รัฐประหารในประเทศสยาม มิถุนายน พ.ศ. 2476

รัฐประหารในประเทศสยาม มิถุนายน พ.ศ. 2476 เป็นรัฐประหารในประเทศสยาม เกิดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 นำโดย พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจการปกครองของนายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

รัฐประหารในประเทศสยาม มิถุนายน พ.ศ. 2476

พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ผู้นำรัฐประหาร ในปี พ.ศ. 2476
วันที่20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 (90 ปีที่แล้ว)
สถานที่
ไทย ราชอาณาจักรไทย
ผล
คู่สงคราม
คณะราษฎร รัฐบาลพระยามโนปกรณนิติธาดา
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
พระยาพหลพลพยุหเสนา
หลวงพิบูลสงคราม
หลวงศุภชลาศัย
พระยามโนปกรณนิติธาดา

เหตุการณ์ แก้

รัฐประหารครั้งนี้มีขึ้นหลังเกิดความตึงเครียดเมื่อพระยามโนปกรณ์นิติธาดาประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ทั้งนี้ พระยามโนปกรณ์นิติธาดาถือเป็นส่วนหนึ่งของคณะชาติที่เป็นปรปักษ์กับคณะราษฎร

ในเวลาหัวค่ำของคืนวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 คณะทหารบก, ทหารเรือ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา, หลวงพิบูลสงคราม และหลวงศุภชลาศัย ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา โดยระบุเหตุผลว่าเพราะรัฐบาลกระทำการเป็นเผด็จการ ทำลายระบอบใหม่[1]

หลังจากสิ้นสุด แก้

เมื่อรัฐบาลสิ้นสุด ผู้สนับสนุนรัฐบาลชุดที่แล้ว เช่น พระยาทรงสุรเดช ถูกกีดกันออกจากแวดวงการเมือง ด้านพระยามโนปกรณ์นิติธาดาต้องเดินทางไปที่ปีนัง พระยาพหลพลพยุหเสนามอบหมายให้เจ้าพระยาพิชัยญาติ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัววังไกลกังวล หัวหิน เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้เปิดประชุมสภาฯ พร้อมถวายรายงานเรื่องการยึดอำนาจ

การรัฐประหารในครั้งนี้ มีบันทึกของพระยาพหลพลพยุหเสนาไว้ว่า ง่ายดายกว่าเมื่อครั้งปฏิวัติวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มาก ในขณะที่เรื่องของการบีบบังคับนายปรีดีไปยังประเทศฝรั่งเศสนั้น มีบันทึกไว้ว่า หลวงพิบูลสงคราม และพระยาพหลพลพยุหเสนาได้กระซิบกับทางนายปรีดีโดยผ่านทางหลวงอดุลเดชจรัส ว่าให้เดินทางออกไปก่อน และ "เพื่อนฝูงจะแก้ไขให้กลับมาภายหลัง" ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ ผู้ก่อการต้องกระทำ หาไม่แล้ว อาจจะถูกจัดการหมดทั้งคณะจากกลุ่มที่นิยมระบบการปกครองแบบเก่าก็ได้[2]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. หน้า 17, อำนาจ ๒ โดย รุ่งมณี เมฆโสภณ (มีนาคม พ.ศ. 2555) ISBN 978-616-536-079-1
  2. สิริรัตน์ เรืองวงษ์วาร, ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, พ.ศ. 2539, หน้า 86-87