รังษี เสรีชัย
รังษี เสรีชัย ชื่อจริงว่า รังษี เสรีชัยใจมุ่ง เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2503 นักร้องลูกทุ่งชายชื่อดัง อดีตข้าราชการการเมืองประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[1] ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เขามีเสียงดี หน้าตาหล่อเหลา และมีผลงานเพลงเป็นที่รู้จักของแฟนเพลงทั่วไปหลายเพลง รังษี เสรีชัย โด่งดังมาจากเพลง " น้ำกรดแช่เย็น"
รังษี เสรีชัย | |
---|---|
ชื่อเกิด | สมชาย ใจมุ่ง |
เกิด | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 |
ที่เกิด | จังหวัดราชบุรี |
แนวเพลง | ลูกทุ่ง |
อาชีพ | นักร้อง |
ประวัติ
แก้รังษี เสรีชัย เดิมมีชื่อจริงว่า สมชาย ใจมุ่ง มีชื่อเล่นว่า หนุ่ม เป็นชาว จ.ราชบุรี ตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียน เขาชอบการร้องเพลงลูกทุ่งมาโดยตลอด หลายครั้งครูที่โรงเรียนก็ลงโทษเขาเมื่อกระทำความผิดต่างๆด้วยการให้ไปยืนร้องเพลงที่หน้าเสาธง หรือหลังพิธีสวดมนต์ของทางโรงเรียน (โรงเรียนคริสต์ ) เขาก็มีหน้าที่นำนักเรียนร้องเพลงสวด นอกจากนั้น ก็ยังชอบไปสมัครประกวดร้องเพลงที่สถานีวิทยาท้องถิ่นจัดอยู่เสนอ และก็ยังไปร่วมวงอยู่ในวงแตรวง และร้องเพลงเชียร์รำวง ด้วยความสนใจในเรื่องเสียงเพลงอย่างมาก ทำให้เขาตัดสินใจหยุดการศึกษาไว้ที่แค่ชั้นประถม 7. เท่านั้น แต่เป็นที่น่าประหลาดใจก็คือรังษี ไม่เคยชนะการประกวดรายการอะไรเลย
เมื่อตอนอายุประมาณ 19 ปี เพื่อนคนหนึ่งได้พารังษี เสรีชัยไปสมัครประกวดร้องเพลงที่จัดโดยสวนอาหารแห่งหนึ่งชื่อ " ตุ๊กตา " ปรากฏว่าการประกวดจบลงที่แค่รอบ 2 โดยไม่มีการแจ้งสาเหตุ แต่ในระหว่างนั้น สรรเสริญ รุ่งเสรีชัย ได้เห็นแววดังของนักร้องหนุ่ม จึงชักชวนรังษี มาบันทึกแผ่นเสียง พร้อมกับตั้งชื่อให้เขา โดยชื่อนั้นนำมาจากชื่อค่ายภาณุรังษี ส่วนนามสกุลนั้นก็นำมาจากนามสกุล รุ่งเสรีชัยของเขาเอง
รังษีบันทึกเสียงในผลงานเพลงชุดแรกรวม 14 เพลง และระหว่างที่รอการโปรโมตให้เพลงติดตลาด รังษีได้กลับไปบวชเป็นพระ ระหว่างนั้นเพลง " น้ำกรดแช่เย็น " และ "ร้องไห้ปลายนา" ของเขาก็เกิดดังนั้นมา นายทุนจึงเตรียมตั้งวงดนตรีรอ และเมื่อรังษีสึกออกมา ก็ได้เริ่มเดินสายทันที และออกแสดงครั้งแรกวันที่ 31 ธันวาคม 2525 ที่วัดท่าแร้ง ปรากฏว่า ได้รับการต้อนรับจากแฟนเพลงล้นหลาม เพราะแม้จะเก็บค่าชมคนละ 10 - 15 บาท ก็ยังเก็บเงินได้ถึง 2 แสนบาท คิดเป็นจำนวนผู้ มาชมก็ราวหมื่นคน รังษี เสรีชัย ได้แจ้งเกิดในถนนสายลูกทุ่งเต็มตัว
รังษีออกเดินสายอยู่นานราว 3 ปี ระหว่างนั้น รังษีก็มีผลงานเพลงคู่ร่วมกับศิลปินร่วมค่ายอย่างศิรินทรา นิยากร ออกมาด้วย ก่อนที่จะออกมาทำวงเอง และมีผลงานตามมาอีกหลายชุด ก่อนที่ชื่อเสียงจะตกต่ำ จึงหันไปทำธุรกิจร้านอาหารตามจังหวัดต่างๆ รวมทั้งที่สระบุรี และลงเล่นการเมืองท้องถิ่นโดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล อ.มวกเหล็ก ช่วงปี 2543 - 2547 รวมทั้งพยายามขยับมาเล่นการเมืองระดับประเทศ ด้วยการสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคมหาชน เขต 2 จ.สระบุรี 2548 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ [2]
ผลงานเพลงดัง
แก้- น้ำกรดแช่เย็น
- ตอไม้ที่ตายแล้ว
- กากีเหมือนดอกไม้
- ดอกจาน
- ไม่รักบอกด้วย
- คิดถึงลำดวน
- กินยาอะไร
- รอวันเธอว่าง
- คืนนัดพบ
- คำวอนก่อนลา
- ไข้ใจ
- รังษีไม่ดีตรงไหน
- เกียรติทหารเกณฑ์
- 26 ตกเกณฑ์รัก
- ก้อนหินชายหาด
ผลงานการแสดงภาพยนตร์
แก้- ลูกทุ่งเสียงทอง (2528)
- มนต์เพลงลูกทุ่ง เอฟ.เอ็ม. (2545)
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/102/44.PDF
- ↑ "ประวัติรังษี เสรีชัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-15. สืบค้นเมื่อ 2014-02-06.