รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศ

รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Express, ขบวนที่: 45/46) เป็นรถด่วนพิเศษขบวนหนึ่งของการรถไฟแห่งประเทศไทย วิ่งระหว่างสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร กับสถานีปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส มาลาเซียใช้รหัสขบวน 45/46 ปัจจุบันสิ้นสุดเส้นทางที่สถานีปาดังเบซาร์และผู้โดยสารจะต้องผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองและไปซื้อตั๋วเพื่อขึ้นรถไฟ อีทีเอส หรือ โคมูเตอร์ ของมาเลเซียต่อไป

รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศ
รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศที่สถานีปาดังเบซาร์, มาเลเซีย
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทรถด่วนพิเศษ
สถานะเปิดให้บริการ
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, นครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง, และสงขลา ประเทศไทย และรัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย
ให้บริการครั้งแรก1 กันยายน พ.ศ. 2461 (106 ปีก่อน)
(นับจากวันก่อสร้างเส้นทางชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซา แล้วเสร็จ)
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
เส้นทาง
ปลายทางกรุงเทพอภิวัฒน์
ปาดังเบซาร์
จอด22
ระยะทาง751.42 km (466.91 mi)
เวลาเดินทาง18 ชั่วโมง 15 นาที
ความถี่ให้บริการ2 เที่ยวต่อวัน (เที่ยวไป/เที่ยวกลับ)
เลขขบวน45 (เที่ยวไป)
46 (เที่ยวกลับ)
ในเส้นทางทางรถไฟสายใต้
บริการบนขบวน
ชั้น2
ที่นอนรถนั่งและนอนชั้น 2
ข้อมูลทางเทคนิค
รางกว้าง1,000 mm (3 ft 3 38 in)
ความเร็ว100 km/h (62 mph)

ปัจจุบันชนิดรถที่ให้บริการมีเพียงรถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นสอง (บนท.ป.)

ประวัติ

แก้

รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศหรือชื่อเดิม รถด่วนสายใต้ เปิดเดินรถครั้งแรกในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2465 วิ่งทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันเสาร์ ต้นทางในขณะนั้นคือสถานีรถไฟบางกอกน้อย และได้ย้ายต้นทางมาที่สถานีรถไฟกรุงเทพ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2470 ต่อมาได้หยุดทำการเดินรถชั่วคราวระหว่างวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2493 จนถึง 2 มกราคม พ.ศ. 2497 เนื่องจากสะพานพระราม 6 ถูกทำลาย

โดยปกติรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพในช่วงบ่ายและไปถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธในช่วงสายของวันถัดมาโดยทำการเดินรถทุกวัน แต่ภายหลังในช่วงกลางปี พ.ศ. 2559 หลังจากที่ประเทศมาเลเซียได้มีการปรับปรุงการให้บริการรถไฟด้วยระบบรถไฟฟ้าทางคู่ขนาดความกว้าง 1 เมตร หรือขบวนรถไฟ อีทีเอส ประกอบกับการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปิดขบวนรถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2559 ทำให้รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศจึงสิ้นสุดเส้นทางเพียงแค่สถานีปาดังเบซาร์ โดยจะพ่วงตู้โดยสารรวมไปกับรถด่วนพิเศษทักษิณขบวนที่ 37/38 (กรุงเทพ - สุไหงโกลก - กรุงเทพ) และผู้โดยสารจะต้องผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองและดำเนินการซื้อตั๋วเพื่อใช้บริการรถไฟของประเทศมาเลเซียเพื่อเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางต่อไป

กำหนดเวลาเดินรถ

แก้
 
รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศที่สถานีรถไฟกรุงเทพ

เที่ยวขึ้น

แก้

กำหนดเวลาเดินรถเริ่มใช้วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567

ขบวนที่ 45
(กรุงเทพอภิวัฒน์ - ปาดังเบซาร์)
สถานี ถึง ออก หมายเหตุ
กรุงเทพอภิวัฒน์ ต้นทาง 16.10 -
บางบำหรุ 16.21 16.22 -
ศาลายา 16.42 16.43 -
นครปฐม 17.10 17.12 -
บ้านโป่ง 17.31 17.32 -
ราชบุรี 18.00 18.10 -
เพชรบุรี 18.51 18.56 -
หัวหิน 19.45 19.50 -
วังก์พง 20:07 20.08 -
ประจวบคีรีขันธ์ 21.04 21.05 -
บางสะพานใหญ่ 22:03 22:04 -
ชุมพร 23:16 23:26 -
สุราษฎร์ธานี 01:49 01:52 -
ชุมทางทุ่งสง 03:38 03:48 -
ชะอวด 04:40 04:41 -
พัทลุง 05:21 05:23 -
บางแก้ว 05:45 05:46 -
ชุมทางหาดใหญ่ 06:35 07:20 สถานีตัดตู้โดยสารและแยกขบวน 37 และ 45 ออกจากกัน
คลองแงะ 07:42 07:43 -
ปาดังเบซาร์ (ไทย) 07.59 08:02 -
ปาดังเบซาร์ 08.05 (GMT +7)

09.05 (GMT +8)

ปลายทาง ประเทศมาเลเซีย


เที่ยวล่อง

แก้
ขบวนที่ 46
(ปาดังเบซาร์ - กรุงเทพอภิวัฒน์)
สถานี ถึง ออก หมายเหตุ
ปาดังเบซาร์ ต้นทาง 17.00 (GMT +7)

18.00 (GMT +8)

ประเทศมาเลเซีย
ปาดังเบซาร์ (ไทย) 17.03 17:06
คลองแงะ 17.23 17.24 -
ชุมทางหาดใหญ่ 17.46 18.05 พ่วงเข้ากับขบวนที่ 38 ที่สถานีนี้
บางแก้ว 18.53 18.54 -
พัทลุง 19.16 19.18 -
ชะอวด 19.58 19.59 -
ชุมทางทุ่งสง 20.52 21.02 -
สุราษฎร์ธานี 22.47 22.50 -
ชุมพร 01.17 01.27 -
บางสะพานใหญ่ 02.50 02.51 -
ประจวบคีรีขันธ์ 03.53 03.54 -
วังก์พง 04.52 04.53 -
หัวหิน 05.12 05.17 -
เพชรบุรี 06.10 06.13 -
ราชบุรี 06.56 06.59 -
บ้านโป่ง 07.28 07.29 -
นครปฐม 07.50 08.00 -
ศาลายา 08.28 08.29 -
บางบำหรุ 08.51 08.52 -
กรุงเทพอภิวัฒน์ 09:05 ปลายทาง -


อ้างอิง

แก้