ราชวงศ์โก้นบอง

ไม่ใช้เชื่อพระวงค์ แต่มีสิทธิ์ในการจัดการเเละดูแลดั่งเชื้อพระวงค์
(เปลี่ยนทางจาก ราชวงศ์อลองพญา)

ราชวงศ์โก้นบอง (พม่า: ကုန်းဘောင်ခေတ်, ออกเสียง: [kóʊ̯ɰ̃.bàʊ̯ɰ̃ kʰɪʔ], กุน์ะเภาง์) ราชวงศ์อลองพญา หรือ ราชวงศ์คองบอง[3] หรือเป็นที่รู้จักใน จักรวรรดิพม่าที่สาม (တတိယမြန်မာနိုင်ငံတော်) เป็นราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์พม่า และเป็นราชวงศ์สุดท้ายของพม่า ก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร และสิ้นสุดการปกครองระบอบราชาธิปไตยของพม่า

จักรวรรดิพม่าที่สาม
โก้นบอง

ကုန်းဘောင်
ค.ศ. 1752–ค.ศ. 1885
เพลงชาติစံရာတောင်ကျွန်းလုံးသူ့
จักรวรรดิโก้นบองในเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2310
จักรวรรดิโก้นบองในเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2310
จักรวรรดิโก้นบองในปี พ.ศ. 2367
จักรวรรดิโก้นบองในปี พ.ศ. 2367
สถานะจักรวรรดิ
เมืองหลวงชเวโบ (ค.ศ. 1752–1760)

ซะไกง์ (ค.ศ. 1760–1765)
อังวะ (ค.ศ. 1765–1783, 1821–1842)
อมรปุระ (ค.ศ. 1783–1821, 1842–1859)

มัณฑะเลย์ (1859–1885)
ภาษาทั่วไปภาษาพม่า
ศาสนา
พุทธศาสนาเถรวาท
การปกครองราชาธิปไตย
พระมหากษัตริย์ 
• ค.ศ. 1752–1760
พระเจ้าอลองพญา (แรก)
• ค.ศ. 1878–1885
พระเจ้าธีบอ (สุดท้าย)
สภานิติบัญญัติปยีดองซุลุตอ
ยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่ตอนต้น
• ก่อตั้งราชวงศ์
29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1752
• รวบรวมอาณาจักรในพม่า
ค.ศ. 1752–1757
• สงครามกับสยาม
ค.ศ. 1760–1854
ค.ศ. 1765–1769
ค.ศ. 1824–1826, ค.ศ. 1852, ค.ศ. 1885
• ราชวงศ์ล่มสลาย
29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1885
พื้นที่
ค.ศ. 1824 [2]794,000 ตารางกิโลเมตร (307,000 ตารางไมล์)
ค.ศ. 1826584,000 ตารางกิโลเมตร (225,000 ตารางไมล์)
ค.ศ. 1852470,000 ตารางกิโลเมตร (180,000 ตารางไมล์)
ค.ศ. 1875460,000 ตารางกิโลเมตร (180,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• ค.ศ. 1824 [2]
3 ล้านคน
สกุลเงินจัต (ค.ศ. 1852)
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ตองอู
อาณาจักรหงสาวดีใหม่
อาณาจักรมเยาะอู้
อาณาจักรอยุธยา
บริติชราช
พม่าภายใต้การปกครองของบริเตน
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ พม่า
 ไทย
 ลาว
 จีน
 อินเดีย

ราชวงศ์อลองพญานั้นได้รับการสถาปนาขึ้นโดยการเสวยราชสมบัติของพระเจ้าอลองพญาในปี ค.ศ. 1752 (พ.ศ. 2295) พระองค์ขับไล่ชาวมอญและยึดครองอาณาจักรมอญได้อีกครั้งในปี ค.ศ. 1759 (พ.ศ. 2302) ภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์ตองอู ทั้งยังสามารถกลับเข้ายึดครองเมืองมณีปุระได้ในช่วงเวลาเดียวกัน ทรงสถาปนาเมืองชเวโบขึ้นเป็นราชธานี ก่อนจะย้ายไปที่อังวะและทรงพัฒนาเมืองย่างกุ้ง หมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ ขึ้นเป็นเมืองท่าสำคัญ

ต่อมาพระเจ้าอลองพญาได้ทรงนำทัพบุกกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากทางอยุธยาได้ให้การสนับสนุนมอญที่ลี้ภัยสงครามเข้ามาพึ่งกษัตริย์ไทย ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศและไม่พอใจที่อยุธยายึดเรือสินค้าที่จะเดินทางมาค้าขายกับพม่าที่เมืองมะริด โดยเดินทัพเข้ามาทางด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จและสิ้นพระชนม์หลังจากการทำสงครามครั้งนั้น พระเจ้ามังระผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์ได้สืบทอดเจตนารมณ์ของพระราชบิดาต่อ โดยได้ส่งทัพใหญ่มา 2 ทางล้อมกรุงศรีอยุธยาในปี ค.ศ. 1764 (พ.ศ. 2307) ทางหนึ่งให้เนเมียวสีหบดีนำพลเข้ามาทางเหนือด้วยการตีล้านนา ล้านช้างและหัวเมืองเหนือก่อน และอีกทางหนึ่งให้มังมหานรธานำกองทัพเข้ามาทางใต้ ทั้ง 2 ทัพเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้นานถึง 1 ปีครึ่งแม้ผ่านฤดูน้ำหลากก็ไม่ยกทัพกลับ ภายหลังแม่ทัพฝ่ายใต้ คือ มังมหานรธา เสียชีวิตลงก็ส่งแม่ทัพคนใหม่จากเมืองเมาะตะมะชื่อ เมงเยเมงละอูสะนา เข้ามาทำหน้าที่แทนจนในที่สุดก็สามารถตีกรุงศรีอยุธยาแตกได้ในปี ค.ศ. 1767 (พ.ศ. 2310) แต่กองทัพพม่าก็อยู่ได้ไม่นานเนื่องจากพระเจ้ามังระทรงให้เร่งทำการและรีบกลับเพื่อทำสงครามกับจีนในรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลง

ถึงแม้อาณาจักรอยุธยาจะถูกทำลายแต่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงสถาปนาศูนย์กลางอำนาจขึ้นมาใหม่ที่กรุงธนบุรี พระเจ้ามังระจึงทรงส่งแม่ทัพคนใหม่มา คือ อะแซหวุ่นกี้ นำทัพใหญ่เข้ามาปราบปรามฝ่ายธนบุรีในปี ค.ศ. 1775 (พ.ศ. 2318) อะแซหวุ่นกี้สามารถตีหัวเมืองพิษณุโลกแตกและกำลังจะยกทัพตามลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ก็ต้องยกทัพกลับเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้ามังระในปี ค.ศ. 1776 (พ.ศ. 2319) จากนั้นก็เกิดการแย่งชิงราชสมบัติราว 4–5 ปี ก่อนที่จะกลับมามีความมั่นคงขึ้นอีกครั้งในรัชสมัยของพระเจ้าปดุง พระองค์ทรงยกทัพเข้าตีดินแดนยะไข่ได้สำเร็จ ซึ่งไม่เคยมีกษัตริย์พม่าพระองค์ใดทำได้มาก่อน ทำให้พระองค์เกิดความฮึกเหิม ยกกองทัพใหญ่มา 9 ทัพ 5 เส้นทาง ที่เรียกว่า สงครามเก้าทัพ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

ในรัชสมัยพระเจ้าจักกายแมง พม่าได้ยึดครองแคว้นอัสสัมของอินเดียได้สำเร็จ ทำให้พม่าต้องเผชิญหน้ากับจักรวรรดิอังกฤษซึ่งกำลังล่าอาณานิคมอยู่ในขณะนั้น ก่อให้เกิดเป็นสงครามที่เรียกว่า "สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่หนึ่ง" กินระยะเวลา 2 ปี คือ ค.ศ. 1824–1826 (พ.ศ. 2367–2369) สงครามจบลงด้วยชัยชนะของอังกฤษด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่า มหาบัณฑุละ แม่ทัพพม่าที่เลื่องชื่อก็เสียชีวิตลง ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญาชื่อ สนธิสัญญารานตะโบ พม่าจำต้องยกเมืองที่สำคัญให้แก่อังกฤษ เช่น มณีปุระ ยะไข่ ตะนาวศรี

ต่อมาได้มีการละเมิดสนธิสัญญาฉบับนี้ทำให้เกิดสงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สองและจบลงด้วยชัยชนะของอังกฤษ ในรัชสมัยของพระเจ้ามินดงพระองค์พยายามที่จะฟื้นฟูความเข้มแข็งของอาณาจักรขึ้นมาอีกครั้ง โดยสถาปนามัณฑะเลย์ขึ้นเป็นราชธานีมีการสร้างพระราชวังอย่างใหญ่โต แต่ในรัชสมัยของพระโอรสของพระองค์ คือ พระเจ้าธีบอ พระองค์ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ทั้งในและนอกประเทศไว้ได้ทำให้นำไปสู่การทำสงครามกับอังกฤษอีกครั้ง และครั้งนี้อังกฤษสามารถครอบครองพม่าไว้ได้หมดทั้งประเทศในปี พ.ศ. 2428 ทำให้พระเจ้าธีบอถูกบังคับให้สละราชสมบัติและเนรเทศไปอยู่ที่อินเดียหลังสิ้นสงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สาม ทรงเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าและเป็นการสิ้นสุดระบอบกษัตริย์ในพม่าที่มีมายาวนาน

ราชวงศ์โก้นบอง มีกษัตริย์ทั้งหมด 11 พระองค์ กินระยะเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1752 (พ.ศ. 2295) จนถึงปี ค.ศ. 1885 (พ.ศ. 2428) มีเมืองหลวงหลายเมือง ทั้งชเวโบ ซะไกง์ อังวะ อมรปุระ และมัณฑะเลย์

ลำดับกษัตริย์

แก้
ลำดับที่[4] พระฉายาลักษณ์ พระนามภาษาไทย พระนามภาษาพม่า ความหมายของ
พระนาม
ตำแหน่ง/ความสัมพันธ์กับกษัตริย์ลำดับก่อนหน้า ครองราชย์ (ค.ศ.) หมายเหตุ
1   พระเจ้าอลองพญา[5] အလောင်းမင်းတရား
อะล่องมี่นตะย่า,
အလောင်းဘုရား
อะล่องพะย่า
หน่อพระพุทธเจ้า นายบ้านมุกโชโบ 1752–1760 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์อลองพญา ผู้ทรงนำทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยาใน ค.ศ. 1760 (พ.ศ. 2303)
2 พระเจ้ามังลอก[6] နောင်တော်ကြီးမင်း
นองดอจี้มี่น
พระบรมเชษฐาธิราช[7] พระราชโอรส
(พระราชโอรสพระองค์โตในพระเจ้าอลองพญา)
1760–1763 ร่วมทัพในศึกกรุงศรีอยุธยา ค.ศ. 1760
3 พระเจ้ามังระ[8] ဆင်ဖြူရှင်မင်း
ซีน-พยูชีนมี่น
พระเจ้าช้างเผือก พระอนุชา
(พระราชโอรสพระองค์ที่ 2 ในพระเจ้าอลองพญา)
1763–1776 พิชิตกรุงศรีอยุธยา ค.ศ. 1767 (พ.ศ. 2310), ขยายอิทธิพลสู่ล้านนา ล้านช้าง และมณีปุระ, ประสบความสำเร็จในการต่อต้านการรุกรานจากจีน 4 ครั้ง
4 พระเจ้าจิงกูจา စဉ့်ကူးမင်း
สิ่นกู้มี่น
พระเจ้าสิ่นกู้[9] พระราชโอรส 1776–1781
5 พระเจ้าหม่องหม่อง ဖောင်းကားစား မောင်မောင်
ผ้องก้าซ่า มองมอง
พระเจ้าผ้องก้าซ่า มองมอง[10] พระญาติ
(พระราชโอรสของพระเจ้ามังลอก)
1782 อยู่ในราชสมบัติเพียงหนึ่งสัปดาห์
6   พระเจ้าปดุง ဗဒုံမင်း
บะโดนมี่น,
ဘိုးတော်ဘုရား
โบ้ดอพะย่า,
ဆင်ဖြူများရှင်
ซีน-พยู-มย่าชีน
พระเจ้าบะโดน,
พระบรมอัยกาธิราช,
พระเจ้าช้างเผือก[11]
พระปิตุลา
(พระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ในพระเจ้าอลองพญา)
1782–1819 ทำสงครามกับกรุงรัตนโกสินทร์, ผนวกดินแดนยะไข่สำเร็จ
7   พระเจ้าจักกายแมง ဘကြီးတော်
บะจี้ดอ,
စစ်ကိုင်းမင်း
ซะไก้ง์มี่น
พระบรมปิตุลาธิบดี,
พระเจ้าซะไกง์[12]
พระราชนัดดา
(หลานปู่)
1819–1837 ร่วมรบกับพระเจ้าปดุงในสงครามกับกรุงรัตนโกสินทร์, ยกทัพตีมณีปุระและอัสสัมของอินเดีย, พ่ายแพ้สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่หนึ่ง
8 พระเจ้าแสรกแมง သာယာဝတီမင်း
ตายาวะดีมี่น
พระเจ้าสารวดี[13] พระอนุชา 1837–1846 ร่วมรบในสงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่หนึ่ง ในฐานะเจ้าเมืองสารวดี
9 พระเจ้าพุกามแมง ပုဂံမင်း
ปะกานมี่น
พระเจ้าพุกาม[14] พระราชโอรส 1846–1853 ถูกถอดจากราชบัลลังก์หลังทรงแพ้สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สอง
10   พระเจ้ามินดง မင်းတုန်းမင်း
มี่นโด้นมี่น
พระเจ้ามี่นโด้น[15] พระอนุชา 1853–1878
11   พระเจ้าธีบอ သီပေါမင်း
ตีบอมี่น
พระเจ้าสี่ป้อ[16] พระราชโอรส 1878–1885 กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งพม่า ทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติและเนรเทศไปอยู่ที่อินเดียหลังสิ้นสงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สาม

เชิงอรรถ

แก้
  1. တက္ကသိုလ်စိန်တင် (June 2005). သီပေါဘုရင်နှင့် စုဖုရားလတ် [King Thibaw and Supayalat].
  2. Harvey 1925, p. 333.
  3. จิรภาไพศาล, วิภา (2022-06-19). "ตามรอย "สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร" จากกรุงศรีอยุธยา ถึงกรุงอังวะ". ศิลปวัฒนธรรม.
  4. http://www.4dw.net/royalark/Burma/konbaun1.htm
  5. บางแห่งเรียกว่า พระเจ้าอลองพระ, พระเจ้ามังลอง หรือพระเจ้ามางลอง
  6. เอกสารไทยเรียกตามพระนามเดิมก่อนขึ้นเสวยราชสมบัติ
  7. พระเชษฐา (พี่ชาย) ของพระเจ้ามังระและพระเจ้าปะดุง
  8. เอกสารไทยเรียกตามพระนามเดิมก่อนขึ้นเสวยราชสมบัติ
  9. พงศาวดารฝ่ายไทยออกพระนามว่าพระเจ้าจิงกูจา เหตุที่เรียกดังนี้เพราะพระองค์เคยปกครองเมืองสิ่นกู้ในสมัยก่อนเสวยราชสมบัติ
  10. หม่องหม่องเป็นพระนามเดิม ส่วนผ้องก้าซ่าคือชื่อเมืองซึ่งพระเจ้าหม่องหม่องเคยปกครองในสมัยก่อนเสวยราชสมบัติ
  11. คำว่า "พระเจ้าบะโดน" (พระเจ้าปดุง) เรียกตามนามเมืองบะโดนซึ่งพระองค์เคยปกครองในสมัยก่อนเสวยราชสมบัติ, คำว่า โบ้ดอพะย่า (ไทยมักสะกดว่า "โบดอพญา") ซึ่งแปลว่าพระบรมอัยกาธิราช หมายความว่าเป็นพระอัยกา (ปู่) ในพระเจ้าจักกายแมงและพระเจ้าแสรกแมง, คำว่า "พระเจ้าช้างเผือก" เป็นพระนามเฉลิมพระเกียรติของพระเจ้าปดุงซึ่งทรงมีช้างเผือกในครองครองตามราชประเพณี
  12. คำว่า บะจี้ดอ ซึ่งแปลว่าพระบรมปิตุลาธิบดี (ลุงฝ่ายพ่อ) หมายความว่าเป็นพระปิตุลาของพระเจ้าพุกามแมงและพระเจ้ามินดง, คำว่า ซะไก้ง์มี่น ในพงศาวดารไทยเรียกเป็นพระเจ้าจักกายแมง เหตุที่มีพระนามดังนี้เพราะทรงเคยครองเมืองซะไกง์ในสมัยก่อนเสวยราชสมบัติ
  13. เรียกตามนามเมืองสารวดีซึ่งพระเจ้าแสรกแมงเคยปกครองในสมัยก่อนเสวยราชสมบัติ
  14. เรียกตามนามเมืองพุกามซึ่งพระเจ้าพุกามเมงเคยปกครองในสมัยก่อนเสวยราชสมบัติ (คำว่าพุกามนี้เป็นคำเรียกในภาษาไทย ภาษาพม่าเรียกว่า ปะกาน)
  15. เรียกตามนามเมืองมี่นโด้นซึ่งพระเจ้ามินดงเคยปกครองในสมัยก่อนเสวยราชสมบัติ
  16. เรียกตามนามเมืองสี่ป้อซึ่งพระเจ้าธีบอเคยปกครองในสมัยก่อนเสวยราชสมบัติ เมืองสี่ป้อนี้เป็นเมืองของชาวไทใหญ่ (ปัจจุบันอยู่ในรัฐฉาน ประเทศพม่า) ชื่อดังกล่าวนี้เป็นการเรียกตามภาษาไทใหญ่ (ภาษาพม่าออกเสียงเป็น ตีบอ) พระราชมารดาของพระเจ้าธีบอเป็นพระราชธิดาของเจ้าฟ้าไทใหญ่เมืองนี้

อ้างอิง

แก้