รัฐบาลเสียงข้างน้อย
รัฐบาลเสียงข้างน้อย (อังกฤษ: minority government) เป็นรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองซึ่งไม่ได้เสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติ[1] ตรงกันข้ามกับรัฐบาลเสียงข้างมาก ที่จัดตั้งขึ้นโดยพรรคการเมืองซึ่งได้เสียงข้างมากในสภานิติบัญญัติ[1]
รัฐบาลเสียงข้างน้อยอาจเกิดขึ้นในกรณีที่ไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากอย่างชัดเจนในสภานิติบัญญัติ ซึ่งเป็นสภาวะที่เรียกว่า สภาแขวน (hung parliament)[2] แต่ถึงจะจัดตั้งรัฐบาลขึ้นได้ ฝ่ายเสียงข้างน้อยก็ยังต้องอาศัยเสียงจากพรรคอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายตนในการดำเนินการต่าง ๆ เช่น ในการออกกฎหมาย[2][3] ถ้าไม่ได้เสียงสนับสนุนจากพรรคอื่น ๆ เช่นนี้แล้ว ก็จะต้องจัดการเลือกตั้งใหม่[4]
การศึกษาวิจัยของสถาบันประชาธิปไตยอิสราเอลเกี่ยวกับรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศทางยุโรป 29 ประเทศซึ่งปกครองในระบอบประชาธิปไตยระหว่าง ค.ศ. 1945–2010 นั้น พบว่า ราว 33% เป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย[5] รัฐบาลเสียงข้างน้อยส่วนใหญ่ที่จัดตั้งขึ้นในประเทศประชาธิปไตยนั้นเป็นรัฐบาลพรรคเดียว แต่ก็มีจำนวนพอสมควรที่มาจากการรวมกลุ่มเสียงข้างน้อย[5] ตัวอย่าง คือ กรณีของเทรีซา เมย์ นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ที่นำเสียงข้างน้อยของพรรคตนเอง คือ พรรคอนุรักษนิยม มารวมกับเสียงข้างน้อยของพรรคสหภาพนิยมประชาธิปไตย จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลขึ้นได้ในช่วง ค.ศ. 2017–2019[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Parliament of Cananda (n.d.). "Majority and Minority Governments". Learn about Parliament.
- ↑ 2.0 2.1 UK Parliament (2023). "Minority government". UK Parliament.
- ↑ "Minority government". Tutor2u. 2023.
- ↑ Commonwealth of Australia (2023). "If we now have a minority government, why aren't we having an election?". Parliamentary Education Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-15. สืบค้นเมื่อ 2023-05-15.
- ↑ 5.0 5.1 Shapira, Assaf (2022-04-06). "Minority Governments: Why Smaller Is Not Necessarily Worse". Israel Democracy Institute.
- ↑ Field, Bonnie N.; and, Martin, Shane (2022-12-05). "Understanding minority governments in parliamentary democracies". London School of Economics and Political Science.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)