รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2502
การประกวดภาพยนตร์ รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2502 จัดขึ้นโดยสมาคมนักเรียนเก่าอำนวยศิลป์ ร่วมกับสงบ สวนสิริ สมาคมโรงภาพยนตร์แห่งประเทศไทย (ประหลาท อิศรางกูร ณ อยุธยา นายกสมาคม) และสมาคมโรงภาพยนตร์ชั้นสองแห่งประเทศไทย โดยมีนายเจิม ภูมิจิตร นายกสมาคมเป็นประธานจัดงาน และสงบ สวนสิริ เป็นเลขานุการ [1]
รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2502 | |
---|---|
วันที่ | 4 ธันวาคม พ.ศ. 2502 |
สถานที่ตั้ง | สวนลุมพินี อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร |
รางวัลมากที่สุด | ไอ้แก่น โรงแรมนรก สามสมอ (3) |
พิธีประกาศผลอย่างเป็นทางการ จัด ณ เวทีลีลาศ สวนลุมพินี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2502 รางวัลที่มอบประกอบด้วยรางวัลตุ๊กตาทอง เป็นรูปพระสุรัสวดี จำนวน 17 รางวัล และรางวัลพิเศษ ตุ๊กตาเงิน 4 รางวัล
มีภาพยนตร์ไทยเข้าประกวดจำนวน 28 เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี 14 เรื่อง คณะกรรมการตัดสินประกอบด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร เป็นประธาน, นายธนิต อยู่โพธิ์, นายเขียน ยิ้มศิริ, นายจิตต์ บัวบุศย์, นายสนั่น ปัทมทิน, นายระบิล บุนนาค, นายบุญยง นิโครธานนท์, นางลัดดา ถนัดหัตถกรรม, นางเกษรี บุลศุข โดยนายสงบ สวนศิริ เป็นเลขานุการ
ภายหลังการประกวด เกิดความวุ่นวายขึ้น เนื่องจากมีผู้สร้างภาพยนตร์ที่ไม่พอใจผลการประกวด และกล่าวหาว่านายสงบ สวนศิริ รับเงินค่าจ้างเพื่อบิดเบือนให้ ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งได้รับรางวัล ทำให้นายสงบ ประกาศจะไม่เข้าร่วมจัดงานนี้ในครั้งต่อไป [2]
ผู้ได้รับรางวัล
แก้รางวัลตุ๊กตาทอง
แก้สาขา | ผู้ได้รับรางวัล | ภาพยนตร์เรื่อง |
---|---|---|
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ไอ้แก่น (กมลศิลป์ภาพยนตร์) | ไอ้แก่น (2502) |
ผู้แสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม | ทักษิณ แจ่มผล | แผ่นดินของใคร (2505) |
ผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม | รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง | ไอ้แก่น |
ผู้แสดงประกอบฝ่ายชายยอดเยี่ยม | สมควร กระจ่างศาสตร์ | ไอ้แก่น |
ผู้แสดงประกอบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม | ศรินทิพย์ ศิริวรรณ | ขบวนเสรีจีน (2501) |
ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม | รัตน์ เปสตันยี | โรงแรมนรก (2500) |
บทประพันธ์ยอดเยี่ยม | สด กูรมะโรหิต | ขบวนเสรีจีน |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | อนุมาศ บุนนาค | สามสมอ (2502) |
รางวัลถ่ายภาพ (16 มม.) | วิเชียร วีระโชติ | ศรีปราชญ์ (2500) |
รางวัลถ่ายภาพ (35 มม.) | ประสาท สุขุม | โรงแรมนรก |
รางวัลการลำดับภาพยอดเยี่ยม | วิน วันชัย | ศรีปราชญ์ |
รางวัลออกแบบและสร้างฉากยอดเยี่ยม | อุไร ศิริสมบัติ | เชลยศักดิ์ (2502) |
รางวัลออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม | ชาญ จันทรถาวร | ศรีปราชญ์ |
รางวัลเพลงประกอบยอดเยี่ยม | (ไม่มีข้อมูล) | (ไม่มีข้อมูล) |
รางวัลบันทึกเสียงยอดเยี่ยม | ปง อัศวินิกุล | โรงแรมนรก |
รางวัลพากย์ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | พันคำ - พวงเล็ก | วนาลี (2502) |
รางวัลภาพยนตร์ทัศนศึกษา | (ไม่มีข้อมูล) | (ไม่มีข้อมูล) |
รางวัลตุ๊กตาเงิน
แก้สาขา | ผู้ได้รับรางวัล | ภาพยนตร์เรื่อง |
---|---|---|
ผู้แสดงยอดเยี่ยมสำหรับเด็ก | ด.ญ.อ้อย อิททิรา | แม่ (2502) |
ผู้แสดงบทบาทยอดเยี่ยม | วิชิต ไวงาม | คนองปืน (2502) |
ผู้แสดงสมัครเล่นยอดเยี่ยม | น.ต.ดำรง เสขนันท์ | สามสมอ |
ผู้ให้ความร่วมมือในการถ่ายทำ | กรมสวัสดิการทหารเรือ | สามสมอ |
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-01-07.
- ↑ สูจิบัตร งานประกวดภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยม ประจำปี 2503
- http://www.thaifilm.com/awardsDetail.asp?id=59 เก็บถาวร 2011-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หนึ่งเดียว, หนังสือชุดพิพิธภัณฑ์หนังไทย "ประวัติการณ์ที่สุดหนังไทย", 2549