ภาพยนตร์ พี่มาก..พระโขนง จากค่ายจีทีเอช กลายเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย หลังทำเงินในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 568.55 ล้านบาท จากการเข้าฉายนานถึงเก้าสัปดาห์ รวมถึงเคยสร้างสถิติเป็นภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย (นับรวมภาพยนตร์ต่างประเทศแล้ว) นานถึงหกปี ก่อนถูกภาพยนตร์ อเวนเจอร์ส: เผด็จศึก ทำรายได้แซงหน้าไปที่ 617.55 ล้านบาท เมื่อปี พ.ศ. 2562[3]
ในตารางนี้ จะแสดงภาพยนตร์เรียงลำดับตามจำนวนเงินที่ทำได้ และอันดับสูงสุดที่เคยทำได้จากการฉายโรงภาพยนตร์เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ รายได้จากการนำภาพยนตร์กลับมาฉายใหม่ในภายหลัง (Re-Release) จะไม่ถูกนำมาคิดรวมกับรายได้เดิมที่เคยทำเอาไว้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของราคาตั๋ว, ขนาดประชากร และแนวโน้มการซื้อตั๋วนั้นไม่ได้นำมาพิจารณา ส่วนข้อมูลรายได้ทั่วประเทศ (ดูข้อมูลได้ที่ "หมายเหตุ") เป็นเพียงตัวเลขประมาณการ และมีการเปิดเผยออกมาเพียงไม่กี่เรื่องเท่านั้น ทั้งนี้ ข้อมูลรายได้ของภาพยนตร์บางเรื่องมีอ้างอิงจากหลายแหล่ง (บริษัทผู้ผลิต, นิตยสารภาพยนตร์ และชมรมวิจารณ์บันเทิง) ซึ่งอาจเป็นข้อมูลที่ไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันได้
- † พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2566)
BGปัจจุบัน รายได้ภาพยนตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร, ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ ใช้อ้างอิงจากชมรมวิจารณ์บันเทิง[28]
NGปัจจุบัน รายได้ภาพยนตร์ทั่วประเทศ ใช้อ้างอิงจากไทยแลนด์บอกซ์ออฟฟิส โดยเป็นข้อมูลรายได้จากโรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ทุกสาขาทั่วประเทศ และรายได้ประมาณการจากโรงภาพยนตร์อื่น ๆ ทุกจังหวัดทั่วประเทศ[29]
แฟรนไชส์และภาพยนตร์ไทยชุดที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย แก้
ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ไทย โดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล (ประกอบด้วยภาพยนตร์ สุริโยไท และภาคต่ออย่างภาพยนตร์ชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทั้งหกภาค) เป็นภาพยนตร์ไทยชุดที่ทำเงินสูงสุดตลอดกาล ด้วยรายได้กว่า 1,415 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าภาพยนตร์ไทยชุดอย่าง จักรวาลไทบ้าน เดอะซีรีส์ ทั้งหกภาคที่ทำเงินตามมาเป็นอันดับสองเกือบห้าเท่าตัว ในขณะที่ภาพยนตร์ไทยชุดที่ทำเงินโดยเฉลี่ยมากที่สุดรองลงมาคือภาพยนตร์ชุด ต้มยำกุ้ง ที่ทำเงินโดยเฉลี่ย 119.24 ล้านบาทจากทั้งสองภาค ส่วนภาพยนตร์ชุด องค์บาก และ แหยมยโสธร ต่างก็มีหนึ่งในภาพยนตร์ของชุดนั้นทำรายได้แตะระดับ 100 ล้านบาททั้งคู่ แสดงให้เห็นว่าค่ายสหมงคลฟิล์ม เป็นหนึ่งในผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยที่ประสบความสำเร็จด้านรายได้จากการผลิตภาพยนตร์ชุดมากที่สุด
- † ยังมีภาพยนตร์อย่างน้อยหนึ่งเรื่องในภาพยนตร์ชุดนั้นกำลังฉายอยู่ (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2566)
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
สถิติของภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย แก้
ภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปี แก้
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปีมากที่สุดถึงห้าเรื่อง ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง เสียดาย (พ.ศ. 2537), สุริโยไท (พ.ศ. 2544), ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๑ องค์ประกันหงสา (พ.ศ. 2550), ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี (พ.ศ. 2554) และ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๖ อวสานหงสา (พ.ศ. 2558) ในขณะที่ค่ายจีทีเอช และสหมงคลฟิล์ม เป็นบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในแต่ละปีมากที่สุดร่วมกันถึงเจ็ดเรื่อง โดยค่ายจีทีเอช เคยทำสถิติทำเงินสูงสุดสามปีติดต่อกัน (พ.ศ. 2555–2557) เช่นเดียวกับที่ ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ทำได้ (พ.ศ. 2540–2542)
การฉายของภาพยนตร์นั้น โดยเฉพาะภาพยนตร์ที่ฉายช่วงปลายปี ภาพยนตร์หลายเรื่องนั้นสามารถทำเงินได้มากกว่าหนึ่งปี (ข้ามปี) ดังนั้นจำนวนเงินที่ภาพยนตร์ทำได้นั้นไม่ได้จำกัดแค่ปีที่ฉายเท่านั้น เพียงแต่ปีที่ระบุในตารางข้างล่างนี้ ยึดจากวันที่ภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ เริ่มเข้าฉายในประเทศไทย รายได้จึงถูกนับรวมตลอดโปรแกรมการฉายของภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ ในประเทศไทย แต่ไม่ได้นับรวมรายได้จากการนำกลับมาฉายใหม่
- † พื้นหลังสีเขียวแสดงภาพยนตร์ที่ยังเข้าฉายอยู่ในโรงภาพยนตร์ (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2566)
เส้นเวลาของภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุด แก้
มีภาพยนตร์ไทยเพียงหกเรื่องเท่านั้นที่มีการบันทึกว่าครองสถิติเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ตั้งแต่ภาพยนตร์ โลกทั้งใบให้นายคนเดียว (พ.ศ. 2538) ตามมาด้วยภาพยนตร์ 2499 อันธพาลครองเมือง ที่ทำรายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 75.5 ล้านบาท ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย หลังต้องเผชิญทั้งภาวะพิษเศรษฐกิจ และวิกฤตศรัทธาของคนดู สองปีถัดมา ภาพยนตร์เรื่อง นางนาก เข้าฉายและกลายเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ทำเงินทะลุ 100 ล้านบาท[71] ส่งผลให้นนทรีย์ นิมิบุตร กลายเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ไทยเพียงคนเดียวที่มีผลงานทำเงินสูงสุดมากกว่าหนึ่งเรื่อง
ภายหลัง ภาพยนตร์ สุริโยไท โดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล กลายเป็นภาพยนตร์ที่ถือครองสถิตินี้ยาวนานถึง 12 ปี ก่อนที่ภาพยนตร์เรื่อง พี่มาก..พระโขนง จะสามารถทำเงินแซงหน้าได้ในที่สุดด้วยรายได้รวม 568.55 ล้านบาท เมื่อปี พ.ศ. 2556 และถือครองสถิตินี้มายาวนานจนถึงปัจจุบัน (รวมสิบปี)
ปี | ชื่อเรื่อง | บริษัทผู้ผลิต/จัดจำหน่าย | ทำเงิน (ล้านบาท) |
ครองสถิติ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|
2538 | โลกทั้งใบให้นายคนเดียว | อาร์.เอส.ฟิล์ม | 55 | 2 ปี | [68] |
2540 | 2499 อันธพาลครองเมือง | ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ | 75.5 | 2 ปี | [34] |
2542 | นางนาก | ไท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ | 149.6 | 1 ปี | [16][34] |
2543 | บางระจัน | ฟิล์มบางกอก | 151 | 8 เดือน | [13][16] |
2544 | สุริโยไท | สหมงคลฟิล์ม–พร้อมมิตร โปรดักชั่น | 324.5 | 12 ปี | [12][13] |
2556 | พี่มาก..พระโขนง | จีทีเอช | 568.55 | 10 ปี | [5][6] |
ภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินเปิดตัววันแรกสูงสุด แก้
ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้ เป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินเปิดตัวสูงสุดตลอดกาลในประเทศไทย ด้วยรายได้เฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่ 29.17 ล้านบาท หลังเข้าฉายวันแรกตรงกับวันรัฐธรรมนูญ (10 ธันวาคม พ.ศ. 2557) และมีภาพยนตร์ไทยเพียงห้าเรื่องเท่านั้นที่สามารถทำเงินเปิดตัววันแรกได้มากกว่า 20 ล้านบาท โดยสี่ในห้าเรื่องนั้นล้วนเข้าฉายวันแรกตรงกับวันหยุดราชการทั้งสิ้น ส่งผลให้ภาพยนตร์ พี่มาก..พระโขนง กลายเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินเปิดตัวในวันธรรมดาสูงที่สุด
- † พื้นหลังสีเหลืองแสดงภาพยนตร์ที่เข้าฉายวันแรกตรงกับวันหยุดราชการ
อันดับ | สูงสุด | ปี | ชื่อเรื่อง | บริษัทผู้ผลิต/จัดจำหน่าย | ทำเงิน (ล้านบาท) |
อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 1 | 2557 | ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้ † | จีทีเอช | 29.17 | [72][73] |
2 | 2 | 2562 | ตุ๊ดซี่ส์ แอนด์ เดอะเฟค † | จีดีเอช | 24.59 | [74] |
3 | 2 | 2559 | หลวงพี่แจ๊ส 4G † | ฟิล์มกูรู โปรดักชั่น | 22.93 | [72] |
4 | 4 | 2565 | บุพเพสันนิวาส ๒ † | จีดีเอช–บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น | 21.40 | [75] |
5 | 1 | 2556 | พี่มาก..พระโขนง | จีทีเอช | 21.20 | [72][73] |
6 | 2 | 2557 | ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี | สหมงคลฟิล์ม–พร้อมมิตร โปรดักชั่น | 19.5 | [73] |
7 | 1 | 2544 | สุริโยไท | สหมงคลฟิล์ม–พร้อมมิตร โปรดักชั่น | 19 | [76][77] |
8 | 2 | 2548 | ต้มยำกุ้ง | สหมงคลฟิล์ม | 18 | [77] |
9 | 7 | 2561 | นาคี ๒ | ดู เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ | 17.77 | [78] |
10 | 3 | 2552 | รถไฟฟ้า มาหานะเธอ | จีทีเอช | 15.1 | [79] |
ดูเพิ่ม แก้
อ้างอิง แก้
- ↑ ทำความรู้จักกับ “สายหนัง” อีกหนึ่งตัวละครสำคัญในวงการธุรกิจภาพยนตร์ของไทย
- ↑ ม็อกค่าปาท่องโก๋ : Checker ฟันเฟืองสำคัญของ “หนังไทย”
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 3.17 3.18 Avengers: Endgame ครองแชมป์หนังทำรายได้สูงสุดตลอดกาลของไทย และอีก 19 อันดับนับถึงปัจจุบัน
- ↑ อันดับหนังทำเงินสูงสุดในไทย รายได้ประจำสัปดาห์ 5 มิถุนายน 62
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 หนังไทยเรื่องไหนที่เป็นที่ถูกใจคอหนัง จนผงาดขึ้นมาเป็นแชมป์หนังทำเงินช่วงปิดเทอมใหญ่มาแล้วบ้าง เราจะย้อนกลับไปดูกัน
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 6.8 6.9 ทำเนียบหนังไทยทำเงินรวมในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่สูงสุดตลอดกาล
- ↑ 7.0 7.1 พี่มาก..พระโขนง PEE MAK
- ↑ 8.0 8.1 Flickz รายงานอันดับหนังทำเงินในเมืองไทย ประจำสุดสัปดาห์ วันที่ 14-17 พฤษภาคม 2558
- ↑ 9.0 9.1 รายได้ภาพยนตร์ในไทย ประจำวันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม 2566
- ↑ 10.0 10.1 ทำเนียบหนังทำเงินทั่วประเทศสูงที่สุดในรอบ 4 ปีนี้
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 “ไอฟายฯ รอบสุดท้ายบ้ายบายผู้ชม ปิดตัวเลขดี๊ดีย์ 330.59 ล้านบาท
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 สรุป 10 อันดับหนังไทย ทำเงินสูงสุดตลอดกาล (สิ้นสุด 4 กันยายน 2548)
- ↑ 13.00 13.01 13.02 13.03 13.04 13.05 13.06 13.07 13.08 13.09 13.10 13.11 13.12 13.13 13.14 Country Project #2: Thai Film Industry
- ↑ 14.0 14.1 รายได้ภาพยนตร์ ประจำสุดสัปดาห์ 18-21 พฤษภาคม 2560
- ↑ 15.0 15.1 15.2 Avengers : Infinity War กลายเป็นหนัง MCU ทำเงินสูงสุดในประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว
- ↑ 16.00 16.01 16.02 16.03 16.04 16.05 16.06 16.07 16.08 16.09 16.10 16.11 16.12 16.13 16.14 16.15 16.16 16.17 16.18 16.19 16.20 16.21 16.22 16.23 16.24 16.25 16.26 16.27 16.28 16.29 16.30 16.31 Thailand Box Office ฉบับข้อมูลเน้นๆ สรุปข้อมูลรายได้หนัง และ สถิติต่างๆ ในไทย ประจำปี 2554 อย่างละเอียดยิบ
- ↑ อันดับหนังทำเงินสูงสุดในไทย รายได้ประจำสัปดาห์ 2 เมษายน 62
- ↑ รายได้หนังสุดสัปดาห์ ประจำวันที่ 31 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2562
- ↑ อันดับหนังทำเงินสูงสุดในไทย รายได้ประจำสัปดาห์ 28 มกราคม 62
- ↑ 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 รายได้ภาพยนตร์ในไทย ประจำวันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน 2566
- ↑ 21.0 21.1 21.2 อันดับหนังทำเงินทั่วประเทศไทย ประจำสัปดาห์ (วันที่ 26/11/2566)
- ↑ 22.0 22.1 รายได้หนังประจำสุดสัปดาห์ 24 - 27 กุมภาพันธ์ 2565
- ↑ อันดับหนังทำเงินสูงสุดในไทย รายได้ประจำสัปดาห์ 6 สิงหาคม 62
- ↑ Box Office ในไทย ประจำสุดสัปดาห์ที่ 16-19 มิถุนายน 2565 : Jurassic World Dominion ครองแชมป์สองสมัยซ้อน
- ↑ อันดับหนังทำเงินทั่วประเทศไทย ประจำสัปดาห์ (วันที่ 13/6/2565)
- ↑ 26.00 26.01 26.02 26.03 26.04 26.05 26.06 26.07 26.08 26.09 26.10 26.11 26.12 26.13 26.14 26.15 26.16 26.17 26.18 26.19 26.20 26.21 26.22 26.23 26.24 26.25 26.26 รู้หรือไม่? 20 อันดับหนังไทยทำเงินสูงสุดตลอดกาลมีเรื่องอะไรบ้าง
- ↑ Ironman 3 แชมป์หนังต่างประเทศทำเงินสูงสุด ครึ่งปีแรกของไทย
- ↑ 28.0 28.1 ชมรมวิจารณ์บันเทิง – Facebook
- ↑ 29.0 29.1 Thailand Box Office And Entertainment
- ↑ "Movie Franchises". The Numbers. Nash Information Services, LLC. สืบค้นเมื่อ July 7, 2022.
- ↑ The Economist online (July 11, 2011). "Pottering on, and on". The Economist. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 11, 2011.
- ↑ Nevins, Jess (August 23, 2011). "A Brief History of the Crossover". io9. สืบค้นเมื่อ July 19, 2018.
- ↑ Nevins, Jess (September 9, 2011). "The First Shared Universes". io9. สืบค้นเมื่อ July 19, 2018.
- ↑ 34.00 34.01 34.02 34.03 34.04 34.05 34.06 34.07 34.08 34.09 34.10 34.11 34.12 34.13 34.14 34.15 34.16 สรุป 50 อันดับหนังทำเงินตลอดกาลในประเทศไทย สุริโยไท ยังครองอันดับหนึ่งหนังทำเงินตลอดกาลอย่างเหนียวแน่น
- ↑ หนังทำเงินสูงสุดของไทยในปี1994
- ↑ "Transformer" เปิดตัวสะท้านเมือง 4 วัน 60.1 ล้าน, "Die Hard 4.0" รอบพิเศษ อึดเฉียด 8 ล้าน
- ↑ 37.0 37.1 37.2 37.3 สรุป 25 อันดับหนังต่างประเทศทำเงินสูงสุดตลอดกาลในประเทศไทย
- ↑ 10 หนังไทย-เทศ ยอดฮิตแดนสยามปี 2551
- ↑ 39.0 39.1 รายได้หนังประจำสุดสัปดาห์ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 - 3 มกราคม 2564
- ↑ รายได้หนังเข้าใหม่ ประจำวันพุธที่ 24 เมษายน 2562
- ↑ รายได้เปิดตัว AVENGERS: INFINITY WAR "อเวนเจอร์ส: อินฟินิตี้ วอร์ มหาสงครามล้างจักรวาล" เพียงแค่วันเดียว 54.88 ล้านบาท
- ↑ รายได้หนังประจำวันที่ 25 เม.ย. - 1 พ.ค. 56 และรายได้เปิดตัว Iron Man 3
- ↑ หนังทำเงินในไทย ประจำวันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2565 : Doctor Strange in the Multiverse of Madness ขึ้นแท่นเปิดตัววันแรกสูงสุดในบ้านเรารอบสามปีนี้
- ↑ รายได้หนังเข้าใหม่ วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2565
- ↑ รายได้หนังประจำสัปดาห์ที่ 6 - 12 เมษายน 2560
- ↑ 46.0 46.1 "The Avengers" ทุบสถิติหนังเปิดตัวในไทยวันแรก 39.1 ล้านบาท
- ↑ รายได้หนังประจำสัปดาห์ที่ 28 เม.ย. - 4 พ.ค. 2559
- ↑ รายงานหนังทำเงิน วันพุธที่ 6 มีนาคม 2562 : Captain Marvel ขึ้นแท่นหนังเปิดตัววันแรกสูงสุดของปีนี้
- ↑ 49.0 49.1 สรุปรายได้หนังไทยประจำปี 2548"ต้มยำกุ้ง" เข้าวิน183.35 ล้าน "หลวงพี่เท่ง" 141.7 ล้านที่ 2
- ↑ 50.0 50.1 คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงาน ประจำไตรมาส 3 ปี 2565
- ↑ 51.0 51.1 51.2 51.3 51.4 51.5 ทำเนียบหนังไทยทำเงินรวมในเขตกรุงเทพฯ, ปริมณฑล, เชียงใหม่สูงสุดในรอบ 9 ปีนี้
- ↑ ทำเนียบหนังไทยทำเงินรวมทั่วประเทศสูงสุดในรอบ 6 ปีนี้
- ↑ สรุปรายได้หนังทำเงินสูงสุดในประเทศไทย ใครครองแชมป์ประจำปี 2565
- ↑ รู้หรือไม่! #หลวงพี่แจ๊ส4G คือผลงานหนังที่กำกับโดย “พชร์ อานนท์” ที่ทำรายได้มากที่สุดกว่า 400 ล้านทั่วประเทศขึ้นแท่นหนังไทยอันดับ 1 ของปี 2559
- ↑ 55.0 55.1 55.2 10 อันดับหนังไทยทำเงินสูงสุดปี 2018
- ↑ 56.0 56.1 10 อันดับหนังไทย ทำเงินสูงสุดปี 2561
- ↑ 57.0 57.1 57.2 หนังไทยจากเรื่องละ 10 ล้านบาท มาเป็น 44 ล้านบาทได้อย่างไร?
- ↑ 58.0 58.1 รู้หรือไม่? รถไฟฟ้า มาหานะเธอ คือหนังที่ทำให้ค่าย GTH ผ่านวิกฤต ‘ตัวแดง’ และเดินหน้าสร้างผลงานคุณภาพมาจนถึงทุกวันนี้
- ↑ 59.0 59.1 รายได้หนังประจำสุดสัปดาห์ วันที่ 9—12 มกราคม 2563
- ↑ 60.0 60.1 60.2 60.3 ลำดับรายได้ภาพยนตร์ค่าย GDH ตลอด 4 ปี
- ↑ 10 อันดับ “หนังไทย” ทำรายได้สูงสุด ปี 2562
- ↑ FRIEND ZONE ระวัง..สิ้นสุดทางเพื่อน บินลัดฟ้าไปทุบสถิติหนังไทยที่กัมพูชา, เวียดนาม
- ↑ 63.0 63.1 "สรุปรายได้หนังไทย ปี 2558". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-19. สืบค้นเมื่อ 2019-12-19.
- ↑ ฉลาดเกมส์โกง สรุปยอดรายได้รวม 112.15 ล้านบาท
- ↑ "(สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 26) สรุปรายได้ Box Office หนังไทยปี 2559". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-19. สืบค้นเมื่อ 2019-12-19.
- ↑ รายงานอันดับหนังทำเงินของประเทศไทย ประจำสุดสัปดาห์ที่ 4 - 7 กุมภาพันธ์ 2553
- ↑ รายได้รวมหนังไทยปี 2557
- ↑ 68.0 68.1 68.2 68.3 68.4 100 อันดับ หนังไทยทำเงินสูงสุดตลอดกาล !!! (รวบรวมถึงปี 2552)
- ↑ 303 กลัว กล้า อาฆาต(1998) งานกำกับของสมจริง ศรีสุภาพ ทำเงินปีนั้นไป 28.2 ล้าน ถือเป็นหนังไทยที่ทำเงินสูงสุดของปี
- ↑ รายได้หนังสุดสัปดาห์ ประจำวันที่ 3-6 กุมภาพันธ์ 2565
- ↑ นางนาก — หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
- ↑ 72.0 72.1 72.2 รายได้เปิดตัวหนังเข้าใหม่ 3 เรื่อง (วันแรกฉาย) 6 เมษายน 2559
- ↑ 73.0 73.1 73.2 วันแรก วันเดียว 29.17 ล้านบาท "ไอฟาย..แต๊งกิ้ว..เลิฟยู้" ทำรายได้เปิดตัว (วันแรก) สูงสุด
- ↑ รายได้หนังเข้าใหม่ ประจำวันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม 2562
- ↑ รายได้หนังเข้าใหม่ วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 2565
- ↑ Top 10 หนังไทย รายรับเปิดตัวสูงสุดตลอดกาล ในประเทศไทย
- ↑ 77.0 77.1 "ต้มยำกุ้ง"ทุบสถิติ รายได้ 4 วัน 94.2 ล้าน,"Initial D" สู่ 10 ล้าน,"วัยอลวน 4" ผ่าน 23 ล้าน
- ↑ รายได้หนังเข้าใหม่ ประจำวันที่ 18 ตุลาคม 2561
- ↑ ครบรอบ 9 ปี รถไฟฟ้า มาหานะเธอ ย้อนดูปรากฏการณ์เมื่อสาวโสดขี้อายลุกขึ้นมาต่อสู้บนรถไฟขบวนรัก