รามัน ปราตาเชวิช

รามัน จมีตรือเยวิช ปราตาเชวิช (เบลารุส: Раман Дзмітрыевіч Пратасевіч, อักษรโรมัน: Raman Dzmitryyevich Pratasyevich; Raman Dzmitryevič Pratasevič) หรือ โรมัน ดมีตรีเยวิช โปรตาเซวิช (รัสเซีย: Роман Дмитриевич Протасевич; Roman Dmitriyevich Protasevich, เกิด 5 พฤษภาคม 1995) เป็นนักข่าวและนักกิจกรรมชาวเบลารุส อดีตบรรณาธิการบริหารของช่องเญคตา (Nexta) ทางเทเลแกรม และหัวหน้าบรรณาธิการของช่อง "เบลารุสออฟเดอะเบรน" (Belarus of the Brain) ทางเทเลแกรม เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2021 ปราตาเชวิชถูกรัฐบาลเบลารุสจับกุมหลังเที่ยวบินพาณิชย์ที่เขากำลังเดินทางถูกเครื่องบินไล่ล่าของรัฐบาลเบลารุสบังคับลงจอดที่มินสค์ เมืองหลวงของเบลารุส เขาเป็นที่รู้จักจากการทำกิจกรรมและเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านรัฐบาลเผด็จการและเรียกร้องประชาธิปไตยในเบลารุส

รามัน ปราตาเชวิช
Раман Пратасевіч
Роман Протасевич
ปราตาเชวิชเมื่อมิถุนายน 2021
เกิด (1995-05-05) 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 (28 ปี)[1]
ประเทศเบลารุส
การศึกษามหาวิทยาลัยรัฐเบลารุส
อาชีพ
  • นักข่าว
  • นักกิจกรรม
  • ช่างภาพ
ปีปฏิบัติงาน2011–ปัจจุบัน
องค์การเญคตา
ขบวนการยังฟรอนต์
คู่รักโซเฟีย ซาเปกา (Sofia Sapega)

การงาน แก้

การเคลื่อนไหวต่อต้านในเบลารุส (2011–2019) แก้

ปราตาเชวิชเป็นนักกิจกรรมเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลนับตั้งแต่เป็นเยาวชน และเข้าร่วมการประท้วงครั้งแรกตั้งแต่ในต้นทศวรรษ 2010[2] และนับตั้งแต่ปี 2011 เขาเข้าร่วมองค์การต่อต้านรัฐบาลในชื่อยังฟรอนต์[3] เขามีส่วนร่วมในการบริหารกลุ่มหนึ่งทางสื่อสังคมวคอนตัคเต (VKontakte) เพื่อต่อต้านประธานาธิบดีอาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา จนกระทั่งปี 2012 เมื่อกลุ่มนั้นถูกเจ้าหน้าที่รัฐบาลแฮ็ก[4] เขาเข้าศึกษาต่อด้านวารสารและการหนังสือพิมพ์ที่มหาวิทยาลัยรัฐเบลารุส จนกระทั่งพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาในปี 2018[5] ในปี 2019 เขาเป็นช่างภาพให้กับ Euroradio.fm[6] และยังเคยเป็นผู้ดำเนินรายการภาคภาษาเบลารุสของ Radio Free Europe/Radio Liberty[7]

กิจกรรมต่อต้านขณะลี้ภัย (2019–2021) แก้

ในปี 2019 ปราตาเชวิชลี้ภัยไปยังประเทศโปแลนด์[8] และดำเนินการช่องเญคตาทางเทเลแกรม[9] ในเดือนสิงหาคม 2020 หลังรัฐบาลเบลารุสพยายามตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2020 ช่องเญคตาของเขากลายเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลหลักเกี่ยวกับการประท้วงผลการเลือกตั้งในครั้งนั้นและเริ่มถูกใช้เป็นช่องทางหลักหนึ่งในการจัดการประท้วง[9] และมีผู้เข้าร่วมใหม่มากกว่า 800,000 คนในหนึ่งสัปดาห์[9] เขาออกจากช่องในเดือนกันยายน 2020[8][7]

อ้างอิง แก้

  1. "КДБ унёс Сцяпана Пуцілу і Рамана Пратасевіча ў спіс тэрарыстаў". Наша Ніва. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2021. สืบค้นเมื่อ 24 May 2021.
  2. "Бывший журналист Еврорадио Роман Протасевич попросил убежища в Польше". Новости Беларуси | euroradio.fm. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
  3. "Роман Протасевич: О политике в семье не говорим". belaruspartisan.by. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 24 May 2021.
  4. "В Минске задержаны модераторы социальных сетей". spring96.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
  5. "З журфака адлічылі блогера Рамана Пратасевіча". novychas.by. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 May 2021. สืบค้นเมื่อ 24 May 2021.
  6. "На вечере памяти Сергей Румас выступил перед австрийским канцлером по-белорусски". Новости Беларуси | euroradio.fm. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
  7. 7.0 7.1 "Кто такой Роман Протасевич: журналист, блогер, "террорист" – биография". officelife.media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
  8. 8.0 8.1 "Главный редактор Nexta Роман Протасевич уходит из проекта". 28 September 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.
  9. 9.0 9.1 9.2 ""Мне не по себе от кадров, где люди с дырками в теле". Интервью главреда Nexta - крупнейшего протестного канала в Беларуси". BBC News Русская служба. 12 August 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 23 May 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้