รามใหญ่

สปีชีส์ของพืช
รามใหญ่
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Ericales
วงศ์: Myrsinaceae
สกุล: Ardisia
สปีชีส์: A.  elliptica
ชื่อทวินาม
Ardisia elliptica

รามใหญ่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ardisia elliptica Thunb) มีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า กระดูกไก่ ก้างปลา ก้างปลาเขา เหมือด อ้ายรามใบใหญ่[1] มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบทวีปอเมริกาใต้[2] ในประเทศไทยพบตามริมชายฝั่งแม่น้ำ ด้านในของป่าชายเลน ที่มีอิทธิพลของน้ำขึ้น-น้ำลง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ชอบความชื้นสูง แสงแดดปานกลาง[3]

ลักษณะทั่วไป แก้

 
ช่อดอกของรามใหญ่
 
ผลอ่อนและผลสุก

เป็นไม้พุ่ม สูง 1.5 -3 เมตร ดกิ่งอ่อนสีแดงอมน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยว ใบหนา ผิวเรียบ เรียงเวียนรอบกิ่ง แผ่นใบรูปรีถึงรูปไข่กลับ ขนาด 3-5.5×6-14 ซม. ปลายใบกลมหรือป้านมน ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ เนื้อใบคล้ายหนัง ใบเกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน เส้นใบบางไม่เด่นชัด อกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ออกเป็นช่อซี่ร่มตามง่ามใบ แต่ละช่อมี 5-8 ดอก สีชมพู ก้านช่อดอกยาว 1.8-2.4 ซม. ก้านดอกย่อยเรียงยาว 1-1.4 ซม. ดอกตูมยาว 0.5-0.7 ซม. รูปกรวยแหลม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปวงกลม บิดเวียนฐาน วงกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ มีต่อมเล็ก ๆ หนาแน่น กลีบดอกแหลม 5 กลีบ ผลเมล็ดเดี่ยว รูปเกือบกลม ด้านแนวนอนยาวกว่าแนวตั้ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6 ซม. ที่ปลายผลมีติ่งแหลม สั้น ผลสดมีสีแดงก่อนจะเปลี่ยนเป็นผลสุกสีดำ ออกดอกและผล ระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน[4]

การใช้ประโยชน์ แก้

รามใหญ่เป็นพืชที่รับประทานได้ นำใบ-ยอดมาปรุงอาหาร รวมทั้งเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริก[5]และมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ใบ แก้โรคตับพิการ ดอก แก้พยาธิ ฆ่าเชื้อโรค แก้ลม[6] ผล แก้ไข้ แก้ท้องเสีย ตานขโมย รากแก้กามโรคและหนองใน

ลำต้น เป็นยาแก้โรคเรื้อน พบรงควัตถุสีส้มทองเรียกชื่อว่า Rapanone ในเปลือกต้น ซึ่งเมื่อใช้ทดลองกับหนูที่ติดเชื้อโรคเรื้อน โดยให้ยาติดต่อกัน 6 เดือน ถึง 1 ปี สามารถลดการเพิ่มจำนวนของเชื้อดังกล่าวได้[7]

ชื่อท้องถิ่น แก้

ชื่อของรามใหญ่จะเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ดังนี้

อ้างอิง แก้