ประเทศบาห์เรน
บาห์เรน (อังกฤษ: Bahrain; อาหรับ: البحرين) หรือชื่อทางการ ราชอาณาจักรบาห์เรน (อังกฤษ: Kingdom of Bahrain; อาหรับ: مملكة البحرين) เป็นประเทศเกาะในอ่าวเปอร์เซีย โดยมีสะพานเชื่อมต่อกับซาอุดีอาระเบียที่อยู่ห่างจากเกาะประมาณ 28 กิโลเมตร คือ สะพานคิงฟะฮัด ซึ่งเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986 ส่วนสะพานมิตรภาพกาตาร์-บาห์เรน ที่กำลังอยู่ในระหว่างวางแผนงานนั้น จะเชื่อมต่อบาห์เรนเข้ากับกาตาร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และจะเป็นสะพานขึงที่ยาวที่สุดในโลก
ราชอาณาจักรบาห์เรน مملكة البحرين (อาหรับ) | |
---|---|
ที่ตั้งของ ประเทศบาห์เรน (ในสีเขียว) | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | มานามา 26°13′N 50°35′E / 26.217°N 50.583°E |
ภาษาราชการ | ภาษาอาหรับ[1] |
ภาษาอังกฤษ[2][3] | |
กลุ่มชาติพันธุ์ (พ.ศ. 2563[4]) |
|
ศาสนา | |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ |
สมเด็จพระราชาธิบดีฮะมัด บิน อีซา อัลเคาะลีฟะฮ์ | |
เจ้าชายซัลมาน มกุฎราชกุมารแห่งบาห์เรน | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
• สภาสูง | สภาที่ปรึกษา |
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร |
ได้รับเอกราช | |
• จากสหราชอาณาจักร | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514 |
• ประกาศเอกราช[5] | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2514 |
• ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร[6] | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514 |
• เป็นที่ยอมรับของสหประชาชาติ | 21 กันยายน พ.ศ. 2514 |
• ราชอาณาจักรบาห์เรน | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 |
พื้นที่ | |
• รวม | 785.08[7] ตารางกิโลเมตร (303.12 ตารางไมล์) (อันดับที่ 172) |
น้อยมาก | |
ประชากร | |
• พ.ศ. 2560 ประมาณ | 1,425,171[8] (อันดับที่ 149) |
• สำมะโนประชากร พ.ศ. 2563 | 1,501,635[4] |
1,912.7 ต่อตารางกิโลเมตร (4,953.9 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 3) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | พ.ศ. 2562 (ประมาณ) |
• รวม | $78.760 พันล้าน[9] (อันดับที่ 94) |
• ต่อหัว | $52,129[9] (อันดับที่ 19) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | พ.ศ. 2562 (ประมาณ) |
• รวม | $41.607 พันล้าน[9] (อันดับที่ 91) |
• ต่อหัว | $27,538[9] (อันดับที่ 33) |
เอชดีไอ (พ.ศ. 2562) | 0.852[10] สูงมาก · อันดับที่ 42 |
สกุลเงิน | ดีนาร์บาห์เรน (BHD) |
เขตเวลา | UTC+3 |
รหัสโทรศัพท์ | 973 |
โดเมนบนสุด | .bh |
บาห์เรนเป็นที่ตั้งของอารยธรรมดิลมุนโบราณ[11] และมีชื่อเสียงด้านการประมงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การล่าไข่มุก ซึ่งบริเวณแห่งนี้ถือว่าได้รับความนิยมที่สุดในโลกในศตวรรษที่ 19[12] บาห์เรนเป็นหนึ่งในพื้นที่แรกสุดที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลาม ในช่วงชีวิตของมูฮัมมัด หลังการปกครองของอาหรับ บาห์เรนถูกปกครองโดยจักรวรรดิโปรตุเกสตั้งแต่ พ.ศ. 2064 ถึง พ.ศ. 2145 หลังจากการพิชิตโดยชาห์อับบาสที่ 1 แห่งราชวงศ์ซาฟาวิด ใน พ.ศ. 2326 กลุ่ม Bani Utbah ได้ยึดครองบาห์เรนจาก Nasr Al-Madhkur ผู้ว่าการชาวอาหรับในสมัยศตวรรษที่ 18 และนับตั้งแต่นั้นมาก็ถูกปกครองโดยราชวงศ์คาลิฟา โดยมี เชคอะห์เหม็ด อิบน์ มุฮัมหมัด อิบน์ อัลเคาะลีฟะฮ์ เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของบาห์เรน
ในช่วงปลายทศวรรษ 1800 บาห์เรนกลายเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร จากการทำสนธิสัญญากับอังกฤษ ก่อนจะได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2514[13] แต่เดิมนั้นบาห์เรนเคยเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนเอมิเรตส์ บาห์เรนได้รับการประกาศให้เป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญของอิสลามใน พ.ศ. 2545 ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 บาห์เรนเจอปัญหาการประท้วงภายในประเทศซึ่งได้รับอิทธิพลจากอาหรับสปริงในภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยราชวงศ์คาลิฟาผู้ปกครองประเทศถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนของกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งมีผู้ไม่เห็นด้วยมากมาย รวมถึงนักการเมืองฝ่ายค้าน และประชากรมุสลิมชีอะฮ์ส่วนใหญ่[14][15]
เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง บาห์เรนได้พัฒนาเศรษฐกิจของตนเองจากการค้าน้ำมันมาหลายทศวรรษและเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ที่ทำการส่งออกน้ำมันในอ่าวเปอร์เซีย[16] ซึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนในภาคการธนาคารและการท่องเที่ยวเป็นเวลาหลายทศวรรษ[17] สถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลกหลายแห่งตั้งอยู่ในกรุงมานามาเมืองหลวงของประเทศ จึงมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงและได้รับการยอมรับจากธนาคารโลกว่าบาห์เรนมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ลำดับต้น ๆ ในตะวันออกกลางและเป็นประเทศที่มีรายได้สูง[18] บาห์เรนเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด สันนิบาตอาหรับ องค์การความร่วมมืออิสลาม และ คณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ
ภูมิศาสตร์
แก้ที่ตั้ง
แก้ทั้งเกาะบาห์เรนล้อมรอบด้วยอ่าวเปอร์เซีย
ลักษณะภูมิอากาศ
แก้ช่วงฤดูหนาว (ธันวาคม – มีนาคม) อุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 19 - 29 องศาเซลเซียส ช่วงฤดูร้อน (เดือนเมษายน-ตุลาคม) อากาศร้อนชื้น อุณหภูมิอาจสูงถึง 49 องศาเซลเซียส
ลักษณะภูมิประเทศ
แก้ภูมิประเทศเกือบทั้งหมดเป็นที่ราบต่ำในทะเลทราย ค่อย ๆ ชันขึ้น ทางตอนกลาง
ประวัติศาสตร์
แก้ประกาศเอกราช
แก้บาห์เรนเคยอยู่ใต้อารักขาของอังกฤษตั้งแต่ พ.ศ. 2363 โดยอำนาจการปกครองถูกแบ่งออกระหว่างเจ้าครองนครกับข้าหลวงอังกฤษ อิหร่านเคยอ้างสิทธิเหนือบาห์เรนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 แต่เมื่อ พ.ศ. 2523 อิหร่านยอมรับรายงานของ UN ที่แสดงข้อเท็จจริงว่าชาวบาห์เรนต้องการเป็นอิสระมากกว่าที่จะถูกรวมไว้กับอิหร่าน บาห์เรนได้รับเอกราชเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514 ตามสนธิสัญญามิตรภาพฉบับใหม่ที่ทำกับอังกฤษ หลังจากที่ความพยายามในการรวมประเทศกับกาตาร์และกลุ่มรัฐสงบศึก (ปัจจุบันคือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) เป็นสหพันธรัฐไม่ประสบความสำเร็จ
บาห์เรนเป็นประเทศแรกในอ่าวอาหรับที่ขุดพบน้ำมันดิบ ใน พ.ศ. 2475 และมีการสร้างโรงกลั่นน้ำมันขึ้น อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำมันดิบที่ขุดพบในบาห์เรนนับว่ามีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับคูเวตและซาอุดีอาระเบีย
การเมืองการปกครอง
แก้ราชาธิปไตยกึ่งรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นไปตามผลการลงประชามติของชาวบาห์เรนเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ปัจจุบัน คือ สมเด็จพระราชาธิบดีฮะมัด บิน อีซา อาล เคาะลีฟะฮ์ (His Majesty King Hamad Bin Isa Al Khalifa) เสด็จขึ้นครองราชย์ (ในฐานะเจ้าผู้ครองรัฐ) เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2542
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้ก่อนหน้า 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 ประเทศบาห์เรนแบ่งเขตการปกครองเป็นเทศบาลที่ปกครองจากเมืองหลวง (กรุงมานามา) 12 แห่ง ได้แก่
- อัลฮิดด์ (Al Hidd)
- อัลมะนามะห์ (Al Manamah)
- อัลมินตะเกาะห์อัลกะร์บียะห์ (Al Mintaqah al Gharbiyah)
- อัลมินตะเกาะห์อัลวุสตะ (Al Mintaqah al Wusta)
- อัลมินตะเกาะห์อัลชะมาลียะห์ (Al Mintaqah al Shamaliyah)
- อัลมุฮาร์รัก (Al Muharraq)
- อาร์ริฟาวาอัลมินตะเกาะห์อัลจะนูบียะห์ (Ar Rifa' wa al Mintaqah al Janubiyah)
- จิดด์ฮัฟส์ (Jidd Haffs)
- มะดีนัตฮามัด (Madinat Hamad ไม่แสดงบนแผนที่ แบ่งจากเทศบาลอาร์ริฟาฯ เมื่อ พ.ศ. 2534)
- มะดีนัตอิซา (Madinat 'Isa)
- จุซูร์ฮะวาร์ (Juzur Hawar)
- ซิตระห์ (Sitrah)
หลังจากวันดังกล่าวบาห์เรนได้กำหนดเขตการปกครองใหม่ซึ่งแบ่งเป็น 5 เขตผู้ว่าราชการ (governorates) ได้แก่ 1 เขตผู้ว่าราชการเหนือ (Northern) 2 เขตผู้ว่าราชการเมืองหลวง (Capital) 3 เขตผู้ว่าราชการมุฮัรร็อก (Muharraq) 4 เขตผู้ว่าราชการกลาง (Central) และ 5 เขตผู้ว่าราชการใต้ (Southern)[19] ต่อมาเขตผู้ว่าราชการกลางถูกยกเลิกไปรวมกับเขตผู้ว่าราชการเหนือ เขตผู้ว่าราชการใต้ และเขตผู้ว่าราชการเมืองหลวง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2557[20] ทำให้ปัจจุบันบาห์เรนมีเขตปกครองทั้งสิ้น 4 แห่งดังนี้
การต่างประเทศ
แก้บาห์เรนได้สร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีกับ 190 ประเทศทั่วโลก[21] ในปี 2012 บาห์เรนมีเครือข่ายสถานทูต 25 แห่ง สถานกงสุล 3 แห่ง และคณะผู้แทนถาวร 4 แห่งของสันนิบาตอาหรับ สหประชาชาติ และสหภาพยุโรปตามลำดับ บาห์เรนยังมีสถานทูต 36 แห่งทั่วโลก[22] บาห์เรนยึดมั่นในมุมมองของสันนิบาตอาหรับเกี่ยวกับสันติภาพในตะวันออกกลางและสิทธิของชาวปาเลสไตน์โดยสนับสนุนการแก้ปัญหาของทั้งสองรัฐ[23] บาห์เรนยังเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งของคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ[24] ความสัมพันธ์กับอิหร่านมีแนวโน้มที่จะตึงเครียดอันเป็นผลมาจากการรัฐประหารที่ล้มเหลวในปี พ.ศ. 2524 ซึ่งบาห์เรนตำหนิอิหร่านและมีการเรียกร้องอธิปไตยของอิหร่านเหนือบาห์เรนเป็นครั้งคราวโดยประชาชนชาวอิหร่าน ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองชาติตึงเครียดถึงปัจจุบัน[25]
บาห์เรนได้ต้อนรับสมาชิกคณะรัฐมนตรีของอิสราเอล Yossi Sarid ณ กรุงมานามาเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2563 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 หลังจากที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประกาศความสัมพันธ์เชิงสันติกับอิสราเอล บาห์เรนประกาศว่าจะอนุญาตให้เที่ยวบินเชิงพาณิชย์ทั้งหมดที่มาจากอิสราเอลบินผ่านน่านฟ้าของตน เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2563 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดอนัลด์ ทรัมป์ ประกาศว่าจะขอเป็นตัวแทนในการเจรจาสันติภาพระหว่างบาห์เรนและอิสราเอล เพื่อทำให้ความสัมพันธ์เป็นปกติภายใต้ข้อตกลงสันติภาพบาห์เรน–อิสราเอล
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
แก้ไทยและบาห์เรนได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2520 ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิด บาห์เรนถือเป็นพันธมิตรที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคตะวันออกกลางและมีบทบาทเป็นสะพานเชื่อมไทยสู่ประเทศในตะวันออกกลางในหลายมิติ
กองทัพ
แก้ประเทศบาห์เรนไม่มีกองทัพอย่างเป็นทางการ แต่มีกองกำลังป้องกันตัวเอง ที่เรียกว่ากองกำลังป้องกันประเทศบาห์เรน (Bahren Defence Force หรือ BDF) ซึ่งมีอุปกรณ์และอาวุธสงครามครบครันซึ่งมีกำลังพลประมาณ 13,000 นาย[26] ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพบาห์เรนคือ King Hamad bin Isa Al Khalifa และรองผู้บัญชาการสูงสุดคือมกุฎราชกุมาร Salman bin Hamad bin Isa Al Khalifa[27][28]
กองกำลังของบาห์เรนนั้นสั่งซื้ออาวุธสงครามจากสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก[29] เช่น เครื่องบินรบ F-16 Fighting Falcon, F-5 Freedom Fighter, UH-60 Blackhawk, รถถัง M60A3 และเรือรบฟริเกตคลาส Oliver Hazard Perry ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น RBNS Sabha[30][31]
รัฐบาลบาห์เรนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา โดยได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับกองทัพสหรัฐฯ และได้จัดหาฐานทัพให้แก่กองทัพสหรัฐในจัฟแฟร์ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 โดยที่นี่คือบ้านของกองบัญชาการกองบัญชาการกองบัญชาการกลางกองทัพเรือสหรัฐฯ (COMUSNAVCENT) / กองเรือที่ห้าของสหรัฐอเมริกา (COMFIFTHFLT) และบุคลากรทางทหารประมาณ 6,000 นายของสหรัฐฯ ประจำการอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน[32]
บาห์เรนเข้าร่วมการแทรกแซงในประเทศเยเมนที่นำโดยซาอุดีอาระเบีย ในการต่อต้านชีอะห์ฮูซีและกองกำลังที่ภักดีต่ออดีตประธานาธิบดีอาลี อับดุลลาห์ ซาเลห์[33]
เศรษฐกิจ
แก้โครงสร้าง
แก้ตามรายงานของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียตะวันตกในเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 บาห์เรนมีเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกอาหรับ[34] บาห์เรนยังมีเศรษฐกิจที่เสรีที่สุดในตะวันออกกลางและรวมกันเป็นอันดับที่สิบสองของโลกโดยอิงจากดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจประจำปี พ.ศ. 2554 ที่ตีพิมพ์โดยมูลนิธิเฮอริเทจ/เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล[35]
ในปี พ.ศ. 2551 บาห์เรนได้รับเลือกให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกโดยดัชนี Global Financial Centres ของนครลอนดอน ภาคการธนาคารและบริการทางการเงินของบาห์เรน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการธนาคารอิสลาม ได้รับประโยชน์จากความเฟื่องฟูของภูมิภาคซึ่งได้แรงหนุนจากความต้องการน้ำมัน การผลิตและการแปรรูปปิโตรเลียมเป็นผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกมากที่สุดของบาห์เรน โดยคิดเป็น 60% ของรายรับจากการส่งออก 70% ของรายได้ของรัฐบาล และ 11% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) การผลิตอะลูมิเนียมเป็นสินค้าส่งออกมากเป็นอันดับสอง รองลงมาคือกิจกรรมทางการเงินและวัสดุก่อสร้าง
บาห์เรนเป็นที่ตั้งของบริษัทข้ามชาติหลายแห่งและดำเนินการก่อสร้างในโครงการอุตสาหกรรมที่สำคัญหลายโครงการ การส่งออกส่วนใหญ่ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ทำจากน้ำมันดิบนำเข้า ซึ่งคิดเป็น 51% ของการนำเข้าของประเทศในปี พ.ศ. 2550[36] บาห์เรนพึ่งพาการนำเข้าอาหารจากชาติอื่นเพื่อเลี้ยงประชากร[37] โดยอาศัยการนำเข้าเนื้อสัตว์จากออสเตรเลียและกว่า 75% ของปริมาณผลไม้ต้องนำเข้าจากยุโรปและออสเตรเลีย เนื่องจากบาห์เรนมีเนื้อที่เพาะปลูกและการทำเกษตรเพียง 2.9% ของประเทศ ในปี พ.ศ. 2547 บาห์เรนได้ลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรีบาห์เรน–สหรัฐฯ ซึ่งจะช่วยลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างสองประเทศ จากการสำรวจในปี 2011 เนื่องจากการรวมกันของวิกฤตการเงินโลกและความไม่สงบในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้อัตราการเติบโตของจีดีพีลดลงเหลือ 1.3% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 1994[38]
สถานการณ์ปัจจุบัน
แก้- อัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 6.1 (ไทย 2.6%)
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 18.97 พันล้าน USD (ไทย 273.4 พันล้าน USD)
- รายได้ประชาชาติต่อหัว 18,979 USD (ไทย 4,081 USD)
- ปริมาณน้ำมันสำรอง 125 ล้านบาร์เรล
การท่องเที่ยว
แก้บาห์เรนมีจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 8 ล้านคนในปี 2008[39] โดยส่วนมากเป็นชาวมุสลิมจากประเทศเพื่อนบ้าน[40] ประเทศบาห์เรนมีสถานที่ดึงดูดคือตึกสูงใหญ่ที่สามารถชมทัศนียภาพอันสวยงามทั่วเมือง และสนามแข่งฟอร์มูลาวัน ที่มีชื่อเสียง
สถานที่ท่องเที่ยวของบาห์เรนเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมอาหรับสมัยใหม่เข้ากับมรดกทางโบราณคดีของอารยธรรมโบราณซึ่งมีอายุกว่าห้าพันปี[41] เกาะแห่งนี้เป็นที่ตั้งของป้อมปราการต่าง ๆ รวมถึง Qalat Al Bahrain ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบาห์เรนมีสิ่งประดิษฐ์จากประวัติศาสตร์ของประเทศย้อนหลังไปถึงมนุษย์คนแรกของเกาะเมื่อ 9,000 ปีที่แล้วและ Beit Al Quran (อาหรับ: بيت القرآن ความหมาย: บ้านของ Qur'an) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บสิ่งประดิษฐ์ของศาสนาอิสลาม คัมภีร์กุรอ่าน สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับความนิยมบางแห่งในราชอาณาจักร ได้แก่ มัสยิด Al Khamis ซึ่งเป็นหนึ่งในมัสยิดที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาค ป้อม Arad ใน Muharraq วัด Barbar ซึ่งเป็นวัดโบราณจากสมัย Dilmunite ของบาห์เรนเช่นกัน
กิจกรรมอื่น ๆ ที่ได้รับความนิยมสูง ได้แก่ การดูนก การชมธรรมชาติ การดำน้ำลึก และการขี่ม้า นอกจากนี้ห้างสรรพสินค้าในกรุงมานามายังถือเป็นห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดแห่งหนึ่งในตะวันออกกลาง โดยลูกค้าส่วนมากมาจากซาอุดิอาระเบีย
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 สำนักข่าวบาห์เรนที่ดำเนินการโดยรัฐได้ประกาศเปิดสวนสนุกใต้น้ำในช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ. 2562 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 100,000 ตารางเมตร โดยมีเครื่องบินโบอิง 747 ที่จมอยู่ใต้น้ำเป็นจุดศูนย์กลางของสถานที่[42] โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง Supreme Council for Environment, Bahrain Tourism and Exhibitions Authority (BTEA) และนักลงทุนเอกชน บาห์เรนหวังว่านักดำน้ำจากทั่วโลกจะมาเยือนอุทยานใต้น้ำ ซึ่งจะรวมถึงแนวปะการังเทียม บ้านพ่อค้าไข่มุกบาห์เรน และงานประติมากรรมต่าง ๆ สวนสนุกแห่งนี้ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นสวนสนุกใต้น้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 บาห์เรนเป็นเจ้าภาพจัดงานเทศกาลประจำปีในเดือนมีนาคมในชื่อ Spring of Culture[43] ซึ่งมีนักดนตรีและศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติมาแสดงคอนเสิร์ต มานามาได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงแห่งวัฒนธรรมอาหรับประจำปี พ.ศ. 2555 และเมืองหลวงแห่งการท่องเที่ยวอาหรับประจำปี พ.ศ. 2556 โดยสันนิบาตอาหรับและการท่องเที่ยวแห่งเอเชียประจำปี พ.ศ. 2557 โดยได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงแห่งการท่องเที่ยวแห่งอ่าวปี พ.ศ. 2559 โดยคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ
คมนาคม และ โทรคมนาคม
แก้คมนาคม
แก้สายการบินแห่งชาติ คือ สายการบิน กัล์ฟแอร์ ให้บริการในเส้นทางต่างประเทศทั้งหมด 40 เมืองทั่วโลก ใน แอฟริกา เอเชีย ยุโรป ตะวันออกกลาง
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สาธารณสุข
แก้บาห์เรนมีระบบการดูแลสุขภาพที่เป็นมาตรฐานสากล[44] ย้อนหลังไปถึงปี พ.ศ. 2503 การดูแลสุขภาพที่รัฐบาลจัดให้นั้นฟรีสำหรับพลเมืองบาห์เรนและให้เงินอุดหนุนจำนวนมากสำหรับผู้ที่ไม่ใช่ชาวบาห์เรน ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลคิดเป็น 4.5% ของจีดีพี[45] ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก แพทย์และพยาบาลของบาห์เรนเป็นแรงงานส่วนใหญ่ของประเทศในภาคส่วนด้านสุขภาพ ซึ่งแตกต่างจากรัฐในอ่าวที่อยู่ใกล้เคียง โรงพยาบาลแห่งแรกในบาห์เรนคือโรงพยาบาลอเมริกัน มิชชั่น ซึ่งเปิดในปี พ.ศ. 2436
อายุเฉลี่ยของประชากรในบาห์เรนคือ 73 ปี สำหรับผู้ชาย และ 76 ปีสำหรับผู้หญิง เมื่อเทียบกับหลายประเทศในภูมิภาค ความชุกในการเกิดของโรคเอดส์ มาลาเรีย และวัณโรคค่อนข้างต่ำ กระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรคและโรคอื่น ๆ เป็นประจำ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี[46]
ประชากรศาสตร์
แก้เชื้อชาติ
แก้ศาสนา
แก้ประชากรส่วนมากของประเทศนับถือ และยึดศาสนาอิสลามเป็นแบบแผน ในการดำเนินชีวิต ซึ่งจะเห็นได้ว่าสิ่งก่อสร้าง โบราณวัตถุ โบราณสถาน วัฒนธรรมต่าง ๆ เป็นสิ่งสะท้อนอิทธิพลของศาสนาอิสลามให้เห็นเด่นชัดในประเทศบาห์เรน และประชากรส่วนมากพูดภาษาอาหรับซึ่งใช้กันในแถบภูมิภาคนี้
ภาษา
แก้มี ภาษาอาหรับ เป็นภาษาราชการ
กีฬา
แก้ฟุตบอล
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบาห์เรน ฟุตบอลทีมชาติบาห์เรนได้เข้าแข่งขันหลายครั้งใน เอเชียนคัพ, Arab Nations Cup และเล่นในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลกทุกครั้งแม้ว่าจะไม่ยังเคยผ่านเข้ารอบสุดท้ายฟุตบอลโลก
วัฒนธรรม
แก้การแต่งกาย
แก้เนื่องจากประเทศในแถบคาบสมุทรอาหรับเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศร้อนและแห้งแล้ง อีกทั้งประชาชนยังนับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการแต่งตัวไว้อย่างเคร่งครัด ทำให้ชาวอาหรับแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่หลวมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก แต่ปกปิดร่างกายอย่างมิดชิดทั้งผู้ชายและผู้หญิงเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียความชุ่มชื้น ผู้ชายจะใส่ชุดสีขาว เรียกว่า "โต๊ป" (Thobe) ส่วนผู้หญิงต้องสวมใส่เสื้อคลุมสีดำที่เรียกว่า "อาบายะห์" (Abaya)
ศิลปะ
แก้ศิลปะสมัยใหม่ในประเทศเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในทศวรรษ 1950 ส่งผลให้มีการก่อตั้งสังคมศิลปะ Expressionism และ surrealism เช่นเดียวกับศิลปะการประดิษฐ์ตัวอักษรเป็นรูปแบบศิลปะที่ได้รับความนิยมในประเทศ การแสดงออกทางนามธรรมได้รับความนิยมในทศวรรษที่ผ่านมา การผลิตเครื่องปั้นดินเผาและการทอผ้ายังเป็นผลิตภัณฑ์ยอดนิยมที่ผลิตขึ้นอย่างแพร่หลายในหมู่บ้านบาห์เรน การประดิษฐ์ตัวอักษรภาษาอาหรับได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเมื่อรัฐบาลบาห์เรนเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะอิสลามซึ่งมีจุดสิ้นสุดในการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์อิสลาม Beit Al Quran
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบาห์เรนจัดแสดงนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยถาวร เทศกาล Spring of Culture ประจำปี ที่จัดขึ้นโดย Bahrain Authority for Culture and Antiquities ได้กลายเป็นงานยอดนิยมที่ส่งเสริมศิลปะการแสดงในราชอาณาจักร สถาปัตยกรรมของประเทศบาห์เรนคล้ายกับประเทศเพื่อนบ้านในอ่าวเปอร์เซีย หอลมซึ่งสร้างการระบายอากาศตามธรรมชาติในบ้าน เป็นภาพที่เห็นได้ทั่วไปในอาคารเก่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมืองเก่าของมานามาและมูฮาร์รัก[47][48][49]
วรรณกรรม
แก้วรรณคดียังคงเป็นปัจจุยสะท้อนวัฒนธรรมที่เข้มแข็งในประเทศ นักเขียนและกวีดั้งเดิมส่วนใหญ่เขียนในสไตล์อาหรับคลาสสิก ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จำนวนกวีรุ่นเยาว์ที่ได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมตะวันตกเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เขียนเป็นกลอนอิสระและมักรวมถึงเนื้อหาทางการเมืองหรือเรื่องส่วนตัว
วันหยุด
แก้วันที่ | ภาษาอังกฤษ | ภาษาอาหรับ | ความหมาย |
---|---|---|---|
1 มกราคม | New Year's Day | رأس السنة الميلادية | วันปีใหม่สากล |
1 พฤษภาคม | Labour Day | يوم العمال | วันแรงงาน |
16 ธันวาคม | National Day | اليوم الوطني | วันชาติ[50] |
17 ธันวาคม | Accession Day | يوم الجلوس | |
1 มุฮัรร็อม | Islamic New Year | رأس السنة الهجرية | วันขึ้นปีใหม่ของชาวมุสลิม เดือนแรกของปฏิทินฮิจเราะห์หรือปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนที่มุสลิมชีอะฮ์ไว้อาลัยต่ออิหม่ามฮุซัยน์ หลานตาศาสนทูตมุฮัมมัด |
9, 10 มุฮัรร็อม | Day of Ashura | عاشوراء | วันระลึกถึงการพลีชีพของอิหม่ามฮุสเซน |
12 เราะบีอุลเอาวัล | Prophet Muhammad's birthday | المولد النبوي | เป็นการระลึกถึงวันเกิดของท่านศาสดามูฮัมหมัด ซึ่งเฉลิมฉลองกันส่วนใหญ่ในโลกมุสลิม |
1, 2, และ 3 เชาวาล | Little Feast | عيد الفطر | ระลึกถึงการสิ้นสุดของเดือนรอมฎอน |
9 ษุลฮิจญ์ญะฮ์ | Arafat Day | يوم عرفة | การรำลึกถึงการเทศนาครั้งสุดท้ายของมูฮัมหมัดและการสิ้นสุดข้อความของศาสนาอิสลาม |
10, 11, 12, และ 13 ษุลฮิจญ์ญะฮ์ | Feast of the Sacrifice | عيد الأضحى | รำลึกถึงความเต็มใจของอิบราฮิมที่จะเสียสละลูกชายของเขา เรียกอีกอย่างว่างานฉลองใหญ่ (ฉลองตั้งแต่วันที่ 10 ถึง 13) |
อ้างอิง
แก้- ↑ "CONSTITUTION OF THE KINGDOM OF BAHRAIN (ISSUED IN 2002) AND ITS AMENDMENTS (ISSUED IN 2012)" (PDF). National Institution for Human Rights. National Institute for Human Rights. สืบค้นเมื่อ 31 August 2020.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อBO
- ↑ "Living in Bahrain". BSB. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 24, 2012. สืบค้นเมื่อ June 7, 2017.
- ↑ 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCensus2020
- ↑ "Bahrain ends special pact". The Straits Times. 15 August 1971.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCIA
- ↑ "some spreadsheet". data.gov.bh. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-11. สืบค้นเมื่อ 4 August 2021.
- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 "World Economic Outlook Database, October 2018". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
- ↑ Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
- ↑ "Saudi Aramco World : Oman: The Lost Land". archive.aramcoworld.com.
- ↑ Baynes, T. S., ed. (1878), Bahrein, 3 (9th ed.), New York: Charles Scribner's Sons, p. 240
- ↑ "The history of British involvement in Bahrain's internal security". openDemocracy (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Staff, By the CNN Wire. "Bahrain says ban on protests is response to rising violence". CNN.
- ↑ "How Bahrain uses sport to whitewash a legacy of torture and human rights abuses | David Conn". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2017-07-17.
- ↑ http://www.jepeterson.net/sitebuildercontent/sitebuilderfiles/Peterson_Bahrain_Reforms.pdf
- ↑ "Bahrain Financial Services". web.archive.org. 2010-12-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-28. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Bahrain". IMUNA | NHSMUN | Model UN (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ กฤษฎีกาจัดตั้งเขตผู้ว่าราชการ
- ↑ "The Gulf Daily News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2016-08-23.
- ↑ "Bilateral Relations". www.mofa.gov.bh (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Ministry of Foreign Affairs". www.mofa.gov.bh (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "login". www.mofa.gov.bh (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "The Cooperation Council For The Arab States of The Gulf - Secretariat General". web.archive.org. 2012-07-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-16. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Local, N. Y. U. (2016-11-16). "A Bahraini Hunger Strike And An Inhumane Argument". Medium (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Bahrain". U.S. Department of State.
- ↑ "عن بنا | وكالة أنباء البحرين". www.bna.bh.
- ↑ "H.R.H. the Crown Prince and Prime Minister". www.mofa.gov.bh (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-19. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
- ↑ "Frigate Photo Index FFG-24 USS JACK WILLIAMS". www.navsource.org.
- ↑ "Bahrain News Agency". www.bna.bh.
- ↑ Allison, George (2020-08-07). "HMS Clyde sold to Bahrain" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ Bandow, Doug. "U.S. Hypocrisy on Parade: Washington Arms Bahrain, Denounces Russia For Arming Syria". Forbes (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Bloomberg - Are you a robot?". www.bloomberg.com.
{{cite web}}
: Cite ใช้ชื่อทั่วไป (help) - ↑ "Index of Economic Freedom: Promoting Economic Opportunity and Prosperity by Country". www.heritage.org (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ https://www.arabianbusiness.com/index.php?option=com_content&view=article&id=7116
- ↑ "Open Data Platform". data.footprintnetwork.org.
- ↑ "DailyTribune - Business News". web.archive.org. 2013-01-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-17. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Bahrain profile - Timeline". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-11-12. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
- ↑ "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. 2011-08-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-12. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Bahrainguide · Popular Attractions". web.archive.org. 2012-09-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-23. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Tourism". www.mofa.gov.bh (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "The World’s Largest Underwater Theme Park Is Coming to Bahrain". Travel + Leisure (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Bahrain's 'Spring of Culture Festival' opens". www.tradearabia.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-19. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
- ↑ "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. 2013-01-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-17. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. 2012-02-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-27. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. 2013-01-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-17. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ Bloom, Jonathan; Blair, Sheila S.; Blair, Sheila (2009-05-14). Grove Encyclopedia of Islamic Art & Architecture: Three-Volume Set (ภาษาอังกฤษ). OUP USA. ISBN 978-0-19-530991-1.
- ↑ "Bahrain's Art and Culture Scenes. Nafas Art Magazine". web.archive.org. 2016-08-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-10. สืบค้นเมื่อ 2021-08-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Bahrain Authority for Culture and Antiquities - Kingdom of Bahrain | Home". culture.gov.bh.
- ↑ Joyce, M. (2012). Bahrain from the Twentieth Century to the Arab Spring. Springer. p. 52. ISBN 9781137031792.
บรรณานุกรม
แก้- Baynes, T. S., บ.ก. (1878), Encyclopædia Britannica, vol. 3 (9th ed.), New York: Charles Scribner's Sons, p. 240 ,
- Cole, Juan R. I. (1987). "Rival Empires of Trade and Imami Shiism in Eastern Arabia, 1300–1800". International Journal of Middle East Studies. 19 (2): 177–203. doi:10.1017/s0020743800031834. ISSN 0020-7438. JSTOR 163353. S2CID 162702326.
- Holdich, Thomas Hungerford (1911). . ใน Chisholm, Hugh (บ.ก.). สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 3 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 212.
- Larsen, Curtis (1983). Life and Land Use on the Bahrain Islands: The Geoarcheology of an Ancient Society. University of Chicago Press. ISBN 978-0-226-46906-5.
- Mojtahed-Zadeh, Pirouz (1999). Security and Territoriality in the Persian Gulf: A Maritime Political Geography. Routledge. ISBN 978-0-7007-1098-0.
- บทความนี้รวมข้อความจากงานที่มีเนื้อหาเสรี (free content) ลิขสิทธิ์ภายใต้ CC BY-SA IGO 3.0 ข้อความนำมาจาก UNESCO Science Report: towards 2030, ??, UNESCO, UNESCO Publishing.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Official government portal
- Kingdom of Bahrain, Ministry of Foreign Affairs website
- Bahrain entry at The World Factbook
- ประเทศบาห์เรน แหล่งข้อมูลบนเครือข่ายเว็บจัดทำโดย GovPubs ที่หอสมุดมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์
- ประเทศบาห์เรน ที่เว็บไซต์ Curlie
- Bahrain profile from the BBC News
- Wikimedia Atlas of Bahrain
- คู่มือการท่องเที่ยว ประเทศบาห์เรน จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)
- Key Development Forecasts for Bahrain from International Futures