รัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวีย
รัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวีย (เยอรมัน: Protektorat Böhmen und Mähren; เช็ก: Protektorát Čechy a Morava) เป็นรัฐในอารักขาของนาซีเยอรมนีได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1939 ภายหลังจากเยอรมนียึดครองเชโกสโลวาเกีย เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1939 ในช่วงก่อนหน้านี้ ภายหลังข้อตกลงมิวนิก เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1938, นาซีเยอรมนีได้รวมซูเดเทินลันด์ ดินแดนเช็กมาเป็นไรชส์เกา (ตุลาคม ค.ศ. 1938)
รัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวีย Protektorat Böhmen und Mähren Protektorát Čechy a Morava | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1939–1945 | |||||||||
รัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวียในปี 1942 | |||||||||
สถานะ | รัฐอารักขาของนาซีเยอรมนี[1] | ||||||||
เมืองหลวง | ปราก | ||||||||
ภาษาทั่วไป | เช็ก, เยอรมัน | ||||||||
ผู้ว่าการรัฐไรช์ | |||||||||
• 1939–1943 | คอนชตันทิน ฟอน นอยรัท | ||||||||
• 1941–1942 | ไรน์ฮาร์ท ไฮดริช (รักษาการณ์) | ||||||||
• 1942–1943 | เคิรท์ ดาลูเกอ (รักษาการณ์) | ||||||||
• 1943–1945 | วิลเฮล์ม ฟริค | ||||||||
State President | |||||||||
• 1939–1945 | Emil Hácha | ||||||||
Prime Minister | |||||||||
• 1939 | รูดอล์ฟ เบราน (รักษาการณ์) | ||||||||
• 1939–1941 | อโลยส์ อีเลียส | ||||||||
• 1942–1945 | Jaroslav Krejčí | ||||||||
• 1945 | Richard Bienert | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | World War II | ||||||||
15 มีนาคม, ประกาศ 16 มีนาคม 1939 | |||||||||
9 พฤษภาคม 1945 | |||||||||
พื้นที่ | |||||||||
1939 | 49,363 ตารางกิโลเมตร (19,059 ตารางไมล์) | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• 1939 | 7380000 | ||||||||
สกุลเงิน | Protectorate Koruna | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | เช็กเกีย |
ประชากรของรัฐในอารักขาส่วนใหญ่เป็นชาวเช็ก ในขณะที่ซูเดเทินลันด์นั้นมีประชากรชาวเยอรมันเป็นส่วนใหญ่ ภายหลังจากการก่อตั้งรัฐอิสระของสาธารณรัฐสโลวักที่ 1 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1939 และเยอรมนีได้เข้ายึดครองรัฐตกค้างของชาวเช็กในวันถัดมา อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้สถาปนาก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1939 โดยการป่าวประกาศคำแถลงการณ์จากปราสาทปราก
รัฐบาลเยอรมันได้มีเหตุผลในการเข้าแทรกแซงโดยกล่าวอ้างว่าเชโกสโลวาเกียกำลังถดถอยไปในสภาวะที่ยุ่งเหยิงสับสนวุ่นวายในขณะที่ประเทศกำลังประสบกับความแตกแยกกันในทางด้านเชื้อชาติ และกองทัพเยอรมันได้พยายามที่จะฟื้นฟูความสงบเรียบร้อยในภูมิภาคนั้น เชโกสโลวาเกียในช่วงสมัยเวลานั้นภายใต้การนำของประธานาธิบดี Emil Hácha ได้ดำเนินการตามนโยบายต่างประเทศในการสนับสนุนเยอรมนี; อย่างไรก็ตาม, เมื่อได้เข้าพบกับฟือเรอร์แห่งเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (15 มีนาคม ค.ศ. 1939) Hácha ได้ยินยอมต่อข้อเรียกร้องของเยอรมนีและออกประกาศคำแถลงการณ์ที่ได้ระบุไว้ในแง่ของเหตุการณ์ที่เขาได้ยอมรับว่าเยอรมนีจะเป็นผู้ตัดสินชะตากรรมของชาวเช็ก ฮิตเลอร์ได้ยอมรับการประกาศคำแถลงการณ์ของ Hácha และได้ประกาศว่าเยอรมนีจะมอบให้แก่ประชาชนชาวเช็กคือรัฐอารักขาที่เป็นอิสระที่ปกครองโดยชนเชื้อชาติเช็ก Hácha ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานาธิบดีแห่งรัฐอารักขาในวันเดียวกัน
รัฐในอารักขานี้เป็นดินแดนที่ปกครองตนเองภายใต้การบริหารของนาซีซึ่งรัฐบาลเยอรมนีได้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของไรช์เยอรมันใหญ่ การดำรงของรัฐได้สิ้นสุดลงด้วยการยอมจำนนของเยอรมนีต่อสัมพันธมิตรในปี ค.ศ. 1945
อ้างอิง
แก้- ↑ Lemkin, Raphaël (1944). Axis Rule in Occupied Europe. Harold Bold Verlag. p. 343. ISBN 9781584779018.