รัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียต

รัฐธรรมนูญแห่งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (รัสเซีย: Конституция Союза Советских Социалистических Республик) เป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดของสหภาพโซเวียต โดยที่สหภาพโซเวียตมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 3 ฉบับ ซึ่งปรับแก้จากรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1918 ของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย ซึ่งเป็นรัฐบรรพบุรุษของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต

ไปรษณียากรของสหภาพโซเวียต เนื่องในวาระการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปี 1977

ลำดับของรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียต

แก้

ทั้งสามรัฐธรรมนูญมีดังนี้:

รัฐธรรมนูญนี้มีบทบัญญัติมากที่สุด บทบัญญัติเหล่านี้ได้ประกาศความเป็นผู้นำของชนชั้นแรงงาน และในช่วงที่สองคือบทบาทการเป็นผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตในรัฐบาลและสังคม รัฐธรรมนูญทั้งหมดได้ยึดถือรูปแบบของทรัพย์สินทางสังคม แต่ละรัฐธรรมนูญเรียกร้องให้มีระบบโซเวียตเป็นสภาที่จะใช้อำนาจบริหารรัฐ

โดยทั่วไปแล้ว รัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียตมีลักษณะคล้ายคลึงกับรัฐธรรมนูญหลายแห่งที่ได้รับการยอมรับในโลกตะวันตก แต่ความแตกต่างระหว่างรัฐโซเวียตและโลกตะวันตกของรัฐธรรมนูญทำให้ความคล้ายคลึงกันลดลง รัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียตประกาศสิทธิทางการเมืองบางอย่าง ตัวอย่างเช่น เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการชุมนุม และเสรีภาพในการนับถือศาสนา นอกจากนี้ยังระบุถึงสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมรวมถึงหน้าที่ของประชาชนทุกคน สภานิติบัญญัติจะได้รับการเลือกตั้งในการเลือกตั้งเป็นระยะ

ในช่วงนโยบายเปเรสตรอยคาของปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 รัฐธรรมนูญได้ช่วยให้กรอบของการปกครองแบบประชาธิปไตยขยายออกไป

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  • Jewgeni Schukow และคณะ. Sowetskaja istoritscheskaja enziklopedija: Tom 7 (สารานุกรมประวัติศาสตร์โซเวียต ชุด 7). Sowetskaja enziklopedija (สารานุกรมโซเวียต), มอสโก ค.ศ. 1965, หน้า 838 เป็นต้นไป. (รัสเซีย)
  • Tamara Abowa และคณะ. Konstituzija Strany Sowetow: slowar (รัฐธรรมนูญแห่งแผ่นดินโซเวียต: พจนานุกรม), มอสโก ค.ศ. 1982. (รัสเซีย)