รักษ์ ตันติสุนทร

นายรักษ์ ตันติสุนทร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (ครม.53) และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก 2 สมัย

รักษ์ ตันติสุนทร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
8 กันยายน พ.ศ. 2543 – 6 มกราคม พ.ศ. 2544
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 มิถุนายน พ.ศ. 2478
อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
เสียชีวิต5 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (75 ปี)
คู่สมรสจงรักษ์ ตันติสุนทร

ประวัติ แก้

รักษ์ ตันติสุนทร เกิดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2478 ที่อำเภอเมือง จังหวัดตาก เป็นบุตรของนายซ้งกี่ กับนางแจง ตันติสุนทร และเป็นน้องชายของนายอุดร ตันติสุนทร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 เขาประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ สมองช้ำบวม มีเลือดออกกดที่เนื้อสมองและใต้เยื่อสมองข้างซ้าย ต้องรักษาโดยการเจาะคอช่วยการหายใจและใส่ท่อให้อาหารทางกระเพาะอาหาร ต้องผ่าตัดสมองเพื่อหยุดการไหลของเลือด และต้องนำกะโหลกศีรษะออกบางส่วน โดยรักษาตัวอยู่ในห้องบำบัดผู้ป่วยหนัก (ไอ.ซี.ยู) อย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 ศาลจังหวัดตาก จึงมีคำสั่งให้นายรักษ์ ตันติสุนทร เป็นคนไร้ความสามารถ[1] ในที่สุดเขาถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การทำงาน แก้

รักษ์ ตันติสุนทร เป็นนักธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจตลาดสี่มุมเมือง[2] และเป็นนักการเมือง เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ได้ย้ายมาลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อโดยให้บุตรชายคือ นายธนญ ตันติสุนทร ลงสมัครในพื้นที่จังหวัดตากแทน แต่นายรักษ์ ไม่ได้รับเลือกตั้งเนื่องจากเขาลงสมัครเป็นลำดับที่ 43 แต่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งถึงลำดับที่ 39 ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 เขาและลูกชาย ได้วางมือทางการเมือง ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งนั้น[2]

ต่อมาเขาได้ลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดตาก ได้คะแนน 62,108 คะแนน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ศาลสั่งให้ "รักษ์ ตันติสุนทร" อดีตรัฐมนตรี เป็นคนไร้ความสามารถ ประสบอุบัติเหตุ ไม่รู้สึกตัว
  2. 2.0 2.1 "ประชาธิปัตย์ตากวุ่น"รักษ์-ลูก"พักรบ ไทยรักไทยจ้องเขต 1-ชาติไทยแรงเขต 3". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-05-03.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒๗, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๖๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  5. รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๖ จากเว็บไซต์ thaiscouts