ระบบตอนอัตโนมัติ

ระบบตอนอัตโนมัติ (อังกฤษ: Automatic block signalling) หมายถึง ระบบอาณัติสัญญาณรถไฟซึ่งใช้สัญญาณห้ามและสัญญาณเตือนวางไว้เป็นช่วง ๆ ระหว่างทางให้ถี่พอจะรองรับขบวนรถได้หลายขบวน สัญญาณหนึ่งชุดจะอนุญาตให้ขบวนรถเข้าสู่ตอนที่สัญญาณนั้นดูแลไปจนถึงตอนถัดไป ระบบตอนอัตโนมัติต่างจากระบบตอนสมบูรณ์ตรงที่เมื่อขบวนรถถึงตอนถัดไปแล้ว ทางสะดวกจะถูกคืนโดยอัตโนมัติไม่ต้องคืนทางสะดวกโดยคน

ในอดีต นอกเหนือจากการใช้โทรเลขไฟฟ้าขอและให้ทางสะดวกผ่านระบบตอนสมบูรณ์ (ซึ่งประดิษฐ์เป็นครั้งแรกในสหราชอาณาจักรก่อนจะแพร่หลายมายังสหรัฐอเมริกา[1])แล้ว ยังมีการใช้ตั๋วทางสะดวกสำหรับแจ้งพนักงานขับรถให้ทำขบวนเข้าสู่ตอนนั้น ๆ หรืออาจออกตั๋วไม่ได้ทางสะดวกหากต้องการให้ขบวนรถมากกว่าหนึ่งขบวนเข้าสู่ตอนหนึ่งตอน ในบางกรณีหากมีขบวนรถล่าช้า อาจจะเปลี่ยนสถานที่หลีกขบวนรถจากสถานีที่ทำการนี้ประจำเป็นอื่นได้ (เรียกว่าการเปลี่ยนหลีก การกระทำทั้งหมดนี้กำกับดูแลโดยพนักงานควบคุมการเดินรถแขวง[2][3] การออกตั๋วไม่ได้ทางสะดวกถือว่าอันตรายมาก และจะกระทำเมื่อจำเป็นอย่างแท้จริง หากมีสัญญาณอัตโนมัติระหว่างทาง ก็จะช่วยทำให้ไม่ต้องออกตั๋วไม่ได้ทางสะดวก และทำให้สามารถเพิ่มจำนวนขบวนรถได้ง่ายและปลอดภัยขึ้น ระบบตอนอัตโนมัติประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2414 ในเส้นทางรถไฟสายตะวันออกรัฐเพนซิลเวเนีย แม้ราคาจะแพงกว่าอาณัติสัญญาณปกติมาก แต่ต่อมาเมื่อระบบได้พิสูจน์ว่าคุ้มราคาแล้วจึงมีการใช้แพร่หลาย

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Report of the Interstate Commerce Commission on Block-Signal Systems and Appliances for the Automatic Control of Railroad Trains. Washington: Government Printing Office. 1907. pp. 6–9. สืบค้นเมื่อ 2013-12-01.
  2. Gwyer, William L. (2006-05-01)."Train Orders." ABC's of Railroading. Trains magazine. Accessed December 6, 2013.
  3. ฝ่ายการเดินรถ (31 ธันวาคม 2550). "ข้อบังคับและระเบียบการเดินรถ พ.ศ. 2549". การรถไฟแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help) (หมวด 3)