การปลงพระชนม์โดยสุมาเจียว
การปลงพระชนม์โดยสุมาเจียว หรือ อุบัติการณ์ศักราชกำลอ (จีน: 甘露之變) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 260[a] ในลกเอี๋ยงราชธานีของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊ก โจมอ ยุวจักรพรรดิแห่งวุยพยายามก่อรัฐประหารต่อผู้สำเร็จราชการ สุมาเจียว ซึ่งควบคุมราชสำนักวุยแบบเบ็ดเสร็จ แต่การรัฐประหารล้มเหลวและจบลงพร้อมกับการสวรรคตของโจมอและสุมาเจียวสามารถรักษาตำแหน่งของเขาไว้ได้ การรัฐประหารส่งผลให้พลังอำนาจของตระกูลสุมาเพิ่มขึ้นและมีอิทธิพลในวุย และเป็นรากฐานสำหรับการแย่งชิงราชบัลลังก์วุยใน ค.ศ. 266 โดยบุตรชายของสุมาเจียว สุมาเอี๋ยน ผู้ก่อตี้ง ราชวงศ์จิ้นตะวันตก
การปลงพระชนม์โดยสุมาเจียว | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามในสามก๊ก | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
โจมอกับผู้สมรู้ร่วมคิดหลายคน | สุมาเจียวกับผู้ปกป้องหลายคน | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
โจมอ † Wang Shen (แปรพักตร์) Wang Jing Wang Ye (แปรพักตร์) |
สุมาเจียว สุมาเตี้ยม กาอุ้น Cheng Ji Wang Shen Wang Ye | ||||||
กำลัง | |||||||
300 นาย[ต้องการอ้างอิง] |
การปลงพระชนม์โดยสุมาเจียว | |||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 司馬昭弒君 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 司马昭弑君 | ||||||
|
เบื้องหลัง แก้ไข
รัฐวุยถูกสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการใน 220 โดย โจผี เป็นหมุดหมายสำคัญถึงจุดเริ่มต้นของ ยุคสามก๊ก ในจีน ระบอบการปกครองของราชสกุลวุยเริ่มอ่อนแอตั้งแต่การสวรรคตของจักรพรรดิวุยองค์ที่ 2 โจยอย จนไร้ซึ่งพระราชอำนาจ หลังจาก อุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง ใน 249 ขุนพลวุย สุมาอี้ ยึดอำนาจจากผู้สำเร็จราชการ โจซอง สุมาอี้ถึงแก่อสัญกรรมใน 251 และถูกสืบทอดโดยบุตรชายของเขา สุมาสู และ สุมาเจียว ซึ่งควบคุมราชสำนักวุยแบบเบ็ดเสร็จ
ใน 254 สุมาสู ปลดจักรพรรดิวุยองค์ที่ 3 โจฮอง และตั้ง โจมอ พระชนมายุ 13 พรรษาขึ้นสืบราชบัลลังก์
การรัฐประหาร แก้ไข
ผลพวง แก้ไข
หมายเหตุ แก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 บทพระราชประวัติพระเจ้าโจมอในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าพระองค์สวรรคตในวันจี๋โฉฺ่ว เดือน 5 ศักราชกำลอ (กานลู่) ปีที่ 5 ในรัชสมัยของพระองค์[1] ตรงกับวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 260 ในปฏิทินเกรโกเรียน
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ ([甘露五年]五月己丑,高貴鄉公卒, ...) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 4.
- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3y). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อ).
- ฝาน เสฺวียนหลิง (648). พงศาวดารราชวงศ์จิ้น (จิ้นชู).