รัฐหลังสหภาพโซเวียต

รัฐหลังสหภาพโซเวียต (อังกฤษ: post-Soviet states) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อดีตสหภาพโซเวียต (former Soviet Union, FSU),[1] อดีตสาธารณรัฐโซเวียต (former Soviet Republics) และในรัสเซียในชื่อ ต่างประเทศใกล้เคียง (รัสเซีย: бли́жнее зарубе́жье, อักษรโรมัน: blizhneye zarubezhye) คือรัฐเอกราช 15 รัฐที่เคยเป็นสาธารณรัฐองค์ประกอบของสหภาพโซเวียต โดยเกิดขึ้นและเกิดขึ้นอีกครั้งจากสหภาพโซเวียตหลังการล่มสลายของสหภาพใน ค.ศ. 1991

รัฐหลังสหภาพโซเวียตเรียงตามลำดับตัวอักษรไทย:

รัสเซียเป็นรัฐผู้สืบสิทธิ์หลักของสหภาพโซเวียตที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติโดยพฤตินัยหลังสงครามเย็น ในขณะที่ยูเครนประกาศตนเองตามกฎหมายว่าเป็นรัฐผู้สืบสิทธิ์ของทั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนและสหภาพโซเวียต ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้ข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เคยเป็นของสหภาพโซเวียต[2][3][4]

รัฐบอลติกทั้งสามเป็นสาธารณรัฐกลุ่มแรกที่ประกาศเอกราชในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1990 โดยอ้างความต่อเนื่องจากรัฐเดิมที่ดำรงอยู่ก่อนการผนวกของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1940[5][6] สาธารณรัฐที่เหลือ 12 แห่งทั้งหมดทยอยแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต[5] โดย 12 ใน 15 รัฐ (ไม่รวมรัฐบอลติก) ร่วมก่อตั้งเครือรัฐเอกราช (ซีไอเอส) และส่วนใหญ่เข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน (ซีเอสทีโอ) ในขณะที่รัฐบอลติกเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปและเนโท[7] เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปกับรัฐหลังสหภาพโซเวียต[8][9]

นอกจากนี้ ยังมีดินแดนพิพาทที่ได้รับการรับรองในระดับแตกต่างกันที่ตั้งอยู่ในดินแดนอดีตสหภาพโซเวียต ได้แก่ ทรานส์นีสเตรียในภาคตะวันออกของมอลโดวา, อับคาเซียและเซาท์ออสซีเชียในภาคเหนือของจอร์เจีย และสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอาเซอร์ไบจาน ตั้งแต่ ค.ศ. 2014 สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ในภาคตะวันออกไกลของยูเครนได้อ้างตนเองเป็นเอกราช ดินแดนที่ไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติส่วนใหญ่เหล่านี้ได้รับความช่วยเหลือทางทหารและการเงินจากรัสเซีย ยกเว้นสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคซึ่งรวมอยู่กับอาร์มีเนียในทางพฤตินัยแต่ยังคงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับรัสเซีย ก่อนการผนวกไครเมียเข้ากับรัสเซียในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ไม่ให้การรับรองนั้น ไครเมียเคยประกาศตนเองเป็นเอกราชเป็นระยะเวลาสั้น ๆ[10]

ในภาษาทางการเมืองของรัสเซียและรัฐหลังสหภาพโซเวียตบางรัฐ ศัพท์ ต่างประเทศใกล้เคียง สื่อถึงสาธารณรัฐเอกราช (นอกเหนือจากรัสเซีย) ที่กำเนิดขึ้นหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต การใช้ศัพท์ดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นในภาษาอังกฤษถูกนำไปเชื่อมโยงกับการยืนยันจากต่างชาติ (โลกที่พูดภาษาอังกฤษ) ถึงสิทธิ์ของรัสเซียที่จะรักษาอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญในภูมิภาคนี้[11][12][13] วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ประกาศให้ภูมิภาคนี้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของ "เขตอิทธิพล" ของรัสเซีย และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อผลประโยชน์ของรัสเซีย[13] มีผู้เปรียบเทียบแนวคิดนี้กับลัทธิมอนโร[11]

การเปรียบเทียบประเทศ

แก้
ภูมิภาค ชื่อประเทศ
ตราแผ่นดิน
ธง เมืองหลวง เป็นเอกราช พื้นที่[14] ประชากร ความหนาแน่น หมายเหตุ
ตารางกิโลเมตร ตารางไมล์ คน/ตารางกิโลเมตร คน/ตารางไมล์
ยุโรปตะวันออก รัสเซีย
(สหพันธรัฐรัสเซีย)
    มอสโก 12 ธันวาคม ค.ศ. 1991 17,098,242 6,601,668 146,171,015 9 23 [15][16][17][18]
ยูเครน     เคียฟ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1991 577,528 222,985 41,383,182 72 186 [19][20]
เบลารุส
(สาธารณรัฐเบลารุส)
    มินสค์ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1991 207,600 80,155 9,349,645 46 119 [21][22]
มอลโดวา
(สาธารณรัฐมอลโดวา)
    คีชีเนา 27 สิงหาคม ค.ศ. 1991 33,843 13,067 2,597,100 79 205 [23][24]
เอเชียกลาง อุซเบกิสถาน
(สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน)
    ทาชเคนต์ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1991 444,103 171,469 35,064,893 76 197 [25][26]
คาซัคสถาน
(สาธารณรัฐคาซัคสถาน)
    อัสตานา 16 ธันวาคม ค.ศ. 1991 2,724,900 1,052,090 19,000,336 7 18 [27][28]
คีร์กีซสถาน
(สาธารณรัฐคีร์กีซ)
    บิชเคก 31 สิงหาคม ค.ศ. 1991 199,945 77,199 6,663,000 33 85 [29][30]
ทาจิกิสถาน
(สาธารณรัฐทาจิกิสถาน)
    ดูชานเบ 9 กันยายน ค.ศ. 1991 143,100 55,251 9,504,000 64 166 [25][31]
เติร์กเมนิสถาน
(อดีตคือ สาธารณรัฐเติร์กเมนิสถาน)
    อาชกาบัต 27 ตุลาคม ค.ศ. 1991 491,210 189,657 6,118,000 11 28 [32][33]
ทรานส์คอเคเซีย จอร์เจีย
(อดีตคือ สาธารณรัฐจอร์เจีย)
    ทบิลีซี 9 เมษายน ค.ศ. 1991 69,700 26,911 3,728,573 53 137 [25][34]
อาเซอร์ไบจาน
(สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน)
    บากู 30 สิงหาคม ค.ศ. 1991 86,600 33,436 10,139,196 115 298 [35][36]
อาร์มีเนีย
(สาธารณรัฐอาร์มีเนีย)
    เยเรวาน 21 กันยายน ค.ศ. 1991 29,743 11,484 2,963,300 100 259 [37][38]
รัฐบอลติก ลิทัวเนีย
(สาธารณรัฐลิทัวเนีย)
    วิลนีอัส 11 มีนาคม ค.ศ. 1990 65,300 25,212 2,786,006 43 111 [25][39]
ลัตเวีย
(สาธารณรัฐลัตเวีย)
    รีกา 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 64,562 24,928 1,882,200 30 78 [25][40]
เอสโตเนีย
(สาธารณรัฐเอสโตเนีย)
    ทาลลินน์ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 45,339 17,505 1,330,068 29 75 [41][42]
รวมอดีตสหภาพโซเวียต 22,307,815 8,613,096 296,582,638 9 23 [43]

ผู้นำคนปัจจุบัน

แก้

ประมุขแห่งรัฐ

แก้

หัวหน้ารัฐบาล

แก้

ระดับการพัฒนา

แก้

รัฐหลังสหภาพโซเวียตเรียงตามคะแนนดัชนีการพัฒนามนุษย์ใน ค.ศ. 2020[45]

 

การพัฒนามนุษย์ระดับสูงมาก:

การพัฒนามนุษย์ระดับสูง:

การพัฒนามนุษย์ระดับปานกลาง:

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Managing Conflict in the Former Soviet Union: Russian and American Perspectives". harvard.edu. 30 October 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2 December 2015.
  2. On Legal Succession of Ukraine, Articles 7 and 8.
  3. ЗАКОН УКРАЇНИ Про правонаступництво України
  4. "Раздел СССР. РФ обсудит нулевой вариант долгов СССР, если Украина компенсирует $20 млрд долга‏". korrespondent.net.
  5. 5.0 5.1 Van Elsuwege, Peter (2008). From Soviet Republics to Eu Member States: A Legal and Political Assessment of the Baltic States' Accession to the EU. Studies in EU External Relations. Vol. 1. BRILL. p. xxii. ISBN 9789004169456.
  6. Smith, David James (2001). Estonia. Routledge. p. 20. ISBN 978-0-415-26728-1.
  7. Lane, David (December 2007). "Post-Communist States and the European Union". Journal of Communist Studies and Transition Politics (ภาษาอังกฤษ). 23 (4): 461–477. doi:10.1080/13523270701674558. ISSN 1352-3279.
  8. Moga, Teodor Lucian; Alexeev, Denis (2013). "Post-Soviet States Between Russia and the EU: Reviving Geopolitical Competition? A Dual Perspective" (PDF). Connections. 13 (1): 41–52 – โดยทาง JSTOR.
  9. Jozwiak, Rikard (2019-04-05). "EU, Ex-Soviet Republics To Extend Partnership Beyond 2020" (ภาษาอังกฤษ). Radio Free Europe/Radio Liberty. สืบค้นเมื่อ 2021-08-10.
  10. Danilova, Maria; Dahlburg, John-Thor (2014-03-17). "Crimea declares independence". The Boston Globe (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2021-08-10.
  11. 11.0 11.1 William Safire (1994-05-22). "ON LANGUAGE; The Near Abroad". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
  12. Robert Kagan (2008-02-06). "New Europe, Old Russia". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
  13. 13.0 13.1 Steven Erlanger (2001-02-25). "The World; Learning to Fear Putin's Gaze". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
  14. รวมพื้นที่ผืนดินและน้ำ
  15. The Russian Federation technically achieved de facto independence from the Soviet Union after ratifying the Belavezha Accords. After the Almaty Protocol, the RF took over the Soviet Union’s UN membership.
  16. Population data as of January 1, 2018.
  17. "Official estimate". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-17. สืบค้นเมื่อ 2022-01-15.
  18. Includes the Republic of Crimea and Sevastopol, claimed by Ukraine.
  19. ข้อมูลประชากรในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2014
  20. "Population as of April 1, 2014. Average annual populations January-March 2014". www.ukrstat.gov.ua.
  21. ข้อมูลประชากรในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2014
  22. "Demographic situation in Half-Year 2014". July 29, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-29.
  23. ข้อมูลประชากรในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017
  24. Statistică, Biroul Naţional de. "// Populaţia și procesele demografice". statistica.gov.md.
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 ข้อมูลประชากรในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2014
  26. "Государственный комитет Республики Узбекистан по статистике - Демографические данные". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2014.
  27. ข้อมูลประชากรในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014
  28. Monthly official estimate
  29. ข้อมูลประชากรใน ค.ศ. 2015
  30. "Official estimate".
  31. "Statistical Agency under President of the Republic of Tajikistan". March 6, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-06.
  32. ข้อมูลประชากรในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2013
  33. ประมาณการของสหประชาชาติ
  34. "საქართველოს სტატისტიკის ეროვნული სამსახური". www.geostat.ge.
  35. ข้อมูลประชากรในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2013
  36. Official estimate
  37. ข้อมูลประชากรใน ค.ศ. 2012
  38. Official estimate
  39. "Number of persons by month - Database of Indicators - data and statistics". August 19, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-19.
  40. "Population - Key Indicators | Latvijas statistika". June 28, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-28.
  41. ข้อมูลประชากรในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2015
  42. "Official estimate". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-23. สืบค้นเมื่อ 2022-01-15.
  43. https://www.marxists.org/history/ussr/government/1946/population.pdf
  44. 44.0 44.1 ดำรงตำแหน่งทั้งประธานาธิบดีและฝ่ายบริหารเพราะตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเติร์กเมนิสถานถูกยุบ
  45. "Human Development Report 2019 – Technical notes" (PDF). Hdr.undp.org. United Nations Development Programme. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.

อ่านเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้