ราชวงศ์มหิธรปุระ

ราชวงศ์มหิธรปุระ (ขอม: រាជត្រកូលមហិធរៈបុរៈ ; เรียจฺตระกูลมอหิดเทียปูเรี๊ยะ อักษรโรมัน: "Mahidharapura Daynasty", House of Mahidharapura, Mahidra pura) นักวิชาการบางส่วนเรียกว่า "ราชสกุลมหิธรปุระ" เพราะเชื่อว่ากษัตริย์ที่ลงท้ายพระนาม "วรมัน" อาจมีต้นวงศ์มาจากที่เดียวกัน ราชวงศ์มหิธรปุระสถาปนาโดย พระเจ้าชัยวรรมันที่ 6[1] เมื่อปี ค.ศ.1080 และเชื่อว่ามีปฐมราชตระกูลคือ พระเจ้าภววรมันที่ 1 แห่งอาณาจักรเจนละ พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 เป็นขุนนางปกครองเมืองพิมาย (ปัจจุบันคืออำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา) เชื้อสายราชวงศ์เมืองมหิธรปุระ[2] เป็นต้นวงศ์ของกษัตริย์อีกหลายพระองค์มีถิ่นฐานอยู่แถบลุ่มแม่น้ำมูล บริเวณปราสาทพนมวัน, ปราสาทพิมาย, ปราสาทพนมรุ้ง และบริเวณเมืองละโว้ โดยส่วนใหญ่แล้วราชวงศ์มหิธรปุระมีฐานอำนาจตั้งแต่เทือกเขาพนมดงรักขึ้นไปทางเหนือ

ราชวงศ์มหิธรปุระ
เขมร: រាជត្រកូលមហិធរៈបុរៈ
พระราชอิสริยยศพระเจ้ากรุงกัมพูชา
ปกครอง อาณาจักรพระนคร
บรรพบุรุษพระเจ้าหิรัณยวรมัน
พระนางหิรัณยลักษมี
จำนวนพระมหากษัตริย์12 พระองค์
เชื้อพระวงศ์ที่สำคัญพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ประมุขพระองค์แรกพระเจ้าชัยวรรมันที่ 6
ประมุขพระองค์สุดท้ายพระเจ้าชัยวรมันที่ 9
ช่วงระยะเวลาค.ศ. 1080–1336
สถาปนาค.ศ. 1080
ล่มสลายค.ศ. 1336
ราชวงศ์ก่อนหน้าราชวงศ์ไศเลนทร์
ราชวงศ์ถัดไปราชวงศ์ตระซ็อกประแอม
เชื้อชาติขอม

ราชวงศ์มหิธรปุระมีพระมหากษัตริย์ปกครองอาณาจักรพระนคร จำนวน 11 พระองค์ กษัตริย์พระองค์แรกคือพระเจ้าชัยวรรมันที่ 6 กษัตริย์องค์สุดท้ายคือพระเจ้าชัยวรมันที่ 9 นักวิชาการหลายฝ่ายมีข้อสันนิฐานว่า องค์ต้นราชวงศ์จริง ๆ อาจเป็นชาวอินเดียมากกว่าคนท้องถิ่น เนื่องจากกษัตริย์มีพระนามลงท้าย "วรมัน" ซึ่งตรงกับรายพระนามกษัตริย์ในอินเดียหลายพระองค์ และเคยมีชื่อราชวงศ์วรมัน (Varman dynasty) ปกครองในอินเดียช่วงเวลาเดียวกับ สมัยคุปตะและหลังคุปตะ ทั้งในอินเดียเหนือและอินเดียใต้

เชื้อสายราชวงศ์มหิธรปุระที่ปกครองดินแดนที่ราบสูงอีสานนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งศาสนาได้มีระบบชนชั้นวรรณะค่อนข้างชัดเจน คนธรรมดาไม่น่าจะสถาปณาตนเองขึ้นมามีชนชั้นสูงได้ รวมถึงข้อความในจารึกเมืองพระนครมีคำภาษาสันสกฤตผสมอยู่เป็นจำนวนมาก บางจารึกเป็นภาษาสันสกฤตทั้งหน้า ส่วนในจารึกปราสาทสด๊กก๊อกธมได้บันทึกไว้ว่า ดินแดนในแถบที่ราบสูงล้วนเป็นที่อยู่ของบรรดาพราหมณ์และนักบวช และตรงกับค่านิยมการสร้างปราสาทในอีสานใต้ที่ล้วนสร้างถวายองค์เทพฮินดู ชนชั้นปกครองอาจเป้นชาวอินเดียมากกว่าชาวพื้นเมือง

รายพระนามกษัตริย์แห่งราชวงศ์มหิธรปุระ ที่ปกครองอาณาจักรพระนคร

ลำดับ รายพระนามกษัตริย์ ปี
1
พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พ.ศ. 1623–1650
2
พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 พ.ศ. 1650–1656
3
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 พ.ศ. 1656–1688
4
พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 พ.ศ. 1693–1703
5
พระเจ้ายโศวรมันที่ 2 พ.ศ. 1703–1710
6
พระเจ้าตรีภูวนาทิตยวรมัน พ.ศ. 1710–1720
7
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พ.ศ. 1724–1761
8
พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 พ.ศ. 1762–1786
9
พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 พ.ศ. 1786–1838
10
พระเจ้าอินทรวรมันที่ 3 พ.ศ. 1838–1851
11
พระเจ้าอินทรวรมันที่ 4 พ.ศ. 1851–1870
12
พระเจ้าชัยวรมันที่ 9 พ.ศ. 1870–1879

นอกจากนี้ยังมีเชื้อพระวงศ์อื่น ๆ ที่ถูกอ้างสิทธิ์ เช่น

  • กษิเตนทราทิตย์ พระราชบิดาของพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 2
  • นเรนทราทิตย์ ผู้มีอำนาจอยู่ในเมืองพนมรุ้ง และผู้สร้างปราสาทพนมรุ้ง

อ้างอิง

แก้
  1. Coedès, George (1986). Walter F. Vella (ed.). The Indianized states of Southeast Asia. trans. Susan Brown Cowing. University of Hawai`i Press. ISBN 978-0-8248-0368-1.
  2. Louis-Frédéric (1977) Encyclopaedia of Asian Civilizations, Louis Publisher: Original from the University of Michigan Volume 3 of Encyclopaedia of Asian Louis-Frédéric