รัฐธรรมนูญคิวบา

กระทั่งก่อนคิวบาได้รับเอกราชจากสเปน ผู้ก่อการกำเริบก็เสนอหรือมีมติเห็นชอบรัฐธรรมนูญเป็นเอกสารปกครองดินแดนที่ตนควบคุมระหว่างสงครามต่อต้านสเปน ประเทศคิวบามีรัฐธรรมนูญหลายฉบับนับแต่ได้รับเอกราช รัฐธรรมนูญฉบับแรกนับตั้งแต่การปฏิวัติคิวบามีการร่างในปี 2519 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมนับแต่นั้น ในปี 2561 คิวบาได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งใหญ่ ซึ่งประชาชนและนักวิชาการได้พูดคุยกันอย่างกว้างขวาง[1] รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ประกาศใช้ในปี 2562[2][3][4]

รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1976 แก้

หลังการปกครองนอกเหนือรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี 2502 ถึง 2518 รัฐบาลคิวบาปฏิวัติมุ่งทำให้การปฏิวัติได้รับการยอมรับโดยการนำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ประชานออกเสียงลงคะแนน รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1976 ได้รับมติเห็นชอบจากการลงประชามติเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2519 ซึ่งผู้ออกเสียงลงคะแนน 97.7% อนุมัติ มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2519 รัฐธรรมนูญนี้เรียกการควบคุมตลาดแบบรวมศูนย์ และการผูกมัดรัฐให้จัดหาการเข้าถึงการศึกษาและการสาธารณสุขแบบให้เปล่าแก่พลเมือง รัฐมีอำนาจวางระเบียบกิจกรรมของสถาบันศาสนาและห้ามการครอบครองบริษัทสื่อของเอกชน

ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 กลุ่มตะวันออกล่มสลายและคิวบาเผชิญวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในสมัยพิเศษ (Special Period) ในปี 2535 มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ลบข้อจำกัดบางอย่างของการลงทุนต่างชาติและอนุญาตให้บริษัทต่างชาติมีสิทธิเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้จำกัดบนเกาะหากร่วมลงทุนกับรัฐบาล[5] มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอีกครั้งว่าคิวบาเป็นรัฐโลกวิสัย (secular state) มิใช่รัฐอเทวนิยม ทำให้ท้องถิ่นเข้ามีส่วนในวันสำคัญทางศาสนามากขึ้น เพิ่มงานบริการสังคมในส่วนของการกุศลระหว่างประเทศที่นิยมนิกาย (sectarian) และการรับรองพหุนิยมทางศานาของสาธารณะ[6] ในปี 2555 มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อกำหนดว่าระบบสังคมนิยมเป็นถาวรและไม่อาจเพิกถอนได้[7]

อ้างอิง แก้

  1. "With significant constitutional changes, Cuba's leaders aim for their system's survival". NBC News. สืบค้นเมื่อ 25 February 2019.
  2. Vela, Andrea Torres, Hatzel (2019-04-10). "Cuba enacts new constitution". WPLG (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-07-20.
  3. "Raul Castro: New Constitution Guarantees Continuity of Revolution". 10 April 2019.
  4. "Defiant Cuba enacts new constitution amid US pressure". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2019-04-10. สืบค้นเมื่อ 2021-07-20.
  5. Travieso-Diaz, Matias F. (1997). The Laws and Legal System of a Free-market Cuba: A Prospectus for Business. Quorum Books. p. 106. สืบค้นเมื่อ 10 February 2016.
  6. Goldenziel, Jill I. (2009). "Sanctioning Faith: Religion, State, and U.S.-Cuban Relations". Journal of Law and Politics. 25 (179). สืบค้นเมื่อ 10 February 2016.
  7. Venegas, Cristina (2010). Digital Dilemmas: The State, the Individual, and Digital Media in Cuba. Rutgers University Press. p. 27. สืบค้นเมื่อ 10 February 2016.