รัฐสภาสกอตแลนด์
รัฐสภาสกอตแลนด์ หรือ รัฐสภาสกอต (อังกฤษ: Scottish Parliament, แกลิกสกอต: Pàrlamaid na h-Alba; สกอต: Scots Pairlament)[1][2][3] เป็นสภานิติบัญญัติระบบสภาเดี่ยวที่ได้รับอำนาจปกครองตนเองแห่งสกอตแลนด์ มีที่ตั้งอยู่ที่บริเวณโฮลีรูด ในเอดินบะระ โดยนิยมเรียกขานถึงรัฐสภาสกอตแลนด์แบบสั้นๆ ว่า โฮลีรูด (Holyrood) รัฐสภาสกอตแลนด์]มีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 129 คน ซึ่งเรียกว่า สมาชิกรัฐสภาสกอตแลนด์ (Members of the Scottish Parliament หรือ MSPs) มีวาระคราวละ 5 ปี[4] โดยใช้ระบบการลงคะแนนเรียกว่าระบบสมาชิกเพิ่มเติม ประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาจำนวน 73 คนซึ่งเป็นผู้แทนแบบแบ่งเขตเลือกตั้งโดยใช้ระบบการลงคะแนนแบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด และอีก 56 ที่นั่งได้จัดสรรเพิ่มจากคะแนนรวมในแปดเขตซึ่งมีผู้แทนแบบสมาชิกเพิ่มเขตละ 7 คน[5] การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 โดยมีพรรคชาติสกอตได้คะแนนเสียงข้างมาก
รัฐสภาสกอต Pàrlamaid na h-Alba Scots Pairlament | |
---|---|
สมัยที่ 6 | |
ประเภท | |
ประเภท | |
ผู้บริหาร | |
ประธานสภา | อลิสัน จอห์นสโตน, พรรคชาติสกอต ตั้งแต่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 |
ฮัมซา ยูซาฟ, พรรคชาติสกอต ตั้งแต่ 29 มีนาคม ค.ศ. 2023 | |
ผู้นำฝ่ายค้าน | ดักลาส รอซ, พรรคอนุรักษ์นิยมสกอต ตั้งแต่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 129 ที่นั่ง |
กลุ่มการเมือง | ฝ่ายรัฐบาล (71)
ฝ่ายค้าน (57)
อื่นๆ (1) |
การเลือกตั้ง | |
แบบผสม (ระบบสมาชิกเพิ่มเติม) | |
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด | 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 |
ที่ประชุม | |
ที่ทำการรัฐสภา เอดินบะระ | |
เว็บไซต์ | |
www |
แต่แรกเริ่มนั้นรัฐสภาสกอตแลนด์เคยมีฐานะเป็นสภานิติบัญญัติแห่งราชอาณาจักรสกอตแลนด์ซึ่งมีเอกราชเป็นของตนเอง โดยก่อตั้งขึ้นราวศตวรรษที่ 13 จนกระทั่งมีการรวมอาณาจักรเข้ากับราชอาณาจักรอังกฤษภายใต้พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 เพื่อก่อตั้งเป็นราชอาณาจักรบริเตนใหญ่[6] จึงมีเหตุให้ทั้งรัฐสภาสกอตแลนด์และรัฐสภาอังกฤษนั้นต้องยุติบทบาทลง โดยมีรัฐสภาบริเตนใหญ่เข้ารับหน้าที่แทน โดยมีที่ตั้งอยู่ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ กรุงลอนดอน[6]
ต่อมาในภายหลังจากการลงประชามติเพื่อการปกครองตนเอง ค.ศ. 1997 ซึ่งชาวสกอตแลนด์ได้ลงประชามติเห็นชอบให้รัฐสภาสกอตแลนด์มีอำนาจนิติบัญญัติตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติสกอตแลนด์ ค.ศ. 1998 โดยตราขึ้นเพื่อกำหนดขอบเขตของบทบาทและหน้าที่ด้านนิติบัญญัติของรัฐสภาสกอตแลนด์ที่สามารถตรากฎหมายบังคับใช้เองได้ และยังกำกับไว้อย่างชัดเจนถึงอำนาจนิติบัญญัติในบริเวณที่สงวนไว้ให้เฉพาะกับรัฐสภาสหราชอาณาจักรเท่านั้น[7] จึงทำให้รัฐสภาสกอตแลนด์มีอำนาจนิติบัญญัติในทุกด้านที่ไม่ได้สงวนไว้เฉพาะให้แก่สภาเวสต์มินสเตอร์เท่านั้น รัฐสภาสหราชอาณาจักรยังสงวนไว้ซึ่งบทบาทในการปรับปรุงแก้ไขเงื่อนไขต่างๆ ของรัฐสภาสกอตแลนด์ และยังสามารถเพิ่มหรือลดขอบเขตอำนาจในการตรากฎหมายของรัฐสภาสกอตแลนด์ได้[8] รัฐสภาสกอตแลนด์มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1999[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Makkin Yer Voice Heard in the Scottish Pairlament". Scottish Parliament. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2007. สืบค้นเมื่อ 10 February 2007.
- ↑ "SPCB Leid Policy" (PDF). Scottish Parliament. สืบค้นเมื่อ 10 February 2007.
- ↑ The Scots for Scottish is in fact Scots เก็บถาวร 2011-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ A five year term was set by the Scottish Elections (Reform) Act 2020, having been changed on two occasions previously (by the Fixed-term Parliaments Act 2011 and the Scottish Elections (Dates) Act 2016) from the four year term specified by the Scotland Act 1998.
- ↑ "How the Scottish Parliament works" (PDF). Scottish Parliament. October 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-20. สืบค้นเมื่อ 1 July 2016.
- ↑ 6.0 6.1 "The Scottish Parliament – Past and Present" (PDF). Scottish Parliament. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 20 August 2016. สืบค้นเมื่อ 1 July 2016.
- ↑ "Scotland Act 1998: Scottish Parliament Reserved Issues". Office of Public Sector Information (OPSI). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2007. สืบค้นเมื่อ 14 November 2006.
- ↑ Murkens, Jones & Keating (2002), p. 11.
- ↑ "Scottish Parliament Official Report – 12 May 1999". Scottish Parliament. สืบค้นเมื่อ 5 November 2006.
บรรณานุกรม
แก้- Balfour, A. & McCrone, G. (2005): Creating a Scottish Parliament, StudioLR, ISBN 0-9550016-0-9
- Burrows, N. (1999): "Unfinished Business – The Scotland Act 1998", Modern Law Review, Vol. 62, No. 2 (March 1999), pp. 241–260
- Dardanelli, P. (2005): Between Two Unions: Europeanisation and Scottish Devolution, Manchester University Press, ISBN 0-7190-7080-5
- Hassan, Gerry (1999): A Guide to the Scottish Parliament: The Shape of Things to Come, The Stationery Office", ISBN 0-11-497231-1
- Hassan, Gerry (2019): The Story of the Scottish Parliament: The First Two Decades Explained, Edinburgh University Press, ISBN 978-1-4744-5490-2
- Kingdom, J. (1999): Government and Politics in Britain, An Introduction, Polity, ISBN 0-7456-1720-4
- MacLean, B. (2005): Getting It Together: Scottish Parliament, Luath Press Ltd, ISBN 1-905222-02-5
- McFadden, J. & Lazarowicz, M. (2003): The Scottish Parliament: An Introduction, LexisNexis UK, ISBN 0-406-96957-4
- Murkens, E.; Jones, P. & Keating, M. (2002): Scottish Independence: A Practical Guide, Edinburgh University Press, ISBN 0-7486-1699-3
- Taylor, Brian (1999): The Scottish Parliament, Polygon, Edinburgh, ISBN 1-902930-12-6
- Taylor, Brian (2002): The Scottish Parliament: The Road to Devolution, Edinburgh University Press, ISBN 0-7486-1759-0
- Young, John R. (1996): The Scottish Parliament, 1639–1661: A Political and Constitutional, Edinburgh: John Donald Publishers ISBN 0-85976-412-5
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Official website (ในภาษาอังกฤษ)
- Official website เก็บถาวร 2018-12-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาแกลิกสกอต)
- Scottish Parliament TV