รถลาก (Rickshaw) หรือคนไทยในอดีตเรียกว่า รถเจ๊ก เป็นยานพาหนะที่ใช้คนลาก ตัวรถมีลักษณะเป็นเกวียนที่มีสองล้อ รถลากเป็นที่นิยมในเมืองต่าง ๆ ในเอเชีย อาทิ โยโกฮามา (ญี่ปุ่น), ปักกิ่ง (จีน), เซี่ยงไฮ้ (จีน), ย่างกุ้ง (พม่า) กัลกัตตา มุมไบหรือบอมเบย์ (อินเดีย) และกรุงเทพมหานคร (ไทย)

รถลากในเมือง โกเปียว (ฟินแลนด์)

ประวัติ

แก้
 
ภาพ Les Deux Carrosses โดย Claude Gillot ปี ค.ศ. 1707
 
รถลากโกลกาตา

จากภาพเขียน "Les deux carrosses" (ปี ค.ศ. 1707)โดย Claude Gillot แสดงให้เห็นว่ามีการใช้รถลากมาตั้งแต่ ศตวรรษที่ 17 บนท้องถนนปารีส รถลากเริ่มมีให้เห็นในญี่ปุ่นในปี 1868 ในสมัยเมจิ โดยได้รับความนิยมในเวลาต่อมา เพราะสามารถสัญจรได้เร็วกว่าเกี้ยว (และการใช้แรงงานคนราคาถูกกว่าใช้ม้า) ส่วนคนที่เริ่มประดิษฐ์รถลาก เท่าที่มีการบันทึกได้ คือช่างเหล็กชาวอเมริกันชื่อ Albert Tolman ที่ถูกพูดว่าได้ประดิษฐ์รถลากในช่วงปี 1848 ใน Worcester รัฐ Massachusetts ไว้ให้มิชชันนารี

อีกคนที่อ้างถึงคือ Jonathan Scobie (หรือ W. Goble)มิชชันนารีชาวอเมริกันในญี่ปุ่น ประดิษฐ์รถลากในปี 1869 ให้ภรรยาเดินทางในถนนในโยโกฮามา ในญี่ปุ่นมักกล่าวว่าคนประดิษฐ์คือ อิซุมิ โยสุเกะ, ซูซุกิ โตคูจิโร่ , และ ทากายาม่า โคสุเกะ ที่ประดิษฐ์ในปี 1868 โดยในปี 1870 ผู้ปกครองโตเกียวได้อนุญาตให้ทั้ง 3 คน สร้างและขาย โดยคนที่ซื้อรถลากจะต้องได้ใบอนุญาตจากหนึ่งในสามของผู้ผลิต

รถลากมีในอินเดียในปี 1880 ส่วนในจีนมีการใช้รถลากเพื่อขนส่งสินค้า ในปี 1914 จีนจึงอนุญาตให้ใช้รถลากในการสัญจรคน

รถลากในประเทศไทย

แก้
 
ภาพรถเจ๊กหน้าพระบรมมหาราชวัง ราว ค.ศ. 1908

รถลากในประเทศไทยหรือที่เรียกกันว่า รถเจ๊ก เพราะพาหนะประเภทนี้มีแต่คนจีนเป็นผู้มีอาชีพรับจ้างลาก ดั้งเดิมเป็นของญี่ปุ่น แต่แรกเมื่อในรัชกาลที่ 4 นั้น พวกพ่อค้าสำเภานำมาน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงโปรดฯให้ซื้อเข้ามาพระราชทานเจ้านาย และขุนนางผู้ใหญ่บ้าง สั่งซื้อกันเองบ้าง ใช้เป็นพาหนะส่วนพระองค์และส่วนตัว แต่ที่สั่งมาใช้วิ่งรับส่งคนโดยสารและบรรทุกของนั้น ผู้สั่งเข้ามาเป็นคนแรกชื่อ นายฮ่องเชียง แซ่โหงว เมื่อ พ.ศ. 2417 ต้นรัชกาลที่ 5 เมื่อผู้คนนิยมกันมากขึ้น พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก) จึงตั้งโรงงานทำรถลากขึ้นในเมืองไทยเสียเองโดยสั่งช่างมาจากเมืองจีน รถลากรับจ้างเริ่มมีบนถนนมากขึ้น จนกระทั่งจำเป็นต้องควบคุม พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง จึงโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติรถลาก ร.ศ. 120 (พ.ศ. 2444) ขึ้น โดยมีพระราชปรารภว่า

"กรุงเทพพระมหานครในทุกวันนี้ มีรถคนลากสำหรับรับจ้างคนโดยสาร และรับบรรทุกของเดินในถนนหนทางทวียิ่งขึ้นเป็นอันมาก แต่รถที่ใช้นั้นไม่แข็งแรงมั่นคง แลไม่มีสิ่งที่สำหรับป้องกันอันตรายของผู้โดยสาร กับทั้งไม่สะอาดเรียบร้อยตลอดไปจนคนลากรถด้วย ย่อมเป็นที่รังเกียจรำคาญแก่ผู้ที่จะใช้รถ หรือผู้เดินทางในท้องถนนร่วมกัน อีกประการหนึ่ง คนที่ลากรถนั้น บางทีรับคนโดยสารหรือรับบรรทุกสิ่งของที่มากหรือหนักเกินกำลังรถที่จะพาไปได้ จนเป็นเหตุเกิดอันตรายแก่คนโดยสารแลคนเดินทางกับทั้งรถ แลไม่เป็นความเรียบร้อยในท้องถนนอีกด้วย"

พระราชบัญญัตินี้ บังคับให้ต้องจดทะเบียนรถ และต้องนำรถมาตรวจสภาพต่อเจ้าพนักงานจดทะเบียน หลังจดทะเบียนแล้ว เจ้าหน้าที่จะให้เลขหมายติดรถ และให้เครื่องหมายที่มีเลขตรงกันกับทะเบียนรถให้คนลากติดหน้าอกไว้ให้ตรงกัน บังคับให้จุดโคมไฟเวลากลางคืน และยังมีข้อบังคับปลีกย่อยอีกหลายข้อ เช่นห้ามบรรทุกศพคน ให้จอดพักรถตามที่พนักงานกำหนดไว้เท่านั้น ฯลฯ

รถลากหรือรถเจ๊กนี้ วิ่งในถนนตั้งแต่ พ.ศ. 2417 เลิกใช้ตามกฎหมาย เมื่อ พ.ศ. 2478 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้