เจเอ็นอาร์ คลาสซี 56

(เปลี่ยนทางจาก รถจักรไอน้ำโมกุล C56)

รถจักรไอน้ำโมกุล ซี 56 หรือ รถจักรไอน้ำ ซี 56 (Japanese National Railway class C56 steam locomotive) (JNR Class C56) (ญี่ปุ่น: C56形) ส่วนใหญ่จะเรียกว่า รถจักรไอน้ำ C56 เป็นรถจักรไอน้ำที่สร้างขึ้นในประเทศญี่ปุ่น สร้างโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น มีจำนวนรถจักรไอน้ำทั้งหมด 164 คันนำมาใช้การครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2489[1] จุดประสงค์หลักของรถจักรไอน้ำในระยะแรกจะใช้โดยกองทัพญี่ปุ่นในเส้นทางทางรถไฟสายมรณะไปสู่ประเทศพม่าระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และมีรถจักรไอน้ำที่ใช้งานโดยกองทัพญี่ปุ่นที่ฝั่งพม่า

รถจักรไอน้ำ C56, รถจักรไอน้ำโมกุล C56 (JNR Class C56)
C56 16.JPG
รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 714 (C56-16) จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ด้านหลังอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงบริเวณสถานีกรุงเทพ เขตปทุมวัน, กรุงเทพมหานคร
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อทางการรถจักรไอน้ำแห่งการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น ชั้น C56
ชนิดรถจักรไอน้ำ
แรงม้า592 แรงม้า
น้ำหนักจอดนิ่ง 34.27 ตัน
ทำงาน 37.63 ตัน
กดเพลา 10.61 ตัน
การจัดวางล้อ2-6-0 (โมกุล)
พิกัดตัวรถกว้าง 2,936 มม.
สูง 3,900 มม.
ยาว 14,325 มม.
ระบบห้ามล้อสุญญากาศ (ลมดูด) (ประเทศไทย)
ลมอัด (ประเทศญี่ปุ่น)
ความจุ10.02 มลบ.
ความเร็วสูงสุด75 กม./ชม.
ผู้สร้างสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น, ญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น
เริ่มใช้งานพ.ศ. 2478-พ.ศ. 2479 (ประเทศญี่ปุ่น)
พ.ศ. 2489 (ประเทศไทย)
จำนวนคันทั้งหมด164 คัน
หมายเลขC56-1-C56-164 (ประเทศญี่ปุ่น)
701-746 (ประเทศไทย)
ใช้งานในไทย ประเทศไทย โดย การรถไฟแห่งประเทศไทย
ญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น โดย การรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น
ระบบห้องขับมี 1 ห้องขับ,ฝั่ง
จำนวนคันที่ถูกตัดบัญชี160 คัน
จำนวนคันที่คงเหลือใช้งาน2 คัน
จำนวนคันที่ปรับปรุง2 คัน
รวมระยะเวลาใช้งานทั้งหมด77 ปี
ขนาดความกว้างของรางรถไฟสำหรับรถจักรไอน้ำโมกุล C56 โปรดสังเกตว่าประเทศไทยกับประเทศพม่าใช้รางขนาด 1.000 เมตร (สีชมพู) ส่วนประเทศญี่ปุ่นนั้นใช้รางขนาด 1.067 เมตร (สีม่วงอ่อน)
แบบล้อของรถจักรไอน้ำโมกุล C56
เรือนเพลิงในหม้อน้ำของรถจักรไอน้ำโมกุล C56

ปัจจุบัน รถจักรไอน้ำโมกุล C56 ที่ผ่านการใช้งานในประเทศไทยคงเหลืออยู่ 11 คัน และคงเหลือล้อขับ 1 คู่ และในประเทศพม่าคงเหลืออยู่ 1 คัน และคงเหลือคันเยื้องศูนย์ 2 ท่อน แบ่งได้ดังนี้

จอดเป็นอนุสรณ์ในประเทศไทย อยู่ 7 คัน คือหมายเลข 702 (C56-4), 714 (C56-16), 719 (C56-23), 728 (C56-36), 733 (C56-41), 738 (C56-47) และ 744 (C56-53)

จอดเป็นอนุสรณ์ในประเทศพม่า อยู่ 1 คัน หมายเลขของการรถไฟพม่าคือ C.0522 (C56-56)

จัดแสดงล้อขับในประเทศญี่ปุ่น อยู่ 1 คู่ ของหมายเลข 722 (C56-26) [2]

จอดเป็นอนุสรณ์ในประเทศญี่ปุ่น อยู่ 1 คัน คือหมายเลข 725 (C56-31)

ใช้การในประเทศญี่ปุ่น อยู่ 1 คัน คือหมายเลข 735 (C56-44)

ใช้การในประเทศไทยโดย การรถไฟแห่งประเทศไทย อยู่ 2 คันคือหมายเลข 713 (C56-15) และ หมายเลข 715 (C56-17) ซึ่ง 2 คันนี้ได้รับการบูรณะพร้อมๆกับรถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50 หมายเลข 953 และ 962 รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 824 และ 850 ในต้นปี พ.ศ. 2529 ซึ่งรถจักรไอน้ำโมกุล C56 ทั้ง 2 คันนี้ยังคงใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง และเคยทำการเดินขบวนเสด็จ หมายกำหนดการสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จไปยังปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ในปี พ.ศ. 2529 รวมถึงทำขบวนรถจักรไอน้ำพิเศษนำเที่ยวเป็นเวลาหลายปี ในปัจจุบันรถจักรไอน้ำโมกุล C56 ทั้ง 2 คันนี้ใช้ไม้หมอนรองรางรถไฟเก่ามาตัดเป็นท่อนๆในการใช้เป็นเชื้อเพลิง ในส่วนของหมายเลข 713 (C56-15) ได้มีการเปลี่ยนอะไหล่มาใช้คันเยื้องศูนย์ของ C56-19 (ตัวรถจักรไม่ได้นำมาใช้งานในไทย) และหมายเลข 723 (C56-28) อีกด้วย และรถจักรไอน้ำ C56 จะถูกนำมาใช้ในงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจะจัดงานในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี

คันเยื้องศูนย์ถูกนำมาใช้สำหรับหมายเลข 713 (C56-15) อยู่ 2 ท่อน คือของ C56-19 (ตัวรถจักรไม่ได้นำมาใช้งานในไทย) และของหมายเลข 723 (C56-28)

ประวัติแก้ไข

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กรมรถไฟได้ประสบความเสียหายในบริภัณฑ์รถไฟและสิ่งปลูกสร้างเป็นอย่างมาก เมื่อสงครามได้ยุติลง จึงปรากฏว่ากรมรถไฟขาดแคลนรถจักรและล้อเลื่อนที่จะมาใช้การรับใช้ประชาชนตามสถานะเดิมต่อไป ดังนั้นในปี พ.ศ. 2489 ด้วยความเอื้อเฟื้อของสหประชาชาติได้จำหน่ายรถจักรไอน้ำที่เหลือใช้จากสงครามให้แก่กรมรถไฟจำนวน 68 คัน (รุ่นเลขที่ 380-447) เพื่อบรรเทาการขาดแคลนดังกล่าว รถจักรเหล่านี้เป็นชนิดมิกาโด (2-8-2) ซึ่งเรียกกันโดยเฉพาะในวงการของสหประชาชาติว่ารถจักร “แมคอาเธอร์” เป็นรถจักรที่สร้างโดยบริษัทต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ตามรายการจำเพาะที่กำหนดขึ้นโดยทางการทหารแห่งสหรัฐ

นอกจากนี้ยังได้รับรถจักรที่เหลือใช้จากสงครามของฝ่ายญี่ปุ่น ซึ่งนำมาใช้การในเอเซียอาคเนย์นี้ 50 คัน คือ รถจักรญี่ปุ่น รุ่นเลขที่ 701-746 (C-56) และ รุ่นเลขที่ 761- 764 (C-58)และเป็นรถจักรของการรถไฟสหพันธรัฐมลายู ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นนำมาใช้การในประเทศไทยระหว่างสงครามอีก 18 คัน คือรุ่นเลขที่ 801 (เจ้าของเดิมเรียกว่ารุ่น "P")

เนื่องจากเดิมทีรถจักรไอน้ำ C56 ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานภายในประเทศญี่ปุ่นในช่วงปี พ.ศ. 2478 ซึ่งในเวลานั้นประเทศญี่ปุ่นได้เปลี่ยนมาใช้งานระบบห้ามล้อลมอัดหมดแล้ว รวมถึงได้เปลี่ยนเครื่องพ่วงจากแบบขอและห่วงคานเกลียวมาเป็นแบบอัตโนมัติ จึงต้องเปลี่ยนขอพ่วงแบบอัตโนมัติมาเป็นขอพ่วง ABC แทน ซึ่งมีระดับที่ต่ำกว่าเดิมต้องวางช่องของรังเครื่องพ่วงขึ้นมาใหม่ เมื่อรถจักรไอน้ำ C56 จำนวน 90 คันได้ถูกส่งมาใช้งานในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเหตุผลที่มีน้ำหนักกดเพลาไม่มากเกินไปนักกับสภาพเส้นทางนี้เพราะในสมัยนั้นรางของประเทศไทยรับน้ำหนักกดเพลาสูงสุดได้แค่เพียง 10.5 ตันเท่านั้น ในขณะที่รถจักร C56 มีน้ำหนักกดเพลาที่ 10.6 ตัน (เคยมีการนำเอารถจักรไอน้ำ C58 มาวิ่งจำนวน 4 คัน แต่ภายหลังได้นำกลับไปเพราะมีน้ำหนักกดเพลาถึง 13.5 ตัน) นอกจากนั้นก็ต้องทำการเปลี่ยนแปลงระบบห้ามล้อที่ใช้สั่งการรถพ่วงจากเดิมที่เป็นห้ามล้อลมอัดมาเป็นระบบห้ามล้อสูญญากาศ โดยติดตั้งเครื่องไล่ลมเข้าไปเพราะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเวลานั้นยังคงใช้ระบบห้ามล้อสูญญากาศอยู่ ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย , พม่า , กัมพูชาและมาเลเซีย

การรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่นสร้างรถจักร C56 มาเพื่อใช้งานกับรางที่มีความกว้างขนาด 1.067 เมตร ดังนั้นเมื่อนำมาใช้งานกับรางที่มีขนาดความกว้าง 1 เมตรในประเทศไทยจึงต้องทำการปรับล้อเพื่อให้สามารถใช้กับราง 1 เมตรได้ ( วิธีการนั้นไม่ได้ใช้วิธีการอัดแว่นล้อเข้ามาเหมือนกับที่ดำเนินการกับรถโดยสาร JR-West ในปัจจุบันนี้ ) แว่นล้อของรถจักร C56 ยังเป็นของเดิมที่ใช้กับราง 1.067 เมตร แต่ใช้วิธีการสร้างปลอกล้อขึ้นมาใหม่โดยให้มีขนาดความกว้างของพื้นล้อมากกว่าเดิมเพื่อให้เกาะกับรางขนาด 1 เมตรได้ ดังนั้นถ้าใครสังเกตก็จะเห็นว่าพื้นล้อของล้อกำลังรถจักรไอน้ำ C56 หมายเลข 713และ 715 ที่โรงรถจักรธนบุรี รวมทั้งที่จอดตั้งแสดงตามที่ต่างๆในประเทศไทยจะมีพื้นล้อกำลังที่กว้างกว่ารถจักรไอน้ำรุ่นอื่นๆ

รถจักรไอน้ำโมกุล C56 ในปัจจุบันแก้ไข

เนื่องจากรถจักรไอน้ำโมกุล C56 บางคันถูกตัดเศษเหล็กที่โรงรถจักรทั่วประเทศ บางคันได้ตั้งเป็นอนุสรณ์ที่สถานีรถไฟทั่วประเทศ และบางคันได้กลับสู่ประเทศญี่ปุ่นตามลำดับดังนี้

ผ่านการใช้งานประเทศไทยและประเทศพม่า (ความกว้างของรางรถไฟ: 1.000 เมตร) (Metre gauge)แก้ไข

ปัจจุบันรถจักรไอน้ำโมกุล C56 จากประเทศญี่ปุ่นที่ผ่านการใช้งานในประเทศไทยคงเหลืออยู่ 11 คัน และในประเทศพม่าคงเหลืออยู่ 1 คัน รวมทั้งหมด 12 คัน จอดเป็นอนุสรณ์ตามสถานที่ต่างๆทั้งหมด 9 คัน และยังสามารถใช้การได้ทั้งหมด 3 คัน แบ่งได้ดังนี้

จอดเป็นอนุสรณ์ในประเทศไทยอยู่ 7 คัน

จอดเป็นอนุสรณ์ในประเทศญี่ปุ่นอยู่ 1 คัน

จอดเป็นอนุสรณ์ในประเทศพม่าอยู่ 1 คัน

ใช้การได้ในประเทศญี่ปุ่นอยู่ 1 คัน

  • C56-44 (หมายเลขของการรถไฟแห่งประเทศไทยคือ 735) เดิมนั้น กองทัพญี่ปุ่นได้ตั้งชื่อรหัสรถจักร คือ C56-44 ใช้ในทางรถไฟสายมรณะ หลังสงครามครั้งที่ 2 ยุติลง รถจักรไอน้ำคันนี้ ได้ประจำการที่แขวงชุมพร จังหวัดชุมพร หลังการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เลิกใช้รถจักรไอน้ำทั้งหมดที่ลากจูงรถโดยสารและรถสินค้าเมื่อปี พ.ศ. 2519-2520 รถจักรไอน้ำคันนี้ สังกัดสุดท้ายที่รถจักรคันนี้เคยอยู่ก่อนถูกนำกลับประเทศญี่ปุ่น คือ แขวงชุมพร โดยหลังจากที่การรถไฟได้เลิกการใช้งานรถจักรไอน้ำทุกชนิดในการลากจูงขบวนรถสินค้า,โดยสาร เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2519 - 2520 รถจักรไอน้ำหลายต่อหลายคันก็ได้ถูกจอดทิ้งเอาไว้ตามแขวงต่างๆ บางคันก็ถูกขายเป็นเศษเหล็ก บางคันโชคดีหน่อยทีทางการได้นำไปตั้งแสดงตามสถานี หรือ สถานที่ต่างๆ รวมทั้งบางส่วนที่มีผู้ติดต่อขอซื้อเอาไว้ หนึ่งในนั้นคือ รถจักรไอน้ำ C56-44 หมายเลข 735 (ร.ฟ.ท.) ซึ่งได้ถูกบริษัท Oigawa Railway หรือ Daitetsu ของประเทศญี่ปุ่นซื้อไป จนสุดท้ายรถจักรคันนี้ได้ถูกนำกลับบ้านเกิดในปีพ.ศ. 2522 และเคลื่อนย้ายมาอยู่ที่ Oigawa Railway แห่งนี้ และถูกขยายล้อเพื่อให้สามารถลงรางรถไฟขนาด 1.067 (Cape Guage) เมตรของประเทศญี่ปุ่นได้ รวมถึงทำสีกลับเป็นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการใช้งาน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2550 รถจักรไอน้ำคันนี้ถูกทำสีกลับเป็นแบบสมัยใช้การในประเทศไทย โดยมีอักษร ร.ฟ.ท. อยู่บริเวณรถลำเลียงและหมายเลข 735 อยู่ด้านข้างห้องขับและด้านหน้าของตัวรถเพื่อทำขบวนรถพิเศษฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต 120 ปี ไทย - ญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2550 และทำขบวนรถท่องเที่ยวในสีนี้จนถึงปี พ.ศ. 2553 ต่อมาถูกทำสีกลับเป็นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นอีกครั้ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2558 ถูกทำเป็นสีแดงและตกแต่งภายนอกทุกอย่างให้เหมือนตัวละครรถจักรไอน้ำชื่อ James the Red Engine ในการ์ตูนเรื่อง Thomas & friends และล่าสุดปี พ.ศ. 2559 รถจักรไอน้ำคันนี้ถูกทำสีกลับเป็นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นและยังคงใช้การจนถึงทุกวันนี้

ใช้การได้ในประเทศไทยอยู่ 2 คัน โดย ร.ฟ.ท.

ประเทศญี่ปุ่น (ความกว้างของรางรถไฟ: 1.067 เมตร) (Cape gauge)แก้ไข

รถจักรไอน้ำโมกุล C56 ที่ยังคงเก็บรักษาไว้ในประเทศญี่ปุ่นมีจำนวน 20 คัน[3] ซึ่งจอดเป็นอนุสรณ์อยู่ตามที่ต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น และบางคันยังคงอยู่ในสภาพใช้การได้ ได้แก่

  • C56-92 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ด้านหน้าสถานีรถไฟอิซูมิในจังหวัดคาโงชิมะ
  • C56-94 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะนิชิในเมืองโอมาจิ จังหวัดนางาโนะ
  • C56-96 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่หมู่บ้านมินามิมากิ ในจังหวัดนางาโนะ
  • C56-98 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ห้องโถงศตวรรษที่ 19 บริเวณสถานีรถไฟโทรกโกะซางะ ในนครเกียวโต
  • C56-99 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ Dacho Dream Eco Land ในเมืองซัตสึมะเซ็นได, จังหวัดคาโงชิมะ
  • C56-101 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองซากุ, จังหวัดนางาโนะ
  • C56-106 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะ ในเมืองฟูจู, จังหวัดฮิโรชิมะ
  • C56-108 จอดอยู่ที่เมืองอุนนัง, จังหวัดชิมาเนะ
  • C56-110 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองโซกะ, จังหวัดไซตามะ
  • C56-111 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่โรงเรียนประถมศึกษาในเมืองทาการาซูกะ, จังหวัดเฮียวโงะ
  • C56-124 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ศูนย์การประชุมในเมืองอาซูมิโนะ, จังหวัดนางาโนะ
  • C56-126 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่โรงเรียนประถมโคบูจิซาวะในเมืองโฮกูโตะ, จังหวัดยามานาชิ
  • C56-129 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองอียามะ, จังหวัดนางาโนะ
  • C56-131 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองมัตสึเอะ, จังหวัดชิมาเนะ
  • C56-135 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่สวนสาธารณะในเมืองคาโต, จังหวัดเฮียวโงะ
  • C56-139 ปัจจุบันใช้ทำการแสดงในส่วนของทางรถไฟสายคานางาวะริงไกในนครโยโกฮามะ, จังหวัดคานางาวะ
  • C56-144 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ปราสาทโคโมโระ เมืองโคโมโระ, จังหวัดนางาโนะ
  • C56-149 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่ด้านหน้าสถานีรถไฟคิโยซาโตะ ในเมืองโฮกูโตะ, จังหวัดยามานาชิ
  • C56-150 จอดเป็นอนุสรณ์อยู่ที่หมู่บ้านฮากูบะ, จังหวัดนางาโนะ
  • C56-160 ปัจจุบันยังใช้การอยู่ที่พิพิธภัณฑ์รถไฟเกียวโต โดยเจอาร์-เวสต์

รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 735 (C56-44)แก้ไข

รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หมายเลข 735 เดิมนั้น กองทัพญี่ปุ่นได้ตั้งชื่อรหัสรถจักร คือ C56-44 ใช้ในทางรถไฟสายมรณะ หลังสงครามครั้งที่ 2 ยุติลง รถจักรไอน้ำคันนี้ ได้ประจำการที่แขวงชุมพร จังหวัดชุมพร หลังการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เลิกใช้รถจักรไอน้ำทั้งหมดที่ลากจูงรถโดยสารและรถสินค้าเมื่อปี พ.ศ. 2519-2520 รถจักรไอน้ำคันนั้น คือ รถจักร C56 44 หรือ หมายเลข 735 ตามหมายเลขที่เคยใช้ในการรถไฟแห่งประเทศไทย สังกัดสุดท้ายที่รถจักรคันนี้เคยอยู่ก่อนถูกนำกลับประเทศญี่ปุ่น คือ แขวงชุมพร โดยหลังจากที่การรถไฟได้เลิกการใช้งานรถจักรไอน้ำทุกชนิดในการลากจูงขบวนรถสินค้า,โดยสาร เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2519 - 2520 รถจักรไอน้ำหลายต่อหลายคันก็ได้ถูกจอดทิ้งเอาไว้ตามแขวงต่างๆ บางคันก็ถูกขายเป็นเศษเหล็ก บางคันโชคดีหน่อยทีทางการได้นำไปตั้งแสดงตามสถานี หรือ สถานที่ต่างๆ รวมทั้งบางส่วนที่มีผู้ติดต่อขอซื้อเอาไว้ หนึ่งในนั้นคือ รถจักรไอน้ำ C56 หมายเลข 735 (ไทย) ซึ่งได้ถูกบริษัท Oigawa Railway หรือ Daitetsu ของประเทศญี่ปุ่นซื้อไป จนสุดท้ายรถจักรคันนี้ได้ถูกนำกลับบ้านเกิดในปีพ.ศ. 2522 และเคลื่อนย้ายมาอยู่ที่ Oigawa Railway แห่งนี้และถูกทำสีกลับเป็นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นโดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการใช้งาน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2550 รถจักรไอน้ำคันนี้ถูกทำสีกลับเป็นแบบสมัยใช้การในประเทศไทย โดยมีอักษร ร.ฟ.ท. อยู่บริเวณรถลำเลียงและหมายเลข 735 อยู่ด้านข้างห้องขับและด้านหน้าของตัวรถเพื่อทำขบวนรถพิเศษฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต 120 ปี ไทย - ญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2550 และทำขบวนรถท่องเที่ยวในสีนี้จนถึงปี พ.ศ. 2553 ต่อมาถูกทำสีกลับเป็นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นอีกครั้ง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2558 ถูกทำเป็นสีแดงและตกแต่งภายนอกทุกอย่างให้เหมือนตัวละครรถจักรไอน้ำชื่อ James the Red Engine ในการ์ตูนเรื่อง Thomas & friends และล่าสุดปี พ.ศ. 2559 รถจักรไอน้ำคันนี้ถูกทำสีกลับเป็นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นและยังคงใช้การจนถึงทุกวันนี้

บริษัทรถไฟโออิกาวาได้ซื้อรถจักรคันนี้กลับไปในปี พ.ศ. 2522 และได้นำมาบูรณะจนสามารถวิ่งใช้การได้อีกครั้ง ต่อมาเกิดปัญหาหม้อน้ำทะลุทำให้ต้องหยุดวิ่งไปชั่วคราว (เคยมีความคิดจะปลดระวางรถคันนี้หลังจากเกิดความเสียหายนี้ด้วย) ภายหลังได้มีการนำเอาหม้อน้ำของรถจักรไอน้ำ C12 ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว มาใส่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด ดังนั้นรถจักรไอน้ำ C56 44 คันนี้จึงมีหม้อน้ำที่ได้รับการเปลี่ยนใหม่จากรถจักรตระกูลเดียวกัน บรรดาอุปกรณ์บางส่วนที่เคยใช้งานในสมัยที่ประจำการอยู่ในประเทศไทย ได้ถูกถอดออกแล้วนำมาแสดงไว้ที่สถานีเซนซุ อยู่ใกล้กับรถจักรไอน้ำ 49616 ที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ เป็นในลักษณะกึ่งพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งให้ผู้คนได้ทราบความเป็นมาของรถจักรคันนี้


รายชื่อหมายเลขรถจักรไอน้ำโมกุล C56 รุ่นสงครามโลกครั้งที่ 2แก้ไข


รถจักรไอน้ำโมกุล C56 รุ่นสงครามโลกครั้งที่ 2
หมายเลข รฟท. หมายเลข JNR ปีที่สร้าง ขนาดความกว้างรางรถไฟ
701 C56-3 พ.ศ. 2478 1.000 เมตร (Metre gauge)
702 C56-4
703 C56-5
704 C56-6
705 C56-7
706 C56-8
707 C56-9
708 C56-10
709 C56-11
710 C56-12
711 C56-13
712 C56-14
713 C56-15
714 C56-16
715 C56-17
716 C56-18
717 C56-20
718 C56-21
719 C56-23
720 C56-24 พ.ศ. 2479
721 C56-25
722 C56-26
723 C56-28
724 C56-30
725 C56-31
726 C56-32
727 C56-34
728 C56-36
729 C56-37
730 C56-38
731 C56-39
732 C56-40
733 C56-41
734 C56-43
735 C56-44 1.000 เมตร (Metre gauge) (อดีต); 1.067 เมตร (Cape gauge) (ปัจจุบัน)
736 C56-45 1.000 เมตร (Metre gauge)
737 C56-46
738 C56-47
739 C56-48
740 C56-49
741 C56-50
742 C56-51
743 C56-52
744 C56-53
745 C56-54
746 C56-55

รูปภาพแก้ไข


ดูเพิ่มแก้ไข

อ้างอิงแก้ไข

  1. http://trainthai.blogspot.com/2013/01/blog-post_17.html
  2. https://www.hokurikushinkansen-navi.jp/sp/news/article.php?id=NEWS0000017034
  3. Sasada, Masahiro (25 November 2014). 国鉄&JR保存車大全2015-2016 [JNR & JR Preserved Rolling Stock Complete Guide 2015-2016] (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo, Japan: Ikaros Publications Ltd. p. 128. ISBN 978-4863209282.