รัฐบาลโชกุนคามากูระ

รัฐบาลทหารศักดินาของญี่ปุ่น
(เปลี่ยนทางจาก รัฐบาลโชกุนคะมะกุระ)

รัฐบาลโชกุนคามากูระ (ญี่ปุ่น: 鎌倉幕府โรมาจิKamakura bakufu) เป็นระบอบการปกครองโดยทหารในญี่ปุ่น อันมีประมุขของรัฐบาลคือโชกุน ตั้งแต่ ค.ศ. 1185 (หรือ 1192 อย่างเป็นทางการ) ถึง ค.ศ. 1333 ซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่คามากูระ

รัฐบาลโชกุนคามากูระ

鎌倉幕府
คามากูระ บากูฟุ
ค.ศ. 1192–1333
ของรัฐบาลโชกุนคามากูระ
ตราแผ่นดิน
สถานะรัฐบาลสำเร็จราชการแทนโชกุน
เมืองหลวงเฮอังเกียว (พระราชวังของจักรพรรดิ)
คามากูระ (ที่พำนักของโชกุน)
ภาษาทั่วไปญี่ปุ่นปลายยุคกลาง
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
ชิมบุสึชูโง
การปกครองสองผู้นำทางการเมือง (diarchy)[a]
ฟิวดัล สืบทอดทางสายเลือด
เผด็จการทหาร[2]
ภายใต้ผู้สำเร็จราชการแทน
ที่สืบทอดทางสายเลือด
(โดยพฤตินัย 1199–1133)[3]
จักรพรรดิ 
• 1183–1198
โกโทบะ
• 1318–1339
โกไดโงะ
โชกุน 
• 1192–1199
มินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ
• 1308–1333
เจ้าชายโมริกูนิ
ผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน 
• 1199–1205
โฮโจ โทกิมาซะ
• 1326–1333
โฮโจ โมริโตกิ
ประวัติศาสตร์ 
• มินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ ขึ้นเป็นปฐมโชกุนแห่งคามากูระ
12 กรกฎาคม ค.ศ. 1192
25 เมษายน 1185
• โฮโจ เริ่มดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน
9 กุมภาพันธ์ 1199
18 พฤษภาคม 1333
สกุลเงินเรียว
ก่อนหน้า
ถัดไป
ยุคเฮอัง
การฟื้นฟูเค็มมุ

ชื่อยุคคามากูระนั้นมาจากเมืองหลวงของรัฐบาลโชกุน[4] ซึ่งตั้งแต่ ค.ศ. 1203 เป็นต้นไป ตระกูลโฮโจ ครอบครัวของภริยาปฐมโชกุนโยะริโตะโมะ ก็เข้ากุมอำนาจทั้งหมด ในตำแหน่งที่เรียกว่า "ชิกเก็ง" (ผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน) โดยใน 135 ปีของยุคนี้มีโชกุนทั้งหมด 9 คนพร้อมด้วย 16 ผู้สำเร็จราชการ

ประวัติศาสตร์ แก้

 
Minamoto no Yoritomo ไปเกียวโตในช่วงต้นของ รัฐบาลโชกุนคามากูระ

สถาปนารัฐบาล แก้

ก่อนการสถาปนารัฐบาลโชกุนคามากูระ อำนาจทั้งปวงจะรวมอยู่ที่ราชสำนักขององค์จักรพรรดิเป็นหลัก บุคคลต่าง ๆ ที่ได้รับการแต่งตั้งจะเป็นขุนนางและพรรคพวกที่มีความสัมพันธ์กับราชสำนัก และกิจการทหารก็อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของรัฐบาลพลเรือน อย่างไรก็ตามหลังจากที่มีชัยชนะเหนือตระกูลไทระ ในศึกเก็งเปะอิ มินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ ก็ได้เข้ายึดอำนาจจากชนชั้นสูงในปี ค.ศ. 1185 และได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นโชกุนใน ค.ศ. 1192 พร้อมกับประกาศสถาปนารัฐบาลโชกุนขึ้นปกครองญี่ปุ่น

การเถลิงอำนาจของตระกูลโฮโจ แก้

ภายหลังการอสัญกรรมของโชกุนโยะริโตะโมะ โฮโจ โทะกิมะซะ ประมุขแห่งตระกูลโฮโจ (ตระกูลของภริยาโชกุน), โฮโจ มะซะโกะ และเหล่าบริวารในอดีตของโยะริโตะโมะ ได้อ้างอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินในนามของ "ผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน" (ชิกเก็ง) จากโชกุน มิตะโมะโตะ โนะ โยะริอิเอะ บุตรชายคนโตของโชกุนโยะริโตะโมะคนในตระกูลโฮโจก็ดำรงตำแหน่งชิกเก็งนี้แบบสืบสายเลือดต่อมาซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ถือครองอำนาจอย่างแท้จริงโชกุนเพียงแต่ให้คำปรึกษาในบางครั้งคราวและเป็นประมุขของรัฐบาลเท่านั้น

การรุกรานจากมองโกล แก้

จักรวรรดิมองโกล ภายใต้การนำของกุบไล ข่าน ซึ่งกำลังแผ่ขยายอาณาเขตไปอย่างกว้างขวางยากที่ชาติไดในขณะนั้นจะต้านทานได้ ต้องการมีอำนาจเหนือญี่ปุ่น จึงส่งคณะทูตมาถึงสองครั้งเพื่อต้องการให้ญี่ปุ่นแสดงความจงรักภักดีต่อจักรพรรดิมองโกล แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากโทะกิมะซะ ทำให้มองโกลตัดสินใจบุกญี่ปุ่นสองครั้งในปี ค.ศ. 1274 และ 1281 ซึ่งมองโกลพ่ายแพ้ทั้งสองครั้งจากการที่ประสบกับพายุไต้ฝุ่น จากการที่มองโกลสูญเสียไพร่พลและทรัพยากรไปอย่างมหาศาลในศึกครานี้ สร้างความไม่พอใจให้กับกับประชาชน กองทัพและราชสำนักหยวน เป็นผลให้จักรวรรดิมองโกลเริ่มเสื่อมถอยจนล่มสลายในปี ค.ศ. 1368

การปกครอง แก้

  • เซอิไทโชกุน (征夷大将軍) หรือ คะมะกุระ-โดะโนะ (鎌倉殿) หรือโชกุน เป็นประมุขของรัฐบาลโชกุน ได้รับการแต่งตั้งจากราชสำนักเกียวโต ในยุคคะมะกุระโชกุนเป็นเพียงหุ่นเชิดของชิกเก็งเท่านั้น เป็นตำแหน่งทางพิธีการเพื่อให้รัฐบาลโชกุนยังคงดำเนินต่อไปได้
  • ชิกเก็ง (執権) หรือผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน เป็นผู้นำของมันโดะโกะโระ และเป็นผู้มีอำนาจปกครองประเทศโดยแท้จริง มีตระกูลโฮโจเป็นผู้มีสิทธิ์ขาดในตำแหน่ง
  • เร็งโช (連署) หรือรองผู้สำเร็จราชการแทนโชกุน มีอำนาจรองลงมาจากชิกเก็ง มีขึ้นครั้งแรกในสมัยของชิกเก็งโฮโจ ยะซุโตะกิ
  • เฮียวโจ-ชู (評定衆) สภาประกอบด้วยโงะเกะนิงหรือเจ้าผู้ครองแคว้นทั้งหลาย มีอำนาจสูงสุดตัดสินใจเกี่ยวกับกฎหมายและนโยบายต่าง ๆ ของชิกเก็ง ในสมัยหลังมีอำนาจลดลงเนื่องจากชิกเก็งกุมอำนาจเผด็จการไว้แต่ผู้เดียว
  • ฮิกิซึเกะ-ชู (引付衆) สภามีหน้าที่ตัดสินคดีความต่าง ๆ ระหว่างโงะเกะนิง
  • มันโดะโกะโระ (政所) สภาประกอบด้วยขุนนางซะมุไร มีหน้าที่แนะนำและลงความเห็นนโยบายของโชกุน มีอำนาจเฉพาะในสมัยของโชกุนมินะโมะโตะ โนะ โยะริโตะโมะ
  • มงชู-โจ (問注所) สภามีหน้าที่ตัดสินคดีความต่าง ๆ คล้ายกับฮิกิซึเกะ-ชูเพียงแต่เป็นของโชกุน
  • โงะเกะนิง (御家人) ซะมุไรผู้ถือครองที่ดินที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลโชกุนส่วนกลาง ได้รับผลประโยชน์จากผลผลิตในที่ดินของตน โดยมีหน้าที่ต้องให้กำลังพลและทรัพยากรในยามที่รัฐบาลกลางต้องการ ตามระบอบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) ประกอบด้วย
    • จิโต (地頭) ขุนนางซะมุไรผู้ปกครองที่ดินขนาดเล็ก
    • ชูโง (守護) ขุนนางซะมุไรผู้ปกครองแคว้นใหญ่ ซึ่งประกอบไปด้วยหลายจิโต
  • โระกุฮะระ ทังได (六波羅探題) เปรียบเสมือนเป็นสาขาสองของรัฐบาลโชกุนในเมืองเกียวโต ตั้งอยู่ในเขตโระกุฮะระ (六波羅) ของเมืองเกียวโต เกิดขึ้นหลังจากสงครามโจคิวเพื่อควบคุมราชสำนักเกียวโต มีผู้นำสองคนได้แก่ คิตะ-โนะ-คะตะ (北方) ดูและส่วนเหนือของเกียวโต และ มินะมิ-โนะ-คะตะ (南方) ดูแลส่วนใต้ของเกียวโต
  • ชิงเซย์-บุเงียว (鎮西奉行) ผู้ปกครองชิงเซย์ หรือเกาะคีวชู หลังจากการรุกรานญี่ปุ่นของมองโกล จึงได้มีการยกระดับขึ้นเป็น ชิงเซย์-ทังได (鎮西探題)
  • มิอุชิบิโตะ (御内人) คนรับใช้ประจำตระกูลโฮโจ เรืองอำนาจขึ้นมาในช่วงปลายสมัยคะมะกุระ เช่น ไทระ โนะ โยะริซึนะ นะงะซะกิ เอ็งกิ

รายนามโชกุนคะมะกุระ แก้

ลำดับ ภาพ ชื่อ ช่วงเวลามีชีวิต ช่วงเวลาดำรงตำแหน่ง
1   มินาโมโตะ โนะ โยริโตโมะ ค.ศ. 1147–1199 ค.ศ. 1192–1199
2   มินาโมโตะ โนะ โยริอิเอะ ค.ศ. 1182–1204 ค.ศ. 1202–1203
3   มินาโมโตะ โนะ ซาเนโตโมะ ค.ศ. 1192–1219 ค.ศ. 1203–1219
4   คูโจ โยริตสึเนะ ค.ศ. 1218–1256 ค.ศ. 1226–1244
5 คูโจ โยริตสึงุ ค.ศ. 1239–1256 ค.ศ. 1244–1252
6 เจ้าชายมูเนตากะ ค.ศ. 1242–1274 ค.ศ. 1252–1266
7 เจ้าชายโคเรยาซุ ค.ศ. 1264–1326 ค.ศ. 1266–1289
8 เจ้าชายฮิซาอากิ ค.ศ. 1276–1328 ค.ศ. 1289–1308
9 เจ้าชายโมริกูนิ ค.ศ. 1301–1333 ค.ศ. 1308–1333

หมายเหตุ แก้

  1. มีการแบ่งปันอำนาจในการปกครองประเทศระหว่างอำนาจพลเมืองในเกียวโตและอำนาจทางทหารในคามากูระ[1]

อ้างอิง แก้

  1. "Japan § Medieval Japan". britannica.com. Encyclopædia Britannica, Inc. สืบค้นเมื่อ October 22, 2020.
  2. "Kamakura period | Japanese history". britannica.com. Encyclopædia Britannica, Inc. สืบค้นเมื่อ October 22, 2020.
  3. John A. Harrison. "Hōjō Family | Japanese family". britannica.com. Encyclopædia Britannica, Inc. สืบค้นเมื่อ October 22, 2020.
  4. Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Kamakura-jidai" in Japan Encyclopedia, p. 459, p. 459, ที่ Google Books.

35°19′N 139°33′E / 35.317°N 139.550°E / 35.317; 139.550